posttoday

คนไทยตายก่อนวัยจากโรคไม่ติดต่อพุ่งสูง 3 แสนคนต่อปี

20 มกราคม 2562

ยอดคนไทยป่วยตายจากโรคไม่ติดต่อพุ่งสูง 3 แสนคนต่อปี แพทย์เผยทางแก้ด้วยห่วงโซ่ที่เกี่ยวข้องขับเคลื่อนร่วมกันแบบองค์รวม

ยอดคนไทยป่วยตายจากโรคไม่ติดต่อพุ่งสูง 3 แสนคนต่อปี แพทย์เผยทางแก้ด้วยห่วงโซ่ที่เกี่ยวข้องขับเคลื่อนร่วมกันแบบองค์รวม

ผศ.นพ.ธีระ วรธนารัตน์ เลขานุการคณะทำงานสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ประเด็น “ความรอบรู้ด้านสุขภาพเพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาโรคไม่ติดต่อ” กล่าวว่า กลุ่มโรคไม่ติดต่อ (Non-communicable diseases) ชื่อ ย่อๆว่า NCD เดิมเป็นโรคที่ไม่ค่อยมีคนให้ความสำคัญ แต่ตอนนี้มีคนให้ความสำคัญ มากขึ้นเรื่อยๆทั้งระดับประเทศและระดับโลก โรคไม่ติดต่อคือโรคทีไม่ได้เกิดจากการติดเชื้อโรค พอเป็นแล้วจะเป็นแบบเรื้อรังหลาย ๆ ครั้งเข้าก็เป็นแบบตลอดชีวิต ที่เรารู้จักกันบ่อย ๆ ก็คือโรคที่เราเจอเรื่อยๆ เช่น โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคเบาหวาน มะเร็ง ทางเดินหายใจเรื้อรัง เป็นต้น

“ในสมัยก่อนการเจ็บป่วยของคนเราเกิดจากการติดเชื้อโรคเป็นสาเหตุหลัก  ปัจจุบันโรคติดต่อน้อยลง เพราะสาธารณสุขทั่วโลกดีขึ้น ทำให้โรคติดต่อลดลง แต่โรคไม่ติดต่อต่าง ๆ กลับเยอะขึ้นเรื่อยๆ โดยเมืองไทยกับเมืองนอกสถานการณ์ตอนนี้ไม่แตกต่างกัน เพราะลักษณะวิถีชีวิตคนเริ่มจะเป็นแบบตะวันตก การกิน อยู่ การทำงานของคนไทยก็เริ่มเหมือนตะวันตก ทำให้กลุ่มโรค NCDs กลายเป็นกลุ่มโรคที่เป็นปัญหาในระดับต้นๆ

ในปี 2555 ทั่วโลกมีคนเสียชีวีตไปเกือบ 40 ล้านคนจากโรคไม่ติดต่อ ถือว่าเยอะมาก คิดเป็นร้อยละ70 เปอร์เซ็นต์ของประชากรโลกทั้งหมด ที่เสียชีวิตจากโรค NCDs  ถือเป็นปัญหาที่หนักนาสาหัส โดยเป็นการเสียชิวิตก่อนวัยอันควร แปลว่า คนเราปกติจะมีอายุขัยเฉลี่ยอายุคนไทยจะอยู่ที่ 70 ปีกว่าๆ  แต่ เวลาเป็นโรค NCDs จะทำให้เสียชีวิตก่อนอายุขัยที่เราควรจะตาย

ประเทศไทยเปรียบเทียบตั้งแต่ปี พ.ศ. 2548 พ.ศ.2558 ลักษณะโรคของคนไทยที่ค้นพบก็มีการเปลี่ยนแปลงไป โรค NCDs 1-10 มีประมาน 6-7 โรคที่พบ แต่10 ปีผ่านไปแทนที่จะลดลง กลับเพิ่มเป็น 8ใน10โรค มีคนไทยเสียชีวิตเพิ่มขึ้น ต้องช่วยกันหาทาง ควบคุมป้องกันและแก้ไข เพราะปัญหานี้ส่งผลกระทบ อย่างโรคหัวใจและหลอดเลือดเป็น 1 ใน 4 ของโรคไม่ติดต่อ หัวใจขาดเลือด หลอดเลือดสมอง ตีบแตกตัน  ไม่มีใครอยากเป็น ถ้าเป็นก็มีสิทธิเสียชีวิต หรือ พิการ ค่าใช้จ่ายสูงขึ้น ดูแลตัวเองไม่ได้ เป็นภาระต่อตนเองและลูกหลาน ประชากรถ้าเป็นโรคนี้เยอะ ประเทศก็มีความเสียหาย มูลค่าทางเศรษฐกิจก็ลดลง เสียหายจากการเจ็บป่วยก็สูงขึ้น ผลผลิตลดลง ค่าใช้จ่ายการรักษาสูงขึ้น เป็นต้น

