posttoday

เลกาซี แมชชีน ซีเควนเชียล อีโว หนึ่งกลไก สองโครโนกราฟ หลากหลายโหมดการจับเวลา

06 มิถุนายน 2565

จุดเด่น • แอลเอ็ม ซีเควนเชียล อีโว (LM Sequential EVO) เป็นผลงานกลไกคาลิเบอร์ที่ 20 ของ เอ็มบีแอนด์เอฟ (MB&F) ในช่วงเวลาเพียง 17 ปี และยังเป็นกลไกโครโนกราฟครั้งแรกเท่าที่เคยมีมาของแบรนด์ • คิดค้นขึ้นร่วมกับ สตีเฟน แมคดอนเนลล์ (Stephen McDonnell) ผู้ซึ่งก่อนหน้านี้ได้ประดิษฐ์สร้างสรรค์ความสลับซับซ้อนของจักรกลปฏิทินถาวรหรือเพอร์เพทชวล คาเลนดาร์ ให้กับ เอ็มบีแอนด์เอฟ และคว้ารางวัลมาแล้วสำหรับผลงานรุ่น แอลเอ็ม เพอร์เพทชวล (LM Perpetual) • กลไกแอลเอ็ม ซีเควนเชียล อีโว ผสานด้วยคอลัมน์วีลโครโนกราฟสองตัว และสวิตช์สองสถานะ “ทวินเวอร์เตอร์” (“Twinverter”) ที่ช่วยสำหรับการจับเวลาได้หลายโหมด ซึ่งรวมไปถึงโหมดสปลิท-เซคกันด์ (split-second) และจับเวลารอบ (lap timer) ซึ่งนับเป็นการผสมผสานที่ยังไม่เคยปรากฏมาก่อนในนาฬิกาโครโนกราฟใดๆ • ตัวเรือน อีโว (EVO) ทำจากเซอร์โคเนียม พร้อมทั้งคุณสมบัติของการกันน้ำ 80 เมตร, เม็ดมะยมหมุนเกลียวลง, สายยางแบบผสาน และระบบซับแรงสะเทือน ‘เฟล็กซ์ริง’ (‘FlexRing’)

เหนือกว่าโครโนกราฟ

แม็กซิมิเลียน บูซเซอร์ (Maximilian Büsser) ไม่เคยกล่าวว่า เอ็มบีแอนด์เอฟ (MB&F) จะไม่ทำนาฬิกาโครโนกราฟ แต่สิ่งที่เขานั้นเคยกล่าวไว้คือ เอ็มบีแอนด์เอฟจะไม่สร้างโครโนกราฟที่เหมือนกับนาฬิกาโครโนกราฟอื่นๆ ทั่วไป และสำหรับผู้ที่เข้าใจในการสื่อสารเดียวกันกับเอ็มบีแอนด์เอฟ ย่อมรู้ดีเสมอว่าคำพูดนั้นหมายถึงสิ่งใด ทุกสิ่งที่ดีทั้งหมดมักมาพร้อมกับเวลา และสิ่งที่ดีกว่าย่อมมาพร้อมกับเวลาที่มากขึ้นเช่นกัน โดยหลัง 17 ปีของการสร้างสรรค์ศิลปะแห่งเครื่องบอกเวลา    เอ็มบีแอนด์เอฟก็ได้มอบสิ่งที่ดียิ่งกว่าให้กับเรา

การแนะนำ เลกาซี แมชชีน ซีเควนเชียล อีโว (Legacy Machine Sequential EVO) ได้มอบการเปิดตัวครั้งแรกสำหรับกลไกชุดที่ 20 ของเอ็มบีแอนด์เอฟ ภายใต้นาฬิกาข้อมือโครโนกราฟรุ่นแรกของแบรนด์ และแท้จริงแล้ว ยังนับเป็นนาฬิกาข้อมือโครโนกราฟเรือนแรกในประเภทนี้อีกด้วย

คิดค้นขึ้นโดยหนึ่งในพันธมิตรแห่งความร่วมมือและเพื่อน (Friends) ยุคแรกๆ ของเอ็มบีแอนด์เอฟ อย่าง สตีเฟน            แมคดอนเนลล์ (Stephen McDonnell) ที่ใน แอลเอ็ม ซีเควนเชียล อีโว (LM Sequential EVO) นี้ได้ทลายขีดข้อจำกัด ณ ปัจจุบัน ของสิ่งที่เราคิดว่านาฬิกาโครโนกราฟจะสามารถทำได้ โดยเช่นเดียวกับผลงาน เลกาซี แมชชีน เพอร์เพทชวล (Legacy Machine Perpetual) ในปี ค.ศ. 2015 ซึ่งนับเป็นกลไกหลักชุดล่าสุดของ สตีเฟน แมคดอนเนลล์ ที่ได้สร้างสรรค์ให้กับเอ็มบีแอนด์เอฟ ภายใน แอลเอ็ม ซีเควนเชียล อีโว นี้ได้เชื่อมโยงถึงการวางแผนและเริ่มต้นใหม่สู่สมมติฐานอันเป็นพื้นฐานสูงสุดของเราที่มีต่อโครงสร้างของโครโนกราฟ

แผ่นหน้าปัดของ แอลเอ็ม ซีเควนเชียล อีโว นั้นมีให้เลือกในเฉดสีส้มอะตอมมิค (atomic orange) หรือสีดำโคล (coal black) มาพร้อมการแสดงโครโนกราฟสองชุด ชุดหนึ่งประกอบด้วยการแสดงการจับเวลาวินาทีของตน ณ ตำแหน่ง 9 นาฬิกา และแสดงการจับเวลานาที ณ ตำแหน่ง 11 นาฬิกา ส่วนอีกชุดนั้นแสดงการจับเวลาวินาทีของตน ณ ตำแหน่ง 3 นาฬิกา และแสดงการจับเวลานาที ณ ตำแหน่ง 1 นาฬิกา แต่ละชุดการแสดงโครโนกราฟเหล่านี้สามารถเริ่มต้น หยุด และรีเซ็ตใหม่ได้อย่างอิสระสมบูรณ์สำหรับแต่ละการแสดง โดยการใช้ปุ่มกดเริ่มต้น/หยุด และรีเซ็ต บนด้านข้างของตัวเรือนที่สอดคล้องกับตำแหน่งโครโนกราฟแต่ละชุดตามลำดับ ซึ่งนั่นทำให้มีปุ่มกดโครโนกราฟสี่ปุ่ม ที่คุณจะใช้งานเชื่อมโยงกับจักรกลโครโนกราฟสองชุดในนาฬิกาเรือนเดียวนี้เสมอ

อย่างไรก็ดี ยังมีปุ่มกดที่ห้าซึ่งติดตั้ง ณ ตำแหน่ง 9 นาฬิกา นั่นคือ “ทวินเวอร์เตอร์” (“Twinverter”) โดยปุ่มกดนี้นับเป็นเคล็ดลับที่ช่วยยกระดับด้านฟังก์ชันการใช้งานของ แอลเอ็ม ซีเควนเชียล อีโว ให้อยู่เหนือกว่านาฬิกาข้อมือโครโนกราฟที่มีอยู่ในท้องตลาด กับการทำหน้าที่ควบคุมระบบโครโนกราฟทั้งคู่ โดยผ่านการทำงานเสมือนสวิตช์สองสถานะ (binary switch) ที่สับเปลี่ยนระหว่างสถานะเริ่มต้น/หยุด ณ ปัจจุบันของแต่ละโครโนกราฟ และนั่นย่อมหมายถึง หากการแสดงโครโนกราฟทั้งสองชุดนี้ถูกหยุด (ณ ตำแหน่งศูนย์หรือไม่ก็ตาม) การกดทวินเวอร์เตอร์นั้นจะทำให้โครโนกราฟทั้งคู่เริ่มต้นการทำงานโดยทันที และหากโครโนกราฟทั้งคู่กำลังทำงานอยู่ ทวินเวอร์เตอร์จะทำให้พวกมันหยุด ขณะที่หากโครโนกราฟชุดหนึ่งกำลังทำงานและอีกชุดถูกหยุด ทวินเวอร์เตอร์จะหยุดโครโนกราฟชุดที่กำลังทำงาน และเริ่มต้นการทำงานของโครโนกราฟชุดที่ถูกหยุด

เลกาซี แมชชีน ซีเควนเชียล อีโว หนึ่งกลไก สองโครโนกราฟ หลากหลายโหมดการจับเวลา

โหมดการจับเวลาได้หลากหลาย

ดังนั้น แอลเอ็ม ซีเควนเชียล อีโว จึงสามารถใช้งานได้เฉกเช่นเดียวกับการใช้งานนาฬิกาโครโนกราฟอื่นๆ ทว่า ด้วยเพราะจักรกลโครโนกราฟคู่ จึงช่วยให้สามารถทำงานได้เสมือนกับนาฬิกาโครโนกราฟสปลิท-เซคกันด์ (split-seconds) และในความเป็นจริง ต้องขอบคุณให้กับการปรับปรุงด้านจักรกลอันเหนือล้ำของโครงสร้างโครโนกราฟซึ่งคิดค้นและสร้างสรรค์ขึ้นโดย สตีเฟน แมคดอนเนลล์ ที่ทำให้ผลงานรุ่นนี้มีสมรรถนะเหนือกว่านาฬิกาจักรกลโครโนกราฟตามประเพณีทั่วไป รวมถึงนาฬิกาจักรกลโครโนกราฟสปลิท-เซคกันด์ ในแง่ของประสิทธิภาพการใช้พลังงานและความแม่นยำ

