posttoday

RISC จับมือผู้เชี่ยวชาญด้านนาโนไบโอนิค จากสถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเซตส์ (MIT) พัฒนาโครงการต้นไม้เรืองแสง

27 สิงหาคม 2561

ศูนย์วิจัยและนวัตกรรมเพื่อความยั่งยืนหรือ RISC เชิญศาสตราจารย์ไมเคิล สตาร์โน (Michael S. Strano) ผู้เชี่ยวชาญระดับโลกด้านนาโนไบโอนิคพืช นำเสนองานวิจัยเกี่ยวกับการใช้อนุภาคระดับนาโนเพื่อเพิ่มขีดความสามารถใหม่ให้กับต้นไม้

บรรยายใต้ภาพ จากซ้าย คุณรัช ตันตนันตา ประธานผู้อำนวยการ กลุ่มบริษัทดีที (DTGO), คุณทิพพาภรณ์ อริยวรารมย์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่มบริษัทดีที (DT Group of Companies หรือ DTGO) และประธานกรรมการบริหารบริษัท แมกโนเลีย ควอลิตี้ ดีเวล็อปเม้นต์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด (MQDC), ศจ.ไมเคิล สตาร์โน ผู้เชี่ยวชาญด้านวิศวกรรมเคมีจากสถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเซตส์ (MIT) และรศ. ดร. สิงห์ อินทรชูโต หัวหน้าคณะที่ปรึกษาศูนย์ RISC

ศาสตราจารย์ไมเคิล สตาร์โน (Michael S. Strano) ผู้เชี่ยวชาญด้านวิศวกรรมเคมีจากสถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเซตส์ (MIT) แสดงวิสัยทัศน์การเปลี่ยนต้นไม้ให้สามารถทดแทนเสาไฟสว่างไสวริมถนนจากการเรืองแสง ณ ศูนย์วิจัยและนวัตกรรมเพื่อความยั่งยืนหรือ RISC

20 สิงหาคม 2561, กรุงเทพฯ–ศูนย์วิจัยและนวัตกรรมเพื่อความยั่งยืนหรือ RISC เชิญศาสตราจารย์ไมเคิล สตาร์โน (Michael S. Strano) ผู้เชี่ยวชาญระดับโลกด้านนาโนไบโอนิคพืช นำเสนองานวิจัยเกี่ยวกับการใช้อนุภาคระดับนาโนเพื่อเพิ่มขีดความสามารถใหม่ให้กับต้นไม้ เช่น การเรืองแสงในที่มืด การตรวจวัดมลพิษ และตรวจวัตถุระเบิดจากการวัดระดับสารเคมีที่อันตราย

หลังจากที่ศาสตราจารย์ไมเคิล สตาร์โน ประสบความสำเร็จในการทำให้ต้นวอเตอร์เครส (ผักสลัดน้ำ) สามารถเรืองแสงเหมือนกับโคมไฟตั้งโต๊ะได้ ศาสตราจารย์ไมเคิล สตาร์โน จึงร่วมมือกับศูนย์ RISC ในการพัฒนาให้ต้นไม้มีหน้าที่เสมือนเสาไฟฟ้าที่สามารถเรืองแสงด้วยตนเองเพื่อให้ความสว่างบนท้องถนน

รศ. ดร. สิงห์ อินทรชูโต หัวหน้าคณะที่ปรึกษาศูนย์ RISC กล่าวว่าศูนย์ RISC มีความมุ่งมั่นในการร่วมมือกับผู้เชี่ยวชาญด้านนาโนไบโอนิคพืช เพื่อเพิ่มคุณประโยชน์ด้านสิ่งแวดล้อม ภายใต้พันธกิจ ‘for all well-being’

ที่ต้องการให้เกิดความเป็นอยู่ที่ดีไม่ใช่เพียงแค่มนุษย์แต่ยังครอบคลุมถึงทุกสรรพสิ่งในโลกด้วย

RISC จับมือผู้เชี่ยวชาญด้านนาโนไบโอนิค จากสถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเซตส์ (MIT)  พัฒนาโครงการต้นไม้เรืองแสง

"งานวิจัยของศาตราจารย์ไมเคิล สตาร์โน ทำให้เห็นถึงความเป็นไปได้ในการบูรณาการระบบนิเวศธรรมชาติให้เข้ากับสังคมของคน" รศ. ดร. สิงห์กล่าว

แสงสว่างคิดเป็นสัดส่วนประมาณ 20% ของการใช้พลังงานทั่วโลก ดังนั้นการมีต้นไม้เรืองแสงถือว่าจะให้คุณประโยชน์ด้านสิ่งแวดล้อมเป็นอย่างมาก การทำต้นไม้เรืองแสงฟังแล้วอาจจะดูเหมือนเทพนิยายวิทยาศาสตร์ แต่ในไม่ช้านี้จะกลายเป็นความจริง พิสูจน์ได้จากความสำเร็จของผลงงานของศาสตราจารย์ไมเคิล สตาร์โนที่ผ่านมา”

โครงการ The Forestias – เดอะ ฟอเรสเทียส์ โครงการขนาด 300 ไร่ที่พัฒนาเพื่อให้ธรรมชาติและสังคมสามารถอยู่ร่วมกันได้ตั้งอยู่บริเวณถนนบางนา-ตราด

บริษัทแมกโนเลีย ควอลิตี้ ดีเวล็อปเม้นต์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด (MQDC) จะมีส่วนช่วยในการค้นหาวิธีการใช้ 'ต้นไม้ไบโอนิค' ณ โครงการเดอะ ฟอเรสเทียส์ ซึ่งเป็นโครงการมิกซ์ยูสที่ต้องการรวมชุมชนเข้ากับระบบนิเวศของป่าไม้ภายใต้วิสัยทัศน์ 'sustainable happiness'

ศาสตราจารย์ไมเคิล สตาร์โน และทีมงานของเขาจากสถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเซตส์ (MIT) ได้สร้างแสงสว่างให้กับต้นวอเตอร์เครส (ผักสลัดน้ำ) ผ่านการใช้เอนไซม์ลูซิเฟอเรสทำปฏิกิริยากับโมเลกุลลูซิเฟอร์ริน ซึ่งเป็นเอนไซม์และโมเลกุลที่หิ่งห้อยใช้ในการเปล่งแสง

ทีมงานนักวิจัยจากMITได้เปลี่ยนแปลงพืชผ่านอนุภาคนาโนที่มีเอนไซม์และเก็บอนุภาคเหล่านี้ไว้ในน้ำยา จากนั้นนำพืชไปฝังตัวในน้ำยาสภาวะแรงดัน เพื่อให้อนุภาคเหล่านั้นเข้าไปอยู่ในใบไม้ อย่างไรก็ตามการใช้เทคโนโลยีนี้กับต้นไม้ใหญ่จะถูกประยุกต์ด้วยวิธีการพ่น ฉีด หรือทาน้ำยาที่ใบไม้แทนการฝังตัว

ซึ่งศาสตราจารย์ไมเคิล สตาร์โน ตั้งเป้าที่จะพัฒนาให้เป็นวิธีการทำงานแบบครั้งเดียวแต่มีผลตลอดชีวิตของต้นไม้

RISC จับมือผู้เชี่ยวชาญด้านนาโนไบโอนิค จากสถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเซตส์ (MIT)  พัฒนาโครงการต้นไม้เรืองแสง