posttoday

นิทรรศการเสมือนจริง “Shaping The <K> now since 1791”

02 กันยายน 2564

นิทรรศการเสมือนจริง “Shaping The <K> now since 1791” 1–30 กันยายน 2021

“เลพีน" นาฬิกาจี้ตีระฆังบอกควอเตอร์หรือทุก 15-นาที พร้อมด้วยเอสเคปเมนต์ทรงกระบอก  ลงนามโดย <<โบท แอนด์ มูนิเยร์>>, ราวปี ค.ศ. 1820

ฌอง ฟรองซัวส์ โบท (Jean-François Bautte) (เจนีวา ค.ศ. 1772-1837) ผู้ก่อตั้งแห่งจีราร์ด-แพร์โกซ์ (Girard Perregaux) เป็นหนึ่งในช่างนาฬิกาและช่างอัญมณีผู้เปี่ยมด้วยวิสัยทัศน์สูงสุดและเป็นดั่งอัจฉริยะบุคคลอย่างแท้จริงในช่วงเวลาของเขาในฐานะช่างฝีมือ และนักการค้าผู้เปี่ยมด้วยทักษะอันแสนพิเศษ เขาได้รังสรรค์ทุกประเภทของเรือนเวลาอันสร้างสรรค์ เช่นเดียวกับงานฝีมือการแกะสลักหรืองานลงยาในทุกรายละเอียดของเรือนเวลา หรือการประดับตกแต่งด้วยอัญมณีล้ำเลอค่า พรสวรรค์ของโบทยังสามารถค้นพบได้ผ่านผลงานอันประณีตละเอียดอ่อนที่เขาได้รังสรรค์ไว้บนตัวเรือนของนาฬิกาจี้เรือนนี้ ซึ่งต้องใช้เวลานานหลายเดือนในการประดับตัวเรือนด้วยทองเม็ดเล็กๆทุกชิ้นด้วยมือ เพื่อให้ได้ผลลัพธ์อันสมบูรณ์แบบและแสนวิเศษเช่นนี้ ขณะที่หน้าปัดทองอันประณีตประดับตกแต่งไว้ด้วยลวดลายดอกไม้ รวมถึงกลไกตีระฆังบอกควอเตอร์หรือทุก 15-นาที ที่เติมเต็มความสมบูรณ์ให้กับเรือนเวลาพิเศษเฉพาะหนึ่งเดียวนี้

“เลพีน" นาฬิกาพก พร้อมด้วยเอสเคปเมนต์ทรงกระบอก ลงนามโดย "มูนิเยร์ เอต ฟิลส์ เอต เฌแนฟ” (แอสโซซีเอ เดอ เจ.เอฟ. โบท), ราวปี ค.ศ. 1830

นาฬิกาพกลงยาทองเรือนบาง พร้อมด้วยงานประดับตกแต่งลวดลายดอกไม้อันแสนวิจิตรที่รังสรรค์ขึ้นภายใต้งานลงยาสีดำแบบชอมเลอเว (champlevé) งานลงยาชอมเลอเวถือเป็นเทคนิคการลงยาอันประณีตงดงาม ที่ซึ่งผ่านขั้นตอนของการแกะสลักผนังขอบลงยาด้วยสิ่วไว้บน ตัวเรือน จากนั้นจึงเติมด้วยงานลงยาใส โดยโบทเป็นผู้เชี่ยวชาญทั้งในเทคนิคการจำลองภาพขนาดจิ๋ว และเป็นหนึ่งในช่างนาฬิการายแรกๆ ในช่วงปลายศตวรรษที่สิบแปดที่ผลิตรังสรรค์นาฬิกาเรือนบางพิเศษขึ้น โดยผ่านการประดับตกแต่งอย่างประณีตจากทองและงานลงยา โบทยังเปี่ยมด้วยองค์ความรู้ในการสร้างสรรค์เรือนเวลาที่สามารถแสดงเวลาไม่เฉพาะเพียงผ่านเข็มชี้ แต่ยังรวมไปถึงการแสดงเวลาด้วยตัวเลข โดยนาฬิกาพกเรือนนี้ได้บรรจุไว้ด้วยการแสดงแบบตัวเลข (digital display) ด้วยระบบจัมปิ้งอาวร์ (jumping hours)

นิทรรศการเสมือนจริง “Shaping The <K> now since 1791”