แต่ยังมีอะไรมากไปกว่านั้น ด้วยฟังก์ชันสับเปลี่ยนที่มาพร้อมกับทวินเวอร์เตอร์ ยังช่วยให้ แอลเอ็ม ซีเควนเชียล อีโว สามารถทำในสิ่งที่ไม่มีนาฬิกาข้อมือโครโนกราฟใดทำได้สำเร็จมาก่อน ไม่ว่าจะเป็นเรือนเวลาสลับซับซ้อนเพียงใด และนี่คือสิ่งที่ แอลเอ็ม ซีเควนเชียล อีโว สามารถทำได้ ขณะที่นาฬิกาโครโนกราฟอื่นๆ ที่มีอยู่ ณ ปัจจุบันไม่สามารถทำได้:

  • “โหมดอิสระ” (“Independent mode”): การจับวัดช่วงระยะเวลาของหลายๆ เหตุการณ์ ซึ่งมีจุดเริ่มต้นและสิ้นสุดแยกกัน แม้ว่าเหตุการณ์นั้นๆ จะคาบเกี่ยวกันในการจับเวลา;
  • “โหมดพร้อมกัน” (“Simultaneous mode”): การจับวัดแต่ละช่วงระยะเวลาของสองเหตุการณ์ ที่เริ่มต้นขึ้นพร้อมกัน แต่มีจุดสิ้นสุดที่ต่างกัน;
  • “โหมดสะสม” (“Cumulative mode”): การจับวัดแต่ละช่วงระยะเวลาสะสมของสองเหตุการณ์ที่ไม่ต่อเนื่อง;
  • “โหมดต่อเนื่อง (หรือโหมดรอบ)” (“Sequential mode (or lap mode)”): การจับวัดแต่ละช่วงระยะเวลาย่อยของหนึ่งเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นหลายระยะต่อเนื่องกัน ด้วยการจับวัดชั่วคราวสำหรับช่วงระยะเวลาย่อยต่างๆ ที่ยาวนานกว่าหนึ่งนาที

ตัวอย่างเช่น โหมดพร้อมกัน จะถูกใช้ในการแข่งขันความเร็วที่เกี่ยวข้องกับสองผู้แข่งขัน ซึ่งเริ่มต้นการแข่งขันขึ้นพร้อมกัน โดยทวินเวอร์เตอร์จะช่วยให้สามารถเริ่มต้นการจับเวลาของโครโนกราฟทั้งสองชุด ณ เวลาเดียวกันจริงๆ แต่จุดสิ้นสุดที่ต่างกันจะสามารถถูกบันทึกไว้โดยง่ายดาย โดยการกดลงบนแต่ละปุ่มกดเริ่มต้น/หยุดของแต่ละโครโนกราฟ โดยจะสังเกตได้ว่าช่วงระยะเวลาของเหตุการณ์นั้นๆ สามารถเกินกว่า 60 วินาที ซึ่งนั่นมักเป็นข้อจำกัดของนาฬิกาโครโนกราฟสปลิท-เซคกันด์ส่วนใหญ่ในท้องตลาด

ส่วน โหมดสะสม จะสามารถใช้และเกิดขึ้นได้บ่อยๆ กับสิ่งแวดล้อมการทำงาน ที่คุณอาจต้องการรู้ว่าคุณใช้เวลามากเท่าใดในการทำงานสองโครงการแยกกัน ขณะที่คุณสลับระหว่างการทำงานเหล่านั้นตลอดทั้งวัน โดยการเริ่มต้นโครโนกราฟชุดหนึ่ง เมื่อคุณเริ่มต้นการทำงานในภารกิจหนึ่ง และจากนั้นจึงใช้ทวินเวอร์เตอร์ เมื่อคุณเปลี่ยนไปทำงานภารกิจที่สอง (และสับเปลี่ยนอีกครั้ง เมื่อคุณกลับไปยังภารกิจแรก) ดังนั้น จึงสามารถติดตามจำนวนเวลาที่คุณใช้สะสมไปในแต่ละภารกิจ กับอีกหนึ่งตัวอย่างของการใช้งานนี้ เช่นการจับเวลาการแข่งขันหมากรุก 

ส่วน โหมดซีเควนเชียล (หรือโหมดรอบ) นั้นมีความเชื่อมโยงอย่างยิ่งกับโลกของการแข่งขันกีฬา ซึ่งสามารถใช้โหมดนี้ในการจับวัดแต่ละแลปหรือรอบเวลา โดยการเริ่มต้นโครโนกราฟชุดหนึ่ง ณ จุดเริ่มต้นของการแข่งขันหรือเหตุการณ์ และใช้ ทวินเวอร์เตอร์ เมื่อจบหนึ่งรอบ พร้อมกับเริ่มต้นโครโนกราฟชุดที่สองทันที เพื่อจับเวลารอบต่อไป ขณะที่โครโนกราฟแรกนั้นจะถูกหยุด ช่วยให้มีเวลาเกินพอสำหรับจดบันทึกผลการจับเวลาไว้ได้ จากนั้นโครโนกราฟที่ถูกหยุดจึงจะถูกรีเซ็ตไปยังตำแหน่งศูนย์ และพร้อมสำหรับการเริ่มต้นจับเวลาใหม่ ด้วยทวินเวอร์เตอร์ในการจับเวลารอบที่ตามมา และด้วยหน้าปัดย่อยจับเวลานาที จึงทำให้ แอลเอ็ม ซีเควนเชียล อีโว สามารถใช้งานได้อย่างมีประสิทธิผลในการจับเวลาการแข่งขันกีฬาต่างๆ ด้วยผลเวลารอบเฉลี่ยที่มากกว่าหนึ่งนาที (ซึ่งรวมไปถึงการแข่งขันกีฬาด้านความเร็วรอบส่วนใหญ่)

ขณะที่ตัวอย่างของ โหมดอิสระ นั้นสามารถใช้สำหรับการเตรียมมื้ออาหาร ที่ซึ่งมีหลากหลายอย่างที่จำเป็นต้องปรุงด้วยช่วงเวลาที่ต่างกัน ณ จุดเวลาที่ต่างกัน โดยคุณสามารถเปิดใช้งานจักรกลโครโนกราฟทั้งสองชุดนี้ผ่านปุ่มกดของแต่ละโครโนกราฟตามลำดับ ตัวอย่างเช่น เริ่มต้นโครโนกราฟชุดหนึ่ง เมื่อคุณใส่พาสต้าลงในน้ำเดือด และเริ่มต้นโครโนกราฟอีกชุดหนึ่ง เมื่อนำผักเข้าเตาอบ โดยจริงๆ แล้ว การใช้งานของ แอลเอ็ม ซีเควนเชียล อีโว นั้นยังมีประโยชน์ในอีกหลากหลายรูปแบบของประสิทธิภาพและผลิตผลของแต่ละบุคคล เช่น ที่ยิม ขณะที่คุณพยายามปรับปรุงประสิทธิภาพและพัฒนากิจวัตรการออกกำลังกายของตนเองให้ดียิ่งขึ้น โดยโครโนกราฟชุดหนึ่งสามารถใช้ตั้งเพื่อจับเวลาที่คุณใช้ไปทั้งหมดในการออกกำลังกายแต่ละครั้ง ขณะที่โครโนกราฟชุดที่สองถูกใช้เพื่อบันทึกเวลาของคุณในแต่ละสถานี หรือช่วงเวลาพักในระหว่างนั้น

นาฬิกาโครโนกราฟคอนเซปต์สูงอื่นๆ ส่วนใหญ่แล้วนั้นถูกออกแบบมาเพื่อเพิ่มประโยชน์การใช้งานของโครโนกราฟที่เกี่ยวข้อง โดยการสร้างสรรค์จักรกลขึ้นเฉพาะไปยังเป้าหมายหรือสถานการณ์เฉพาะ หรือที่เกี่ยวข้องเชื่อมโยงกับกีฬา ทว่า หากเปรียบเทียบแล้ว แอลเอ็ม ซีเควนเชียล อีโว สามารถใช้งานได้กับทุกๆ มิติของการใช้ชีวิตประจำวัน และเป็นการใช้งานที่คุ้นเคยดีสำหรับเราทั้งหมด กับการมาพร้อมตัวเรือนเซอร์โคเนียม, การกันน้ำได้ลึก 80 เมตร และระบบซับแรงสะเทือน“เฟล็กซ์ริง” (“FlexRing”) ด้านใน ที่มอบความยืดหยุ่นอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อนให้กับกลไกสลับซับซ้อนเช่นนี้ และทั้งหมดนี้ทำให้คอลเลกชัน “อีโว” เป็นดั่งบ้านโดยธรรมชาติสำหรับนาฬิกาโครโนกราฟรุ่นแรกของเอ็มบีแอนด์เอฟ โดยผนึกซึ่งเอกลักษณ์เฉพาะตัวไว้อย่างมั่นคง นับจากผลงาน อีโว (EVO) รุ่นแรกใน แอลเอ็ม เพอร์เพทชวล อีโว (LM Perpetual EVO) ที่ได้สร้างรากฐานขึ้นในปี ค.ศ. 2020 “โดยไม่ใช่เป็นเพียงนาฬิกาสำหรับกีฬา แต่เป็นนาฬิกาสำหรับชีวิต”

และเหนืออื่นใด ที่แม้ว่าจะเป็นผลงานซับซ้อนทางจักรกล แต่ แอลเอ็ม ซีเควนเชียล อีโว นี้ง่ายดายและสะดวกสบายต่อการใช้งาน และที่สำคัญเหนือยิ่งกว่า คือการเป็นนาฬิกาที่มีประโยชน์การใช้งานอย่างแท้จริง ซึ่งคุณอาจเคยสงสัยว่าทำไมไม่มีใครทำสิ่งนี้มาก่อน ทว่า หากทบทวนดูแล้ว นี่คือแนวคิดที่เกิดขึ้นเองโดยสัญชาตญาณ และเพราะแท้จริงแล้วมันช่างตรงไปตรงมา เหมือนการนับ 1-2-3 ที่หมายถึงนาฬิกาหนึ่งเรือน กับสองจักรกลโครโนกราฟ ที่สามารถใช้งานได้ในหลากหลายวิถี

