posttoday

ความร่วมมือระหว่างไทย จีนแผ่นดินใหญ่และฮ่องกง อีกก้าวสู่ความสำเร็จ

16 กันยายน 2562

การจัดงานและภารกิจขององค์การสภาพัฒนาการค้าฮ่องกง (HKTDC) เพื่อการเพิ่มโอกาสความร่วมมือทางธุรกิจภายใต้นโยบายไทยแลนด์ 4.0

 

13 กันยายน 2562 – ที่ผ่านมา สภาพัฒนาการค้าฮ่องกง (The Hong Kong Trade Development Council: HKTDC) ได้ทำงานอย่างใกล้ชิดในการอำนวยความสะดวกทางธุรกิจและการลงทุนระหว่างไทย จีนแผ่นดินใหญ่และฮ่องกง ผ่านภารกิจแลกเปลี่ยนระหว่างผู้ที่เกี่ยวข้องระดับสูง และการจัดงานอีเวนท์สำคัญต่างๆ รวมถึงการประชุมสุดยอด
“หนึ่งแถบ หนึ่งเส้นทาง” (Belt and Road Summit) (เมื่อวันที่ 12 กันยายน 2562) ซึ่งมีนักธุรกิจชั้นนำของไทย เจ้าของโครงการ เข้าร่วมการประชุม และได้แลกเปลี่ยนทัศนะและข้อมูลเชิงลึก เกี่ยวกับโอกาสในการลงทุนเพื่อขับเคลื่อนความร่วมมือตามแถบและเส้นทาง Belt and Road

การประชุมสุดยอด “หนึ่งแถบ หนึ่งเส้นทาง” (Belt and Road Summit) เพิ่มโอกาสความร่วมมือในอาเซียน

การประชุมสุดยอด Belt and Road Summit ครั้งที่ 4 ร่วมกันจัดขึ้นโดยรัฐบาลเขตบริหารพิเศษฮ่องกง ( Hong Kong Special Administrative Region: HKSAR) และสภาพัฒนาการค้าฮ่องกง the HKTDC มีผู้เข้าร่วมงานกว่า 5,000 คน จาก 60 ประเทศและภูมิภาคอื่นๆอีก รวม 500 แห่งจากกลุ่มประเทศอาเซียน โดยจัดขึ้นระหว่างวันที่ 11 – 12 กันยายน 2562 ในฮ่องกงภายใต้แนวคิด “สร้างและเข้าใจโอกาส” (Creating and Realising Opportunities) นอกจากนี้ ในการประชุมดังกล่าว ยังมีผู้นำภาครัฐและนักธุรกิจชั้นนำจากทั่วโลกเข้าร่วมด้วย ซึ่งผู้เข้าร่วมงานได้ร่วมกันหารือเกี่ยวกับโอกาสในการพัฒนาความร่วมมือในภาคเศรษฐกิจต่างๆ ตามแถบและเส้นทาง Belt and Road นอกจากนี้ยังมีการจับคู่ธุรกิจ การนำเสนอโครงการลงทุนต่อลูกค้าหรือนักลงทุน พื้นที่จัดแสดงนิทรรศการ และพื้นที่การลงทุนระดับโลก (Global Investment Zone) ถือเป็นเวทีสำคัญที่เชื่อมต่อผู้เข้าร่วมงานเข้ากับโครงการ บริการ ตลอดจนโอกาสทางธุรกิจและการลงทุน เพื่อสนับสนุนและก่อให้เกิดความร่วมมือที่เข้มแข็งต่อไป

ในการประชุมใหญ่ ภายใต้แนวคิด “ลงทุนเพื่อมูลค่า – การนำโครงการตามแถบเส้นทาง Belt and Road สู่ความเป็นไปได้ (Investing for Value – Making Belt and Road projects Viable) นายธนินท์ เจียรวนนท์ ประธานอาวุโส เครือเจริญโภคภัณฑ์ กล่าวว่า “ผมมีความมั่นใจอย่างยิ่งในการพัฒนาของจีน และได้เริ่มลงทุนในจีนตั้งแต่เมื่อ 40 ปีที่แล้ว ปัจจุบัน จีนได้ริเริ่มโครงการเส้นทางสายไหมแห่งศตวรรษที่ 21 ซึ่งได้กำหนดทิศทางที่ชัดเจนในเรื่องความร่วมมือระหว่างประเทศเพื่อผลประโยชน์ร่วมกัน โดยในการเข้าร่วมโครงการเส้นทางสายไหมแห่งแห่งศตวรรษที่ 21 นี้ ประเทศไทยได้นำเสนอโอกาสมากมายผ่านแผนพัฒนา อาทิ โครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (Eastern Economic Corridor: EEC) ซึ่งได้รับแรงบันดาลใจมาจากความสำเร็จของเขตเศรษฐกิจพิเศษของจีน โดยมีเป้าหมายเพื่อดึงดูดนักลงทุนที่มีความสามารถเพื่อส่งเสริมและเพิ่มกำลังการผลิตด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมของไทย”