“เลพีน" นาฬิกาจี้ พร้อมด้วยเอสเคปเมนต์ทรงกระบอก ลงนามโดย "เจ.เอฟ. โบท แอนด์ ซี เอต เฌแนฟ”, ราวปี ค.ศ. 1840

นาฬิกาจี้ลงยาทองประดับเพชรอันแสนอัศจรรย์ พร้อมด้วยสายโซ่นาฬิกาลงยาทองและกุญแจไขลาน ประดับด้วยเพชร และหน้าปัดลงยา  "กรองด์ เฟอ" (“Grand-feu”) ตัวเรือนประดับตกแต่งด้วยงานลงยาสีน้ำเงินโคบอลต์โปร่งแสงบนพื้นผิวแกะสลักเอนจิ้น-เทิร์น (engine-turned) และงานแกะสลักประดับตกแต่งด้วยเพชร งานลงยาถือเป็นศิลปะที่รังสรรค์ขึ้นได้โดยเฉพาะศิลปินเพียงไม่กี่รายเท่านั้น และถูกเรียกขานว่า "เจนีวา บลู" (“Geneva blue”) อันเป็นต้นแบบของยุคสมัยของโบท โดยผสมผสานด้วยเทคนิคการตกแต่งอื่นๆ เช่น "กิโยชาจ" (“guillochage”) หรือการแกะสลัก ที่ช่วยให้สามารถรังสรรค์เรือนเวลาอันแสนงดงามวิเศษเหล่านี้ได้

นาฬิกาพกแบบมีฝาปิดเรือนทอง พร้อมด้วยกลไกสะพานจักร, บาลานซ์สปริงทรงกลมทำให้เป็นสีน้ำเงิน และบาลานซ์ทดกำลังด้วย สกรูทองขนาดใหญ่ ลงนามโดย จีราร์ด-แพร์โกซ์, ปี ค.ศ. 1884

ช่างนาฬิกาผู้เปี่ยมด้วยพรสวรรค์ คองสตองท์ จีราร์ด-แพร์โกซ์ (Constant Girard-Perregaux) จากลาโชซ์-เดอ-ฟองด์ส (La Chaux-de-Fonds) สวิตเซอร์แลนด์ ได้พัฒนาความหลงใหลในโครงสร้างกลไกของนาฬิกาจักรกล โดยเขาตั้งใจที่จะรังสรรค์ความลำ้เลิศทางเทคนิคและความเที่ยงตรงแม่นยำสูงสุดซึ่งผสมผสานไว้ด้วยความสวยงามอันแสนตราตรึงใจ นาฬิกาพกแบบมีฝาปิด (hunter) เรือนนี้คือหนึ่งในตัวอย่าง เหล่านั้น  โดยได้รับรางวัลความเที่ยงตรง "โครโนมิเตอร์" (“Chronometer”) จากเนอชาแตล ออบเซอร์วาทอรี (Neuchâtel Observatory) กับกลไกที่ถ่ายทอดด้วยงานฝีมือการตกแต่งอันประณีตวิจิตร เช่น ลวดลายโคตส เดอ เฌแนฟ (Côtes de Genève), ลายเกรนวงกลม, งานขัดเงาดุจกระจกและขัดขอบมุม

นาฬิกาพกแบบมีฝาปิดเรือนทอง พร้อมด้วยกลไกสะพานจักร, บาลานซ์สปริงทรงกลมทำให้เป็นสีน้ำเงิน และบาลานซ์ทดกำลังด้วย สกรูทองขนาดใหญ่ ลงนามโดย จีราร์ด-แพร์โกซ์, ปี ค.ศ. 1884

ช่างนาฬิกาผู้เปี่ยมด้วยพรสวรรค์ คองสตองท์ จีราร์ด-แพร์โกซ์ (Constant Girard-Perregaux) จากลาโชซ์-เดอ-ฟองด์ส (La Chaux-de-Fonds) สวิตเซอร์แลนด์ ได้พัฒนาความหลงใหลในโครงสร้างกลไกของนาฬิกาจักรกล โดยเขาตั้งใจที่จะรังสรรค์ความลำ้เลิศทางเทคนิคและความเที่ยงตรงแม่นยำสูงสุดซึ่งผสมผสานไว้ด้วยความสวยงามอันแสนตราตรึงใจ นาฬิกาพกแบบมีฝาปิด (hunter) เรือนนี้คือหนึ่งในตัวอย่าง เหล่านั้น  โดยได้รับรางวัลความเที่ยงตรง "โครโนมิเตอร์" (“Chronometer”) จากเนอชาแตล ออบเซอร์วาทอรี (Neuchâtel Observatory) กับกลไกที่ถ่ายทอดด้วยงานฝีมือการตกแต่งอันประณีตวิจิตร เช่น ลวดลายโคตส เดอ เฌแนฟ (Côtes de Genève), ลายเกรนวงกลม, งานขัดเงาดุจกระจกและขัดขอบมุม