เมื่อสลับอีกด้านขึ้น จึงเผยความลับเกี่ยวกับเครื่องยนต์

ทวินเวอร์เตอร์ ซึ่งเป็นนวัตกรรมปุ่มกดโครโนกราฟปุ่มที่ห้า ที่คิดค้นขึ้นโดยแนวความคิดอันชาญฉลาดของ สตีเฟน         แมคดอนเนลล์ ฟังดูแล้วอาจเหมือนเป็นแนวคิดเหนือจินตนาการ รวมถึงวิถีเหมือนฝันอีกมากมายที่มันคล้ายจะเป็น แต่หากเป็นผู้ที่คุ้นเคยและหลงใหลในเรื่องราวประวัติศาสตร์แห่งโครโนกราฟแล้ว ย่อมสังเกตและรับรู้ได้ดีถึงรากฐานแห่งแนวคิดนี้ ที่สืบทอดมาจากระบบโครโนกราฟยุคแรกเริ่ม

คำว่า โครโนกราฟ มีรากศัพท์มาจากภาษากรีก โดยส่วนแรกนั้นได้มาจากคำว่า χρ?νος (chrónos) ซึ่งหมายถึงเวลา ดังที่เห็นได้จากคำต่างๆ เช่น chronology (ลำดับเวลา) และ chronicle (ประวัติการณ์) ขณะที่ส่วนที่สองนั้นได้มาจากคำว่า γρ??φω (gráph?) ซึ่งหมายถึงการเขียน หรือสร้างบันทึกโดยการเขียน และเหมือนกับเครื่องเล่นจานเสียงที่อธิบายได้ถึงระบบบันทึกเสียง หรือภาพถ่ายที่ถูกบันทึกโดยแสง โดยโครโนกราฟได้มอบซึ่ง เวลา ที่ถูกบันทึกไว้ให้กับเรา ในต้นศตวรรษที่ 19 นาฬิกา โครโนกราฟยังเชื่อมโยงกับการแข่งม้า ซึ่งพัฒนาขึ้นตามความต้องการและความจำเป็นเพื่อใช้ในการตัดสินผลเวลาที่แม่นยำของกีฬาการแข่งขันด้านความเร็วเช่นนี้ โครโนกราฟยุคแรกๆ เหล่านี้ใช้งานโดยการหยดของหมึก เพื่อสร้างสัญลักษณ์การจับเวลาไว้บนหน้าปัด แม้ขณะที่โครโนกราฟยังคงทำงานอยู่ และช่วยให้การจับวัดเวลาเฉพาะนั้นสามารถสำรองผลไว้สำหรับการจดบันทึกได้ (อย่างน้อยก็ตราบจนโครโนกราฟถูกหยุด และหน้าปัดถูกเช็ดทำความสะอาดเพื่อใช้จับเวลาการแข่งขันถัดไป)

การพัฒนาภายหลังต่อมาของอุปกรณ์จับเวลาโครโนกราฟนั้น ยังเชื่อมโยงสัมพันธ์กับการแข่งขันบนสนามแข่ง ซึ่งรวมไว้ด้วยเลเวอร์ (lever) ที่เชื่อมต่อเข้ากับแต่ละโครโนกราฟหลายๆ ตัว เพื่อให้อุปกรณ์โครโนกราฟเหล่านี้สามารถเริ่มต้นจับเวลาได้พร้อมกันทั้งหมด แทนที่จะมีอุปกรณ์จับเวลาหลายตัวที่ดำเนินการแยกกัน (ระบบที่มีประสิทธิภาพรองลงมา อันเนื่องมาจากความต่างกันเล็กน้อยอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ระหว่างการเริ่มต้นจับเวลาของแต่ละอุปกรณ์)

เมื่อ แม็กซิมิเลียน บูซเซอร์ พูดคุยกับ สตีเฟน แมคดอนเนลล์ ในปี ค.ศ. 2016 ถึงโอกาสและความเป็นไปได้ในการสร้างสรรค์เรือนเวลารุ่นตามมาจากผลงาน เลกาซี แมชชีน เพอร์เพทชวล (ค.ศ. 2015) และเขาได้คำตอบเพียงสี่คำจาก   สตีเฟนว่า “ผมมีแนวคิด” ซึ่งแม้เป็นคำตอบที่ฟังดูลึกลับคลุมเครือ แต่ก็น่าตื่นเต้นไม่น้อย โดยเฉพาะหากคุณรู้จักดีกับแนวคิดอันน่าทึ่งมากมายที่มาจาก สตีเฟน แมคดอนเนลล์ คนนี้ และนั่นคือบทสนทนากับแม็ก ที่เร่งให้เกิดขบวนความคิดที่สตีเฟนเองยังคงครุ่นคิดถึงมาสักระยะหนึ่งแล้ว โดยเฉพาะการคิดถึงนาฬิกาโครโนกราฟสมัยใหม่ ซึ่งส่วนใหญ่ยังไม่สามารถทำหน้าที่และทำงานได้อย่างเต็มความสามารถ ต่อวัตถุประสงค์อีกมากมายที่โครโนกราฟเหล่าถูกออกแบบขึ้นเพื่อสิ่งเหล่านั้น

เลเวอร์โครโนกราฟแบบผสานจึงผุดขึ้นอย่างทันทีในความคิดของเขา ว่านั่นอาจเป็นวิธีที่ทำให้มั่นใจได้ว่าการแข่งขันความเร็วต่างๆ จะสามารถถูกจับวัดเวลาได้ด้วยความแม่นยำสูงสุดจากจักรกลโครโนกราฟที่ควบคุมและใช้งานด้วยมือ ซึ่งการทำให้ระบบโครโนกราฟสามารถทำงานแยกกันได้นั้น ย่อมหมายถึงการจับเวลาที่ต่างกันได้ และสำรองผลได้นานพอสำหรับการจดบันทึกเวลา 

เลกาซี แมชชีน ซีเควนเชียล อีโว หนึ่งกลไก สองโครโนกราฟ หลากหลายโหมดการจับเวลา

นับจากนั้นมา ทางออกมากมายจึงค่อยๆ ปรากฏ โดยการใช้จักรกลโครโนกราฟแยกกันสองชุดซึ่งเชื่อมโยงเข้ากับออสซิลเลเตอร์ (oscillator) เดียวกัน อันเป็นแนวคิดที่สร้างสรรค์ขึ้นมาแล้วสำหรับ เลกาซี แมชชีน ที่มาพร้อมด้วยฟลายอิ้ง บาลานซ์วีล (flying balance wheel) กลาง และนั่นหมายความว่า ข้อผิดพลาดของการจับเวลาอันเนื่องมาจากความคลาดเคลื่อนด้านความเที่ยงตรงเล็กๆ น้อยๆ ระหว่างอุปกรณ์และตัวจับเวลาต่างๆ นั้นย่อมถูกขจัดไป

สตีเฟน แมคดอนเนลล์ ยังคงเดินหน้าตกแต่งและปรับปรุงภาพแนวคิดของนาฬิกาโครโนกราฟในอุดมคตินี้ขึ้น โดยการปรับเปลี่ยนโครงร่างใหม่ให้กับเวอร์ติคัล คลัทช์ (vertical clutch) ของโครโนกราฟ ที่ติดตั้งภายในรางเกียร์เฟือง (gear train) หลัก เพื่อขจัดซึ่งการกระตุกที่มักเกิดขึ้นกับเข็มวินาทีโครโนกราฟ โดยไม่จำเป็นต้องใช้สปริงเสียดทาน (friction spring) ระบายแอมพลิจูด โดยเขาได้รวมก้านคลัทช์ (clutch shafts) โครโนกราฟฝังอัญมณีไว้ภายใน ที่จะทำให้เกิดความผกผันของแอมพลิจูดระหว่างโหมดเปิดและปิดการทำงานของโครโนกราฟจากประวัติศาสตร์

ขณะที่อีกหนึ่งสัมผัสอันเปรียบเสมือนยอดมงกุฎสำหรับนาฬิกาโครโนกราฟในอุดมคติของ สตีเฟน แมคดอนเนลล์ ยังเสริมด้วยบทบาทหน้าที่จากการผสานเลเวอร์สำหรับเริ่มต้นจับเวลาไว้ในระบบโครโนกราฟตามประวัติศาสตร์ ซึ่งนั่นคือแนวคิดของ ทวินเวอร์เตอร์ โดยความสามารถนี้ได้มอบการสลับกันอย่างทันทีระหว่างโหมดการทำงานต่างๆ ของโครโนกราฟ ที่เปิดประตูสู่มิติใหม่ของความสลับซับซ้อนอันเก่าแก่ เพื่อให้สามารถใช้งานในหลากหลายสถานการณ์ของชีวิตประจำวันสมัยใหม่ได้มากยิ่งขึ้น และเป็นประตูเชิงตรรกะที่ได้รับการจัดโปรแกรมมาแล้วของการประดิษฐ์นาฬิกาจักรกล ด้วยระบบที่ประดิษฐ์คิดค้นขึ้นเฉพาะโดยผู้สร้างสรรค์สมองจักรกลที่เป็นหัวใจและความสำเร็จของ เลกาซี แมชชีน เพอร์เพทชวล มาแล้ว

วิวัฒนาการของ อีโว ที่เชื่อมโยงกับคอลเลกชัน อีโว

เลกาซี แมชชีน เพอร์เพทชวล อีโว เปิดตัวในปี ค.ศ. 2020 พร้อมกับการแนะนำคอลเลกชัน อีโว สู่โลกของเอ็มบีแอนด์เอฟ ซึ่งมีพื้นฐานหลักมาจากรหัสอันมั่นคงของคอลเลกชัน เลกาซี แมชชีน (Legacy Machine) ที่ อีโว นั้นได้วางตำแหน่งในฐานะนาฬิกาที่สามารถสวมใส่ได้ แข็งแรงทนทาน และมีความหลากหลายในรูปแบบการใช้งานอันเป็นหัวใจและเอกลักษณ์เฉพาะตัวสำหรับคอลเลกชันนี้

