posttoday

กรมการแพทย์ เผยวิธีตรวจหาสารเสพติดในร่างกายเพื่อการคัดกรองและบำบัดรักษา สถาบันบำบัดรักษาและฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติดแห่งชาติบรมราชชนนี กรมการแพทย์ เผยวิธีการตรวจ

19 กุมภาพันธ์ 2561

หาสารเสพติดในร่างกายเพื่อการคัดกรองและบำบัดรักษาที่สามารถระบุประเภทของยาและสารเสพติดที่ตรวจพบได้อย่างถูกต้องและแม่นยำ

 

หาสารเสพติดในร่างกายเพื่อการคัดกรองและบำบัดรักษาที่สามารถระบุประเภทของยาและสารเสพติดที่ตรวจพบได้อย่างถูกต้องและแม่นยำ

นายแพทย์ภาสกร ชัยวานิชศิริ รองอธิบดีกรมการแพทย์ กล่าวว่า ปัจจุบันสารเสพติดที่พบมาก คือ

ยาและสารเสพติดกลุ่มแอมเฟตามีน ซึ่งได้แก่ ยาบ้า ยาไอซ์ ยาอี ยาเลิฟ นอกจากกลุ่มนี้แล้วยังมียาและสารเสพติดชนิดอื่นๆ อีก เช่น เฮโรอีน ฝิ่น มอร์ฟีน กัญชา กลุ่มยากล่อมประสาท และยานอนหลับ การตรวจหายาและ

สารเสพติดในร่างกาย จะใช้การตรวจจากตัวอย่างปัสสาวะซึ่งจะได้ผลดีที่สุดและเป็นที่ยอมรับในกระบวน

การยุติธรรมในระดับสากล เพราะเมื่อเข้าสู่ร่างกายโดยการกิน ฉีด สูบ หรือสูดดมควัน ยาและสารเสพติดเหล่านี้จะถูกดูดซึมเข้าสู่กระแสเลือด หลังจากนั้นประมาณ 2-3 ชั่วโมง ร่างกายจะขับยาและสารเสพติดออกมาทางปัสสาวะซึ่งมีความเข้มข้นมากพอทำให้ตรวจพบได้ง่ายและตกค้างในปัสสาวะได้นานหลายวัน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสภาวะร่างกายของผู้เสพแต่ละคน รวมถึงปริมาณที่ใช้ ความถี่และชนิดของยาและสารเสพติดที่เสพเข้าสู่ร่างกาย

กรมการแพทย์ เผยวิธีตรวจหาสารเสพติดในร่างกายเพื่อการคัดกรองและบำบัดรักษา สถาบันบำบัดรักษาและฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติดแห่งชาติบรมราชชนนี กรมการแพทย์ เผยวิธีการตรวจ

นายแพทย์สรายุทธ์ บุญชัยพานิชวัฒนา ผู้อำนวยการสถาบันบำบัดรักษาและฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติดแห่งชาติบรมราชชนนี กล่าวเพิ่มเติมว่า สถาบันบำบัดรักษาและฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติดแห่งชาติบรมราชชนนี

มีการตรวจหายาและสารเสพติดในร่างกาย ในกลุ่มผู้เข้ารับการบำบัดรักษายาเสพติดและผู้ต้องสงสัย 2 ขั้นตอนได้แก่ 1.การตรวจคัดกรองขั้นต้น (Screening Test) เป็นการตรวจหาสารเสพติดเป็นกลุ่ม ในขั้นตอนนี้จะแสดงผลเพียงพบหรือไม่พบยาและสารเสพติดในร่างกายเท่านั้น ยังไม่สามารถระบุได้ว่า ผู้รับการตรวจ

เสพยาบ้าหรือใช้สารเสพติดในกลุ่มนี้ โดยวิธีการตรวจคัดกรองขั้นต้นมีอยู่ 2 หลักการคือ หลักการคัลเลอร์เทสต์

(Color test) หรือที่เรียกกันว่า "ปัสสาวะสีม่วง" ซึ่งปัจจุบันวิธีการตรวจนี้ไม่นิยมนำมาใช้ตรวจแล้ว และหลักการทางอิมมูโนแอสเสย์ (Immunoassay) แบ่งเป็นที่ต้องใช้เครื่องอัตโนมัติในการตรวจ และใช้ชุดตรวจสำเร็จรูป

(Test kits) ซึ่งจะแสดงผลเป็น บวก (positive) และ ลบ(Negative) ทั้งนี้ในรายที่ตรวจคัดกรองขั้นต้นแล้วพบว่า

ผลเป็นบวกหรือมีข้อสงสัย จะต้องทำการตรวจยืนยันในขั้นต่อไป 2. การตรวจยืนยัน (Confirmation Test)

โดยใช้หลักการทางโครมาโตรกราฟฟี (Chromatography) ซึ่งเป็นเทคนิคการตรวจขั้นสูง เป็นการตรวจวิเคราะห์

ที่มีความละเอียดสูงสามารถตรวจหายาและสารเสพติดที่มีปริมาณน้อยๆได้ และสามารถแยกชนิด

ระบุประเภทของยาและสารเสพติดได้อย่างถูกต้อง แม่นยำ เป็นมาตรฐานสากล เช่น แอมเฟตามีน เมทแอมเฟตามีน ทรามาดอล อัลพราโซแลม เป็นต้น สามารถนำมาใช้ตรวจคัดกรองในผู้ต้องสงสัยและตรวจประเมินในผู้ป่วยยาและสารเสพติดได้เป็นอย่างดี