posttoday

โพลชี้ประชาชนรับรู้ 50 กฟผ.มีการพัฒนาด้านนวัตกรรมอย่างต่อเนื่อง

11 พฤศจิกายน 2562

ผลสำรวจชี้ คนไทยส่วนใหญ่ทราบว่า 50 ปี กฟผ.มีการพัฒนาด้านนวัตกรรมอย่างต่อเนื่อง คำนึงถึงชุมชน- ตระหนักถึงสิ่งแวดล้อม

ผลสำรวจชี้ คนไทยส่วนใหญ่ทราบว่า 50 ปี กฟผ.มีการพัฒนาด้านนวัตกรรมอย่างต่อเนื่อง คำนึงถึงชุมชน- ตระหนักถึงสิ่งแวดล้อม

ผศ.ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการสำนักวิจัยซูเปอร์โพล (SUPER POLL) เปิดเผยผลสำรวจความคิดเห็น(โพล)ตั้งแต่ต้นปีจนถึงปัจจุบันเพื่อสะท้อนข้อมูลการรับรู้การสื่อสารด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมของ กฟผ. ที่ได้ดำเนินภารกิจอย่างต่อเนื่องมากว่า 50 ปีพบว่า คนไทยส่วนใหญ่ทราบว่า กฟผ. มีการพัฒนาด้านนวัตกรรมอย่างต่อเนื่อง โดยส่วนใหญ่หรือร้อยละ 66.5 ทราบว่า กฟผ.อยู่คู่คนไทยมากว่า 50 ปี

โพลชี้ประชาชนรับรู้ 50 กฟผ.มีการพัฒนาด้านนวัตกรรมอย่างต่อเนื่อง

ทั้งนี้ ในขณะที่คนไทย ร้อยละ 52.6 ทราบว่า กฟผ. พัฒนารถยนต์ไฟฟ้าดัดแปลง (EV) และสถานีชาร์จประจุไฟฟ้า รองลงมาร้อยละ 49.6 ทราบเรื่องศูนย์การเรียนรู้ กฟผ. เพื่อสร้างสังคมแห่งภูมิปัญญา และร้อยละ 43.5 ทราบว่า กฟผ. มีการพัฒนาโรงไฟฟ้าให้เป็นโรงไฟฟ้าดิจิทัล ตามลำดับ

อย่างไรก็ตาม ผลสำรวจที่น่าสนใจคือ ตลอดระยะเวลา 50 ปี ของกฟผ.ประชาชนจำนวนมากหรือร้อยละ 49.5 รับรู้ว่า กฟผ.มีจุดเด่นเรื่องความเชี่ยวชาญในการผลิตและรักษาความมั่นคงของระบบพลังงานไฟฟ้า ร้อยละ 26.7 เห็นว่า กฟผ.เป็นหน่วยงานที่มีความก้าวหน้าด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมพลังงานไฟฟ้า และ ร้อยละ 11.1 เห็นว่า กฟผ. ดำเนินงานอย่างมีความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม (Corporate Social Responsibility)

โพลชี้ประชาชนรับรู้ 50 กฟผ.มีการพัฒนาด้านนวัตกรรมอย่างต่อเนื่อง

ด้าน ผศ.ดร. อัจฉรา ปัณฑรานุวงศ์ นักวิชาการด้านการประชาสัมพันธ์และการสื่อสารองค์กร คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวว่า ในด้านการสื่อสาร กฟผ. มีภาพลักษณ์เดิมที่อยู่ในใจของประชาชนมาตลอด 50 ปี คือ ความเชี่ยวชาญในการผลิตไฟฟ้า รวมทั้งภาพลักษณ์เรื่องการอนุรักษ์พลังงาน ซึ่งเป็นผลมาจากการรณรงค์และดำเนินงานอย่างจริงจังในเรื่องการใช้ไฟฟ้าอย่างมีประสิทธิภาพ เช่น โครงการฉลากประหยัดไฟเบอร์ 5 รวมทั้งความสามารถในการรักษาเสถียรภาพและเป็นเสาหลักด้านความมั่นคงทางพลังงาน  ของประเทศที่ประชาชนไว้วางใจและอุ่นใจ

ทั้งนี้ กลุ่มคนรุ่นใหม่ GEN X และ GEN Y เป็นกลุ่มที่ให้ความสนใจต่ออนาคตด้านความมั่นคงทางพลังงานค่อนข้างมาก ซึ่ง กฟผ. มีการพัฒนาด้านนวัตกรรมและเทคโนโลยีโดยเฉพาะในด้านที่เกี่ยวข้องกับประเด็นพลังงาน ของโลกปัจจุบันและอนาคต เช่น การใช้พลังงานอย่างยั่งยืน และพลังงานทดแทนอยู่แล้ว จึงควรสื่อสารเรื่องดังกล่าวอย่างต่อเนื่องเพื่อตอบโจทย์ความสนใจของกลุ่มคนรุ่นใหม่

