posttoday

"ขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยด้วยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ในยุคไทยแลนด์ 4.0"

14 มิถุนายน 2561

กรุงเทพฯ – 12 มิถุนายน 2561 – วีเอ็นยูฯ จัดงานสัมภาษณ์พิเศษ เชิญผู้เชี่ยวชาญจาก 3 อุตสาหกรรมร่วมเสวนา พร้อมอัพเดทข้อมูลตลาดภาพรวมการค้าวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

 

กรุงเทพฯ – 12 มิถุนายน 2561 – วีเอ็นยูฯ จัดงานสัมภาษณ์พิเศษ เชิญผู้เชี่ยวชาญจาก 3 อุตสาหกรรมร่วมเสวนา พร้อมอัพเดทข้อมูลตลาดภาพรวมการค้าวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี นำโดย นายสัตวแพทย์จีระศักดิ์ พิพัฒนพงศ์โสภณ รองอธิบดีกรมปศุสัตว์, ดร. สลักจิต ชุติพงษ์วิเวท นายกสมาคมเทคนิคการแพทย์ ในพระราชูปถัมภ์ฯ (AMTT), ดร. อุดม ชนะสิทธิ์ นายกสมาคมการค้าวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (STTA) และคุณอนุชา พันธุ์พิเชฐ ผู้จัดการโครงการไทยแลนด์ แล็บ อินเตอร์เนชั่นแนล 2018 ร่วมเสวนากัน ณ ห้อง MR 214 ไบเทค กรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 12 มิถุนายน 2561 ที่ผ่านมา

ภายในงานมีการเผยข้อมูลสำคัญในเรื่องของตลาดการค้าเครื่องมือห้องปฏิบัติการที่คาดการณ์ว่าจะขยายตัวสูงมากกว่า 15-20% สอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลที่ต้องการผลักดันให้งบประมาณด้านการลงทุนในด้านการวิจัยและการพัฒนาไม่น้อยกว่า ร้อยละ 1 ของ GDP ซึ่งจะเป็นกลไกสำคัญในการพัฒนาประเทศและขับเคลื่อนนโนบาย Thailand 4.0 ของภาครัฐ ที่เน้นระบบเศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม เปลี่ยนการขับเคลื่อนจากภาคอุตสาหกรรมเป็นการขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยี และนวัตกรรม ซึ่งเครื่องมือและอุปกรณ์ทางวิทยาศาสตร์ต่างๆ เป็นปัจจัยพื้นฐานหลักของการขับเคลื่อนเหล่านี้

ด้วยสภาพของเศรษฐกิจที่กำลังเปลี่ยนแปลงไป ดร. สลักจิต ชุติพงษ์วิเวท นายกสมาคมเทคนิคการแพทย์ ในพระราชูปถัมภ์ฯ (AMTT) กล่าวถึงความสำคัญของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในมุมของเทคนิคการแพทย์ว่า "ปัจจุบันเทคโนโลยีสำหรับห้องปฎิบัติการ เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว นักเทคนิคการแพทย์เองก็ต้องปรับตัวและเรียนรู้เทคโนโลยีที่เกิดถึง รวมไปถึงต้องคิดนอกกรอบ และนำเอาความรู้มาต่อยอด ซึ่งจะทำให้เกิดนวัตกรรมใหม่ๆเช่น การสร้าง Application การประเมินความเสี่ยงการเป็นโรคจากภาวะการทำงานของไต (Thai CKD risk calculation) ของนักเทคนิคการแพทย์โรงพยาบาลปัว จ.น่าน และยังมีผลงานการสร้างนวัตกรรมที่แก้ปัญหาสาธารณสุขอื่นๆ โดยนักเทคนิคการแพทย์จากหน่วยงานอื่นๆ และสามารถต่อยอดในเชิงพาณิชย์ได้ เช่น ชุดทดสอบตรวจวินิจฉัยโรคมาลาเรีย โรคเมลิออยโดซิส โรคเลปโตสไปโลซิส"

 

"ขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยด้วยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ในยุคไทยแลนด์ 4.0"

ทางด้านรองอธิบดีกรมปศุสัตว์ นายสัตวแพทย์จีระศักดิ์ พิพัฒนพงศ์โสภณ ได้เผยถึงความต้องการด้านวิทยาศาตร์และเทคโนโลยีในห้องปฏิบัติการของผู้ประกอบการ ทั้งในฟาร์ม และโรงงานว่า "ขณะนี้ความต้องการของผู้บริโภคเพิ่มมากขึ้นในเรื่องของการตรวจสอบคุณภาพและความปลอดภัยทางอาหาร กรมปศุสัตว์ได้พัฒนาระบบการตรวจสอบคุณภาพสินค้า ให้ผู้ประกอบการสามารถรับผลการตรวจที่รวดเร็ว ทั้งทางระบบการขนส่ง และการส่งผ่านข้อมูลออนไลน์ ทั้งยังได้พัฒนาชุดทดสอบ กระบวนการทดสอบที่สามารถตอบผลได้เร็วขึ้น และไม่ขัดกับมาตรฐานสากล" นอกจากนี้ยังกล่าวเสริมอีกว่า "ตามนโยบายของหน่วยงานวิจัยหลักของประเทศไทยได้สนับสนุนการวิจัยที่จะสามารถนำไปใช้ได้จริง ทีมวิจัยจะต้องประกอบด้วยความร่วมมือของหน่วยงานทั้งภาครัฐและภาคเอกชน ที่จะเป็นผู้นำงานวิจัยไปใช้ได้จริงในทางปฏิบัติเพื่อต่อยอดหรือตอบโจทย์ทางธุรกิจต่อไปได้ ถือเป็นโอกาสที่ดีในการพัฒนาระบบการปศุสัตว์ของประเทศไทย"

