posttoday

ศูนย์วิจัยและนวัตกรรมเพื่อความยั่งยีน (RISC) จับมือกับ สถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) ทดสอบและเฝ้าระวังก๊าซกัมมันตรังสีที่เป็นพิษ ในอาคารและวัสดุก่อสร้างบ้านของประเทศไทย

20 สิงหาคม 2561

ศูนย์วิจัยและนวัตกรรมเพื่อความยั่งยืน หรือ RISC ร่วมมือกับสถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ สทน. วัดระดับก๊าซเรดอนจากวัสดุก่อสร้างซึ่งเป็นสาเหตุก่อให้เกิดมะเร็ง

 

ศูนย์วิจัยและนวัตกรรมเพื่อความยั่งยืน หรือ RISC ร่วมมือกับสถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ สทน. วัดระดับก๊าซเรดอนจากวัสดุก่อสร้างซึ่งเป็นสาเหตุก่อให้เกิดมะเร็ง

บรรยายใต้ภาพ: รศ. ดร. สิงห์ อินทรชูโต (ซ้ายมือ) หัวหน้าคณะที่ปรึกษาศูนย์ RISC และดร. พรเทพ นิศามณีพงษ์ (ขวามือ) ผู้อำนวยการสถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) เป็นตัวแทนลงนามบันทึกข้อตกลงร่วมกันในการวัดระดับกัมมันตภาพรังสี ก๊าซเรดอนในอาคารและวัสดุก่อสร้างของประเทศไทย โดยมี ดร. สฤกกา พงษ์สุวรรณ  ผู้ช่วยผู้อำนวยการศูนย์ RISC (ที่ 1 จากซ้ายแถวหลัง) คุณพิศุทธิ์ อารีมิตร ผู้อำนวยการอาวุโสงานกฏหมายองค์กร บริษัท ดีทีจีโอ คอร์ปอเรชั่น จำกัด (ที่ 2 จากซ้ายแถวยืน) คุณรัช ตันตนันตา ประธานผู้อำนำวยการ บริษัท ดีทีจีโอ คอร์ปอเรชั่น จำกัด (ที่ 3 จากซ้ายแถวหลัง) ดร. หาญณรงค์ ฉ่ำทรัพย์ รองผู้อำนวยการฝ่ายบริหาร สถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) (ที่ 4 จากซ้ายแถวหลัง) ดร. พิริยาธร สุวรรณมาลา ผู้อำนวยการกลุ่มวิจัยและพัฒนานิวเคลียร์  สถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) (ที่ 5 จากซ้ายแถวหลัง) คุณพชิรารัฐ โสลา นักวิทยาศาสตร์นิวเคลียร์ชำนาญการพิเศษ สถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) (ที่ 6 จากซ้ายแถวหลัง) และ ดร. จิตพัต ฉอเรืองวิวัฒน์ ผู้อำนวยการศูนย์ RISC (ที่ 7 จากซ้ายแถวหลัง) ร่วมยินดี ณ ศูนย์วิจัยและนวัตกรรมเพื่อความยั่งยืน RISC ชั้น 4 แมกโนเลียส์ ราชดำริ บูเลอวาร์ด

20 สิงหาคม 2561, กรุงเทพฯ ศูนย์วิจัยและนวัตกรรมเพื่อความยั่งยืน หรือ RISC และสถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ สทน. ร่วมมือกันในการวัดระดับกัมมันตภาพรังสี ก๊าซเรดอนในอาคารและวัสดุก่อสร้างของประเทศไทย

พิธีลงนามบันทึกความร่วมมือในครั้งนี้เกิดขึ้น ณ ศูนย์วิจัยและนวัตกรรมเพื่อความยั่งยืน หรือ RISC, ชั้น 4 แมกโนเลียส์ ราชดำริ บูเลอวาร์ด โดยทั้งสององค์กรจะร่วมกันศึกษาเป็นระยะเวลา 3 ปี เพื่อหาสาเหตุความเสี่ยงต่อสุขภาพจากก๊าซเรดอน ซึ่งเป็นอีกสาเหตุสำคัญของโรคมะเร็งปอดที่อาจเกิดได้แม้ในผู้ที่ไม่สูบบุหรี่

รศ. ดร. สิงห์ อินทรชูโต หัวหน้าคณะที่ปรึกษาศูนย์ RISC ตัวแทนในการลงนามบันทึกความร่วมมือครั้งนี้ กล่าวว่าการวิจัยครั้งนี้จะเป็นการนำเสนอข้อมูลที่ครบถ้วนครั้งแรกในประเทศไทยเกี่ยวกับระดับก๊าซเรดอนในวัสดุก่อสร้าง

