posttoday

สสส.ชูโมเดล “ยืนประชุม” เวที PMAC

01 กุมภาพันธ์ 2563

สสส.เสนอโมเดล “ยืนประชุม” ต้นแบบลดพฤติกรรมเนือยนิ่งของวัยทำงาน ลดเสี่ยงกลุ่มโรค NCDs คุกคามชีวิตคนไทย บน เวที PMAC

สสส.เสนอโมเดล “ยืนประชุม” ต้นแบบลดพฤติกรรมเนือยนิ่งของวัยทำงาน ลดเสี่ยงกลุ่มโรค NCDs คุกคามชีวิตคนไทย บน เวที PMAC

นพ.ไพโรจน์ เสาน่วม ผู้อำนวยการสำนักส่งเสริมวิถีชีวิตภาวะสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) เปิดเผยว่า ผลการสำรวจระดับกิจกรรมทางกายในประชากรไทยจากหลายหน่วยงาน พบว่าในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา ประชากรไทยประมาณ 1 ใน 3 มีกิจกรรมทางกายไม่เพียงพอ เป็นสาเหตุสำคัญของการเสียชีวิตจากกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (Non-Communicable Diseases NCDs) ได้แก่ เบาหวาน หัวใจและหลอดเลือด และกลุ่มโรคมะเร็ง โดยคนไทยมีอัตราการเสียชีวิตจากโรคไม่ติดต่อเรื้อรังถึงร้อยละ 71 ของการเสียชีวิตทั้งหมด โดยการมีกิจกรรมทางกายที่ไม่เพียงพอ เป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการเสียชีวิต 11,129 ราย และก่อภาระค่าใช้จ่ายทางสุขภาพจำนวนมาก

สสส.ในฐานะหน่วยงานของรัฐที่มีหน้าที่ในการส่งเสริมและสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพให้ประชาชนมีสุขภาวะทางกาย จิต ปัญญา และสังคม โดยสนับสนุนพฤติกรรมของบุคคล สภาพสังคม และสิ่งแวดล้อม อันจะนำไปสู่การมีร่างกายแข็งแรง สภาพจิตที่สมบูรณ์ อายุยืนยาว และมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น จึงเสนอรูปแบบการจัดประชุมแบบ Healthy Meeting ในเวทีการประชุมวิชาการนานาชาติประจำปีรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดล ปี 2563 (PMAC 2020) ระหว่างวันที่ 28 ม.ค. - 2 ก.พ.นี้ ที่รร.เซ็นทาราแกรนด์ แอท เซ็นทรัลเวิลด์ เพื่อเป็นต้นแบบให้หน่วยงานต่าง ๆ นำไปใช้เพื่อส่งเสริมกิจกรรมทางกายของคนวัยทำงานและลดพฤติกรรมเนือยนิ่งตามนโยบายของกระทรวงสาธารณสุข

“การมีกิจกรรมทางกายที่เพียงพอ นำไปสู่การเติบโตและพัฒนาการทางสังคมที่ดี ช่วยลดความเสี่ยงจากโรคเรื้อรังและช่วยพัฒนาสุขภาพจิตได้เป็นอย่างดี” นพ.ไพโรจน์กล่าว

สสส.ชูโมเดล “ยืนประชุม” เวที PMAC

สำหรับโครงการส่งเสริมการจัดประชุมแบบ Healthy Meeting คือการปรับพฤติกรรมของผู้คนในโลกยุคใหม่ ซึ่งนับวันยิ่งมีพฤติกรรมเสี่ยงต่อโรคภัยไข้เจ็บมากขึ้น จากสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนไป มุ่งนำเสนอให้เห็นถึงความสำคัญของการจัด Healthy Meeting สร้างการรับรู้และเข้าใจถึงการมีกิจกรรมทางกายที่เพียงพอ และ ลดการเนือยนิ่งในวิถีชีวิตประจำวัน ซึ่งโครงการส่งเสริมการจัดประชุมแบบ Healthy Meeting เป็นส่วนหนึ่งของการสร้างพื้นที่สุขภาวะ (Healthy space) ที่ต้องการทำให้คนใช้ชีวิตอย่างมีความสุข ส่งเสริมการอยู่ร่วมกันของชุมชนภายในงาน PMAC 2020 สสส.ได้เสนอโมเดลในการจัดการประชุมแบบ Healthy Meeting พร้อมให้ข้อมูลในเรื่องของการส่งเสริมการเพิ่มกิจกรรมทางกาย โภชนาการที่เหมาะสม ปลอดเหล้าบุหรี่ และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมในชีวิตประจำวันได้อย่างชัดเจนและเป็นระบบได้ในคราวเดียว เป็นการสร้างพื้นที่สุขภาวะ ที่สร้างการเรียนรู้ให้กับผู้เข้าร่วมประชุมที่เป็นบุคลากรของหน่วยงานต่างๆ ซึ่งบุคคลกลุ่มนี้จะเป็นกลุ่มต้นแบบที่จะนำข้อมูลไปเผยแพร่ต่อไป พร้อมจัดนิทรรศการ “โต๊ะประชุมยืน” ที่พัฒนาและออกแบบโดยคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

สสส.ชูโมเดล “ยืนประชุม” เวที PMAC

พนิต ภู่จินดา หัวหน้าภาควิชาผังเมือง คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และนายกสมาคมผังเมืองแห่งประเทศไทย กล่าวว่า โต๊ะประชุมยืน พัฒนาขึ้นจากแนวคิดในการส่งเสริมกิจกรรมทางกายของคนเมือง สนับสนุนให้เกิดการขยับร่างกายในระหว่างการทำงาน ซึ่งปัจจุบันการประชุมเป็นเวลานาน ๆ ส่งผลให้เกิดพฤติกรรมเนือยนิ่ง ที่เป็นสาเหตุหลักของกลุ่มโรคไม่เรื้อรัง (NCDs) ได้แก่ เบาหวาน ความดัน หลอดเลือดหัวใจ มะเร็ง และถุงลมโป่งพอง และลดความจำเป็นของคนทีจะต้องไปสถานออกกำลังกายหรือฟิตเนส ที่มีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น

สสส.ชูโมเดล “ยืนประชุม” เวที PMAC

สำหรับโต๊ะประชุมยืน ที่ออกแบบโดยคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นอกจากใช้สำหรับประชุมแบบยืน ซึ่งจะทำให้ใช้เวลาจำกัด ประชุมไม่ยืดเยื้อ ยังสามารถปรับระดับได้หลากหลาย ให้เป็นพื้นที่ประชุมแบบอเนกประสงค์ ปรับเป็นโต๊ะตีปิงปอง หรือทำกิจกรรมอื่น ๆ สามารถเผาผลาญพลังงานได้ 0.15 แคลอรี่ต่อนาที ใน 1 ปี ช่วยลดน้ำหนักได้ 1.5-2.5 กิโลกรัมนอกจากนี้ ยังมี Bike Desk Table โต๊ะทำงานเพื่อส่งเสริมกิจกรรมทางกาย (จักรยาน) ที่นำโต๊ะทำงานผสมผสานกับจักรยานสำหรับออกกำลังกาย สามารถทำงานพร้อมกับออกกำลังกายด้วยการปั่นจักรยานไปด้วย ซึ่งทางจุฬาลงกรณ์ยินดีให้โมเดลต้นแบบสำหรับหน่วยงานต่าง ๆ นำไปผลิตใช้ในองค์กรต่อไป

สสส.ชูโมเดล “ยืนประชุม” เวที PMAC

สสส.ชูโมเดล “ยืนประชุม” เวที PMAC