ขณะที่เซอร์โคเนียมซึ่งถูกใช้มาแล้วกับการเปิดตัวรุ่น แอลเอ็ม เพอร์เพทชวล อีโว นั้น ในวันนี้ ได้กลายเป็นวัสดุตัวเรือนอันล้ำสมัยสำหรับการเปิดตัวครั้งแรกของ แอลเอ็ม ซีเควนเชียล อีโว ด้วยความโดดเด่นของโลหะสีเทาเงินซึ่งได้รับความนิยมชื่นชอบ ด้วยเพราะความวาวคมเข้มมีมิติ ขณะที่มีน้ำหนักเบากว่าสเตนเลสสตีล และแข็งแรงทนทานกว่าไทเทเนียม โดยจับคู่เข้ากับคุณสมบัติพิเศษอื่นๆ ทั้งข้อดีจากการไม่ทำให้เกิดอาการแพ้หรือระคายเคืองผิว และต้านจุลินทรีย์ จึงเป็นวัสดุในอุดมคติสำหรับนาฬิกาเพื่อไลฟ์สไตล์แอคทีฟ ด้วยเพราะเซอร์โคเนียมนั้นเป็นที่รู้จักกันดีว่าติดไฟได้เองในรูปแบบของผง และยังอาจเป็นอันตรายอย่างสูงต่อการผลิตด้วยเครื่องจักร ยกเว้นเพียงภายใต้สภาวะที่ผ่านการควบคุมสิ่งแวดล้อมอย่างเข้มงวด จึงอธิบายได้ดีถึงความหายากในโลกแห่งการประดิษฐ์นาฬิกา

งานออกแบบที่ไร้ขอบตัวเรือนช่วยตอกย้ำและเผยให้เห็นอย่างสมบูรณ์แบบถึงความโดดเด่นของกลไกภายใน ภายใต้ผลงานอันสมมาตรและสมดุลประณีตของ สตีเฟน แมคดอนเนลล์ โดยใน แอลเอ็ม ซีเควนเชียล อีโว นี้ คุณลักษณะแบบโดมกระจกแซฟไฟร์ที่เป็นไอคอนิกของ แอลเอ็ม คอลเลกชัน นั้นยังคงอยู่ใต้การยกระดับอันซับซ้อนภายในรูปทรงเรขาคณิต เพื่อช่วยในการจัดวางบาลานซ์แบบแขวน (suspended balance) ความถี่ 3 เฮิรตซ์ (21,600 ครั้งต่อชั่วโมง) ที่สัมพันธ์กับการแสดงของโครโนกราฟ แม้ว่าภาพลักษณ์ท้ายสุดของกระจกหน้าปัด ซึ่งสร้างรูปทรงโค้งอันเรียบเนียนสมบูรณ์แบบ แต่ก็ยังมีความซับซ้อนของสองมุม (และยากที่จะทำได้) ซึ่งรวมอยู่ภายในความโค้งของกระจก เพื่อช่วยลดทอนความหนาโดยรวมของนาฬิกา แอลเอ็ม ซีเควนเชียล อีโว เมื่อสวมใส่บนข้อมือ ขณะที่สายยางแบบผสานอันเป็นคุณสมบัติหัวใจของ อีโว นั้นได้สร้างประสบการณ์การสวมใส่อันเรียบเนียนที่สุดเท่าที่เคยมีมาสำหรับเครื่องยนต์ เอ็มบีแอนด์เอฟ (MB&F Machine)

มอบซึ่งความสะดวกสบายเพิ่มเติมสำหรับผู้สวมใส่ (ทั้งบนข้อมือและความรู้สึก) ที่ อีโว ได้ใช้อุปกรณ์ซับแรงสะเทือน(dampener) แบบวงแหวนซึ่งติดตั้งระหว่างตัวเรือนและกลไก และมอบการปกป้องจากแรงสะเทือนทั้งตามแกนแนวตั้งและแนวขนาน นั่นคือเฟล็กซ์ริง โดยการขึ้นรูปจากแท่งชิ้นเดียวของสเตนเลสสตีล ที่อุปกรณ์ซับแรงสะเทือนนี้ช่วยมอบความแข็งแรงทนทานพิเศษให้กับกลไกภายใน และทำให้มั่นใจได้ว่า อีโว จะเป็นนาฬิกาที่สามารถติดตามคุณไปได้ในทุกๆ มิติของการใช้ชีวิตสุดแอคทีฟ

ผู้สร้างฝันที่มาพบกับช่างนาฬิกา กลายเป็นความเชื่อมโยงระหว่าง แม็ก และสตีเฟน

สำหรับผู้ซึ่งรู้จักเรื่องราวของเอ็มบีแอนด์เอฟ เป็นอย่างดี ย่อมทราบดีอยู่แล้วว่าช่างนาฬิกาชาวไอร์แลนด์เหนือ สตีเฟน               แมคดอนเนลล์ นับเป็นบุคคลหลักผู้ซึ่งนำพาผลงานสร้างสรรค์ชิ้นแรกๆ ของ แม็ก บูซเซอร์ มาสู่โลก เขาเป็นหนึ่งในช่างนาฬิกาผู้เปี่ยมด้วยทักษะความเชี่ยวชาญ ผู้ซึ่งประกอบกลไกชุดแรกๆ ให้กับสิ่งที่จะกลายมาเป็น ออโรโลจิคัล แมชชีน     นัมเบอร์ 1 (Horological Machine N°1)

และหนึ่งทศวรรษต่อมา สตีเฟน แมคดอนเนลล์ ได้ก้าวเข้าสู่โลกของเอ็มบีแอนด์เอฟอีกครั้ง เพื่อพัฒนา เลกาซี แมชชีน เพอร์เพทชวล อีกหนึ่งความสำเร็จอันน่าทึ่งสู่ความสลับซับซ้อนสูงสุดในประเพณีการประดิษฐ์นาฬิกาอันทรงเกียรติ นั่นคือ ปฏิทินถาวร หรือเพอร์เพทชวล คาเลนดาร์ (perpetual calendar) โดยปรัชญาของเขาในการประดิษฐ์นาฬิกานั้นยังคงเติมเต็มในสิ่งเดียวกันกับ แม็ก นั่นคือการนำพาความฝันมาสู่เครื่องบอกเวลาที่ใช้งานได้จริง เมื่อเปรียบเทียบกับวิถีของแม็ก ที่เขานั้นปรารถนาที่จะเปลี่ยนความแฟนตาซียุคอวกาศมาสู่ความเป็นจริงที่สวมใส่ได้บนข้อมือ

พวกเขาทั้งคู่ต่างมีพรสวรรค์และความสามารถพิเศษในการตอบซึ่งคำถามมากมายที่เราส่วนใหญ่นั้นอาจรู้ดีว่ากำลังถามหรือมองหาซึ่งถึงสิ่งใด และนั่นเป็นความสามารถในการประดิษฐ์คิดค้นเสมือนดั่งจักรวาลคู่ขนาน และหนึ่งในนั้นคือสิ่งที่ แอลเอ็ม ซีเควนเชียล อีโว ทวินเวอร์เตอร์ จะสามารถนำมาใช้ได้จริง และเป็นสิ่งที่จะเชื่อมโยงแม็ก และสตีเฟน มากขึ้นและมากไปกว่ามุมมองตรงกันข้ามแห่งการประดิษฐ์นาฬิกาของกันและกัน 

ขณะที่ เอ็มบีแอนด์เอฟ กำลังขยายพรมแดนเข้าสู่ทศวรรษที่สอง จึงนับเป็นช่วงเวลาที่เหมาะสมที่ใครบางคนผู้ซึ่งเคยช่วยให้แบรนด์มีชีวิตขึ้นมาได้นั้น จะเป็นส่วนสำคัญในการนำพาแบรนด์ไปสู่อีกหนึ่งระดับใหม่ของความล้ำเลิศแห่งเครื่องบอกเวลา โดยคาลิเบอร์ที่ 20 ของเอ็มบีแอนด์เอฟนี้เป็นมากกว่าเครื่องบันทึกเวลา แต่ยังเป็นเครื่องบันทึกประวัติศาสตร์ ระหว่างแม็กซิมิเลียน บูซเซอร์, แบรนด์ที่เขาสร้างสรรค์ขึ้น และช่างนาฬิกาผู้ซึ่งอยู่คู่เคียงกันมานับตั้งแต่เริ่มต้น 

แอลเอ็ม ซีเควนเชียล อีโว – ข้อมูลจำเพาะทางเทคนิค

เลกาซี แมชชีน ซีเควนเชียล อีโว เปิดตัวในสองเอดิชันของตัวเรือนเซอร์โคเนียม ระหว่างรุ่นแผ่นหน้าปัดสีส้มอะตอมมิค (เคลือบ ซีวีดี (CVD) สีส้ม) และรุ่นแผ่นหน้าปัดสีดำโคล (เคลือบ พีวีดี (PVD) สีดำ)  

เครื่องยนต์

จักรกลโครโนกราฟคู่แบบผสานอย่างสมบูรณ์ พัฒนาขึ้นสำหรับ เอ็มบีแอนด์เอฟ โดย สตีเฟน แมคดอนเนลล์,

มาพร้อมสวิตช์ ทวินเวอร์เตอร์ ที่ช่วยให้สามารถสับโหมดการจับเวลาได้หลากหลาย

ไขลานด้วยมือ พร้อมด้วยเมนสปริงคู่

สำรองพลังงาน 72 ชั่วโมง (3 วัน)