ภารกิจทางธุรกิจต่อประเทศไทย เพื่อเสริมสร้างความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดยิ่งขึ้น

ความร่วมมือระหว่างไทย จีนแผ่นดินใหญ่และฮ่องกง อีกก้าวสู่ความสำเร็จ

ไม่นานมานี้ นายธนินทร์ ได้พบกับ Dr. Peter K N Lam ประธาน HKTDC ในกรุงเทพมหานคร ในช่วงที่ HKTDC จัดงานภารกิจทางธุรกิจต่อประเทศไทย ระหว่างวันที่ 24 – 26 กรกฎาคม ที่ผ่านมา คณะผู้แทนที่เข้าร่วมงานประกอบด้วย ผู้แทนภาคธุรกิจฮ่องกง 20 ราย ซึ่งได้เข้าพบกับผู้นำภาครัฐและนักธุรกิจชั้นนำของไทย เพื่อหารือเกี่ยวกับโอกาสทางการค้า
การผลิต การลงทุน และการบริการ ภายใต้โครงการเส้นทางสายไหมแห่งศตวรรษที่ 21 และแผนยุทธศาสตร์ทางเศรษฐกิจภายใต้นโยบายไทยแลนด์ 4.0

ระหว่างงานดังกล่าวข้างต้น คณะผู้แทนได้รับการต้อนรับโดย รองนายกรัฐมนตรี นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ และได้ร่วมกันหารืออย่างเจาะลึกเกี่ยวกับโครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออกของไทย จะสามารถดำเนินงานร่วมกันกับแผนพัฒนาความร่วมมือระหว่างมณฑลกวางตุ้ง - ฮ่องกง - มาเก๊าของจีน (Guangdong-Hong Kong-Macao Greater Bay Area) เพื่อสร้างความสัมพันธ์อันแข็งแกร่งมากขึ้นระหว่างจีนแผ่นดินใหญ่  ฮ่องกง และประเทศสมาชิกอาเซียน การประชุมจัดขึ้นร่วมกับ สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) และ การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย เพื่อเรียนรู้เกี่ยวกับการพัฒนาล่าสุดในประเทศไทย รวมทั้งข้อมูลเกี่ยวกับการลงทุน สิทธิประโยชน์ทางภาษีในเขตพื้นที่ EEC และนิคมอุตสาหกรรมต่างๆ 

นอกจาก นายธนินทร์แล้ว คณะผู้แทนยังได้พบปะกับผู้นำทางธุรกิจของไทย ซึ่งรวมถึง นายวิกรม กรมดิษฐ์ ประธานเครืออมตะ นายกวิน กาญจนพาสน์ กรรมการบริหารและกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ของเครือบีทีเอส โดยในการประชุมได้มีการหารือเกี่ยวกับความสำเร็จที่ฮ่องกงสามารถเชื่อมต่อกับจีนแผ่นดินใหญ่และนักลงทุนต่างชาติได้ เนื่องจากความเชี่ยวชาญด้านการเงินและการบริการระดับมืออาชีพ พร้อมทั้งสนับสนุนการพัฒนาเขตเมือง ภายใต้แผน EEC และเขตกรุงเทพมหานคร โดยโครงการต่างๆ อาทิ โครงการรถไฟความเร็วสูง นิคมอุตสาหกรรม และเมืองอัจฉริยะ

