posttoday

การมีวิทยาศาสตร์บนโลกสำคัญไฉนในยุค 2020

18 พฤศจิกายน 2563

กรุงเทพ พฤศจิกายน 2563 – จากสถานการณ์การแพร่ระบาดครั้งใหญ่ทั่วโลกในปี 2020 ทำให้เห็นชัดมากขึ้นว่าหากโลกปราศจากวิทยาศาสตร์จะเป็นอย่างไร เราจะมาพิจารณาถึงบทบาทของเทคโนโลยีที่ตอบสนองกับการแพร่ระบาดครั้งนี้ จากตัวอย่างของประเทศต่าง ๆ ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อย่างมาเลเซียและสิงคโปร์ที่ได้นำเทคโนโลยียุคใหม่เข้ามาใช้อย่างรวดเร็ว เช่น แอปพลิเคชันที่ติดตามผู้ติดเชื้อ และการให้คำปรึกษาด้านสุขภาพแบบเสมือนจริง (Virtual health consultations) เพื่อเข้าถึงสุขภาพและความปลอดภัยของประชาชน

จากเรื่องที่กล่าวไปข้างต้นแสดงให้เห็นอย่างชัดเจนถึงความสำคัญของวิทยาศาสตร์และนวัตกรรมที่มีความเกี่ยวข้องกับสถานการณ์ปัจจุบันที่เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลาสอดคล้องกันกับผลวิจัยของดัชนีชี้วัดทางวิทยาศาสตร์ประจำปีครั้งที่ 2 จัดทำขึ้นโดย 3เอ็ม (State of Science Index (SOSI) by 3M) ที่เรียกว่า Pandemic Pulse ในปี 2563 ในระหว่างกรกฎาคม - สิงหาคม 2563 ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่มีการแพร่ระบาดมาเป็นเวลา 6 เดือน

การมีวิทยาศาสตร์บนโลกสำคัญไฉนในยุค 2020

จากผลการวิจัยหลังจากที่เกิดโควิด-19 89% ของผู้ตอบแบบสอบถามให้ความเชื่อมั่นในวิทยาศาสตร์  86% เชื่อมั่นในตัวนักวิทยาศาสตร์มากขึ้น และ 77% มีแนวโน้มที่เห็นตรงกันว่าวิทยาศาสตร์ต้องการเงินทุนที่สูงขึ้นเพื่อนำไปใช้วิจัยและพัฒนา ยิ่งไปกว่านั้น 92% ของผู้ตอบแบบสอบถามทั่วโลกเชื่อว่าการดำเนินการใด ๆ ก็ตาม ควรต้องเป็นไปตามหลักของวิทยาศาสตร์เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโรค ข้อมูลดังกล่าวเป็นการชี้ให้เห็นว่าคนทั่วโลกยังเชื่อมั่นในวิทยาศาสตร์ ซึ่งถือว่าเป็นครั้งแรกก็ว่าได้ที่วิทยาศาสตร์ได้รับการยกย่องไปทั่วโลกและคนเห็นถึงความเกี่ยวพันของวิทยาศาตร์ที่อยู่ในชีวิตประจำวันของเรา

วิทยาศาสตร์สร้างซุปเปอร์ฮีโร่คนใหม่ 

จากโลกที่เคยเริ่มกังขาในวิทยาศาสตร์มากขึ้น ดูเหมือนว่าจะพลิกกลับมาให้ความสำคัญกับเรื่องนี้อีกครั้ง จากข้อมูลของ SOSI นับว่าเป็นครั้งแรกในรอบ 3 ปี พบว่ามีเพียง 28%* ที่คนไม่เชื่อในวิทยาศาสตร์ (ซึ่งลดลงถึง 7 คะแนน ในช่วงเวลาที่น้อยกว่าหนึ่งปี) เป็นปรากฏการณ์ใหม่ที่ไม่เคยมีมาก่อนในประวัติศาสตร์ของ SOSI กับเทรนด์ที่โดดเด่นเช่นนี้