ฟลายอิ้งบาลานซ์วีล พร้อมสกรูปรับตั้ง ณ ตำแหน่ง 12 นาฬิกา, บาลานซ์สปริงปลายโค้ง เบรเกต์ (Breguet)

ตกแต่งด้วยงานฝีมือชั้นยอด; ขัดลบมุมด้านในโดดเด่นด้วยงานฝีมือ; ขัดขอบมุมและขัดเงา; ลายเจนีวาเวฟ (Geneva waves); งานแกะสลักด้วยมือ, สะพานจักรสีเข้ม (ตกแต่งด้วย เอ็นเอซี (NAC))

หน้าปัดกัลวานิคสีดำ พร้อมด้วยสารเรืองแสงซูเปอร์-ลูมิโนวา (Super-LumiNova) บนตัวเลขและเข็มชี้

ความถี่บาลานซ์: 3 เฮิรตซ์ (21,600 ครั้งต่อชั่วโมง) 

จำนวนชิ้นส่วนกลไก: 585 ชิ้น

จำนวนทับทิม: 59 เม็ด

ฟังก์ชัน

แสดงเวลา (ชั่วโมง/นาที) ณ ตำแหน่ง 6 นาฬิกา

โครโนกราฟด้านซ้าย : แสดงการจับเวลาวินาที ณ ตำแหน่ง 9 นาฬิกา และแสดงการจับเวลานาที ณ ตำแหน่ง 11 นาฬิกา; ปุ่มกด เริ่มต้น/หยุด ณ ตำแหน่ง 10 นาฬิกา และรีเซ็ต ณ ตำแหน่ง 8 นาฬิกา   

โครโนกราฟด้านขวา : แสดงการจับเวลาวินาที ณ ตำแหน่ง 3 นาฬิกา และแสดงการจับเวลานาที ณ ตำแหน่ง 1 นาฬิกา; ปุ่มกด เริ่มต้น/หยุด ณ ตำแหน่ง 2 นาฬิกา และรีเซ็ต ณ ตำแหน่ง 4 นาฬิกา

ปุ่มกด ทวินเวอร์เตอร์ ณ ตำแหน่ง 9 นาฬิกา: สวิตช์สองสถานะ ที่สับระหว่างสถานะ เริ่มต้น/หยุด ปัจจุบันของโครโนกราฟทั้งสองชุด

แสดงพลังงานสำรอง ณ ด้านหลังของกลไก

ตัวเรือน

วัสดุ: เซอร์โคเนียม 

สัดส่วน: ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 44 มม. x หนา 18.2 มม.

จำนวนชิ้นส่วน: 74 ชิ้น

การกันน้ำ: 80 เมตร / 8 เอทีเอ็ม / 270 ฟุต

เม็ดมะยมหมุนเกลียวลง

อุปกรณ์ซับแรงสะเทือนแบบวงแหวน เฟล็กซ์ริง ที่ติดตั้งระหว่างตัวเรือนและกลไก, มอบการปกป้องแรงสะเทือนทั้งตามแกนแนวตั้งและแนวขนาน

กระจกแซฟไฟร์ด้านบนนาฬิกา และฝาหลังกระจกแบบโปร่งใส พร้อมด้วยการเคลือบกันแสงสะท้อนทั้งสองด้าน

สายและหัวเข็มขัดสาย

สายยางแบบผสาน พร้อมหัวเข็มขัดแบบบานพับไทเทเนียม

เอ็มบีแอนด์เอฟ – 20 คาลิเบอร์ ใน 17 ปี

ค.ศ. 2005 – 2022 

2005 การก่อตั้งของ เอ็มบีแอนด์เอฟ

2007 เอชเอ็ม1 (HM1)

“ชิ้นงานรุ่นบุกเบิก” (“Foundation Piece”) ด้วยรูปทรงเลขแปดของตัวเรือน ที่เป็นสัญลักษณ์ของ เอ็มบีแอนด์เอฟ โดยเป็นการบรรจบกันของสองโลก ด้านหนึ่งคือ “MB” (Maximilian Büsser) และอีกด้านหนึ่งคือ “the Friends” ซึ่งเป็นเหล่าศิลปินมากมายที่ได้นำพาแนวคิดของ แม็ก ให้มีชีวิต ด้วยตัวเรือนแบบสามมิติที่ฉีกออกนอกกรอบของ เอชเอ็ม1 และงานออกแบบกลไกที่ได้มอบต้นแบบให้กับเหล่า แมชชีน (Machines) ในอนาคตของเอ็มบีแอนด์เอฟ

2008 เอชเอ็ม2 (HM2)

ผลงานรุ่นแรกของบรรดา ออโรโลจิคัล แมชชีน ที่ได้แรงบันดาลใจมาจากนิยายวิทยาศาสตร์ โดย เอชเอ็ม2 นั้นมาพร้อมกับสถาปัตยกรรมโครงสร้างตัวเรือนที่คล้ายกับสถานีอวกาศ บรรจุไว้ด้วยกลไกซับซ้อนสูง ทั้งการแสดงจั๊มปิ้งอาวร์ (jumping hours) แบบฉับพลัน, แสดงนาทีแบบเรโทรเกรดร่วมศูนย์, แสดงวันที่แบบเรโทรเกรด และการแสดงข้างขึ้น-ข้างแรมสองซีกโลก

2009 เอชเอ็ม3 (HM3)

ออโรโลจิคัล แมชชีน ที่ตอกย้ำถึงความสำเร็จแห่งสไตล์แบบสามมิติของ เอ็มบีแอนด์เอฟ สู่โลกของการประดิษฐ์นาฬิกา โดยออกแบบขึ้นเหมือนดั่งยานอวกาศ ที่ เอชเอ็ม3 ไซด์ไวน์เดอร์ (HM3 Sidewinder) และสตาร์ครุยเซอร์ (Starcruiser) ในเวลาต่อมายังตามมาด้วยผลงานรุ่น เอชเอ็ม3 ฟร็อก (HM3 Frog) ในเวอร์ชันกลมมนและเป็นธรรมชาติมากขึ้น

2010 เอชเอ็ม4 ธันเดอร์โบลต์ (HM4 Thunderbolt)

ได้รับแรงบันดาลใจมาจากความหลงใหลในวัยเด็กของ แม็กซิมิเลียน บูซเซอร์ ที่มีต่อโมเดลเครื่องบิน ซึ่งนำมาสู่ความเรียบง่ายอย่างชัดเจนของการแสดงสำหรับ เอชเอ็ม4 (ประกอบด้วยการแสดงชั่วโมงและนาทีบนด้านขวา และแสดงพลังงานสำรองบนด้านซ้าย) ที่ตัดกับความซับซ้อนสูง รวมถึงระหว่างตัวเรือนและงานออกแบบกลไกอันซับซ้อนและน่าทึ่ง ที่ทำให้โลกนาฬิกาต้องประหลาดใจ ขณะที่เอชเอ็ม4 ยังเดินหน้าคว้ารางวัลในสาขานาฬิกาออกแบบยอดเยี่ยม (Best Design Watch) ณ งาน กรังด์ ปรีซ์ เดอ’ออร์โลเฌอรี เดอ เฌแนฟ (Grand Prix d’Horlogerie de Genève)

2011 แอลเอ็ม1 (LM1)

หลังผลงานซึ่งฉีกนอกกรอบทั้งสี่รุ่นของ ออโรโลจิคัล แมชชีน เอ็มบีแอนด์เอฟได้สร้างความประหลาดใจให้กับโลกแห่งการประดิษฐ์นาฬิกาอีกครั้ง โดยการเปิดตัวของ เลกาซี แมชชีน นัมเบอร์1 (Legacy Machine No1) ซึ่งนับเป็นการเฉลิมฉลองเปิดตัวคอลเลกชันใหม่ของเรือนเวลาสไตล์คลาสสิกมากกว่า และหนึ่งปีต่อมา แอลเอ็ม1 สามารถคว้าไม่เพียงหนึ่ง แต่เป็นถึงสองรางวัล จากงาน กรังด์ ปรีซ์ เดอ’ออร์โลเฌอรี เดอ เฌแนฟ ในสาขารางวัลสาธารณชน (Public Prize) และรางวัลนาฬิกาสุภาพบุรุษยอดเยี่ยม (Best Men’s Watch Prize)

2012 เอชเอ็ม5 ออน เดอะ โรด อะเกน (HM5 On the Road Again)

นาฬิกาสำหรับนักขับรุ่นแรกของเอ็มบีแอนด์เอฟ ด้วยการพัฒนาตามหลักตรรกะวิทยาที่มอบไว้โดยความฝันในวัยหนุ่มของแม็กซิมิเลียน บูซเซอร์ ที่อยากเป็นนักออกแบบรถยนต์ โดยออกแบบเหมือนดั่งรถซูเปอร์คาร์ ที่กลไก เอชเอ็ม5 คาลิเบอร์ ได้ผสมผสานวิศวกรรมจักรกล (กลไกจักรกลไขลานอัตโนมัติ) เข้ากับวิศวกรรมแห่งภาพการมองเห็นอันแม่นยำสูง (ปริซึมกระจกแซฟไฟร์สำหรับการแสดงเวลา)

2013 แอลเอ็ม2 (LM2)

สองปีหลังการเปิดตัว เลกาซี แมชชีน รุ่นแรก เลกาซี แมชชีน นัมเบอร์ 2 (Legacy Machine No.2) ได้แสดงออกให้เห็นว่า

เอ็มบีแอนด์เอฟนั้นทุ่มเทให้กับการพัฒนาคอลเลกชัน เลกาซี แมชชีน อย่างแท้จริง ด้วยเรือนเวลาอันซับซ้อนที่หวนคืนสู่

