posttoday

ครั้งแรกกับการจับมือ สคช.- กยท. - มอ. ผนึกกำลัง 3 ฝ่าย ยกระดับอาชีพเพาะปลูกยางพาราให้มีมาตรฐานอาชีพการเพาะปลูกยางพารา

10 สิงหาคม 2563

วันนี้ (14 กรกฎาคม 2563) ดร.นพดล ปิยะตระภูมิ ผู้อำนวยการสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ (องค์การมหาชน) หรือ สคช. ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือการพัฒนาผู้ปฏิบัติงานด้านเพาะปลูกยางพาราให้มีมาตรฐานอาชีพ และคุณวุฒิวิชาชีพ ร่วมกับนายณกรณ์ ตรรกวิรพัท รองผู้ว่าการการยางแห่งประเทศไทย (กยท.) และศาสตราจารย์ ดร.บัญชา สมบูรณ์สุข อาจารย์ประจำสาขานวัตกรรมการเกษตรและการจัดการ คณะทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (มอ.) เนื่องจากปัจจุบันจำนวนแรงงานผู้ปลูกยางพาราของไทย สวนทางกับผลผลิตความต้องการในอุตสาหกรรม โดยเฉพาะเวลานี้มีความต้องการแรงงานในสาขาเพาะปลูกยางพาราที่มีความรู้และทักษะในการทำงาน เพื่อเพิ่มผลผลิต ลดต้นทุน และรักษาสภาพแวดล้อม จึงเป็นที่มาให้มีการจัดทำมาตรฐานอาชีพเกิดขึ้น

ครั้งแรกกับการจับมือ สคช.- กยท. - มอ. ผนึกกำลัง 3 ฝ่าย ยกระดับอาชีพเพาะปลูกยางพาราให้มีมาตรฐานอาชีพการเพาะปลูกยางพารา

ดร.นพดล ย้ำว่า มาตรฐานอาชีพนี้จะทำให้เกิดประโยชน์เป็นอย่างมากกับคนในอาชีพ และเศรษฐกิจภาพรวมของประเทศ ผู้ที่ผ่านการประเมินในเบื้องต้นไปแล้ว 745 คน เรียกว่าเป็นผู้ที่มีความสามารถเฉพาะทางในด้านการเพาะปลูกยางพารา มีทักษะ ความชำนาญ มีความเป็นมืออาชีพเริ่มตั้งแต่การปลูก ไปจนถึงการเก็บเกี่ยวผลผลิต แปรรูป และยังสามารถทำการตลาดได้อย่างมืออาชีพ มีความสามารถถูกต้องตามหลักวิชาการ ที่เหนือไปกว่านั้นก็คือการสร้างรายได้ให้กับเกษตรกรผู้ประกอบอาชีพ ซึ่งความร่วมมือในการจัดทำมาตรฐานอาชีพกับ กยท. และ มอ. เรียกว่าเป็นความร่วมมือแบบครบวงจร ที่ภาครัฐสามารถผลิตกำลังคนด้านการเกษตรให้มีความสามารถลงสู่สนามแข่งขันได้ทั้งระดับภูมิภาค และระดับสากล ซึ่งเป็นรากฐานความมั่นคงสำคัญของประเทศ

ครั้งแรกกับการจับมือ สคช.- กยท. - มอ. ผนึกกำลัง 3 ฝ่าย ยกระดับอาชีพเพาะปลูกยางพาราให้มีมาตรฐานอาชีพการเพาะปลูกยางพารา

ด้านรองผู้ว่าการยางแห่งประเทศไทย เชื่อว่าความร่วมมือที่เกิดขึ้นจะช่วยผลักดันให้เกษตรกรผู้ปลูกยางพาราได้ความรู้ ความเชี่ยวชาญในการประกอบอาชีพที่สร้างผลผลิตที่ได้คุณภาพออกสู่ตลาดจำนวนมากขึ้น ซึ่ง กยท. พร้อมสนับสนุนให้ผู้ปลูกยาง รวมทั้งคนในแวดวงการยางตื่นตัว เข้ารับการประเมินสมรรถนะในอาชีพ ที่ต้องผ่านทั้งการฝึกอบรม และการประเมิน เพื่อประโยชน์โดยตรงต่อทั้งตัวเกษตรกร ผลผลิตยางของประเทศ และเศรษฐกิจของประเทศด้วย 

ครั้งแรกกับการจับมือ สคช.- กยท. - มอ. ผนึกกำลัง 3 ฝ่าย ยกระดับอาชีพเพาะปลูกยางพาราให้มีมาตรฐานอาชีพการเพาะปลูกยางพารา

ขณะที่ ศาสตราจารย์ ดร.บัญชา  ย้ำว่าสวนที่ดีไม่ใช่แค่ผลผลิตดีเพียงอย่างเดียว แต่ผู้ผลิตต้องมีคุณภาพด้วย ความร่วมมือของคนในอาชีพที่ร่วมกันจัดทำมาตรฐานอาชีพในครั้งนี้ นับเป็นจุดเริ่มต้นครั้งสำคัญในการพัฒนากำลังคนของประเทศในด้านการเพาะปลูกยางพาราเลยก็ว่าได้

สำหรับการผนึกกำลัง 3 ฝ่าย เป็นการร่วมกันพัฒนาผู้ปฏิบัติงานด้านเพาะปลูกยางพาราให้มีมาตรฐานอาชีพ และคุณวุฒิวิชาชีพเกษตรกรรมเบื้องต้นในสาขาเพาะปลูกพืชเศรษฐกิจ อาชีพผู้ปฏิบัติงานด้านเพาะปลูกยางพารา ทั้งการจัดทำแปลงต้นยางพาราพันธุ์ดี การจัดการปุ๋ยยางพารา การเก็บเกี่ยวผลผลิต การปลูกสร้างสวน การจัดการสวนยางอย่างยั่งยืน การแปรรูปผลผลิต และการตลาดผลผลิตยางพาราขั้นต้น