posttoday

เมืองไทยประกันภัย จับมือ Harvard Graduate School of Design และศิษย์เก่า Harvard GSD

08 มกราคม 2563

โครงการ “คลองเตยดีดี” มุ่งปูทางสู่การพัฒนาพื้นที่อยู่อาศัยแห่งอนาคตเพื่อความเท่าเทียมและความมั่นคง

 

เมืองไทยประกันภัย จับมือ Harvard Graduate School of Design และศิษย์เก่า Harvard GSD ในประเทศไทย สำรวจและวิจัยพื้นที่ชุมชนคลองเตย ในโครงการ “คลองเตยดีดี” มุ่งปูทางสู่การพัฒนาพื้นที่อยู่อาศัยแห่งอนาคตเพื่อความเท่าเทียมและความมั่นคง พร้อมตั้งเป้าหมายเป็นโมเดลเพื่อขยายสู่การพัฒนาชุมชนอื่นทั่วประเทศ

เมืองไทยประกันภัย จับมือ Harvard Graduate School of Design และศิษย์เก่า Harvard GSD

นางนวลพรรณ ล่ำซำ กรรมการผู้จัดการ และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เมืองไทยประกันภัย จำกัด (มหาชน) และ ประธานสโมสรฟุตบอลการท่าเรือ เอฟ.ซี. กล่าวถึงความร่วมมือในครั้งนี้ว่า เมืองไทยประกันภัย เป็นบริษัทประกันวินาศภัยที่ให้ความสำคัญกับการดำเนินกิจกรรมเพื่อสังคมมาอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะการสนับสนุนกิจกรรมด้านการกีฬา ด้านการพัฒนาคุณภาพชีวิต เพราะหัวใจสำคัญของธุรกิจประกันภัยคือการเยียวยาประชาชน เมื่อเกิดภัยไม่คาดฝัน รวมถึงผลักดันให้คนในสังคมมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น ทั้งนี้จากการที่เมืองไทยประกันภัยเป็นผู้สนับสนุนหลักของสโมสรฟุตบอลการท่าเรือ เอฟ.ซี. ซึ่งมีพื้นที่ตั้งของสนามอยู่ใจกลางชุมชนคลองเตย  ทำให้ได้มีโอกาสใกล้ชิดกับคนคลองเตย และมีความรู้สึกว่า ชุมชนคลองเตย สโมสรฯ และ บริษัท เมืองไทยประกันภัย เสมือนเป็นครอบครัวเดียวกัน การพัฒนาพื้นที่คลองเตยจึงเป็นอีกหนึ่งพันธกิจที่บริษัทฯ ให้ความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง ที่ผ่านมาเมืองไทยประกันภัย จึงมีกิจกรรมที่ทำร่วมกับคนคลองเตยอย่างต่อเนื่อง และเป็นที่มาของโครงการ คลองเตยดีดี

สำหรับการร่วมมือกับ Harvard Graduate School of Design ในครั้งนี้ เป็นโครงการที่มุ่งเน้นตอบโจทย์ความต้องการของผู้อยู่อาศัย การสร้างความรู้สึกร่วมของคนในพื้นที่ให้ช่วยดูแลรักษาบ้านของตัวเอง เพื่อเสริมสร้างคุณภาพชีวิตของคนคลองเตยให้มีคุณภาพอย่างยั่งยืน

เมืองไทยประกันภัย จับมือ Harvard Graduate School of Design และศิษย์เก่า Harvard GSD

“นับเป็นโอกาสดีที่ เมืองไทยประกันภัย ได้ร่วมงานกับสถาบันการออกแบบระดับโลก Harvard Graduate School of Design และ ศาสตราจารย์ Anita Berrizbeitia MLA’ 87 หัวหน้าและแผนกภูมิสถาปัตยกรรม รวมถึงเป็นอาจารย์ของสาขาการวางแผนเมือง การออกแบบแผนเมือง และสถาปัตยกรรม เพื่อที่จะเข้ามาสำรวจ และวิจัยความต้องการในชุมชน ภายใต้แนวคิด The New Landscapes of Equity and Prosperity การพัฒนาพื้นที่อยู่อาศัยแห่งอนาคตเพื่อความเท่าเทียมและความมั่นคง โดยมีเป้าหมายเพื่อให้เป็นชุมชนที่ทุกคนสามารถอาศัยอยู่ร่วมกันอย่างยั่งยืน

