posttoday

"ม.ธุรกิจบัณฑิตย์"จัดแข่งตอบปัญหาทางบัญชีชิงถ้วยพระราชทานสมเด็จพระเทพฯ

01 กุมภาพันธ์ 2562

"ม.ธุรกิจบัณฑิตย์"แข่งขันตอบปัญหาทางบัญชี"ชิงถ้วยพระราชทานสมเด็จพระเทพฯ เน้นนำเทคโนโลยีใหม่ด้านการบัญชีมาใช้ในการแข่งขัน หวังพัฒนาศักยภาพต่อยอดความรู้สู่ตลาดแรงงาน 4.0 แนวโน้มต้องการสูง

"ม.ธุรกิจบัณฑิตย์"แข่งขันตอบปัญหาทางบัญชี"ชิงถ้วยพระราชทานสมเด็จพระเทพฯ เน้นนำเทคโนโลยีใหม่ด้านการบัญชีมาใช้ในการแข่งขัน หวังพัฒนาศักยภาพต่อยอดความรู้สู่ตลาดแรงงาน 4.0 แนวโน้มต้องการสูง

เมื่อวันที่ 1 ก.พ.62 ดร.พัทธนันท์  เพชรเชิดชู  รองอธิการบดีสายงานภาคีสัมพันธ์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ (มธบ.) เปิดเผยว่าจากข้อมูลของ แมนพาวเวอร์กรุ๊ป บริษัทระดับโลกด้านการจัดการบุคลากร และที่ปรึกษาด้านแรงงาน สำรวจไว้เมื่อปี 2560 พบว่า "งานด้านบัญชีและการเงิน"เป็นสายงานที่มีแนวโน้มขาดแคลนบุคลากรมาก มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ เห็นความจำเป็น ในการพัฒนาบุคลากรด้านนี้จึงได้จัดให้มีการแข่งขันบัญชีวิชาการขึ้นโดยพัฒนา App บน IPAD เพื่อใช้ในการแข่งขัน และมีการนำ Data analytics มาช่วยวิเคราะห์ข้อมูลสะท้อนถึงการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยี  ดังนั้นการแข่งขันครั้งนี้จึงเป็นเวทีให้นักเรียน ได้แสดงศักยภาพผ่านกระบวนการคิด วิเคราะห์ และพัฒนาความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ รวมถึงการพัฒนาทักษะด้านการบัญชีไปพร้อมกับการพัฒนาของเทคโนโลยี

ดร.ศิริเดช  คำสุพรหม  คณบดีวิทยาลัยบริหารธุรกิจนวัตกรรมและการบัญชี มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ (College of Innovative Business and Accountancy: CIBA) กล่าวว่า  โครงการแข่งขันตอบปัญหาทางบัญชี “สัมมาอาชีวบัญชี มหาจักรีสิรินธร”  จัดขึ้นเป็นปีที่ 6 โดยมหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ร่วมกับกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ และได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี พระราชทานถ้วยรางวัล “สัมมาอาชีวบัญชี มหาจักรีสิรินธร” ในการแข่งขันตอบปัญหาบัญชีทั่วประเทศ

"ม.ธุรกิจบัณฑิตย์"จัดแข่งตอบปัญหาทางบัญชีชิงถ้วยพระราชทานสมเด็จพระเทพฯ นักเรียนเข้าร่วมการแข่งขัน

การแข่งขันในครั้งนี้ เป็นปีที่ 2 ที่ใช้แอปพลิเคชั่น(Application) ซึ่งทาง CIBA พัฒนาขึ้นมารองรับการแข่งขันโดยเฉพาะ ชื่อ CIBA Banchee โดยนำระบบการวิเคราะห์ข้อมูลสมัยใหม่เข้ามาช่วยวิเคราะห์ทักษะทางวิชาชีพของผู้เข้าร่วมแข่งขัน หลังการแข่งขันเสร็จสิ้น ระบบจะสามารถจำแนกได้ว่า ผู้เข้าแข่งขันมีจุดเด่นทางทักษะวิชาชีพด้านใดบ้าง เช่น ทักษะทางการบัญชีบริหาร การบัญชีอุตสาหกรรม การบัญชีขั้นต้น การภาษีอากรและทักษะทางวิชาชีพอื่นๆ เป็นต้น ซึ่งผลการวิเคราะห์ข้อมูลดังกล่าว ทางวิทยาลัยสามารถนำข้อมูลไปปรับกระบวนการเรียนการสอนเพื่อส่งเสริมและเพิ่มพูนให้นักศึกษามีทักษะเพิ่มมากขึ้น

เป็นที่น่ายินดีที่โครงการนี้ได้รับความสนใจจากสถานศึกษาต่างๆ โดยทีมผู้สมัครมีจำนวนเพิ่มมากขึ้นทุกปี การแข่งขันนี้แบ่งออกเป็น 2 ระดับ คือ ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) และประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) ปีนี้ ระดับ ปวส.มีผู้สมัครถึง 51 ทีมจากเดิม 45 ทีม ส่วน ระดับ ปวช.มีทีมสมัครเข้ามา 55 ทีม จากเดิม 44 ทีม  ในส่วนของรางวัลนั้น นอกจากถ้วยรางวัลพระราชทานสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี

สำหรับทีมที่ชนะเลิศการแข่งขันแล้ว ส่วนทีมที่ชนะการแข่งขันในทุกระดับยังจะได้รับทุนการศึกษาจากมหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์อีกด้วย

"ปัจจุบันตลาดแรงงานมีความต้องการนักบัญชีมากขึ้นแม้ว่าเทคโนโลยีจะเข้ามามีบทบาทสำคัญในการพัฒนาภาคธุรกิจก็ตาม แต่เป็นส่วนช่วยเท่านั้นหากแต่การวิเคราะห์ในเชิงลึกด้านต่าง  ๆ  จะสู้คนไม่ได้ แต่นักศึกษาที่เข้ามาเรียนบัญชี ก็จำเป็นต้องเรียนรู้เทคโนโลยีควบคู่ไปด้วยเช่นกัน"

"ม.ธุรกิจบัณฑิตย์"จัดแข่งตอบปัญหาทางบัญชีชิงถ้วยพระราชทานสมเด็จพระเทพฯ ทีมชนะเลิศระดับปวส.


   สำหรับการแข่งขันตอบปัญหาบัญชีระดับปวส. ทีมที่ชนะเลิศ คือ วิทยาลัยพณิชยการเชตุพน ได้แก่ น.ส.เพ็ญนภา แก้วสังข์ ปวส.1,นายพีรชยากร จันทร์เชื้อ ปวส.2และน.ส.พรพิมล พลโยธาปวส.1 ส่วนทีมตอบปัญหาบัญชีระดับปวช. ทีมที่ชนะเลิศ คือ  ทีมชนะเลิศวิทยาลัยพาณิชยการบางนา ได้แก่ น.ส.ดวงกมล พวงแสงเพ็ญ,น.ส.ปิยนุช ศิริลักษณ์ และน.ส.หทัยรัตน์ มลศิริ

"ม.ธุรกิจบัณฑิตย์"จัดแข่งตอบปัญหาทางบัญชีชิงถ้วยพระราชทานสมเด็จพระเทพฯ ทีมชนะเลิศระดับปวช.