posttoday

สคช.ระดมสมองจัดประชุมเชิงปฏิบัติการ“การพัฒนาระบบรับรองสมรรถนะที่มีด้วยคุณวุฒิวิชาชีพ”

19 กรกฎาคม 2562

สคช.เปิดเวทีการประชุมเชิงปฏิบัติการ “การพัฒนาระบบรับรองสมรรถนะที่มีด้วยคุณวุฒิวิชาชีพ” หารือแนวทางการสร้างระบบการเทียบโอนจากประสบการณ์การทำงานสู่การรับรองด้วยคุณวุฒิวิชาชีพ

สคช.เปิดเวทีการประชุมเชิงปฏิบัติการ “การพัฒนาระบบรับรองสมรรถนะที่มีด้วยคุณวุฒิวิชาชีพ” หารือแนวทางการสร้างระบบการเทียบโอนจากประสบการณ์การทำงานสู่การรับรองด้วยคุณวุฒิวิชาชีพ

นายพิสิฐ รังสฤษฎ์วุฒิกุล ผู้อำนวยการสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ(สคช.) เปิดเผยว่า สคช.ได้เปิดการประชุมเชิงปฏิบัติการ ”การพัฒนาระบบรับรองสมรรถนะที่มีด้วยคุณวุฒิวิชาชีพ” ระดมความคิดเห็นจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (Stakeholders) ที่เกี่ยวข้อง อาทิ ผู้ประกอบอาชีพโดยตรง ผู้ทรงคุณวุฒิที่เกี่ยวข้องในสาขาอาชีพ และองค์กรรับรองในสาขาวิชาชีพต่างๆ  ซึ่งการสัมมนาครั้งนี้เปิดโอกาสให้ผู้เข้าร่วมงานแสดงความคิดเห็น แลกเปลี่ยนประสบการณ์ รูปแบบในการพัฒนาและจัดทำกลไก  เพื่อการรับรองสมรรถนะที่มีด้วยคุณวุฒิวิชาชีพ  ซึ่งสคช.จะนำเสียงสะท้อนที่หลากหลาย  ซึ่งถือเป็นข้อเสนอแนะที่สำคัญมาบูรณาการความร่วมมือกับหน่วยงานต่างๆ  ในการพัฒนาโปรแกรมและกระบวนการประเมินที่เหมาะสม เพื่อสร้างความเข้มแข็งให้กับกลุ่มอาชีพและสร้างโอกาสให้กับกําลังคนในสาขาต่างๆต่อไป

สคช.ระดมสมองจัดประชุมเชิงปฏิบัติการ“การพัฒนาระบบรับรองสมรรถนะที่มีด้วยคุณวุฒิวิชาชีพ”

ทั้งนี้ จากข้อมูลของสำนักงานสถิติแห่งชาติระบุว่า กำลังคนวัยทำงานที่สำรวจเมื่อปี 2560 มีจำนวน 38,099,000 คน เป็นลูกจ้างในสถานประกอบการ พบว่า ลูกจ้างที่การศึกษาระดับประถมศึกษาและต่ำกว่าประมาณ 17,307,000 คน ในขณะที่ลูกจ้างที่มีการศึกษาระดับอุดมศึกษาประมาณ 6,262,000 คน  ซึ่งผู้ทำงานที่ใช้คุณวุฒิการศึกษาต่ำกว่าระดับที่จบมาจริงประมาณ 450,000 คน จำนวนประชากรวัยเรียนที่ได้เข้ารับการศึกษาแล้ว ออกจากระบบการศึกษาในขณะที่ยังไม่จบหลักสูตร  รวมทั้งจำนวนประชากรวัยเรียนที่อยู่นอกระบบการศึกษาแล้วเข้าสู่การทำงานมีเพิ่มมากขึ้น ประมาณ 3.5 ล้านคนเมื่อปี 2559

สำหรับ การรับรองบุคลากรที่มีประสบการณ์ด้วยคุณวุฒิวิชาชีพ ด้วยกระบวนการเทียบโอนที่มี  เพื่อบ่งบอกถึงการมีสมรรถนะ อาทิ ประกาศนียบัตรการฝึกอบรม ตัวอย่างผลงาน เอกสารบันทึก ภาพถ่าย วีดีโอ แสดงให้เห็นถึงการปฏิบัติงานในภาระงาน เป็นต้น เพื่อกำหนดว่าบุคคลนั้นได้สั่งสมประสบการณ์ผ่านการทำงาน การใช้ชีวิต หรือการอบรม การมีทักษะ ความรู้และประสบการณ์ที่ต้องการตรงตามมาตรฐานการอบรมหรือคุณวุฒิด้านนั้น และสมรรถนะนั้นยังคงมีอยู่ในปัจจุบัน (Recognition of Prior Learning:RPL) ทำให้รับทราบถึงทักษะของบุคลากร และเติมเต็มศักยภาพได้ตรงตามความต้องการขององค์กรเพื่อนำไปสู่การเรียนรู้ตลอดชีวิตได้อย่างเป็นระบบอีกด้วย