ตูร์บิญอง วิท ทรี โกลด์ บริดจ์ส, นาฬิกาพกแบบมีฝาปิด พร้อมด้วยเอสเคปเมนต์โครโนมิเตอร์ตรึงด้วยแกนเดือย ลงนามโดย จีราร์ด-แพร์โกซ์, ปี ค.ศ. 1888

คองสตองท์ จีราร์ด-แพร์โกซ์ ผู้เปี่ยมด้วยวิสัยทัศน์ได้เปลี่ยนโลกแห่งการประดิษฐ์นาฬิกาไปอีกด้าน โดยการเปลี่ยนรูปสะพานจักรจาก       องค์ประกอบทางเทคนิคที่ไม่อาจมองเห็นไปสู่ส่วนที่สามารถมองเห็นได้ของเรือนเวลา เขาได้ออกแบบใหม่ให้กับสะพานจักรของนาฬิกาพกตูร์บิญองด้วยรูปทรงลูกศรอันสวยงามและจัดวางขนานกัน มอบเป็นการถือกำเนิดของนาฬิกา ตูร์บิญอง วิท ทรี โกลด์ บริดจ์ส (Tourbillon with Three Gold Bridges) เป็นครั้งแรกๆ ขึ้นในการประดิษฐ์สร้างสรรค์นาฬิกา โดยสะพานจักรทองของเรือนเวลาพิเศษเรือนนี้ซึ่งได้รับรางวัลเฟิร์สคลาส บูลเลติน (first class bulletin) จาก เนอชาแตล ออบเซอร์วาทอรี ได้ถ่ายทอดไว้ด้วยงานฝีมือการตกแต่งระดับไฮเอนด์ถึงห้า รูปแบบ ทั้งการขัดเงาดุจกระจกบนพื้นผิว งานขัดด้านซาตินบนขอบข้าง งานขัดกลมมนบนก้านแขน งานขัดขอบขึ้นมุมภายนอก และงานขัดขอบขึ้นมุมภายในต่างๆ ณ วันนี้ เรือนเวลาอันเป็นไอคอนิกนี้ได้กลายเป็นงานออกแบบอันเป็นที่จดจำได้ทันทีในฐานะสัญลักษณ์อันโดดเด่นของแบรนด์

นิทรรศการเสมือนจริง “Shaping The <K> now since 1791”

จีราร์ด-แพร์โกซ์ ไจโรเมติก นาฬิกาข้อมือสตีลและสายแบบผสาน กลไกจักรกลไขลานอัตโนมัติไจโรเมติกความถี่สูง พร้อมด้วย เอสเคปเมนต์แบบเลเวอร์, ราวปี ค.ศ. 1970

ในช่วงปี 1960's จีาร์ด-แพร์โกซ์ เป็นหนึ่งในผู้ผลิตรายแรกๆ ที่มีแผนกวิจัยและพัฒนา (Research & Development) ภายในโรงงานของตนเอง จึงเกิดการคิดค้นซึ่งนวัตกรรมอันน่าทึ่งมากมาย อาทิ ไจโรเมติก (Gyromatic) ระบบขึ้นลานเองอัตโนมัติแบบปฏิวัติ ด้วยสัดส่วนขนาดเล็กที่ช่วยให้โรงงานการผลิตแห่งนี้สามารถนำเสนอซึ่งเรือนเวลากลไกจักรกลไขลานอัตโนมัติเรือนบางพิเศษได้ และนับเป็นจุดเริ่มต้นของก้าวแห่งการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญในการประดิษฐ์นาฬิกา โดยไจโรเมติกมีโครงสร้างที่บางอย่างมาก พร้อมทั้งหวนกลับไปให้ความสนใจเป็นพิเศษกับองค์ประกอบซึ่งถูกละทิ้งนับจากหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 (WWII) นั่นคืองานออกแบบของนาฬิกา และนับจากยุค 1970's เรือนเวลานี้จึงได้รับการชื่นชมยกย่องในองค์รวม ทั้งในแง่ของเทคนิคและความสวยงาม

