posttoday

“อาชีวะ เดินหน้าขับเคลื่อนการผลิตและพัฒนากำลังคนอาชีวศึกษาด้านอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้า (EV) ตอบโจทย์การพัฒนาประเทศ”

12 เมษายน 2565

นางสาวอรพินทร์ เพชรทัต เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานการประชุมรายงานความก้าวหน้าการขับเคลื่อนการผลิตและพัฒนากำลังคนอาชีวศึกษา ด้านอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้า (EV) ของสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา เมื่อวันที่ 11 เมษายน 2565 ณ ห้องประชุม 5 สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) โดยมี ดร. นิรุตต์ บุตรแสนลี ผู้อำนวยการสำนักวิจัยและพัฒนาการอาชีวศึกษา (สวพ.) พร้อมด้วย ดร.นิติ นาชิต ผู้อำนวยการสำนักมาตรฐานการอาชีวศึกษาและวิชาชีพ รักษาการในตำแหน่ง ที่ปรึกษาด้านมาตรฐานอาชีวศึกษาธุรกิจและบริการ พร้อมด้วยผู้บริหารสมาคมยานยนต์ไฟฟ้าไทย (EVAT) และผู้บริหาร คณะครูจากวิทยาลัยที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมประชุม 

“อาชีวะ  เดินหน้าขับเคลื่อนการผลิตและพัฒนากำลังคนอาชีวศึกษาด้านอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้า (EV)  ตอบโจทย์การพัฒนาประเทศ”

นางสาวอรพินทร์  เพชรทัต  กล่าวว่า “แนวโน้มการเติบโตของตลาดยานยนต์ไฟฟ้า หรือ EV มีการเติบโตอย่างรวดเร็ว มีการพัฒนานวัตกรรมต่าง ๆ ที่ตอบสนองการใช้งานของผู้ใช้มากขึ้น ซึ่งเป็นตัวชี้วัดได้ว่า เทคโนโลยีของการผลิตยานยนต์ไฟฟ้ามีการแข่งขันอย่างเข้มข้น ส่งผลต่อการเตรียมกำลังคนให้มีความพร้อมรอง ซึ่งกระทรวงศึกษาธิการโดย นางสาวตรีนุช เทียนทอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ได้ตระหนักในเรื่องดังกล่าวที่จะต้องยกระดับการพัฒนาและผลิตกำลังคนอาชีวศึกษา เรื่อง Zero Emission Vehicle (ZEV) ให้มีปริมาณเพียงพอและมีคุณภาพรองรับการเติบโตของอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้า (EV) เช่นเรื่อง

การผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ การประกอบยานยนต์ การบำรุงรักษา และการซ่อมบำรุงหลังการขาย รวมทั้งการพัฒนากำลังคนเพื่อรองรับระบบนิเวศ (Eco system) สำหรับยานยนต์ไฟฟ้า (EV) เช่น การผลิตมอเตอร์ ระบบควบคุม และแบตเตอรี่ เป็นต้น   ประกอบกับคณะรัฐมนตรีมีมติส่งเสริมยานยนต์ไฟฟ้า (EV) ให้เกิดการผลิตและสนับสนุนให้ใช้ยานยนต์ไฟฟ้า (EV) ภายในประเทศ ไม่ว่าจะสนับสนุนการผลิต หรือมาตรการด้านภาษีเพื่อสร้างแรงจูงใจ ล้วนบ่งบอกว่ากระทรวงศึกษาต้องเร่งสร้างและพัฒนาทักษะกำลังแรงงานอาชีวศึกษาให้ทันเทคโนโลยี  เพื่อรองรับและตอบโจทย์การเป็นแรงงานอาชีวศึกษาคุณภาพสูงในตลาดอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้า (EV) ในอนาคต