ผู้คนทั่วโลกเริ่มมุ่งหน้าหาบุคลากรทางการแพทย์และนักวิทยาศาสตร์ในฐานะซุปเปอร์ฮีโร่คนใหม่ของสังคม ซึ่งรวมถึง 3 ฮีโร่ผู้กล้า อย่างผู้เชี่ยวชาญด้านสาธารณสุขระดับนานาชาติ ได้แก่ ดร. โฟซี (Dr. Fauci) จากสหรัฐอเมริกา, ดร. แอชลีย์ บลูมฟิลด์ (Dr. Ashley Bloomfield) จากนิวซีแลนด์ และ ดร. นัวร์ ไฮเชม อับดุลลา (Dr. Noor Hisham Abdullah) จากมาเลเซีย ซึ่งพวกเขาเหล่านี้เป็นซุปเปอร์ฮีโร่ที่สวมชุม PPE แทนผ้าคลุมเท่ ๆ โดยมาพร้อมพลังพิเศษในการเป็นผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ที่ได้รับการสนับสนุนจากวิทยาศาสตร์

ความยั่งยืนและวิทยาศาสตร์เริ่มถูกวัดผลรวมกัน

ผลการวิจัยยังพบว่าคนให้ความสำคัญว่าวิทยาศาตร์จะเข้ามาช่วยแก้ปัญหาด้านสาธารณสุขในเรื่องของการแพร่ระบาดของเชื้อโรคเป็นอันดับแรก (80%) แต่ก็ยังมีหลาย ๆ คนที่มองว่าวิทยาศาสตร์จะสามารถเข้ามาช่วยแก้ปัญหาสำคัญ ๆ เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมและความเป็นธรรมในสังคมได้ด้วย ไม่ว่าจะเป็นเรื่องความเสมอภาคและการเข้าถึงหลักสูตรสะเต็มศึกษา* (STEM Education) อีกทั้งยังพบว่า 82% ของผู้ที่ถูกสำรวจมีความเห็นตรงกันว่าหากเราไม่ให้ความสำคัญกับวิทยาศาสตร์น่าจะเกิดผลเสียต่อโลกได้

ภาพความสำคัญของวิทยาศาสตร์ที่เปลี่ยนไปข้างต้นนั้นกลายเป็นประเด็นสำคัญจากงานวิจัยของSOSI แม้ว่าการแชร์มุมมองทางด้านวิทยาศาสตร์จะค่อนข้างเป็นเรื่องที่ไกลตัวนัก แต่ไม่ต้องสงสัยเลยว่าคนเริ่มหันมาตื่นตัวว่าวิทยาศาสตร์เข้ามามีบทบาททำให้ชีวิตเราดีขึ้น

อย่างไรก็ตาม แม้ความเชื่อมั่นและความชื่นชมในวิทยาศาสตร์จะมีเพิ่มขึ้น แต่ก็ยังมีช่องว่างและความท้าทายที่ต้องได้รับการแก้ไข เพื่อให้นักวิทยาศาสตร์รุ่นต่อไปมีความหลากหลายและมีส่วนร่วมมากขึ้นในการจัดการกับความท้าทายระดับโลกอย่างแท้จริง

อุปสรรคของการเข้าถึงการศึกษา STEM ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

แม้ว่าความเชื่อมั่นทางวิทยาศาสตร์จะมีความเข้มแข็งมากขึ้นในปัจจุบัน แต่หลาย ๆ คนก็รู้สึกไม่ฝักใฝ่ในวิทยาศาสตร์มากนัก โดยเฉพาะคนรุ่นใหม่ ทาง SOSI รายงานว่า เยาวชนคนรุ่นใหม่ (28%) มีแนวโน้มในการเรียนวิทยาศาสตร์ถดถอยลงมากกว่าคนรุ่นเบบี้บูมเมอร์ถึง 3 เท่า (9%)