เมืองไทยประกันภัย จับมือ Harvard Graduate School of Design และศิษย์เก่า Harvard GSD

“คลองเตยดีดี จึงเป็นการรวมพลังในแบบ East Meets West โดยใช้ความรู้และนวัตกรรมของ Harvard Graduate School of Design ผสมผสานกับความรู้และประสบการณ์ในพื้นที่ของคนคลองเตย รวมถึงความตั้งใจจริงของบริษัทเมืองไทยประกันภัย เพื่อวางแผนพัฒนาชุมชนคลองเตย ซึ่งเปรียบได้กับบ้านของชาวเมืองไทยประกันภัย และแฟนฟุตบอลสโมสรการท่าเรือด้วย” นางนวลพรรณ กล่าว

ด้าน Harvard Graduate School of Design นำโดยคณบดี Sarah M. Whiting ที่มาร่วมงาน

แถลงข่าวในวันที่ 7 มกราคม 2563 ทั้งนี้ความร่วมมือดังกล่าวมีกำหนดระยะเวลา 3 ปี โดย Harvard GSD จะส่งคณาจารย์และนักศึกษามาจัดตั้งสตูดิโอออกแบบในกรุงเทพมหานคร หัวข้อในการวิจัยมีตั้งแต่เรื่องโครงสร้างพื้นฐาน บ้านเรือน สิ่งก่อสร้างเชิงธุรกิจ โครงสร้างเชิงระบบนิเวศน์ ภูมิทัศน์ รวมถึงพื้นที่สาธารณะรูปแบบอื่น ๆ ในเขตคลองเตย

เมืองไทยประกันภัย จับมือ Harvard Graduate School of Design และศิษย์เก่า Harvard GSD

สำหรับรูปแบบการทำวิจัยจะอ้างอิงจากโมเดลสตูดิโอการทำวิจัยในโครงการอื่นๆ ที่ Harvard GSD เคยทำมาแล้ว โดยสตูดิโอจะประกอบด้วยอาจารย์หนึ่งคนหรือมากกว่านั้น นักศึกษาปริญญาโทประมาณ 12 คน  และในโอกาสพิเศษครั้งนี้ยังได้รับความร่วมมือจากศิษย์เก่า Harvard GSD ในประเทศไทยที่มีความชำนาญด้านภูมิสถาปัตย์ ผังเมือง รวมถึงบริบทของพื้นที่ จะเข้าร่วมโครงการนี้ด้วย

เมืองไทยประกันภัย จับมือ Harvard Graduate School of Design และศิษย์เก่า Harvard GSD

โดยเมืองไทยประกันภัยจะให้การสนับสนุนการดำเนินงาน รวมถึงลงพื้นที่เพื่อทำความรู้จักและทำความเข้าใจกับชุมชนต่างๆ ในพื้นที่คลองเตย อันจะเชื่อมโยงให้การดำเนินงานวิจัยดังกล่าวประสบผลสำเร็จตามที่ตั้งเป้าหมายไว้ เพื่อให้ได้มาซึ่งแผนแม่บทที่พร้อมด้วยองค์ความรู้และนวัตกรรมสำหรับนำไปต่อยอดในการเพิ่มมาตรฐานความเป็นอยู่ และคาดหวังว่า โมเดลคลองเตย จะเป็นต้นแบบชุมชนที่ส่งต่อโอกาส และความมั่นคงให้ผู้อาศัยและสังคม โดยหลังจากการวิจัยเสร็จสมบูรณ์จะมีการแบ่งปันองค์ความรู้สู่สาธารณะ ทั้งภาครัฐ และภาคเอกชน ผ่านการจัดนิทรรศการ และงานวิจัย เพื่อขยายผลการศึกษาด้านการพัฒนาพื้นที่อื่นๆ ต่อไป