posttoday

แวกาบอนเดจ วัน โกลด์ บทส่งท้ายของนาฬิกาทริโลจี ที่เริ่มต้นขึ้นเมื่อ 18 ปีก่อน

19 เมษายน 2565

ในปี ค.ศ. 1997 ฟรองซัวส์-พอล ฌูร์น (Fran?ois-Paul Journe) ได้สร้างสรรค์นาฬิกาเรือนพิเศษให้กับเพื่อนคนหนึ่ง ซึ่งนาฬิกาเรือนนั้นติดตั้งไว้ด้วยกลไกจักรกลไขลานอัตโนมัติเฉพาะหนึ่งเดียวและบรรจุภายในตัวเรือนเยลโลโกลด์ทรงกลม โดยตั้งชื่อให้ว่า คาร์เปเดียม (CARPEDIEM) ผลงานเรือนนี้ยังมาพร้อมหน้าปัดแสดงชั่วโมงกระโดดแบบหมุนกวาด (wandering jump hour) ไปรอบๆ บาลานซ์วีล (balance wheel) ณ ศูนย์กลางแบบเปิดให้สามารถมองเห็นได้ และต่อมา ฟรองซัวส์-พอล ฌูร์น จึงได้พัฒนานาฬิกาข้อมือแสดงชั่วโมงแบบหมุนกวาดเดียวกันนี้ขึ้นด้วยการขับเคลื่อนของกลไกจักรกลไขลานด้วยมือ ซึ่งแทบจะถอดแบบหน้าปัดมาจาก คาร์เปเดียม เรือนนั้น แม้ว่าจะผ่านการออกแบบขึ้นใหม่เพื่อให้เหมาะและรับกับตัวเรือน แฟลต ตอร์ตู (Flat Tortue?) มากขึ้น อย่างไรก็ดี ด้วยเพราะเขาเองนั้นยุ่งอยู่กับโครงการอื่นๆ จึงทำให้ตัดสินใจทิ้งรุ่นนี้ไว้เพียงในขั้นตอนโปรโตไทป์ (prototype) เท่านั้น

จวบจนในปี ค.ศ. 2003 ฟรองซัวส์-พอล ฌูร์น ได้รับการติดต่อโดย แอนติควอรัม (Antiquorum) ซึ่งเตรียมจัดงานประมูลการกุศลในโอกาสครบรอบ 30 ปี โดยมอบรายได้สมทบทุนให้กับ ไอซีเอ็ม ฟาวน์เดชัน (ICM Foundation) ซึ่งพวกเขากำลังตามหานาฬิกาเฉพาะหนึ่งเดียว หรือ <<unique piece>> และด้วยกรอบเวลาที่จำกัดเพียงหกเดือน ดังนั้น จึงแทบเป็นไปไม่ได้ที่จะมองหาสิ่งที่สร้างสรรค์ขึ้นมาใหม่ในช่วงเวลาอันแสนสั้นนี้ เขาจึงตัดสินใจทำงานใหม่อีกครั้งกับนาฬิกาโปรโตไทป์ แวกาบอนเดจ (Vagabondage) และในที่สุด ก็ไม่ได้มีผลงานเพียงเรือนเดียว แต่มีถึงสามเรือนเวลาเฉพาะหนึ่งเดียวของ <<Vagabondage>> ที่ถูกเปิดตัว โดยหนึ่งในนั้นมาพร้อมตัวเรือนโรสโกลด์ อีกเรือนมาพร้อมตัวเรือนเยลโลโกลด์ และอีกหนึ่งเรือนมาพร้อมตัวเรือน       ไวท์โกลด์ โดยทั้งสามเรือนติดตั้งด้วยกลไกทองเหลือง (Brass) และด้วยเหตุผลด้านความสวยงาม ชื่อของแบรนด์จึงหายไปจากหน้าปัด โดยการประมูลครั้งนี้ได้รับความสำเร็จอย่างมาก ขณะที่ ฟรองซัวส์-พอล ฌูร์น ก็ได้รับทั้งเสียงตอบรับและเสียงเรียกร้องมากมาย ซึ่งรวมไปถึงการนำนาฬิการุ่นนี้มาอยู่ในสายการผลิตของเขา และเพื่อทำให้สามารถครอบครองได้โดยกลุ่มนักสะสมในวงกว้างมากขึ้น เขาจึงเห็นด้วยที่จะผลิตนาฬิการุ่นนี้ขึ้นอีกครั้ง แต่ด้วยการจำกัดจำนวนการผลิต พร้อมทั้งมอบความแตกต่างด้านความสวยงามไปจากผลงานสร้างสรรค์อื่นๆ ของเขา ณ เวลานั้น 