ฉะนั้นการรับรู้จึงเป็นเรื่องสำคัญ หลายครั้งที่ความประทับใจแรกเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ของนักเรียนหลาย ๆ คนเป็นไปในเชิงลบ เมื่อพวกเขาต้องเข้าเรียนวิชาในหลักสูตรSTEM ซึ่งพบว่าปัญหาที่วนเวียนเกิดขึ้นเป็นเรื่องการเข้าไม่ถึง การขาดความมั่นใจ ตลอดจนความไม่เสมอภาคกันทางเพศและเชื้อชาติ ซึ่งบั่นทอนความต้องการที่จะเข้าสู่สายอาชีพที่เกี่ยวข้องกับ STEM [1] ลดลง ถึงแม้ว่าจะมีระบบที่พร้อมจะสนับสนุนก็ตาม

ยกตัวอย่างเช่น รัฐบาลในประเทศไทย อินโดนีเซีย และมาเลเซีย ใช้งบประมาณเพียง 20% ในการปรับปรุงระบบการศึกษาและนำวิชาของ STEM มาไว้ในหลักสูตร อีกทั้งนักเรียนในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้จำนวนมากยังรู้สึกขาดการเชื่อมต่อระหว่างวิชา STEM ที่สอนในห้องเรียนและการปฏิบัติในโลกแห่งความเป็นจริงอีกด้วย

ในปี 2561 มีนักเรียนมาเลเซียเพียงไม่ถึงครึ่ง (44%)[2] เลือกเรียนวิชาในหลักสูตร STEM เนื่องจากพวกเขามองไม่เห็นว่าวิทยาศาสตร์จะเข้ามามีบทบาทในชีวิตของพวกเขาอย่างไร และมีนักเรียนเพียง 33.1%[3] เท่านั้นที่เลือกเรียนในสาขาเกี่ยวกับ STEM ในอินโดนีเซีย ในขณะเดียวกัน ฟิลิปปินส์ ติดอันดับรองสุดท้ายมาจาก 79 ประเทศในความรู้ ด้านคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์จากโปรแกรมประเมินสมรรถนะนักเรียนมาตรฐานสากล (Programme for International Student Assessment หรือ PISA) โดยองค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา (Organisation for Economic Co-operation and Development หรือ OECD)[4] ขณะที่ STEM กำลังเริ่มได้รับความสนใจในประเทศเวียดนาม แต่ก็กลับขาดแคลนหนังสือของวิชาในหลักสูตร STEM และสื่อการเรียนการสอนทางวิทยาศาสตร์อื่น ๆ  ตลอดจนยังขาดการฝึกอบรมที่เหมาะสม ตลอดจนการคิดเชิงนวัตกรรมในกลุ่มครูอาจารย์ ซึ่งถือได้ว่าเป็นความท้าทายในการเข้ามาของหลักสูตร STEM ในกลุ่มประเทศที่กำลังพัฒนาอย่างรวดเร็ว

การมีวิทยาศาสตร์บนโลกสำคัญไฉนในยุค 2020

การส่งเสริมหลักสูตร STEM จะช่วยผลักดันการจ้างงานและนวัตกรรมในระดับภูมิภาค

บางทีวิธีนึงที่จะช่วยลดความรู้สึกเชิงลบเกี่ยวกับการเรียนวิชาต่าง ๆ ของหลักสูตร STEM ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ก็คือการเสริมสร้างทักษะพื้นฐาน และการเรียนรู้ผ่านการปฏิบัติจริงตามระดับของหลักสูตรในโรงเรียน อย่างเช่น การใช้เครื่องมือการสอนแบบดิจิทัล อาทิ การนำวิดีโอมาใช้ร่วมกับการปฏิบัติจริง และการทำโครงการเชิงปฏิบัติที่สามารถสร้างความสนใจของนักเรียนและการมีส่วนร่วมในการเรียนการสอนในหลักสูตร STEM

