posttoday

จีนจัดตั้งเครือข่ายพลังงานสะอาดในเอเชีย

18 ตุลาคม 2561

จีนพร้อมจัดตั้งเครือข่ายพัฒนาพลังงานสะอาดในระดับภูมิภาค เพื่อแบ่งปันโอกาสใหม่ในการเชื่อมต่อพลังงานอย่างครบวงจร

จีนพร้อมจัดตั้งเครือข่ายพัฒนาพลังงานสะอาดในระดับภูมิภาค เพื่อแบ่งปันโอกาสใหม่ในการเชื่อมต่อพลังงานอย่างครบวงจร

เมื่อวานที่ 16 ต.ค.  มีการประชุมอภิปรายในหัวข้อ การพัฒนาด้านการเชื่อมต่อพลังงานระดับภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงเหนือและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Northeast Asia and Southeast Asia Energy Interconnection Development Forum) เพื่อเสนอแนวทางแก้ไขปัญหาอุปสรรคต่างๆ สำหรับการพัฒนาพลังงานสะอาดและการเชื่อมต่อโครงข่ายในภูมิภาคอย่างครบวงจร ที่กรุงปักกิ่ง สาธารณรัฐประชาชนจีน

นายหลิว เจิ้นย่า ประธานองค์การเพื่อการพัฒนาและความร่วมมือด้านการเชื่อมต่อพลังงานระดับโลก กล่าวว่า ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงเหนือและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เป็นภูมิภาคที่มีการเติบโตทางเศรษฐกิจของโลกเร็วที่สุด

ดังนั้นอุปสงค์และอุปทานด้านการพัฒนาพลังงานมีมากขึ้น โดยปัจจุบันมีสัดส่วนการใช้พลังงานฟอสซิลที่สูงเกินพลังงานอื่นๆ อีกทั้งความสามารถด้านการผลิตไฟฟ้าระหว่างประเทศไม่เพียงพอกับความท้าทายที่เกิดขึ้น

จีนจัดตั้งเครือข่ายพลังงานสะอาดในเอเชีย

สำหรับการพึ่งพาน้ำมันจากต่างประเทศของประเทศจีน ญี่ปุ่นและเกาหลีใต้นั้นมีมากกว่า 80% ส่วนภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยในปัจจุบันมีประชากรมากถึง 65 ล้านคนที่ไม่มีไฟฟ้าใช้ และยังมีประชากรราว 250 ล้านคน ยังคงใช้ฟืนและถ่านสำหรับการปรุงอาหารและทำความร้อน

ดังนั้นการเร่งการก่อสร้างระบบเชื่อมต่อพลังงานในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงเหนือและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จะทำให้แหล่งจ่ายพลังงานของแต่ละประเทศเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น โดยจะเร่งให้เกิดการเปลี่ยนแปลงด้านพลังงานสะอาดอีกทางหนึ่งด้วย

“การผลักดันสภาพเศรษฐกิจและส่งเสริมการพัฒนาแบบบูรณาการในระดับภูมิภาคจำเป็นต้องมีการสร้างความร่วมมือเชื่อมต่อพลังงานของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงเหนือและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยในขณะนี้ได้มีการแบ่งการลงทุนก่อสร้าง ในส่วนระบบสาธารณูปโภคพื้นฐานสำหรับการขับเคลื่อนพลังงาน 2.7 ล้านล้านดอลล่าร์สหรัฐ และส่วนการพัฒนาอุตสาหกรรมต้นน้ำและปลายน้ำอีกกว่า 2.1 ล้านล้านดอลล่าร์สหรัฐ สามารถสร้างงานบุคลากรอีกกว่า 30 ล้านคน" นายหลิวเจิ้นย่า กล่าว

สำหรับการประชุมครั้งนี้มีผู้เข้าร่วมอภิปรายจากหลากหลายภูมิภาคและหลายองค์กร อาทิ ตัวแทนหน่วยงานราชการจากประเทศจีน รัสเซีย เกาหลีใต้ ญี่ปุ่น มาเลเซีย คาซัคสถาน อิตาลี ฯลฯ บริษัทด้านพลังงาน สถาบันการวิจัย รวมถึงผู้แทนจากสถาบันการเงิน

จีนจัดตั้งเครือข่ายพลังงานสะอาดในเอเชีย