ค.ศ. 2004

แวกาบอนเดจ วัน (Vagabondage I) – คาลิเบอร์ 1504 (Calibre 1504)

แวกาบอนเดจ วัน เป็นเรือนเวลาแรกที่ได้รับการปรับปรุงในจำนวนการผลิตที่จำกัดของตัวเรือนแพลทินัม 69 เรือน พร้อมด้วยกลไกโรสโกลด์ โดยบรรจุการแสดงชั่วโมงแบบตัวเลขกระโดดหรือจั๊มปิ้ง (jumping) ภายในช่องหน้าต่างแบบหมุนกวาด และด้วยตำแหน่งสำหรับแสดงนาที โดยเหมือนกับนาฬิกาทริโลจี (trilogy) สามเรือนที่เคยนำเสนอในงานประมูลเมื่อปี ค.ศ. 2003 ที่หน้าปัดของรุ่นนี้ปราศจากข้อความหรือชื่อแบรนด์ใดๆ รวมถึงคงความพิเศษของการใช้กลไกจักรกลไขลานด้วยมือ

แวกาบอนเดจ วัน โกลด์  บทส่งท้ายของนาฬิกาทริโลจี ที่เริ่มต้นขึ้นเมื่อ 18 ปีก่อน

ค.ศ. 2010

แวกาบอนเดจ ทู (Vagabondage II) – คาลิเบอร์ 1509 (Calibre 1509)

เพื่อรักษาไว้ซึ่งสัญลักษณ์อันเปี่ยมด้วยสไตล์ของรุ่นก่อนหน้า แวกาบอนเดจ ทู ถูกบรรจุในตัวเรือน แฟลต ตอร์ตู ทำจากแพลทินัม แต่มาพร้อมกับการแสดงเวลาชั่วโมงแบบตัวเลขและนาทีแบบตัวเลข ด้วยชื่อเสียงและการขยายกลุ่มนักสะสมที่เติบโตขึ้นอย่างมาก ฟรองซัวส์-พอล ฌูร์น จึงตัดสินใจผลิตนาฬิกา 68 เรือน ในตัวเรือนทอง 6N เพิ่มเติมจากตัวเรือนแพลทินัม 69 เรือน และสำหรับ   นักสะสมที่เก็บแบบซีรีส์นั้น เขาได้มอบโอกาสให้เจ้าของนาฬิกา แวกาบอนเดจ วัน แต่ละคนมีสิทธิได้ครอบครองหมายเลขประจำตัวเรือน (serial number) เดียวกันใน แวกาบอนเดจ ทู

ค.ศ. 2017

แวกาบอนเดจ ทรี (Vagabondage III) – คาลิเบอร์ 1514 (Calibre 1514)

ในปี ค.ศ. 2017 ซีรีส์สุดท้ายได้ปรากฏตัวขึ้น และคู่ด้วยการเป็นครั้งแรกในโลก ที่ แวกาบอนเดจ ทรี นั้นมาพร้อมการแสดงชั่วโมงแบบตัวเลข และวินาทีแบบตัวเลข ซึ่งฟังก์ชันนี้ไม่เคยถูกพัฒนามาก่อนในโลกแห่งการประดิษฐ์นาฬิกา เนื่องจากจำเป็นต้องอาศัยซึ่งความสลับซับซ้อนสูง โดย แวกาบอนเดจ ทรี มีจำนวนจำกัดเพียง 68 เรือน ในตัวเรือนทอง 6N เพิ่มเติมจาก 69 เรือนในตัวเรือนแพลทินัม และเป็นอีกครั้งที่ ฟรองซัวส์-พอล ฌูร์น มอบโอกาสในการครอบครองนาฬิกาแรกๆ ให้กับบรรดาเจ้าของ แวกาบอนเดจ ทู ได้เลือกหมายเลขประจำตัวเรือนเดียวกัน

ค.ศ. 2022

แวกาบอนเดจ วัน โกลด์ (Vagabondage I Gold) – คาลิเบอร์ 1504.2 (Calibre 1504.2)