นิทรรศการเสมือนจริง “Shaping The <K> now since 1791”

จีราร์ด-แพร์โกซ์ ลอรีอาโต นาฬิกาควอตซ์โครโนมิเตอร์ในตัวเรือนสตีลและสายแบบผสาน, ปี ค.ศ. 1984

ในปี ค.ศ. 1975 จีราร์ด-แพร์โกซ์ ได้เปิดตัวผลงาน ลอรีอาโต (Laureato) หนึ่งในเรือนเวลา "สปอร์ต-ชิค" (“sport-chic”) รุ่นแรกๆ พร้อมด้วยเอกลักษณ์ของขอบตัวเรือนทรงแปดเหลี่ยมยกสูงและสายข้อมือสตีลแบบผสาน ที่ติดตั้งด้วยกลไกควอตซ์ความเที่ยงตรงแม่นยำสูงและบางพิเศษ โรงงานการผลิตจากลาโชซ์-เดอ-ฟองด์สรายนี้ได้เริ่มต้นเล่นกับรูปทรงบนเรือนเวลานับจากช่วงปลายยุค 60s  ด้วยผลงานนาฬิกาดำน้ำ ดีพ ไดเวอร์ (Deep Diver) ของแบรนด์ซึ่งมีขอบตัวเรือนตกแต่งถึง 14 เหลี่ยมด้าน และต้องขอบคุณให้กับเส้นสายอันเรียวบาง ความสามารถในการสวมใส่ได้ง่าย และการสลับระหว่างงานตกแต่งขัดเงาและขัดด้านซาติของเส้นสายทรงตรงและทรงโค้ง ที่ทำให้ ลอรีอาโต ได้รับความสนใจอย่างทันทีและกลายเป็นอีกหนึ่งรุ่นไอคอนิกของแบรนด์

ลา เอสเมอรัลดา ตูร์บิญอง “อะ ซีเคร็ต” (La Esmeralda Tourbillon “A Secret”)

แกะสลักขึ้นทั้งหมดด้วยมือ (ใช้เวลาไม่น้อยกว่า 200 ชั่วโมงในการทำงาน) เราจะได้ค้นพบกับม้าที่กำลังควบวิ่งอย่างสง่างามสามตัวซึ่งปรากฏบนด้านนอกของฝาปิดนาฬิกา ขณะที่ตัวเรือน ขอบตัวเรือน และด้านบนของหูตัวเรือนเชื่อมสาย รวมถึงด้านข้างของตัวเรือนนั้นได้หยิบเอาลวดลายสลับซับซ้อนอันแวววาวเจิดจรัสที่เคยใช้ตกแต่งภายในผลงานรุ่นปี ค.ศ. 1889 โดยฝีมือการแกะสลักของ ฟริตซ์ คุนเดิร์ต (Fritz Kundert) ขณะที่กระจกแซฟไฟร์ทรง "กล่อง" ได้มอบซึ่งภาพมุมมองด้านบนอันน่าทึ่งแห่งสถาปัตยกรรมอันงดงามล้ำเลิศ โดยออกแบบขึ้นเหมือนกับนาฬิกา "ซีเคร็ต" (“secret” watch) ที่การตีความใหม่ของลา เอสเมอรัลดา นี้ได้ประกอบไว้ด้วยฝาปิดซึ่งทำหน้าที่ปกป้องด้านหลังของนาฬิกา ผ่านกระบวนการผลิตอันแสนพิเศษและเอ็กซ์คลูซีฟ ด้วยกลไกจักรกลผลิตขึ้นภายในโรงงานของตนเองที่ประกอบขึ้นจากชิ้นส่วนรวมถึง 310 ชิ้น พร้อมทั้งกรงตูร์บิญองรูปทรงพิณที่ประกอบขึ้นจากชิ้นส่วน 80 ชิ้นภายในกรงขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางเพียง 14.44 มม. และหนักเพียง 0.305 กรัมเท่านั้น! โดยระบบไขลานอัตโนมัตินี้ยังติดตั้งไว้ด้วยไมโคร-โรเตอร์แพลทินัมผสานภายใต้กระปุกลาน แต่ละชิ้นส่วนยังผ่านทั้งงานขัดเงา ขัดลบมุม และแกะสลัก รวมถึงสลักเสลาด้วยมือด้วยความละเอียด 1/100 มม. (ที่เป็นขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางเฉลี่ยเทียบเท่ากับเส้นผมของมนุษย์) ตรงตามประเพณีอันประณีตสูงสุดในการประดิษฐ์นาฬิกา 