ผลงานของเหล่าช่างนาฬิกาผู้มีชื่อเสียงโด่งดัง จากการประดิษฐ์คิดค้นระบบเรกูเลเตอร์คู่ (double regulator systems)

โดยเรกูเลเตอร์อิสระอย่างสมบูรณ์ทั้งสองตัวที่ถูกเฉลี่ยค่าการทำงานโดยเฟืองเพลาท้ายกลาง (central differential)

2014 แอลเอ็ม101 (LM101)

ด้วยผลงาน เลกาซี แมชชีน 101 (Legacy Machine 101) เอ็มบีแอนด์เอฟได้ให้ความสำคัญกับหัวใจหลักๆ ของนาฬิกา

ข้อมือจักรกล และมอบผลลัพธ์เป็นกลไก คาลิเบอร์ แอลเอ็ม101 (LM101) ที่นับเป็นกลไกชุดแรกซึ่งคิดค้นขึ้นทั้งหมดโดย

ทีมวิศวกรรมภายในโรงงานของตนเอง ณ เอ็มบีแอนด์เอฟ และเป็นผลงานชุดแรกที่ตามมาด้วยการพัฒนากลไกอีก

มากมาย

2014 เอชเอ็ม6 สเปซ ไพเรท (HM6 Space Pirate)

อีกหนึ่งผลงานสร้างสรรค์ของ ออโรโลจิคัล แมชชีน จากความหลงใหลของ แม็กซิมิเลียน บูซเซอร์ ที่มีต่อนิยายวิทยาศาสตร์ ซึ่งในรุ่นนี้ได้ถ่ายทอดถึงยานอวกาศหลากหลายรูปทรงกลมจากตัวละครโทรทัศน์อนิเมะของญี่ปุ่น “กัปตัน ฟิวเจอร์” (“Captain Future”) โดยเอชเอ็ม6 ยังเฉลิมฉลองการเปิดตัวแห่งภาษางานออกแบบสไตล์ออร์แกนิคและชีวมอร์ฟิซึมมากขึ้นโดยเอ็มบีแอนด์เอฟ

2015 เอชเอ็มเอ็กซ์ (HMX)

ผลงานรุ่นที่สองของเรือนเวลาที่ได้แรงบันดาลใจมาจากซูเปอร์คาร์ของเอ็มบีแอนด์เอฟ ที่ เอชเอ็มเอ็กซ์ ได้ร่วมเฉลิมฉลอง

ครบรอบ 10 ปีของเอ็มบีแอนด์เอฟ และแทนที่จะเป็นการพัฒนาเรือนเวลาเฉลิมฉลองครบรอบที่มีความซับซ้อนพิเศษและ

ราคาสูงพิเศษ ซึ่งมักเป็นวิถีแบบฉบับของโลกลักชัวรี แต่เอ็มบีแอนด์เอฟได้เลือกรังสรรค์เรือนเวลาคุณภาพสูง แม้อาจจะ

ได้ผลตอบแทนน้อย แต่เป็นการนำเสนอนิยามแห่ง ออโรโลจิคัล แมชชีน อย่างแท้จริง ในราคาที่ยังไม่เคยมีมาก่อน

2015 แอลเอ็ม เพอร์เพทชวล (LM Perpetual)

เอ็มบีแอนด์เอฟจับมือร่วมกับช่างนาฬิกาอิสระ สตีเฟน แมคดอนเนลล์ เพื่อประดิษฐ์คิดค้นขึ้นใหม่ให้กับจักรกลปฏิทินถาวร หรือเพอร์เพทชวล คาเลนดาร์ตามประเพณี และผลลัพธ์ที่ได้นั้นคือการเปิดตัวอันน่าทึ่งของ เลกาซี แมชชีน เพอร์เพทชวล ที่มอบทั้งความไว้วางใจเชื่อถือได้และเป็นมิตรต่อผู้ใช้งาน โดยในงาน กรังด์ ปรีซ์ เดอ’ออร์โลเฌอรี เดอ เฌแนฟ ปี ค.ศ. 2016 รางวัลนาฬิกาปฏิทินยอดเยี่ยม (Best Calendar Watch Prize) ได้ตกเป็นของ แอลเอ็ม เพอร์เพทชวล  

2016 เอชเอ็ม8 แคน-แอม (HM8 Can-Am)

แมชชีนรุ่นที่สาม ที่ได้แรงบันดาลใจมาจากโลกยนตรกรรมของเอ็มบีแอนด์เอฟ ที่ เอชเอ็ม8 ยังร่วมอุทิศให้กับรถแข่ง แคน-แอม (Can-Am) อันเปี่ยมด้วยขุมพลังของปลายยุค 1960s และ 70s โดยมาพร้อมโรลล์บาร์ (rollbars) ไทเทเนียมซึ่งกวาดจากด้านบนของด้านหน้าแมชชีนสู่ด้านหลังของนาฬิกา ร่วมไปกับโรเตอร์ขึ้นลานที่สามารถมองเห็นได้อย่างสมบูรณ์ชัดเจน

2017 เอชเอ็ม7 อควอพอด (HM7 Aquapod)

นับเป็นครั้งแรกที่ ออโรโลจิคัล แมชชีน ของเอ็มบีแอนด์เอฟ ได้ออกจากผืนฟ้า ท้องถนนและอวกาศ และดำดิ่งสู่ผืนน้ำ ด้วยแมชชีนที่ได้แรงบันดาลใจมาจากการเผชิญหน้ากับแมงกะพรุน ด้วยงานออกแบบตัวเรือนออร์แกนิค บรรจุไว้ด้วยกลไกจักรกลไขลานอัตโนมัติ พร้อมทั้งติดตั้งด้านบนด้วยฟลายอิ้งทูร์บิญอง (flying tourbillon) หมุนรอบ 60 วินาทีกลาง กับ   ขอบตัวเรือนปรับหมุนได้ทิศทางเดียว ราวกับ “ลอย” (“floating”) ที่เติมเต็มธรรมชาติใต้ผืนน้ำของ เอชเอ็ม7 อควอพอด

2017 แอลเอ็ม เอสอี (LM SE)

อีกครั้งกับการทำงานร่วมกับ สตีเฟน แมคดอนเนลล์ ที่เอ็มบีแอนด์เอฟได้นำเสนอผลงานรุ่น แอลเอ็ม สปลิท เอสเคปเม้นท์ (LM Split Escapement) (LM SE) ซึ่งถ่ายทอดความสวยงามของฟลายอิ้งบาลานซ์วีล และสปลิทเอสเคปเม้นท์ ที่แรกเริ่มคิดค้นขึ้นสำหรับ แอลเอ็ม เพอร์เพทชวล 

และในปี ค.ศ. 2021 แอลเอ็ม เอสอี ได้ทำหน้าที่เป็นดั่งผืนผ้าใบให้กับซีรีส์เรือนเวลาพิเศษเพียง 8 เรือน ที่ได้แรงบันดาลใจมาจากฌูล แวร์น (Jules Verne) โดยการสร้างสรรค์ขึ้นร่วมกับนักแกะสลักระดับมาสเตอร์ เอ็ดดี้ ฌาเกต์ (Master Engraver Eddy Jaquet) ซึ่งซีรีส์นี้ชนะรางวัลงานหัตถศิลป์ (Artistic Crafts Prize) ในปี ค.ศ. 2021 ณ งาน กรังด์ ปรีซ์ เดอ’ออร์โลเฌอรี เดอ เฌแนฟ

2018 เอชเอ็ม9 โฟลว (HM9 Flow)

ได้แรงบันดาลใจมาจากรูปทรงตามหลักอากาศพลศาสตร์ของยนตรกรรมและเครื่องบินที่เป็นงานออกแบบอันโดดเด่นของยุคกลางศตวรรษ ที่เอชเอ็ม9 โฟลว นั้นได้เดินรอยตามเส้นทางซึ่งบุกเบิกไว้โดย เอชเอ็ม4 ธันเดอร์โบลต์ และเอชเอ็ม6 สเปซ ไพเรท โดยกลไกซับซ้อนภายในนั้นได้หวนคืนอีกครั้งสู่ระบบเรกูเลเตอร์คู่ที่พบครั้งแรกในผลงาน แอลเอ็ม2

2019 แอลเอ็ม ฟลายอิ้งที (LM FlyingT)

แม็กซิมิเลียน บูซเซอร์ ได้เลือกคอลเลกชัน เลกาซี แมชชีน เพื่อเปิดตัวเรือนเวลารุ่นแรกของเขาซึ่งได้แรงบันดาลใจโดย

สุภาพสตรีในครอบครัวของเขาเอง ภายใต้ผลงาน แอลเอ็ม ฟลายอิ้งที และต่อมาในปีเดียวกัน แอลเอ็ม ฟลายอิ้งที ยังคว้า

รางวัลนาฬิกาสลับซับซ้อนสำหรับสุภาพสตรียอดเยี่ยม (Best Ladies’ Complication) ในงาน กรังด์ ปรีซ์ เดอ’ออร์โลเฌอรี

เดอ เฌแนฟ

2019 แอลเอ็ม ธันเดอร์โดม (LM Thunderdome)

เอ็มบีแอนด์เอฟ, คาริ วูทิไลเนน (Kari Voutilainen) และช่างนาฬิกาชื่อดัง เอริค คูเดรย์ (Eric Coudray) ได้ทำลายสถิติโลก

ร่วมกัน ด้วยผลงานรุ่น แอลเอ็ม ธันเดอร์โดม เรือนเวลาเรกูเลเตอร์สามแกน (triple-axis regulator) เร็วที่สุดในโลก ที่มา

พร้อมสามแกนซึ่งหมุนรอบใน 8 วินาที, 12 วินาที และ 20 วินาที 

2020 เอชเอ็ม10 บูลด็อก (HM10 Bulldog)

ออกแบบด้วยความคล้ายกับสุนัขบูลด็อก เอชเอ็ม10 ได้นำเสนอ “สิ่งที่ดีที่สุด” จากเอ็มบีแอนด์เอฟ แมชชีน ก่อนหน้า ด้วย

ตัวเรือนรูปทรงแปลกตา รวมถึงเม็ดมะยมไขลานแยก พร้อมทั้งโดมหมุนแสดงชั่วโมงและนาที กับฟลายอิ้งบาลานซ์วีล...