โพลชี้ประชาชนรับรู้ 50 กฟผ.มีการพัฒนาด้านนวัตกรรมอย่างต่อเนื่อง

ขณะที่ ศ.ดร.ปาริชาต สถาปิตานนท์ คณบดีคณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า กฟผ. มีภาพจำเดิมซึ่งครองใจประชาชนในด้านความเชี่ยวชาญด้านการผลิตไฟฟ้าซึ่งเป็นเรื่องที่ กฟผ. ดำเนินงานมาได้อย่างดี แต่ทว่า ปัจจุบันประเทศไทยได้เปิดโอกาสให้โรงไฟฟ้าเอกชนขึ้นมาดำเนินการ ทำให้พลังงานไฟฟ้าไม่ใช่สินค้าผูกขาด และมีคู่แข่งทางการตลาด

อย่างไรก็ตาม ภาพจำด้านความเชี่ยวชาญของ กฟผ.ยังทำให้คนเชื่อมั่นต่อองค์กรอยู่ ซึ่งในปัจจุบัน มีนวัตกรรมใหม่ ๆ ก้าวเข้ามาในตลาดพลังงานจำนวนมาก และ กฟผ.กำลังบุกตลาดไฟฟ้าทางเลือก กฟผ. จึงต้องเพิ่มรูปแบบของการสื่อสารในด้านนวัตกรรมเพื่อแสดงให้ประชาชนเห็นว่า ไม่ว่าจะในแพลตฟอร์มใด และรูปแบบไหน กฟผ. ก็พร้อมที่จะก้าวไปกับประชาชนคนไทยทุกคนอีกด้วย

สำหรับ ในปัจจุบัน จะเห็นได้ว่า กฟผ.ได้มุ่งมั่นที่จะสื่อสารและถ่ายทอดองค์ความรู้และประสบการณ์ ด้านนวัตกรรมพลังงานไฟฟ้าที่มีการคำนึงถึงชุมชนและสิ่งแวดล้อมออกสู่สังคมมากขึ้น ซึ่งเห็นได้จากการสร้าง “สังคมแห่งภูมิปัญญาด้านพลังงาน” ผ่านศูนย์การเรียนรู้ กฟผ. ทั้งหมด 8 แห่ง ทั่วประเทศ ประกอบด้วย 1. พิพิธภัณฑ์ศูนย์ถ่านหินลิกไนต์ศึกษา (เหมืองแม่เมาะ) เฉลิมพระเกียรติ จ. ลำปาง มีความโดดเด่น เรื่อง เรียนรู้การผลิตไฟฟ้าจากถ่านหิน ลานแสดงเครื่องจักรในเหมือง การทำเหมืองการดูแลสุขภาพและสิ่งแวดล้อม เป็นต้น

2. ศูนย์การเรียนรู้ราชานุรักษ์ กฟผ. เขื่อนศรีนครินทร์ จ. กาญจนบุรี มีความโดดเด่นเรื่อง การอนุรักษ์ทรัพยากรและพันธุกรรมพืชโดยเป็นการเรียนรู้ผ่านระบบ Interactive 3. ศูนย์การเรียนรู้ กฟผ. จะนะ จ. สงขลา มีความโดดเด่นเรื่อง ภารกิจการผลิตไฟฟ้าเพื่อการพัฒนาประเทศและการอยู่ร่วมกับชุมชนอย่างกลมกลืน 4. ศูนย์การเรียนรู้ กฟผ. ทับสะแก จ. ประจวบคีรีขันธ์ มีความโดดเด่น เรื่อง พลังงานหมุนเวียน เช่น พลังงานแสดงอาทิตย์และลม เป็นต้น

5. ศูนย์การเรียนรู้ กฟผ. สำนักงานกลาง จ. นนทบุรี มีความโดดเด่น เรื่อง เกมจำลองศูนย์ควบคุมพลังงานไฟฟ้าเทคโนโลยีการผลิตและส่งไฟฟ้า 6. ศูนย์การเรียนรู้ กฟผ. ลำตะคอง จ. นครราชสีมา มีความโดดเด่น เรื่อง พลังหมุนเวียน การกักเก็บพลังงานหมุนเวียน 7. ศูนย์การเรียนรู้ กฟผ. สันกำแพง จ. เชียงใหม่ อยู่ในระหว่างการออกแบบและเตรียมก่อสร้าง 8. ศูนย์การเรียนรู้ กฟผ. ผาบ่อง จ. แม่ฮ่องสอน อยู่ในระหว่างการออกแบบและเตรียมก่อสร้าง

ประชาชนผู้สนใจ สามารถเข้าชมศูนย์การเรียนรู้ได้ทุกวัน (ยกเว้นวันจันทร์) ในเวลาราชการ หรือสอบถาม ข้อมูลที่ศูนย์การเรียนรู้ กฟผ. https://www.egat.co.th/learningcenter/ หรือ โทร. 0-2436-8952 สำนักวิจัย ซูเปอร์โพล (SUPER POLL)   โทร 02.051.5928   www.superpollthailand.net