เพื่อเติมเต็มความสมบูรณ์ให้กับนาฬิกาทริโลจีในตัวเรือนทอง เอฟ.พี.ฌูร์น จึงนำเสนอเวอร์ชันสุดท้ายนี้ ซึ่งอย่างไรก็ดี ไม่ได้เป็นการถอดแบบทั้งหมดมาจาก แวกาบอนเดจ วัน แพลทินัม (Vagabondage I Platinum) ที่เปิดตัวแนะนำในปี ค.ศ. 2004 แต่เป็นการเติมเต็มช่องว่างในช่วงเกือบ 18 ปีที่ผ่านมา โดยใน แวกาบอนเดจ วัน โกลด์ นี้มาพร้อมกับกลไกพัฒนาปรับปรุงใหม่ ด้วยรหัสอ้างอิง 1504.2 ซึ่งยังคงเป็นกลไกจักรกลไขลานด้วยมือ และตัวเรือนขนาด 45.2 x 37.5 มม. และเหมือนดังที่ ฟรองซัวส์-พอล ฌูร์น ได้กล่าวว่า “นาฬิกา แวกาบอนเดจ รุ่นแรกอาจนับได้ว่าเป็นรุ่นโปรโตไทป์ ณ เวลานั้น ในวันนี้ เราจึงมีประสบการณ์ที่จะสร้างสิ่งที่ดียิ่งกว่า กับกลไกคาลิเบอร์ที่ไว้วางใจเชื่อถือได้มากขึ้น ดังนั้น จึงเป็นกลไกใหม่และเป็นกลไกที่ได้รับการพัฒนาปรับปรุงมากขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับความพยายามแรก โดยกลไกชุดแรกนั้นคือ คาลิเบอร์ 1504 และในกลไกใหม่นี้คือ คาลิเบอร์ 1504.2”

และเหมือนกับ แวกาบอนเดจ รุ่นก่อนหน้าอื่นๆ ที่รุ่นนี้จะยังคงมอบสิทธิให้กับเหล่านักสะสมได้จับคู่หมายเลขประจำตัวเรือนเดียวกันกับ แวกาบอนเดจ ทู และทรี ในตัวเรือนทองของพวกเขา

แวกาบอนเดจ วัน โกลด์  บทส่งท้ายของนาฬิกาทริโลจี ที่เริ่มต้นขึ้นเมื่อ 18 ปีก่อน

ข้อมูลจำเพาะทางเทคนิค

กลไก                           

คาลิเบอร์ 1504.2 ทำจากโรสโกลด์ 18 กะรัต

จักรกลไขลานด้วยมือ

ทับทิม 21 เม็ด

ขนาดของกลไก                         

ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางรวม: 29.30 x 28.20 มม.

ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางเมื่อประกอบตัวเรือน: 27.30 x 27.30 มม.

ความหนารวม: 5.00 มม.

ความหนาของก้านไขลาน: 2.50 มม.

ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางของก้านเส้นด้าย: เอส0.90 มม.

บาลานซ์                    

บาลานซ์ พร้อมด้วยตุ้มถ่วงความเฉื่อย 14 ตัว

สปริงไมโครเฟลม อนาครอน (Anachron) เรียบแบน

ตัวรองรับหมุดเคลื่อนไหว

นิวาทรอนิก (Nivatronic) หลอมขึ้นรูปด้วยเลเซอร์เป็นก้ามยึด

หมุด จีอี (GE) แบบปักยึด

ความถี่: 21,600 ครั้ง/ชั่วโมง, 3 เฮิรตซ์

ช่วงกว้าง: 12 ชั่วโมงขึ้น > 300 องศา             12 ชั่วโมงแนวดิ่ง > 270 องศา  

คุณลักษณะหลัก

เอสเคปเมนต์เครื่องเกสรเรียงเส้นตรง 15 ซี่เฟือง

เม็ดมะยมสองตำแหน่ง

ตลับลานสปริงสองตัววางเรียงขนาน

พลังงานสำรอง

50 + 2 ชั่วโมง

การแสดง

แสดงชั่วโมงบนช่องหน้าต่างเคลื่อนที่

ซึ่งมีตำแหน่งสำหรับแสดงนาที 

หน้าปัด

หน้าปัดสีเทากระดานชนวน, ดิสก์แซฟไฟร์ พร้อมด้วยช่องหน้าต่าง

หน้าปัดรอบนอก มาพร้อมองค์ประกอบ สตีล ยึดสกรู

การตกแต่ง

คุณภาพสูง

ลายเกรนวงกลมบนแท่นเครื่องบางส่วน

ลายเจนีวา เวฟ (Geneva waves) แนวตรงบนสะพานจักร

หัวสกรูขัดเงา พร้อมช่องโพรงขัดขอบ

หมุดพร้อมด้วยปลายกลมมนขัดเงา

ชิ้นส่วนสตีลขัดเงาและขัดลบขอบ

ตัวเรือน

ทรง แฟลต ตอร์ตู: 45.20 x 37.50 มม.

หนา: 7.60 มม.

ซีรีส์จำนวนจำกัด

68 เรือน ในตัวเรือนทอง 6N 18 กะรัต

จำนวนชิ้นส่วน

กลไก: 168 ชิ้น

เมื่อประกอบตัวเรือนเข้ากับสายหนัง: 189 ชิ้น

F.P.Journe - Invenit et Fecit

17, rue de l’Arquebuse 1204 Genève Suisse T +41 22 322 09 09

Press: [email protected] T +41 22 322 09 02

fpjourne.com