ปัจจัยสำคัญอีกประการหนึ่งของการศึกษาในหลักสูตร STEM คือการแสดงศักยภาพที่หลากหลาย เพื่อให้เห็นถึงความก้าวหน้าในสายอาชีพด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ในปัจจุบัน ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ถือว่าเป็นหนึ่งในตลาดที่เติบโตเร็วและมีศักยภาพในความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีมากขึ้น ด้วยโอกาสใหม่ ๆ ที่กำลังเกิดขึ้นในตลาด ส่งผลต่อการจ้างงานที่ต้องการคนที่มีศักยภาพและคุณสมบัติที่ตอบโจทย์ความต้องการของตลาดได้เทียบเคียงกัน

ยกตัวอย่างเช่น ในประเทศไทยที่มุ่งจะเป็นประเทศที่พัฒนาแล้วภายในปี พ.ศ.2578[5] โดยมีเป้าหมายที่จะขับเคลื่อนประเทศด้วยนวัตกรรมในด้านปัญญาประดิษฐ์ (AI) หุ่นยนต์ ชีววิทยาศาสตร์ การบินและอวกาศ ตลอดจนเทคโนโลยีใหม่ ๆ ที่สอดคล้องกับการเข้าสู่การปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 4 ของโลก และการเป็นไทยแลนด์ 4.0 ในทางกลับกัน ประเทศฟิลิปปินส์กำลังก้าวไปสู่การตั้งเมืองอัจฉริยะแห่งแรก อีกทั้งประเทศอินโดนีเซียยังได้รับการวางตัวให้เป็นศูนย์กลางเทคโนโลยีของภูมิภาค ในฐานะที่เป็นต้นกำเนิดสตาร์ทอัพที่ใช้เทคโนโลยีในธุรกิจ เช่น Traveloka และ Gojek

จากที่เห็นประเทศต่าง ๆ เหล่านี้กำลังมุ่งไปสู่การเติบโตทางด้านเทคโนโลยี ฉะนั้นการศึกษาในหลักสูตร STEM จะสามารถช่วยสร้างทักษะให้บัณฑิตรุ่นใหม่มีคุณสมบัติที่พร้อมจะเข้าสู่อุตสาหกรรม ด้วยมุมมองใหม่ ๆ และความสนใจในนวัตกรรม

3เอ็ม เรียกร้องถึงความร่วมมือและความรับผิดชอบร่วมกัน เพื่อปูทางสู่การเติบโตและนวัตกรรมทางวิทยาศาสตร์ที่สอดคล้องกัน

ไม่ว่าผลการวิจัยจะพบว่า วิทยาศาสตร์สามารถเข้ามาช่วยในการหาวิธีแก้ปัญหาใหม่ ๆ อย่างยั่งยืนในเรื่อง ความท้าทายที่สำคัญระดับโลก หรือการสนับสนุนให้คนรุ่นใหม่ศึกษาหลักสูตร STEM ให้มากขึ้น แต่การทำงานร่วมกันระหว่างภาครัฐบาล ภาคเอกชน นักวิชาการ และองค์กรพัฒนาเอกชน (NGO) ก็ยังเป็นสิ่งจำเป็นในการขับเคลื่อนการเติบโตทางวิทยาศาสตร์เช่นกัน

จากรายงาน SOSI 2020 เปิดเผยว่า 53% ของผู้ตอบแบบสอบถามเชื่อว่าท่ามกลางความท้าทายที่สำคัญในปี 2563  บริษัทต่าง ๆ ควรให้ความสำคัญในการร่วมมือกับรัฐบาล เพื่อช่วยแก้ไขปัญหาความท้าทายระดับโลก รองลงมาคือการเตรียมพร้อมสำหรับการระบาดในอนาคต (61%)