เรือนเวลานี้ยังเชื้อชวนให้หวนนึกถึง ลา เอสเมอรัลดา อันโด่งดังสูงสุดในบรรดานาฬิกา ตูร์บิญอง วิท ทรี โกลด์ บริดจ์ส (Tourbillons with three gold Bridges) ภายในคอลเลคชั่นของ จีราร์ด-แพร์โกซ์ และด้วยตูร์บิญอง วิท ทรี โกลด์ บริดจ์ส นี้เองที่ทำให้ คองสตองท์ จีราร์ด (Constant Girard) ชนะรางวัลเหรียญทองได้จากงานนิทรรศการนานาชาติกรุงปารีส (Paris Universal Exhibition) ในปี ค.ศ. 1889 ได้สำเร็จ 

คลาสสิก บริดจ์ส 45 มม. (Classic Bridges 45mm)

งานออกแบบอันเข้มแข็งที่ตีความใหม่มาจากไอคอนแห่งประเพณีการประดิษฐ์นาฬิกาสู่เรือนเวลาไฮเทคล้ำสมัยซึ่งสะกดหัวใจของเหล่านักสะสม โดยเผยการปรากฏโฉมอันแสนพิเศษบนข้อมือพร้อมทั้งสวมใส่ได้อย่างสะดวกสบายสมบูรณ์แบบ จากการประกอบขึ้นด้วยกระจกคริสตัลแซฟไฟร์ทรง "กล่อง" (ซึ่งจำเป็นต้องผ่านกระบวนการผลิตขึ้นรูปที่ใช้วัสดุมากกว่าสามเท่าจากกระจกมาตรฐานทั่วไป) บวกด้วยการขจัดขอบตัวเรือนออก และมอบซึ่งมุมมองจากด้านบนและด้านข้างให้มองเห็นและชื่นชมได้ถึงสถาปัตยกรรมอันสวยงามภายใต้โครงสร้างเชิงสามมิติ รวมถึงกลไกผลิตขึ้นภายในโรงงานของตนองที่ประกอบด้วยชิ้นส่วน 208 ชิ้นและติดตั้งด้วยบาลานซ์ทดกำลังแบบปรับได้ขนาดใหญ่ (ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 10.15 มม.) นี้สามารถมองเห็นได้บนด้านหน้าที่ตำแหน่ง 6 นาฬิกา และเพื่อให้สมมาตรอย่างสมบูรณ์แบบกับกระปุกลาน (ณ ตำแหน่ง 1.30 นาฬิกา) จึงสะท้อนด้วยการจัดวางอย่างสมดุลของไมโคร-โรเตอร์ (ณ ตำแหน่ง 10.30 นาฬิกา) ขณะที่ด้านหน้าของ      แท่นเครื่องนั้นขัดแต่งแบบแซนด์บลาสต์ ชุบโรเดียม และขัดลบมุม ส่วนด้านหลังของแท่นเครื่องถ่ายทอดไว้ด้วยลวดลาย โคตส เดอ เฌแนฟ (Côtes de Genève) แนวตั้งฉาก ส่วนบริดจ์สทองผ่านการขัดเงาและขัดแต่งแบบซาติน (บนด้านข้าง) รวมถึงขัดลบมุมอย่างละเอียดอ่อน ตรงตามประเพณีอันประณีตสูงสุดในการประดิษฐ์เรือนเวลา

มินิท รีพีทเตอร์ ไตร-แอ็กเซียล ตูร์บิญอง (Minute Repeater Tri-Axial Tourbillon)