และการแสดงพลังงานสำรองแบบสามมิติ ซึ่งสร้างรูปขึ้นโดยกรามปากของเจ้าบูลด็อกเรือนนี้ ที่เปิดอ้าและหุบลงเพื่อแสดง

พลังงานคงเหลือ

2021 แอลเอ็มเอ็กซ์ (LMX)

เหมือนกับชื่อซึ่งบอกเป็นนัย ที่ แอลเอ็มเอ็กซ์ นั้นร่วมเฉลิมฉลอง 10 ปีของ เลกาซี แมชชีน (ค.ศ. 2011 – 2021) พร้อมทั้ง

สะท้อนถึงคุณลักษณะเฉพาะของ แอลเอ็ม1 แต่เป็นการตีความขึ้นใหม่ทั้งหมด โดย แอลเอ็มเอ็กซ์ นำเสนอด้วยการแสดง

เวลาสองไทม์โซน และการแสดงพลังงานสำรองแบบสามมิติ ขณะเดียวกันยังมาพร้อมหน้าปัดแบบเอียง และงานออกแบบ

ตัวเรือนเพรียวปราดเปรียวที่ได้มาจาก แอลเอ็ม ฟลายอิ้งที และแอลเอ็ม ธันเดอร์โดม ในปีเดียวกันนี้ แอลเอ็มเอ็กซ์ยังคว้า

รางวัลนาฬิกาสลับซับซ้อนสำหรับสุภาพบุรุษ (Men’s Complication) ในงาน กรังด์ ปรีซ์ เดอ’ ออร์โลเฌอรี เดอ เฌแนฟ2022 แอลเอ็ม ซีเควนเชียล อีโว (LM Sequential EVO)

ด้วยความร่วมมือของเพื่อนซึ่งร่วมงานกันมาอย่างยาวนาน อย่าง สตีเฟน แมคดอนเนลล์ เอ็มบีแอนด์เอฟได้ประดิษฐ์

คิดค้นนาฬิกาโครโนกราฟขึ้นใหม่ด้วยนวัตกรรมของระบบโครโนกราฟคู่ ซึ่งนำเสนอโหมดการจับเวลาที่หลากหลาย โดย

กุญแจสำคัญสู่ทางออกอันน่าทึ่งนี้คือ “ทวินเวอร์เตอร์” ปุ่มกดที่ช่วยให้สามารถใช้งานบนโครโนกราฟทั้งสองชุดได้พร้อมกัน

‘เพื่อน’ ผู้รับผิดชอบการสร้างสรรค์ เลกาซี แมชชีน ซีเควนเชียล อีโ 

แนวคิด: Maximilian Büsser / MB&F

ออกแบบผลิตภัณฑ์:  Eric Giroud / Through the Looking Glass

บริหารจัดการด้านเทคนิคและการผลิต: Serge Kriknoff / MB&F

ออกแบบกลไกและตกแต่งคุณสมบัติจำเพาะ: Stephen McDonnell and MB&F

พัฒนากลไก: Movement development: Stephen McDonnell, MB&F

วิจัยและพัฒนา: Thomas Lorenzato, Joey Miserez and Julien Peter / MB&F

เฟือง เฟืองเล็ก, เฟืองเล็ก และแกน: Jean-François Mojon / Chronode, Paul-André Tendon / Bandi, Daniel Gumy / Decobar Swiss, Rodrigue Baume / HorloFab, DMP, Le Temps Retrouvé and Roud’Hor SA

บาลานซ์วีล: Sébastien Jeanneret / Atokalpa, Benjamin Signoud / AMECAP and Marc Bolis / 2B8

สปริงและจัมเปอร์: Alain Pellet / Elefil Swiss

ตลับลาน: Stefan Schwab / Schwab-Feller

ทับทิม: Pierhor / Crelier

การแกะสลักด้วยมือของกลไก: Glypto

เฟล็กซ์ริง: Laser Automation

การขัดแต่งด้วยมือของชิ้นส่วนกลไก: Jacques-Adrien Rochat and Denis Garcia / C-L Rochat and DSMI Electronics SA

การเคลือบพีวีดี/ซีวีดี: Pierre-Albert Steinmann / Positive Coating

การประกอบกลไก: Didier Dumas, Georges Veisy, Anne Guiter, Emmanuel Maitre , Henri Porteboeuf and Mathieu Lecoultre / MB&F

ตัวเรือนและชิ้นส่วนกลไก: Alain Lemarchand, Jean-Baptiste Prétot and Romain Camplo / MB&F

บริการหลังการขาย: Thomas Imberti / MB&F

ควบคุมคุณภาพ: Cyril Fallet and Jennifer Longuepez / MB&F

การตกแต่งตัวเรือน: Sandra Lambert / Bripoli

หน้าปัดและสารเรืองแสงซูเปอร์-ลูมิโนวา บนหน้าปัดต่างๆ: Cadramont SA

หัวเข็มขัดสาย: G&F Chatelain

เม็ดมะยมและตัวปรับตั้งความถูกต้อง: Boninchi

เข็มชี้: Waeber HMS

กระจกแซฟไฟร์: Novocristal

การเคลือบสารกันแสงสะท้อนบนกระจกแซฟไฟร์: Anthony Schwab / Econorm

สาย: Thierry Rognon / Valiance

กล่องบรรจุภัณฑ์: Olivier Berthon / Soixanteetonze

โลจิสติกส์และการผลิต: David Lamy, Ashley Moussier, Fanny Boutier, Houda Fayroud and Mélanie Ataide / MB&F

การตลาดและสื่อสาร: Charris Yadigaroglou, Vanessa André, Arnaud Légeret and Paul Gay / MB&F

M.A.D.Gallery: Hervé Estienne / MB&F

ฝ่ายขาย: Thibault Verdonckt, Virginie Marchon, Cédric Roussel, Jean-Marc Bories and Augustin Chivot / MB&F

ออกแบบกราฟิก: Sidonie Bays / MB&F

ภาพถ่ายผลิตภัณฑ์: Maarten van der Ende and Gustavo Kuri

ภาพถ่ายบุคคล: Régis Golay / Federal

เว็บมาสเตอร์: Stéphane Balet / Idéative

ภาพยนตร์: Fabrice Rabhi / Le Truc, Manouil Karapetsis and Dominik Lang / Brosky Media

เนื้อหา: Suzanne Wong / Worldtempus

MB&F ต้นกำเนิดแห่งแนวคิดห้องปฏิบัติการด้านเครื่องจักรกลบอกเวลา

ก่อตั้งขึ้นในปี ค.ศ. 2005 เอ็มบีแอนด์เอฟ (MB&F) คือห้องปฏิบัติการเครื่องจักรกลบอกเวลาแนวคิดใหม่แห่งแรกของโลก ด้วยชุดกลไกที่น่าทึ่งเกือบ 20 ชุด ที่สร้างฐานอันมั่นคงให้กับเครื่องจักรกลบอกเวลาอันมีชื่อเสียง ทั้งในคอลเลกชัน ออโรโลจิคัล แมชชีน (Horological Machines) และ เลกาซี แมชชีน (Legacy Machines) โดยเอ็มบีแอนด์เอฟ ยังคงดำเนินรอยตามวิสัยทัศน์ของ แม็กซิมิเลียน บูซเซอร์ (Maximilian Büsser) ผู้ก่อตั้งและผู้อำนวยการด้านการสร้างสรรค์ ในการสร้างศิลปะจลศาสตร์สามมิติที่แตกต่างจากการประดิษฐ์นาฬิกาแบบดั้งเดิม

หลัง 15 ปีของการบริหารงานให้กับเหล่าแบรนด์นาฬิกาอันทรงเกียรติ แม็กซิมิเลียน บูซเซอร์ ได้ลาออกจากตำแหน่งผู้อำนวยการบริหาร ณ แฮร์รี วินสตัน (Harry Winston) ในปี ค.ศ. 2005 เพื่อสร้างสรรค์แบรนด์ เอ็มบีแอนด์เอฟ (MB&F) ที่ย่อมาจาก แม็กซิมิเลียน บูซเซอร์ แอนด์ เฟรนด์ส (Maximilian Büsser & Friends) โดย เอ็มบีแอนด์เอฟ เป็นห้องปฏิบัติการเชิงศิลป์และวิศวกรรมจุลภาค ที่ทุ่มเทให้กับการออกแบบและประดิษฐ์รังสรรค์นาฬิกาตามแนวคิดสุดขั้ว ด้วยจำนวนการผลิตไม่มาก แต่เป็นการรวบรวมเหล่ายอดฝีมือและมืออาชีพด้านเครื่องบอกเวลาผู้เปี่ยมด้วยพรสวรรค์ ที่บูซเซอร์ทั้งให้ความเคารพและสนุกกับการทำงานร่วมกัน