ดังคำกล่าวที่ว่าการกระทำนั้นดังกว่าคำพูด ล่าสุด 3เอ็ม ได้ออกประกาศหลายฉบับที่ร่วมมือกับองค์กรชั้นนำต่าง ๆ ที่ต้องการให้บริษัทเข้าไปช่วยเหลือ โดยในทุก ๆ ปี 3Mgives จะดำเนินการแข่งขันชิงทุนระดับนานาชาติเพื่อนำไปสนับสนุนเสาหลักของชุมชน สิ่งแวดล้อม และการศึกษา

ในปี พ.ศ.2562 3เอ็ม ได้ให้ทุนเพื่อสนับสนุนในโครงการการศึกษาของ 3Mgives เป็นจำนวนเงิน 4.5 ล้านบาท (150,500 เหรียญสหรัฐ) เพื่อพัฒนาเรื่องการเข้าถึงทางการศึกษาอย่างเท่าเทียมสำหรับกลุ่มที่ด้อยโอกาสในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งเกิดขึ้นจากความร่วมมืออย่างแข็งขันกับองค์กรพัฒนาเอกชนในพื้นที่และองค์กรที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา โดยมอบให้กับองค์กร Loreto ประเทศเวียดนาม จำนวน 22,000 เหรียญสหรัฐ, องค์กร Teach for Malaysia ประเทศมาเลเซีย จำนวน 17,500 เหรียญสหรัฐ และองค์กร Doctorabbit ในประเทศอินโดนีเซีย จำนวน 26,000 เหรียญสหรัฐ ในขณะเดียวกันยังมอบให้กับพิพิธภัณฑ์ The Mind Museum ในประเทศฟิลิปปินส์ จำนวน 50,000 เหรียญสหรัฐ และศูนย์วิทยาศาตร์ (Science Center) ในประเทศสิงคโปร์ จำนวน 35,000 เหรียญสหรัฐ

จากการสร้างความร่วมมือกับองค์กรที่เป็นผู้นำด้านการศึกษาในแต่ละพื้นที่เหล่านี้ ทำให้เราสามารถพัฒนาโครงการใหญ่ ๆ ที่ไม่เพียงแต่สร้างความสนใจในหลักสูตร STEM ได้อีกครั้งเท่านั้น แต่ยังทำให้เราสามารถเข้าไปช่วยจัดการในเรื่องความไม่เท่าเทียมกันทางการศึกษาได้อีกด้วย

หากมีอะไรที่เราได้เรียนรู้เกี่ยวกับอนาคตของวิทยาศาสตร์จากผลการวิจัย SOSI นั่นหมายความว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้น ในฐานะที่ 3เอ็ม เป็นพลเมืองคนนึงของโลก มันเป็นหน้าที่ของเราที่ต้องสร้างความมั่นใจได้ว่าวิทยาศาสตร์จะยังคงอยู่อย่างยืนยาวเพื่อสร้างอนาคตให้ยั่งยืน

การมีวิทยาศาสตร์บนโลกสำคัญไฉนในยุค 2020

1. https://iopscience.iop.org/article/10.1088/1757-899X/506/1/012005/pdf

*หลักสูตรสะเต็มศึกษา คือการบูรณาการความรู้ระหว่างศาสตร์วิชาต่างๆเช่น ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ Science ความรู้ทางด้านเทคโนโลยี Technology ความรู้ทางด้านวิศวกรรม  Engineering และความรู้ด้านคณิตศาสตร์ Mathematic  รวมเข้าด้วยกัน

2. https://www.malaymail.com/news/malaysia/2019/09/27/ministry-decline-in-students-opting-for-stem-subjects-concerning/1794928

3. https://wenr.wes.org/2019/03/education-in-indonesia-2

4. https://newsinfo.inquirer.net/1198208/worst-ph-ranking-in-math-science-reading-prompts-deped-review[5] https://opengovasia.com/thai-government-pushes-stem-educational-programmes-to-help-meet-thailand-4-0-vision/