บริดจ์ (Bridge) อันเป็นสัญลักษณ์ของเมซง (Maison) แห่งนี้ทำหน้าที่เพื่อรองรับขบวนเฟืองซึ่งขับเคลื่อนการแสดงชั่วโมงภายในหน้าปัดย่อยแซฟไฟร์ ณ 9 นาฬิกา และการแสดงนาทีบนหน้าปัดย่อยอีกด้านหนึ่ง ณ ตำแหน่ง 3 นาฬิกา โดยการพัฒนาตัวเรือนที่มีความซับซ้อนอย่างมาก ด้วยอัตราส่วนระหว่างขนาดของคาลิเบอร์กลไกกับขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางด้านในของตัวเรือน (ผลิตจากไทเทเนียม เกรด 5) ที่จะช่วยรับประกันได้ถึงคุณภาพระดับสูงของเสียง

ขณะที่กระจกคริสตัลแซฟไฟร์ทรงกล่องสองชิ้นที่ติดตั้งบนด้านหน้าและด้านหลังของนาฬิกา เปิดโอกาสให้เราได้มองเห็นเข้าไปยังหัวใจของโครงสร้างกลไก ขณะที่กรงตูร์บิญองนั้นหมุนบนแกนต่างกันสามแกนใน 2 นาที และช่วยชดเชยผลกระทบจากแรงโน้มถ่วงทั้งในตำแหน่งแนวนอน เช่นเดียวกับแนวตั้ง แตกต่างจากนาฬิกา ตูร์บิญอง มินิท รีพีทเตอร์ (Tourbillon Minute Repeaters) อื่นๆ ที่เรือนเวลาของจีราร์ด-แพร์โกซ์ นั้นออกแบบขึ้นเพื่อเผยให้เห็นองค์ประกอบหลักสำคัญของจักรกลตีระฆังหรือมินิท รีพีทเตอร์ (minute repeater) อาทิ ค้อน ฆ้อง และจักรกลตีระฆังเอง โดยการขับเคลื่อนของกลไกคาลิเบอร์ที่ออกแบบขึ้นอย่างสมมาตรและผ่านการตกแต่งอย่างประณีตละเอียดอ่อน โดยประกอบขึ้นจากชิ้นส่วน 518 ชิ้น รวมถึง 145 ชิ้นเฉพาะภายในกรงตูร์บิญองเพียงอย่างเดียว โดยกรงตูร์บิญองนี้ยังต้องอาศัยเวลาในการประกอบถึงกว่า 250 ชั่วโมง 

แพลนิแทเรียม ไตร-แอ็กเซียล ตูร์บิญอง (Planetarium Tri-Axial Tourbillon)

รังสรรค์ขึ้นจากกระจกสามชิ้น โดยกระจกคริสตัลแซฟไฟร์นี้สร้างเป็นรูปทรงโดมสองตำแหน่ง คือ ณ 4 และ 9 นาฬิกา ซึ่งมอบความโดดเด่นและยังทำหน้าที่ปกป้องกรงตูร์บิญองแบบสามแกน เช่นเดียวกับลูกโลกจำลองขนาดจิ๋ว โดยลูกโลกจำลองที่เอียงลง เช่นเดียวกับตัวแสดง ณ ตำแหน่ง 12 นาฬิกานั้นยังได้มอบวิถีใหม่ของการมองเห็นเวลาได้จากทั่วโลก ขณะที่ประเทศต่างๆ ซึ่งแสดงไว้บนด้านหน้าปัดนั้นเป็นส่วนของกลางวัน และอีกด้านซึ่งแสดงไว้บนด้านหลังนั้นเป็นส่วนของกลางคืน ลูกโลกนี้ทำขึ้นจากอลูมิเนียมและวัดขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางได้ 13 มม. โดยด้านหลังยังผ่านการวาดภาพด้วยมือเหมือนกับดิสก์แสดงข้างขึ้น-ข้างแรม และจำเป็นต้องใช้เวลาไม่น้อยกว่า 40 ชั่วโมงในการทำงาน ส่วนบนด้านข้างของตัวเรือน ณ ตำแหน่ง 9 นาฬิกา ติดตั้งไว้ด้วยกระจกคริสตัลแซฟไฟร์ที่เปิดโอกาสให้ได้ชื่นชมจักรกลภายในและนำทางแสงให้ส่องสว่างสู่ภายในกลไกเช่นกัน กรงตูร์บิญองนี้หมุนรอบบนแกนสามแกนใน 2 นาที และช่วยปรับสมดุลจากผลกระทบของแรงโน้มถ่วงทั้งในตำแหน่งแนวนอนและแนวตั้ง จักรกลนี้ได้ถ่ายทอดถึงความประณีตละเอียดอ่อนและความสลับซับซ้อน ด้วย "บล็อกกรงตูร์บิญอง" (กรงตูร์บิญองตามประเพณีและจักรกลที่ทำให้กรงนี้หมุนรอบแกนที่สอง) ซึ่งมีน้ำหนักเพียง 1.24 กรัม แต่ยังคงประกอบขึ้นด้วยความซับซ้อนของชิ้นส่วนรวมถึงกว่า 140 ชิ้น 