Dr. Peter K N Lam ประธาน HKTDC กล่าวว่า “ประเทศไทยเป็นสมาชิกอาเซียนที่สำคัญยิ่งประเทศหนึ่งซึ่งเป็นคู่ค้ากับฮ่องกงมาช้านาน เราได้เรียนรู้จากการจัดงานนี้ว่า แผนยุทธศาสตร์ ‘ไทยแลนด์ 4.0’ ของรัฐบาลไทย และโครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก เข้ากันได้เป็นอย่างดีกับโครงการเส้นทางสายไหมแห่งศตวรรษที่ 21 และแผนพัฒนาความร่วมมือระหว่างมณฑลกวางตุ้ง - ฮ่องกง – มาเก๊าของจีน และ ประเทศไทย ยินดีต้อนรับนักลงทุนต่างชาติและนักลงทุนจากจีนแผ่นดินใหญ่ และในขณะเดียวกันก็เปิดโอกาสใหม่ๆ ให้แก่บริษัทต่างๆ ในฮ่องกง โดยเฉพาะบริษัทที่ดำเนินการเกี่ยวกับโครงสร้างพื้นฐาน เทคโนโลยี และนิคมอุตสาหกรรม ซึ่งผู้ประกอบการชาวฮ่องกงเองก็มีความสนใจที่จะเข้าร่วมในการพัฒนาด้านต่างๆ ที่จะช่วยให้พวกเขามีฐานการผลิตและตลาดในต่างประเทศที่หลากหลายมากยิ่งขึ้น

ความร่วมมืออย่างเป็นรูปธรรมในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน

สภาพัฒนาการค้าฮ่องกงได้จัดงานเพื่อส่งเสริมการลงทุนในประเทศไทยมาอย่างต่อเนื่อง เพื่อช่วยให้นักธุรกิจชาวฮ่องกงและจีนแผ่นดินใหญ่ เพิ่มและคว้าโอกาสความร่วมมือในการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานในไทย โดยในงานการลงทุนร่วมระหว่างฮ่องกงและเซี่ยงไฮ้ในโครงสร้างพื้นฐานของไทย  (Hong Kong-Shanghai Joint Infrastructure Investment Mission to Thailand) ที่จัดขึ้นเมื่อเดือนพฤษภาคม 2560 ได้มีการหารือกับผู้ที่เกี่ยวข้องระดับสูง และมีการบรรลุข้อตกลงที่เป็นรูปธรรม นอกจากนี้ ในการหารือระหว่างพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ณ รัฐสภา และการหารือร่วมกับเจ้าหน้าที่รัฐระดับสูงของไทย ที่งาน งานสัมมนา “ความร่วมมือด้านยุทธศาสตร์ระหว่างไทย-ฮ่องกง-เซี่ยงไฮ้ ภายใต้นโยบายหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง : Thailand-Hong Kong-Shanghai Strategic Partnership on One Belt One Road” ที่จัดขึ้นโดยรัฐบาลไทย ได้มีการลงนามบันทึกความเข้าใจ (Memorandum of Understanding: MoU) ระหว่างสำนักงาน สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก และสภาพัฒนาการค้าฮ่องกง

ในปี 2561 หนึ่งปีหลังจากการเจรจาภายหลังงานการลงทุนร่วมระหว่างฮ่องกงและเซี่ยงไฮ้ในโครงสร้างพื้นฐานของไทย ได้มีการลงนามในบันทึกความเข้าใจอีกสองฉบับ คือ 1) การลงนามใน MoU ระหว่าง CLP ของฮ่องกง กับเครืออมตะในการประชุมสุดยอดหนึ่งแถบ หนึ่งเส้นทาง เพื่อศึกษาความเป็นไปได้ในการสร้างโซลาร์ฟาร์มลอยน้ำในอมตะนครในนิคมอุตสาหกรรมชลบุรีซึ่งตั้งอยู่ในเขตระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก และ 2) การลงนามใน MoU ระหว่าง Kum Shing Group เครือบริษัทฮ่องกงที่เชี่ยวชาญด้านพลังงานและระบบโครงสร้างพื้นฐาน กับบริษัทของไทย ซึ่ง Kum Shing Group เป็นหนึ่งในผู้เข้าร่วมในงานการลงทุนร่วมระหว่างฮ่องกงและเซี่ยงไฮ้ในโครงสร้างพื้นฐานของไทยเมื่อปี 2560 โดย MoU ดังกล่าวมีวัตถุประสงค์เพื่อให้คำแนะนำด้านการบริการเพื่อพัฒนาความมันคงทางด้านพลังงานในกรุงเทพมหานคร และถือเป็นครั้งแรกที่บริษัทของฮ่องกง ได้ให้บริการคำแนะนำแก่รัฐวิสาหกิจของไทยในด้านพลังงาน