"ก๊าซเรดอนมีลักษณะใส ไม่มีสี ไม่มีกลิ่น และสามารถกระจายอยู่ในสิ่งแวดล้อม อาคารหรือที่อยู่อาศัย ดังนั้นจึงยากที่จะตรวจจับ" รศ. ดร. สิงห์ กล่าว "นอกจากนี้ยังเป็นความเสี่ยงต่อสุขภาพและทำให้มีผู้เสียชีวิตจำนวนหลายพันคนทั่วโลก เรามุ่งมั่นที่จะปกป้องบ้านหรือที่พักอาศัยของคนไทยด้วยการตรวจสอบอันตรายที่อาจเกิดขึ้นอย่างเต็มรูปแบบ เช่น ตรวจสอบเถ้าลอยในปูนซีเมนต์เพื่อนำไปพัฒนาข้อมูลสำหรับอุตสาหกรรมก่อสร้าง"

ดร. พรเทพ นิศามณีพงษ์ ผู้อำนวยการสถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) ตัวแทนในการลงนามกล่าวว่า ทาง สทน. จะใช้ความเชี่ยวชาญทางด้านเทคโนโลยีนิวเคลียร์ ในขณะที่ RISC จะช่วยดำเนินการทางด้านข้อมูลวัสดุก่อสร้างและสนับสนุนการทดลอง

"ด้วยความร่วมมือจากผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์อย่าง บริษัท แมกโนเลีย ควอลิตี้ ดีเวล็อปเม้นต์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด หรือ MQDC และศูนย์ RISC ในการให้ข้อมูลด้านวัสดุก่อสร้างอาคารเพื่อทำการทดสอบที่ครบชุด เพื่อให้เราสามารถทำงานวิจัยได้อย่างครอบคลุม" ดร. พรเทพ กล่าว

"ถ้างานศึกษาวิจัยนี้เปิดเผยระดับของก๊าซเรดอนที่อาจก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อสุขภาพ เราคาดว่าจะทำกิจกรรมด้านการให้ความรู้และการสร้างจิตสำนึกโดยร่วมกับทาง RISC และ MQDC"

เรดอนเป็นก๊าซธรรมชาติที่เกิดขึ้นจากหินและดินซึ่งเป็นวัตถุดิบที่นำมาผลิตวัสดุก่อสร้าง ปริมาณขึ้นอยู่กับแต่ละสภาพภูมิประเทศของประเทศไทยซึ่งแตกต่างกันไปตามธรณีวิทยา ถึงแม้ว่าส่วนใหญ่อยู่ในระดับที่ปลอดภัย แต่ก๊าซเรดอนอาจสามารถเข้าถึงความเข้มข้นสูงได้ในบางบริเวณอย่าง เช่น บริเวณน้ำพุร้อน1

ก่อนหน้าที่ได้มีผลการวิจัย พบว่า เรดอนความเข้มข้นสูง พบมากในที่พักอาศัยบริเวณเขตกรุงเทพมหานครและนนทบุรี งานวิจัยนี้2 ยังชี้ให้เห็นว่าก๊าซเรดอนสามารถถูกปล่อยออกมาสะสมอยู่ในอาคารสูง 4 ชั้นในกรุงเทพฯ จากวัสดุก่อสร้างอาคารในประเทศไทย ถึงแม้ว่ามวลก๊าซจะหนักกว่าอากาศก็ตาม3

ก๊าซเรดอนอาจจะเป็นสาเหตุหนึ่งต่อการเสียชีวิตด้วยโรคมะเร็งปอดจำนวน 21,000 รายต่อปีในประเทศสหรัฐอเมริกาและกว่า 15% ของผู้ป่วยมะเร็งปอดทั่วโลก4

ดร. ไมเคิล เรพพาโชลี่ ผู้ประสานงานหน่วยงานด้านรังสีและสิ่งแวดล้อมขององค์การอนามัยโลก อธิบายถึงก๊าซเรดอนว่า "เป็นความเสี่ยงด้านสุขภาพที่ถูกหลงลืมได้ง่าย หรือเป็นเรื่องที่ไม่ได้รับความสนใจอย่างกว้างขวาง" ดร. ไมเคิล เสริมว่า "ก๊าซเรดอนในบ้านของเราเป็นแหล่งกำเนิดรังสีไอออนิกเป็นหลัก และมีส่วนกว่า 50% ที่ทำให้ประชาชนได้รับรังสีที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติในหลายประเทศ"

การร่วมมือวิจัยครั้งนี้จึงเป็นครั้งแรกในประเทศไทย และเชื่อว่าเมื่อสำเร็จแล้ว จะสามารถสร้างมาตรฐานวัสดุก่อสร้างที่เป็นมิตรต่อผู้บริโภคของไทย และเป็นประโยชน์สูงสุดต่อประชาชนในการอยู่อาศัยอย่างปลอดภัย

  1. https://www.tandfonline.com/doi/abs/10.1080/02772240802028609
  2. https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/7759976
  3. https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/8855635
  4. https://www.epa.gov/radon/health-risk-radon#who