นิทรรศการเสมือนจริง “Shaping The <K> now since 1791”

ลอรีอาโต้ ฟลายอิ้ง ตูร์บิญอง สเกเลตัน (Laureato Flying Tourbillon Skeleton)

ตัวเรือนบาง พร้อมทั้งขอบตัวเรือนทรงแปดเหลี่ยม และสายสร้อยข้อมือแบบผสานที่สลับระหว่างการตกแต่งด้วยงานขัดเงาและขัดซาติน โดยบรรจุไว้ด้วยมาร์กเกอร์บอกชั่วโมงทรงบาตอง (baton-shaped) และเข็มชี้เรืองแสง ช่วยให้มั่นใจได้ถึงความสามารถในการอ่านค่าได้อย่างชัดเจนแม้ในที่แสงสลัว กลไกคาลิเบอร์นี้ซึ่งผ่านการเคลือบ เอ็นเอซี (NAC-treated) (สีเทาแอนทราไซต์) ยังทำงานประดุจตาข่ายโลหะ โดยช่วยให้สายตาของเรานั้นสามารถติดตามการเคลื่อนไหวของพลังงาน ที่ต้องขอบคุณให้กับขบวนเฟืองชุบโรเดียมอันสง่างาม ขณะที่ในระหว่างการเดินทางแห่งการค้นพบไปสู่หัวใจอันซับซ้อนของจักรกลซึ่งประกอบขึ้นด้วยชิ้นส่วน 262 ชิ้นนี้ สายตาเรายังได้หยุดพัก ณ เสน่ห์แห่งฟลายอิ้งตูร์บิญองที่ตำแหน่ง 11 นาฬิกาเช่นกัน แขวนลอยไว้โดยบริดจ์เพียงหนึ่งชิ้น ผู้เฝ้าสังเกตการณ์จะได้เพลิดเพลินไปกับภาพการสั่งการของจักรกลซึ่งทำให้เกิดการหมุนหนึ่งรอบสมบูรณ์ในทุกๆ 60 วินาที พร้อมทั้งงานออกแบบอันร่วมสมัยที่สะกดสายตาของกลไกชุดนี้ โดยรังสรรค์ขึ้นด้วยมือตรงตามมาตรฐานระดับสูงสุด และเน้นย้ำความประณีตอย่างอัจฉริยะผ่านงานขัดขอบของแต่ละชิ้นส่วน ที่สร้างสรรค์ขึ้นเป็นองค์ประกอบทางจักรกลของกลไกซึ่งปรากฏราวกับลอยอย่างไร้น้ำหนักภายในตัวเรือน เช่นกันกับไมโคร-โรเตอร์ทองที่สลักเสลาแบบเปลือยโปร่ง เพื่อให้สามารถชื่นชมกลไกคาลิเบอร์นี้ได้จากด้านหลังเช่นเดียวกัน

ตูร์บิญอง วิท ทรี ฟลายอิ้ง บริดจ์ส (Tourbillon with Three Flying Bridges)

ในปี ค.ศ. 1867 จีราร์ด-แพร์โกซ์ (Girard-Perregaux) ได้เผยโฉมผลงาน 'ตูร์บิญอง วิท ทรี โกลด์ บริดจ์ส' (Tourbillon with Three Gold Bridges) และนั่นเองที่ไอคอนแห่งเรือนเวลาได้ถือกำเนิดขึ้น ทั้งยังแตกต่างไปจากทั่วไป ด้วยสะพานจักรซึ่งเป็นชิ้นส่วนประกอบทางฟังก์ชั่นทั้งสามชิ้นที่โดยปกติแล้วจะถูกซ่อนไว้ แต่ในผลงานนี้ได้รังสรรค์ขึ้นเป็นดั่งองค์ประกอบด้านความสวยงาม และด้วยการตัดสินใจนี้เอง ที่ทำให้โรงงานการผลิตแห่งจีราร์ด-แพร์โกซ์ได้กลายเป็นที่รู้จักและมีชื่อเสียงในการสร้างซึ่งสิ่งที่ไม่อาจมองเห็นให้สามารถมองเห็นได้ และผลลัพธ์นี้ยังได้ถูกนำมาประยุกต์ใช้กับ ผลงานนาฬิกาจีราร์ด-แพร์โกซ์ รุ่นต่างๆ อีกมากมายนับจากนั้น เช่นเดียวกับการถือกำเนิดของ ตูร์บิญอง วิท ทรี ฟลายอิ้ง บริดจ์ส (Tourbillon with Three Flying Bridges) ใหม่ ที่เมซง (Maison) แห่งนี้สืบทอดไว้ด้วยปรัชญางานออกแบบเดียวกัน ทว่าได้พลิกโฉมความน่าหลงใหลบ้างเล็กน้อยตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา

เนื่องในโอกาสเฉลิมฉลองครบรอบ 230 ปีของจีราร์ด-แพร์โกซ์ในปีนี้ และเป็นดั่งส่วนหนึ่งของการเฉลิมฉลองอันยิ่งใหญ่ โรงงานการผลิตแห่งนี้จึงได้หวนคืนสู่นาฬิการุ่นไอคอนิกของตน พร้อมทั้งเผยโฉมผลงานสร้างสรรค์ใหม่ขึ้นมากมาย โดยยังคงผสมผสานไว้ด้วยนวัตกรรมแห่งความทันสมัย เช่นเดียวกันกับผลงาน ตูร์บิญอง วิท ทรี ฟลายอิ้ง บริดจ์ส ที่ในวันนี้ได้เสริมความน่าสนใจและปรากฏโฉมร่วมกับ นีโอ บริดจ์ส (Neo Bridges) สามชิ้นที่ขึ้นรูปจากพิงค์โกลด์ และนับเป็นครั้งแรกที่ นีโอ บริดส์จ ทั้งสามนี้ได้รังสรรค์ขึ้นจากโลหะล้ำค่าเช่นนี้ด้วย นับเป็นอีกหนึ่งความน่าสนใจ หลังจากที่ก่อนหน้านี้เมซงได้เปิดตัว ฟรี บริดจ์ (Free bridge) มาแล้วเมื่อปี ค.ศ. 2020 สู่การเผยโฉมครั้งนี้ของ ตูร์บิญอง วิท ทรี ฟลายอิ้ง บริดจ์ส ใหม่ ซึ่งจะเป็นเรือนเวลาตระกูลย่อยสุดท้ายที่เข้าร่วมอยู่ในคอลเลคชั่น บริดจ์ส (Bridges) อันเลื่องชื่อของบริษัท โดยทั้งสามสะพานจักรนี้ไม่เพียงทำหน้าที่รองรับขบวนเฟือง (geartrain), กระปุกลาน (barrel) และตูร์บิญอง (tourbillon) แต่ยังมีบทบาทในฐานะแท่นเครื่องของกลไก ซึ่งผลลัพธ์ที่ได้นั้นคือสะพานจักรที่ปรากฏเสมือนลอยอยู่กลางอากาศ และราวกับไร้น้ำหนักหรือไม่ได้รับผลกระทบใดๆ จากแรงโน้มถ่วง โดยโครงสร้างอันแสนพิเศษนี้จำเป็นต้องใช้ความเชี่ยวชาญของโรงงานการผลิตในการติดตั้งด้วยเครื่องหมายขีดหรืออินเด็กซ์บอกเวลาไว้บนขอบข้างหรืออาจเรียกได้ว่าเป็นการติดตั้งเข้ากับตัวเรือนแทน

ขณะที่พื้นผิวด้านบนและด้านล่างของสะพานจักรพิงค์โกลด์ยังผ่านการตกแต่งโดยการเคลือบ พีวีดี (PVD) สีดำ แม้ว่า ตูร์บิญอง วิท ทรี ฟลายอิ้ง บริดจ์ส จะปรากฏโฉมด้วยความร่วมสมัย แต่ยังคงหล่อหลอมไว้ด้วยการสืบทอดและเชิดชูซึ่งเทคนิคประเพณีอีกมากมายที่สอดคล้องกับวิถีแห่งการประดิษฐ์รังสรรค์เครื่องบอกเวลาชั้นสูง (Haute Horlogerie)