posttoday

บลจ.กรุงศรี เสิร์ฟกองทุนใหม่ KFHTECH-A ลงหุ้นกลุ่มธุรกิจเทคโนโลยีระดับโลก

21 พฤษภาคม 2562

ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) ร่วมกับ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน กรุงศรี จำกัด เปิดตัวกองทุนเปิดกรุงศรีเวิล์ดเทคอิควิตี้เฮดจ์เอฟเอ็กซ์-สะสมมูลค่า (KFHTECH-A)

 

ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) ร่วมกับ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน กรุงศรี จำกัด เปิดตัวกองทุนเปิดกรุงศรีเวิล์ดเทคอิควิตี้เฮดจ์เอฟเอ็กซ์-สะสมมูลค่า (KFHTECH-A) ซึ่งลงทุนใน BGF World Technology Fund (กองทุนหลัก) กองทุนระดับ 5 ดาวจาก Morningstar (ที่มา: Morningstar 28 ก.พ. 62) เน้นลงทุนหุ้นในกลุ่มธุรกิจเทคโนโลยีระดับโลกทั้งบริษัทเทคโนโลยียุคใหม่ผสมผสานกับบริษัทชั้นนำขนาดใหญ่ที่มีความมั่นคงสูง เสนอขายครั้งแรกระหว่างวันที่ 21 – 29 พฤษภาคม 2562

น.ส.ศิริพร สินาเจริญ กรรมการผู้จัดการ  บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน กรุงศรี จำกัด กล่าวว่า “หุ้นกลุ่มธุรกิจเทคโนโลยีเป็นที่จับตามองมาโดยตลอด เพราะมีนวัตกรรมด้านผลิตภัณฑ์และบริการที่ออกมาดึงดูดลูกค้าเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง จนปัจจุบันเทคโนโลยีเป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมที่ใหญ่ที่สุดในโลก อีกทั้งบริษัทในกลุ่มเทคโนโลยีได้ก้าวเข้ามาเป็นผู้นำในหลายอุตสาหกรรม เช่น Google และ Facebook กลายเป็นสื่อโฆษณาใหญ่และ Alibaba เป็นเจ้าของกองทุนตลาดเงินที่ใหญ่ที่สุดในโลก รวมทั้ง Tesla ที่มีมูลค่าตลาดสูงกว่าบริษัทผลิตรถยนต์ดั้งเดิม” (แหล่งข้อมูล: บลจ.กรุงศรี ณ เม.ย. 2562)

“นอกจากนี้ยังมีความน่าสนใจในแง่ของราคาหุ้น ที่ถือว่าอยู่ในระดับราคาที่มีความสมเหตุสมผลจากปัจจัยพื้นฐานและงบดุลที่แข็งแกร่งและมีคุณภาพ รวมทั้งรายได้ที่ยังคงเติบโตช่วยเพิ่มความมั่นคงในช่วงที่ตลาดผันผวน  ทำให้นักลงทุนมองว่าเป็นโอกาสในการลงทุนที่จะสร้างผลตอบแทนที่ดีได้ จึงเป็นที่มาของการเปิดเสนอขายกองทุน KFHTECH-A”