นายคำจันทร์ เย็นไธสงค์   Smart Farmer กรมส่งเสริมการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กล่าวว่า การบ่มเพาะนิสัยการเก็บผลงานสร้าง Portfolio ของคนในอาชีพเป็นสิ่งจำเป็น โดยจัดเก็บหลักฐานที่สำคัญเกี่ยวกับอาชีพตัวเอง ซึ่งอาจได้มาจากการเรียนรู้หลากหลายรูปแบบในสถานการณ์ที่แตกต่างกันไป  เช่น ภาพถ่ายหรือวีดีโอ แสดงให้เห็นถึงการปฏิบัติงาน มีกระบวนการที่บูรณาการความรู้และการปฏิบัติ  การสาธิตให้ดู เอกสารการทำงานที่พัฒนาขึ้นด้วยตัวเอง เพื่อแสดงให้เห็นถึงทักษะ ความรู้ ประสบการณ์การทำงาน เพื่อประกอบการสมัครเข้าสู่การประเมินในรูปแบบ RPL  ทั้งนี้ระดับคุณวุฒิวิชาชีพแต่ละสาขาแบ่งออกเป็น 5 ระดับชั้น ซึ่งการทดสอบเพื่อประเมินผลทั้งภาคทฤษฎีและปฏิบัติจริงในแปลง การสัมภาษณ์เชิงเทคนิคและประสบการณ์

สคช.ระดมสมองจัดประชุมเชิงปฏิบัติการ“การพัฒนาระบบรับรองสมรรถนะที่มีด้วยคุณวุฒิวิชาชีพ”

“เกษตรกรจะเป็นเพียงผู้ผลิตไม่ได้ แต่ต้องเป็นผู้ประกอบการควบคู่ไปด้วย โดยเปลี่ยนจากภาคการผลิตไปสู่การเน้นภาคบริการมากขึ้น  ทำฟาร์มให้เป็นศูนย์เรียนรู้ได้ จัดทำสมุดเซ็นต์เยี่ยม ในแต่ละปีมีการสรุปยอด การวิเคราะห์สถานการณ์ ดินฟ้าอากาศ ปัจจัยต่างๆที่มีผลต่อการผลิต กลยุทธ์การตลาดเพื่อวางแผนการผลิต เพื่อลดต้นทุนและเพิ่มมูลค่าแก่ผลผลิต ซึ่งทั้งหมดนี้เป็นหลักฐานสำคัญเพื่อประกอบการสมัครเข้าสู่การประเมินในรูปแบบ RPL ” นายคำจันทร์กล่าว

ด้านน.ส.อรนันท์ อุดมภาพ ผอ.โรงพยาบาลผู้ป่วยเรื้อรังนวศรีเนอสซิ่งโฮม กล่าวว่า เทรนด์ความต้องการของตลาดอาชีพผู้ดูแลผู้สูงอายุมีมากทั้งในและต่างประเทศ  โดยต้องการผู้ดูแลที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญ แต่ปัจจุบันอาชีพผู้ดูแลผู้สูงอายุมีความหลากหลาย ส่วนใหญ่เป็นคนที่ไม่ได้รับการอบรมจากหน่วยงานที่ได้รับการรับรองตามมาตรฐาน แต่เป็นการถ่ายทอดความรู้แก่กัน หรืออาศัยประสบการณ์ส่วนตัว ดังนั้นการรับรองสมรรถนะที่มีด้วยระบบคุณวุฒิวิชาชีพ ระดับชั้นคุณวุฒิทำให้เห็นศักยภาพมากขึ้น ความรู้ที่ได้จากการอบรมสามารถนำมาประยุกต์และปรับปรุงอาชีพของตัวเอง  ถือเป็นการเปิดโอกาสให้บุคลากรได้ก้าวเข้าสู่โลกการทำงาน สร้างความมั่นใจต่อคนในอาชีพและผู้ประกอบการ เพราะอาชีพผู้ดูแลผู้สูงอายุเกี่ยวพันกับความปลอดภัยของชีวิตผู้ใช้บริการ 

นอกจากนี้  ยังได้มีการเปิดเวทีนำเสนอรูปแบบการประเมิน RPL พร้อมทั้งปัจจัยแห่งความสำเร็จของเขตบริหารพิเศษฮ่องกง แห่งสารณรัฐประชาชนจีน ที่เกิดจากการสนับสนุนจากนายจ้าง การมีส่วนร่วมของลูกจ้าง การให้แรงจูงใจจากภาครัฐ โอกาสฝึกอบรมเพิ่มเติมของลูกจ้าง และทัศนคติเกี่ยวกับการเรียนรู้ตลอดชีวิต และการยอมรับของอุตสาหกรรมนั้นๆ พร้อมกันนี้ได้มีการประชุมกลุ่มย่อย ในสาขาวิชาชีพบริการสุขภาพ วิชาชีพธุรกิจเสริมสวย วิชาชีพค้าปลีก วิชาชีพบริการยานยนต์ และวิชาชีพเกษตรกรรม เพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ประสบการณ์ โดยส่งตัวแทนสรุปข้อคิดเห็นจากกลุ่มย่อยทุกกลุ่มอีกด้วย   SomsakSomsak55