 

ดร.อุดม ชนะสิทธิ์ นายกสมาคมการค้าวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เผยว่า "ทางสมาคมพร้อมที่จะให้การสนับสนุนไม่ว่าจะเป็นการส่งเสริมการประกอบวิสาหกิจ ผลักดันศักยภาพทางการตลาดของเครื่องมือและอุปกรณ์ทางวิทยาศาสตร์ ตลอดจนการวิจัยต่างๆเพื่อให้ประเทศไทยก้าวไปข้างหน้าและพันธกิจนี้ก็ยังสอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลที่จะเน้นสร้างให้ไทยเป็น Value Base Economy และกำหนดนโยบายเรื่องการต่อยอด 5 อุตสาหกรรมเดิม(First S-Curve) และการเติม 5 อุตสาหกรรมแห่งอนาคต (New S-Curve) ซึ่งทั้งหมดนี้ต้องใช้เทคโนโลยีและเครื่องมือทางห้องปฏิบิตการที่สมัยใหม่เป็นพื้นฐานสำคัญของการพัฒนา นี่เป็นอีกหนึ่งแนวทางที่ทางภาคเอกชนและภาครัฐร่วมมือกันเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจไทยสู่ระดับสากล"

 

"ขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยด้วยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ในยุคไทยแลนด์ 4.0"

ด้านผู้จัดงาน ไทยแลนด์ แล็บ อินเตอร์เนชั่นแนล 2018 คุณอนุชา พันธุ์พิเชฐ เผยในแง่มุมของการจัดงานว่า อุตสาหกรรมเครื่องมือห้องปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์ ตลอดจนอุตสาหกรรมทางการแพทย์ด้านสุขภาพ และอุตสาหกรรมด้านเทคโนโลยีชีวภาพ เป็นกลุ่มอุตสาหกรรมสำคัญที่ขับเคลื่อนระบบเศรษฐกิจไทย ให้ก้าวสู่ระบบเศรษฐกิจสมัยใหม่ จากอัตราการขยายตัวของตลาดที่มีมากถึง 15-20% และมีแนวโน้มสูงขึ้นในอนาคต ตลอดจนจากผลของการสำรวจของผู้ที่อยู่ในอุตสาหกรรมไมซ์ กว่า 20 ประเทศทั่วโลก ประเทศไทยได้รับการจัดอันดับให้เป็นอันดับ 1 ของประเทศที่เป็นเป้าหมายของการจัดงานและนิทรรศการ โดยงานในปีนี้จัดขึ้นภายใต้แนวความคิดผสมผสานกันระหว่าง เทคโนโลยีสมัยใหม่ "Technology", การถ่ายทอดความรู้และสร้างเครือข่าย "Network" และการต่อยอดธุรกิจและการลงทุน "Investment" ปีนี้ผู้เข้าชมงานจะพบกับ บริษัทชั้นนำกว่า 330 บริษัท จาก 30 ประเทศทั่วโลก พร้อมด้วยพาวิลเลี่ยนนานาชาติ ทั้งจาก จีน อินเดีย เกาหลี ไต้หวัน รวมทั้งพาวิลเลี่ยนพิเศษ ที่เน้นกลุ่มอุตสาหกรรมห้องปฏิบัติการทางการแพทย์ และกลุ่มอุตสาหกรรมทางการแพทย์ด้านสุขภาพ โดยจะได้เชิญผู้ซื้อ นักวิจัย ผู้ปฏิบัติการในห้องแล็บ ผู้เชี่ยวชาญ ทั้งในและต่างประเทศ มารวมงานในครั้งนี้ และคาดว่าจะมีผู้เข้าร่วมงานราว 10,000 ราย นอกจากนั้นยังมีการนำระบบการจับคู่ธุรกิจผ่านระบบออนไลน์ Business Matching ขึ้นมาเพื่อรองรับการจับคู่เจรจาทางธุรกิจให้เกิดประโยชน์สูงสุด พร้อมเปิดตัวโครงการการสรรหาผู้ซื้อรายใหญ่จากทั่วโลก โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเชิญชวนให้ผู้ซื้อ นักวิจัย ผู้ปฏิบัติการในห้องแล็บ ผู้เชี่ยวชาญ ทั้งในและต่างประเทศ ได้มีโอกาสพบผู้ผลิตและผู้จำหน่ายเครื่องมือแล็บได้โดยตรงพร้อมเจรจาธุรกิจ ระหว่างวันที่ 12 – 14 กันยายน 2561 ณ ไบเทค บางนา โดยเปิดรับสมัครแล้วตั้งแต่วันนี้ – 30 กรกฎาคม 2561 ผู้ที่สนใจสามารถเข้าไปสมัคร และ สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ทาง www.thailandlab.com **ลงทะเบียนล่วงหน้าได้แล้ววันนี้ พิมพ์รหัส VMB 30021