“KFHTECH-A มีนโยบายลงทุนในกองทุน BGF World Technology Fund (กองทุนหลัก) ซึ่งเป็นกองทุนระดับ 5 ดาวจาก Morningstar บริหารโดยผู้จัดการกองทุนที่ได้รับการจัดอันดับสูงสุดจาก Citywire (แหล่งข้อมูล: Citywire และ Morningstar rating จาก Blackrock ณ 28 ก.พ. 62 โดยการจัดอันดับดังกล่าวไม่มีความเกี่ยวข้องกับการจัดอันดับของสมาคมบริษัทจัดการลงทุนแต่อย่างใด) กองทุนหลักใช้กลยุทธ์การลงทุนอย่างสมดุล คือ เน้นลงทุนในบริษัทเทคโนโลยียุคใหม่ซึ่งจะเป็นตัวขับเคลื่อนอุตสาหกรรมในอนาคตผสมผสานกับบริษัทชั้นนำขนาดใหญ่ที่เป็นที่รู้จักกันดีมีความมั่นคงสูง  เพื่อโอกาสในการสร้างผลตอบแทนที่ดีและรักษาความสมดุลของพอร์ตการลงทุนไม่ให้ผันผวนสูงมาก พอร์ตการลงทุนจะประกอบด้วย 80 – 120 หลักทรัพย์ โดยมีการกระจายการลงทุนที่หลากหลายทั้งในส่วนของประเภทธุรกิจ ภูมิภาค ขนาดของบริษัท และแนวทางการลงทุน ทั้งนี้ กองทุน KFHTECH-A มีการป้องกันความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยนเต็มจำนวน ความเสี่ยงสูงระดับ 7”

นักลงทุนสามารถสอบถามรายละเอียดข้อมูลกองทุนเพิ่มเติมได้ที่ บลจ.กรุงศรี จำกัด โทร. 02-657-5757 หรือ เว็บไซต์ www.krungsriasset.com  หรือ ติดต่อธนาคารกรุงศรีอยุธยาทุกสาขา

ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไข ผลตอบแทน และความเสี่ยงในคู่มือการลงทุนก่อนตัดสินใจลงทุน ผลการดำเนินงานในอดีตของกองทุนรวม มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต

คำเตือน

• KFHTECH-A มีนโยบายการลงทุนในกองทุนหลัก BGF World Technology Fund (Class D2 USD) (กองทุนหลัก) โดยเฉลี่ยในรอบปีบัญชีไม่น้อยกว่า 80% ของ NAV ซึ่งมีนโยบายการลงทุนในตราสารทุนของบริษัทต่างๆ ทั่วโลกที่มีธุรกรรมทางเศรษฐกิจที่โดดเด่นในหมวดเทคโนโลยี ดังนั้น กองทุนอาจมีความเสี่ยงจากการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ สังคม และ/หรือการเมืองในประเทศซึ่งกองทุนหลักได้ลงทุน

• กองทุนรวมนี้อาจมีการลงทุนในตราสารหนี้ที่มีอันดับความน่าเชื่อถือต่ำกว่าอันดับที่สามารถลงทุนได้ (Non-investment grade) หรือไม่ได้รับการจัดอันดับความน่าเชื่อถือ (unrated) ผู้ลงทุนอาจมีความเสี่ยงสูงขึ้นจากการไม่ได้ชำระคืนเงินต้นและดอกเบี้ย

• กองทุนมีนโยบายการลงทุนกระจุกตัวในหมวดอุตสาหกรรม จึงอาจมีความเสี่ยงและความผันผวนของราคา สูงกว่ากองทุนรวมทั่วไปที่มีการกระจายการลงทุนในหลายอุตสาหกรรม ผู้ลงทุนควรขอคำแนะนำเพิ่มเติมก่อนตัดสินใจลงทุน

• กองทุนจะใช้เครื่องมือป้องกันความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศเต็มจำนวน ซึ่งอาจมีต้นทุนสำหรับการทำธุรกรรมป้องกันความเสี่ยงดังกล่าว โดยทำให้ผลตอบแทนของกองทุนโดยรวมลดลงเล็กน้อยจากต้นทุนที่เพิ่มขึ้น

• กองทุนไทยและ/หรือกองทุนหลัก อาจลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งสัญญาซื้อขายล่วงหน้าเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารการลงทุน ทำให้กองทุนไทยและ/หรือกองทุนหลัก อาจมีความเสี่ยงมากกว่ากองทุนรวมที่ลงทุนในหลักทรัพย์อ้างอิงโดยตรง เนื่องจากใช้เงินลงทุนในจำนวนที่น้อยกว่าจึงมีกำไร/ขาดทุนสูงกว่าการลงทุนในหลักทรัพย์อ้างอิงโดยตรง