ในปี ค.ศ. 2007 เอ็มบีแอนด์เอฟ เปิดตัวนาฬิกา ออโรโลจิคัล แมชชีน (Horological Machine) รุ่นแรกใน เอชเอ็ม1 (HM1) ภายใต้ประติมากรรมตัวเรือนสามมิติและเครื่องยนต์ (กลไก) ที่ได้รับการตกแต่งอย่างสวยงาม ซึ่งได้มอบมาตรฐานให้กับเหล่านาฬิกาในตระกูล ออโรโลจิคัล แมชชีน รุ่นถัดมา ที่นับเป็นแมชชีน (Machines) ทุกๆ เรือนซึ่งบอกเวลาได้ มิใช่เป็นเพียงในฐานะเครื่องบอกเวลาเท่านั้น โดย ออโรโลจิคัล แมชชีน ได้ออกสำรวจมาแล้วทั้งในโลกอวกาศ (เอชเอ็ม2 (HM2), เอชเอ็ม3 (HM3), เอชเอ็ม6 (HM6)), ท้องฟ้า (เอชเอ็ม4 (HM4), เอชเอ็ม9 (HM9)), ท้องถนน (เอชเอ็ม5 (HM5), เอชเอ็มเอ็กซ์ (HMX), เอชเอ็ม8 (HM8)) และอาณาจักรของสัตว์ (เอชเอ็ม7 (HM7), เอชเอ็ม10 (HM10))

ในปี ค.ศ. 2011 เอ็มบีแอนด์เอฟ เปิดตัวคอลเลกชัน เลกาซี แมชชีน ภายใต้ตัวเรือนทรงกลมร่วมสมัย โดยผลงานเหล่านี้เป็นมากกว่าความคลาสสิกซึ่งรังสรรค์ขึ้นเพื่อสดุดีให้กับความเป็นเลิศของการประดิษฐ์นาฬิกาในศตวรรษที่ 19 โดยการตีความใหม่ให้กับความซับซ้อนจากเหล่านักประดิษฐ์นวัตกรรมเรือนเวลาผู้ยิ่งใหญ่ในอดีตเพื่อสร้างสรรค์งานศิลปะร่วมสมัย เริ่มจากผลงาน แอลเอ็ม1 (LM1) และแอลเอ็ม2 (LM2) จากนั้นจึงตามมาด้วย แอลเอ็ม101 (LM101) ที่นับเป็นเครื่องจักรบอกเวลาหรือแมชชีนของ เอ็มบีแอนด์เอฟ รุ่นแรก ที่นำเสนอด้วยกลไกซึ่งพัฒนาขึ้นทั้งหมดภายในโรงงานของตนเอง (in-house) ก่อนจะขยายคอลเลกชันนี้ไปสู่ความสมบูรณ์แบบและซับซ้อนของทั้งผลงาน แอลเอ็ม เพอร์เพทชวล (LM Perpetual), แอลเอ็ม สปลิท เอสเคปเมนท์ (LM Split Escapement) และแอลเอ็ม ธันเดอร์โดม (LM Thunderdome) โดยในปี ค.ศ. 2019 นับเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญ กับการสร้างสรรค์ เอ็มบีแอนด์เอฟ แมชชีน รุ่นแรกที่อุทิศให้กับสุภาพสตรี นั่นคือ แอลเอ็ม ฟลายอิ้งที (LM FlyingT) และเอ็มบีแอนด์เอฟได้เฉลิมฉลอง 10 ปีของ เลกาซี แมชชีน ในปี ค.ศ. 2021 ด้วย      แอลเอ็มเอ็กซ์ (LMX) ซึ่งโดยปกติแล้ว เอ็มบีแอนด์เอฟจะสลับระหว่างการเปิดตัว ออโรโลจิคัล แมชชีน อันร่วมสมัยและแปลกแหวกแนวไปจากประเพณีดั้งเดิม กับผลงานของ เลกาซี แมชชีน ที่ได้แรงบันดาลใจมาจากประวัติศาสตร์อันยิ่งใหญ่

โดยมี เอฟ (F) ที่หมายถึงผองเพื่อน (Friends) และเป็นไปโดยธรรมชาติที่ เอ็มบีแอนด์เอฟได้พัฒนาความร่วมมือขึ้นมากมายร่วมกับเหล่าศิลปิน ช่างนาฬิกา นักออกแบบ และผู้ผลิต ที่พวกเขาต่างยกย่อง

และด้วยความร่วมมือนี้เองที่ได้นำพามาซึ่งสองสาขาใหม่ นั่นคือศิลปะการแสดง (Performance Art) และความร่วมมือแห่งการสร้างสรรค์ (Co-creations) ขณะที่ชิ้นงานศิลปะการแสดงนั้นคือแมชชีนรุ่นต่างๆ ของ เอ็มบีแอนด์เอฟ ที่ได้นำมากลับมารังสรรค์ใหม่อีกครั้งโดยผู้เชี่ยวชาญและเปี่ยมด้วยพรสวรรค์จากนอกองค์กร กับความร่วมมือแห่งการสร้างสรรค์ต่างๆ ที่ไม่ได้จำกัดเฉพาะเพียงนาฬิกาข้อมือ แต่ยังรวมไปถึงประเภทอื่นๆ ของเครื่องยนต์จักรกลหรือแมชชีน ที่ผ่านการคิดค้นทางวิศวกรรมและรังสรรค์ขึ้นด้วยงานฝีมือโดยเหล่าผู้ผลิตนาฬิกาสวิสจากแนวคิดและงานออกแบบของ เอ็มบีแอนด์-เอฟ และผลงานหลายๆ ชิ้นจากความร่วมมือแห่งการสร้างสรรค์เหล่านี้ อาทิ นาฬิกาคล็อกบอกเวลาที่สร้างสรรค์ขึ้นร่วมกับ เลเป 1839 (L’Epée 1839) เช่นเดียวกับความร่วมมืออื่นๆ กับ รูช (Reuge) และคารันดาช (Caran d’Ache) ที่ได้สร้างสรรค์หลากหลายรูปแบบของศิลปะจักรกลไว้ด้วยกัน

และเพื่อมอบสถานที่ที่เหมาะสมสำหรับเครื่องยนต์จักรกลหรือแมชชีนเหล่านี้ทั้งหมด บูซเซอร์ได้มีแนวคิดของการจัดแสดง ผลงานเหล่านี้ไว้ภายในแกลลอรีศิลปะ ร่วมไปกับอีกหลากหลายรูปแบบของศิลปะจักรกลที่สร้างสรรค์ขึ้นโดยศิลปินแขนงอื่นๆ ที่เป็นมากไปกว่าการจัดแสดงหน้าร้านเหมือนทั่วไป และนั่นได้นำมาสู่การสร้างสรรค์ของ เอ็มบีแอนด์เอฟ แมดแกลลอรี (MB&F M.A.D.Gallery) (M.A.D. หมายถึง Mechanical Art Devices) แห่งแรกขึ้นในเจนีวา ซึ่งต่อมายังได้เปิดตัวตามมาโดยเหล่าแมดแกลลอรีแห่งต่างๆ ทั้งในไทเป ดูไบ และฮ่องกง

มากไปกว่านั้น ยังมีรางวัลอันโดดเด่นอีกมากมายที่ย้ำเตือนถึงธรรมชาติแห่งนวัตกรรมการเดินทางสร้างสรรค์สำหรับเอ็มบีแอนด์เอฟ ซึ่งหากจะกล่าวถึงบางส่วนแล้ว มีไม่น้อยกว่า 7 รางวัลจากเวทีอันมีชื่อเสียงและทรงเกียรติสูงสุดของ     กรังด์ ปรีซ์ เดอ’ออร์โลเฌอรี เดอ เฌแนฟ (Grand Prix d'Horlogerie de Genève) เช่นในปี ค.ศ. 2021 เอ็มบีแอนด์เอฟ ได้รับสองรางวัลอันทรงเกียรติ โดยรางวัลหนึ่งสำหรับผลงานรุ่น แอลเอ็มเอ็กซ์ (LMX) ในฐานะนาฬิกาสลับซับซ้อนสำหรับสุภาพบุรุษยอดเยี่ยม (Best Men’s Complication) และอีกหนึ่งรางวัลจาก แอลเอ็ม เอสอี เอ็ดดี้ ฌาเกต์ ‘อะราวนด์ เดอะ เวิลด์ อิน เอจตี้ เดย์ส’ (LM SE Eddy Jaquet ‘Around The World in Eighty Days’) ในประเภท ‘งานหัตถศิลป์’ (‘Artistic Crafts’) ขณะที่ในปี ค.ศ. 2019 จากรางวัลนาฬิกาสลับซับซ้อนสำหรับสุภาพสตรียอดเยี่ยม (Best Ladies Complication) ที่มอบให้กับ แอลเอ็ม ฟลายอิ้งที (LM FlyingT) และในปี ค.ศ. 2016 จาก แอลเอ็ม เพอร์เพทชวล (LM Perpetual) ที่ชนะรางวัลนาฬิกาปฏิทินยอดเยี่ยม (Best Calendar Watch) หรือเช่นในปี ค.ศ. 2012 ที่ เลกาซี แมชชีน นัมเบอร์ 1 (Legacy Machine No.1) ได้คว้ารางวัลทั้งในสาขารางวัลสาธารณชน (Public Prize) (ซึ่งโหวตโดยเหล่าคนรักเรือนเวลา) และรางวัลนาฬิกาสุภาพบุรุษยอดเยี่ยม (Best Men’s Watch Prize) (โหวตให้โดยคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ) และในปี ค.ศ. 2010 เอ็มบีแอนด์เอฟ ชนะรางวัลนาฬิกาคอนเซปต์และงานออกแบบยอดเยี่ยม (Best Concept and Design Watch) จากผลงานรุ่น เอชเอ็ม4 ธันเดอร์โบลต์ (HM4 Thunderbolt) ส่วนในปี ค.ศ. 2015 เอ็มบีแอนด์เอฟได้รับรางวัลยอดเยี่ยมของ  เรด ดอท (Red Dot: Best of the Best) ซึ่งนับเป็นรางวัลสูงสุดของการมอบรางวัลระดับสากล เรด ดอท อวอร์ดส (Red Dot Awards) จากผลงานรุ่น เอชเอ็ม6 สเปซ ไพเรท (HM6 Space Pirate)