ดร. นิรุตต์ บุตรแสนลี ผู้อำนวยการสำนักวิจัยและพัฒนาการอาชีวศึกษา (สวพ.) ให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า “สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา โดยดร.สุเทพ แก่งสันเทียะ เลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ได้รับนโยบายจากกระทรวงศึกษาธิการ และได้ขับเคลื่อนเรื่องการผลิตและพัฒนากำลังคนอาชีวศึกษาด้านอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้า (EV) ให้ตอบโจทย์การพัฒนาประเทศในอนาคต โดยสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ได้มอบหมายให้เรืออากาศโท สมพร ปานดำ รองเลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา เป็นประธานขับเคลื่อนเรื่องดังกล่าว   สำหรับการประชุมวันนี้ที่ประชุมมีมติในการขับเคลื่อน 6 ประเด็นยุทธศาสตร์ในการทำงานในระยะแยก คือประเด็นที่ 1 การสร้างการรับรู้ กับประชาชนเรื่องการขับเคลื่อนการผลิตและพัฒนากำลังคนอาชีวศึกษาด้านอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้า (EV)  ประเด็นที่ 2 การดำเนินงานการพัฒนาหลักสูตรเทคโนโลยียานยนต์ไฟฟ้า ประเด็นที่ 3 การจัดตั้งศูนย์ทดสอบมาตรฐานยานยนต์ไฟฟ้าดัดแปลง ประเด็นที่ 4 การจัดทำฐานข้อมูล Demand, Supply และรายละเอียดต่างๆ ที่เกี่ยวข้องประเด็นที่ 5 การพัฒนากำลังคน

“อาชีวะ  เดินหน้าขับเคลื่อนการผลิตและพัฒนากำลังคนอาชีวศึกษาด้านอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้า (EV)  ตอบโจทย์การพัฒนาประเทศ”

ด้านอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้า (EV)  โดยจัดทำหลักสูตร  Re-Skill, Up-Skill และ New-Skill  และ ประเด็นที่ 6 การจัดนิทรรศการเพื่อจัดแสดงและเป็นเวทีในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ กับทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องกับด้านอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้า ในงาน OVEC  EV  Expo ซึ่งจะจัดขึ้นเร็วๆนี้ ภายในธีมของการจัดงานที่เน้นนวัตกรรม สิ่งประดิษฐ์และเทคโนโลยีที่ผลิตภายในประเทศผ่านฝีมือของครู นักเรียน นักศึกษาของอาชีวศึกษา เช่น ยานยนต์ไฟฟ้าดัดแปลงต้นแบบ และ การแพ็คแบตเตอรี่สำหรับรถไฟฟ้า เป็นต้น”

ผศ.ดร.อุเทน สุปัตติ  อุปนายกสมาคมฝ่ายวิชาการ และ ดร. ธงชัย จินาพันธ์ ประธานคณะทำงานฝ่ายข้อบังคับและมาตรฐาน สมาคมยานยนต์ไฟฟ้าไทย (EVAT) กล่าวสรุปว่า “วันนี้ถือเป็นมิติที่ดีในการขับเคลื่อนเรื่องสำคัญ ที่กระทรวงศึกษาธิการ สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ที่จะต้องมุ่งเน้นผลิตและพัฒนากำลังคนให้มีความสามารถในหลากหลายศาสตร์ (Multidisciplinary)  โดยความร่วมมือในการจัดการศึกษา ในรูปแบบทวิภาคีร่วมกับภาคเอกชนเพื่อยกระดับในการสร้างกำลังคนที่มีคุณภาพสูง  และขอชื่นชมสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ที่สามารถสร้างนวัตกรรมสิ่งประดิษฐ์ของอาชีวศึกษา ซึ่งสะท้อนถึงคุณภาพของ

นักเรียน นักศึกษา ที่มีความสามารถพัฒนาทักษะช่าง ทักษะวิศวกรรม และเป็นการสร้างนวัตกรรมที่เกิดขึ้นเองในประเทศ และอนาคตในการขับเคลื่อนเรื่องดังกล่าวนี้ จะช่วยให้เกิดการสร้างงาน สร้างรายได้ สร้างผลกระทบกับอีกหลายมิติผ่านการพัฒนาโครงสร้างพื้นที่ฐาน ที่อาชีวศึกษาจะเป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนเพื่อนำไปสู่ความยั่งยืน”