ปัญหาที่นายกประยุทธ์เคยพูดว่าค่าใช้จ่ายโรคนี้สูงขึ้นทุกกลุ่ม ส่วนใหญ่มาจากโรค NCDs เรื่องที่จะพูดในวันนี้คือ ความรอบรู้ด้านสุขภาพอนามัย  (health literacy)  มีมานานแล้ว แต่ กรมอนามัยโลกเพิ่งเห็นความสำคัญ มาวิเคราะห์ดูแล้วว่า โรคส่วนใหญ่ที่เกิดขึ้นมาจาก พฤติกรรมของ ประชาชน อาหารการกิน ดื่มเหล้า สูบบุหรี่ หรือการออกกำลังกายที่ไม่เพียงพอ ทั้งนี้ Health Literacy ไม่ใช่แค่เรื่องของความรู้ การสอน ประชาสัมพันธ์  เพราะถ้าวิเคราะห์จริงๆ พฤติกรรมของคนไม่ได้มาจากความรู้อย่างเดียว ทักษะก็จำเป็น และสิ่งแวดล้อมด้วย บางคนรู้ว่ากินอะไรดี แต่ในปัจจุบันจะหากินร้านที่ดีนั้นยากมาก เรารู้แต่ปฏิบัติได้ยากเพราะ สิ่งแวดล้อมมันไม่เอื้อ

ความรอบรู้ด้านสุขภาพ (Health Literacy) เข้ามามีบทบาทต่อคนในสังคม ที่สามารถเกิดสถานการณ์ใดแล้วสามารถเข้าถึงข้อมูลที่จำเป็น นำมาประยุกต์ใช้ให้เข้ากับตนเอง และแหล่งข้อมูลต้องเชื่อถือได้ อ่านเข้าใจได้ง่าย เมื่อเข้าใจแล้วก็จะตัดสินใจนำมาปฏิบัติ ประเทศไทยต้องจัดการถึงแหล่งข้อมูล ต่าง ๆ แหล่งข้อมูลสุขภาพที่น่าเชื่อถือ และเหมาะสำหรับทุกกลุ่มทุกวัย

ภารกิจหน้าที่ สิ่งแวดล้อมในประเทศจะพัฒนาด้านใดให้เอื้อ เช่น เรามีคนโรคเบาหวานเราก็แนะนำให้กินดี แต่เรามีแหล่งให้เค้ากินดีจริงหรือเปล่า เหลียวซ้ายแลขวามีแต่อาหารหวาน ๆ ก็ทำไม่ได้ สรุป คือ ความสามารถของคนที่เข้าถึงข้อมูลที่เชื่อถือได้ แต่นำมาเลือกใช้ปฏิบัติไม่ได้ จึงชูประเด็นให้เกิดมติ เพื่อจะได้ขับเคลื่อน อยากให้ทุกภาคส่วน ทั้งภาครัฐ และเอกชน ภาคประชาสังคม มีส่วนร่วม ตระหนักถึงโรคไม่ติดต่อ และมีส่วนร่วมในการพัฒนา เพื่อแก้ปัญหาร่วมกัน ภาครัฐอย่างเดียวแก้ไม่ไหว เอกชนต้องร่วมด้วย นั้นคือปรัชญาตอนต้น” 

ผศ.นพ.ธีระกล่าวอีกว่า ได้เสนอ 5 มติ เพื่อเป็นแนวทางการสกัดกลุ่มโรค NCDs ซึ่งประกอบด้วย

1.ข้อมูลข่าวสารด้านสุขภาพ เผยแพร่ข่าวสารด้านข้อมูลสุขภาพให้ถูกต้องเหมาะสม ถึงแม้ปัจจุบันมีเยอะไปหมด แต่ไม่ใช่ข้อมูลจริงเป็นข้อมูลบิดเบือนถึง80% ประชาชนจะมีความสามารถในการกลั่นกรองไหมว่าอันไหนจริงเท็จ มติแรกคือ ต้องมีกลไก สังคมต้องช่วยกันคิดและหาทางว่า ทำยังไงให้ข้อมูลลดลงแต่เป็นแหล่งข้อมูลที่เชื่อถือได้และประชาชนเข้าถึง ไม่ว่าจะเป็นกระทรวงสาธารณสุข หน่วยงานอื่นๆ ภาครัฐไม่สามารถกระจายได้อย่างรวดเร็ว แต่เพียงผู้เดียว อยากให้เอกชนมาร่วมกัน      

2. ธุรกิจอุตสาหกรรม มาจากที่ประชาชนรู้แต่ปฏิบัติไม่ได้ เพราะสิ่งแวดล้อมไม่เอื้อ มาจากธุรกิจอุตสาหกรรม เช่น อาหารดี ๆ ต้นทุนแพง แต่อาหารพวกจังค์ฟู๊ดนั้นต้นทุนต่ำ เราต้องมาคิด อยากให้คนสุขภาพดี กินดี ปฏิบัติดี บริการดี เอกชนก็ต้องการกำไร ทำอย่างไรให้ทุกฝ่าย Win-Win เช่น รัฐอาจจะใช้มาตรการภาษีต่ออุตสาหกรรมที่ไม่ดีต่อสุขภาพ สนับสนุนธุรกิจอุตสาหกรรมสินค้าเพื่อสุขภาพ เป็นต้น 

3. ส่งเสริมให้เกิดสิทธิในการรักษาพยาบาล เรามีกองทุนหลักๆ เช่น ประกันสังคม บัตรทอง ข้าราชการ มีงบสำหรับป้องกันสุขภาพในบัตร 30 บาทแต่คนไม่รู้จะใช้อย่างไร ทำอย่างไรให้ประชาชนได้ใช้งบส่งเสริมนี้ให้เกิดประโยชน์อย่างแท้จริง สามารถทำให้ประชาชนเข้าถึงข้อมูลที่ดีต่อส

คนไทยตายก่อนวัยจากโรคไม่ติดต่อพุ่งสูง 3 แสนคนต่อปี