ความร่วมมือระหว่างไทย จีนแผ่นดินใหญ่และฮ่องกง อีกก้าวสู่ความสำเร็จ

นอกจากนี้ ในการประชุมสุดยอดหนึ่งแถบ หนึ่งเส้นทาง เมื่อปี 2561 บริษัท Ho & Partners Architects (HPA) ซึ่งมีฐานการดำเนินธุรกิจในฮ่องกง และ Life & Living ผู้นำด้านการพัฒนาธุรกิจของไทย ได้บรรลุข้อตกลงร่วมกัน โดย HPA ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นผู้นำโครงการ ที่มีหน้าที่ออกแบบและพัฒนาโครงการเมืองอัจฉริยะลดปริมาณคาร์บอนแห่งแรกของไทยและของเอเชีย ในโครงการศึกษาย่านนวัตกรรมศรีราชา ที่ตั้งอยู่ใจกลางโครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก โดยก่อนหน้านี้ ที่การประชุมหนึ่งแถบ หนึ่งเส้นทางเมื่อปี 2560 บริษัท Insight Robotics ของฮ่องกง ได้ลงนามในกลุ่มบริษัทในเครือ Loxley ของไทย เพื่อนำเสนอระบบหุ่นยนต์ตรวจจับไฟป่าให้แก่ประเทศไทย ภายใต้แผนไทยแลนด์ 4.0.

การเป็นหุ้นส่วนทางการค้าและการลงทุนระหว่างรัฐบาลต่อรัฐบาล และ รัฐบาลต่อธุรกิจ

การส่งเสริมความร่วมมือด้านการลงทุนทั้งในรูปแบบรัฐบาลต่อรัฐบาล (government-to-government: G2G) และรัฐบาลต่อธุรกิจ (government-to-business: G2B) ระหว่างรัฐบาลไทยและรัฐบาลฮ่องกง เป็นหนึ่งในภารกิจที่ HKTDC ได้ให้ความสำคัญอย่างมาก จำนวนของ MoU ที่ลงนามระหว่าง HKTDC และหน่วยงานของรัฐบาลไทย ซึ่งรวมถึงสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ คณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก และสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม มีจุดมุ่งหมายเพื่อส่งเสริมและสนับสนุนการค้าการลงทุนในระดับทวิภาคี การพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม และเสริมสร้างความร่วมมือระหว่างไทยและฮ่องกง

โดยที่ปัจจุบัน ความสำคัญของธุรกิจสตาร์ทอัพมีมากขึ้น ในฐานะปัจจัยใหม่ที่ขับเคลื่อนการเติบโตทางเศรษฐกิจของไทยและฮ่องกง HKTDC และบริษัท InnoSpace ประเทศไทย ได้ลงนามใน MoU ว่าด้วยกรอบความร่วมมือในการพัฒนานวัตกรรมและสตาร์ทอัพระหว่างกัน นอกจากนี้ HKTDC ยังได้ลงนามใน MoU กับเครือเจริญโภคภัณฑ์ ธนาคารกรุงเทพ ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย และธนาคารไทยพาณิชย์ เพื่อเสริมสร้างความสัมพันธ์ทวิภาคีให้เข้มแข็งยิ่งขึ้น และส่งเสริมให้มีการแลกเปลี่ยนทางธุรกิจเพิ่มขึ้นด้วย

ความร่วมมือระหว่างไทย จีนแผ่นดินใหญ่และฮ่องกง อีกก้าวสู่ความสำเร็จ

ประเทศไทยเป็นหนึ่งในคู่ค้าในอาเซียนที่สำคัญที่สุดฮ่องกง โดยในปีก่อนหน้า ฮ่องกงส่งออกสินค้ามายังไทย มูลค่ารวม  60.6 พันล้านดอลลาร์ฮ่องกง เพิ่มขึ้นจากปีก่อนหน้า 12% และด้วยความมุ่งมั่นของเศรษฐกิจทั้งของไทยและของฮ่องกง ภายใต้เขตการค้าเสรีฮ่องกง - อาเซียน และความตกลงทางการลงทุนที่เกี่ยวข้อง ซึ่งมีผลบังคับใช้ในเดือนมิถุนายน ทำให้การค้าการลงทุนระหว่างฮ่องกงและไทยได้รับการส่งเสริมและสนับสนุนผ่านการส่งเสริมการปกป้องทางการค้าและการเข้าถึงตลาดที่ทำได้ง่ายขึ้น ในขณะที่จีนแผ่นดินใหญ่เป็นตลาดส่งออกที่ใหญ่ที่สุดเป็นอันดับสองของไทย และเป็นแหล่งนำเข้าที่ใหญ่ที่สุดของไทย จึงเป็นคู่ค้ารายสำคัญที่สุดของไทย