posttoday

"มูลนิธิสากลเพื่อคนพิการ" ชวนคนไทยร่วมเปลี่ยน "ภาระ" ให้กลายเป็น "พลัง"

28 ธันวาคม 2560

“มูลนิธิสากลเพื่อคนพิการ” ชวนคนไทยร่วมเปลี่ยน “ภาระ” ให้กลายเป็น “พลัง” สู่เป้าหมายใหญ่ “สร้างงาน” ผ่าน “ศูนย์ฝึกอาชีพฯ” เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้พิการ

“มูลนิธิสากลเพื่อคนพิการ” ชวนคนไทยร่วมเปลี่ยน “ภาระ” ให้กลายเป็น “พลัง” สู่เป้าหมายใหญ่ “สร้างงาน” ผ่าน “ศูนย์ฝึกอาชีพฯ” เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้พิการ

“มูลนิธิสากลเพื่อคนพิการ” โดย “ศาสตราจารย์ วิริยะ นามศิริพงศ์พันธุ์” จัดกิจกรรม “เปิดบ้านยิ้มสู้” นำเสนอผลการดำเนินงานของมูลนิธิสากลเพื่อคนพิการ ในการสนับสนุนและช่วยเหลือผู้พิการ พร้อมเปิดเป้าหมายที่ยิ่งใหญ่ในปี 2561 ชวนคนไทยร่วมสานต่องานงานที่ “พ่อ” ทำเปลี่ยน “ภาระ” ให้กลายเป็น “พลัง” ด้วยการสร้างงาน-สร้างอาชีพให้กับผู้พิการทั่วประเทศ ผ่าน “ศูนย์ฝึกอาชีพคนพิการอาเซียน” เพื่อยกระดับและพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้พิการทุกคนอย่างยั่งยืน

ศาสตราจารย์ วิริยะ นามศิริพงศ์พันธุ์ ประธานมูลนิธิสากลเพื่อคนพิการ เปิดเผยว่าปัจจุบันมูลนิธิฯ ได้ดำเนินงานช่วยเหลือคนพิการทุกกลุ่ม โดยแบ่งออกเป็น

1.โครงการบ้านเด็กยิ้มสู้ เพื่อเตรียมความพร้อมให้กับเด็กเล็กผู้พิการ

2.โครงการหอศิลป์ยิ้มสู้ เพื่อแสดงให้สังคมไทยรับรู้ว่าถึงความสามารถและศักยภาพของผู้พิการโดยเฉพาะด้านศิลปะ

3.โครงการศูนย์ถ่ายทอดและการสื่อสารสำหรับคนหูหนวก (TTRS) ซึ่งเป็นประเทศที่ 3 ในเอเชียที่สามารถพัฒนานวัตกรรมล่ามภาษามือผ่านระบบอินเตอร์เน็ตความเร็วสูงเพื่อช่วยให้ผู้บกพร่องทางการได้ยินและสื่อความหมาย สามารถสื่อสารกับคนปกติได้ โดยปัจจุบันมีตู้ TTRS กระจายอยู่ทั้งหมด 180 จุดทั่วประเทศ มีผู้ใช้บริการสูงถึง 18,000 ครั้งต่อเดือน

4. ศูนย์บริการจัดหางานให้กับคนพิการ

5.ศูนย์ฝึกอาชีพคนพิการอาเซียน ซึ่งรวมไปถึง ร้านกาแฟกาแฟ และสินค้าต่างๆ ของผู้พิการภายใต้แบรนด์ “ยิ้มสู้” ซึ่งการสนับสนุนสินค้าภายใต้แบรนด์ยิ้มสู้ ก็เท่ากับว่าคนไทยทุกคนจะได้มีส่วนในการช่วยเหลือผู้พิการนั่นเอง

"มูลนิธิสากลเพื่อคนพิการ" ชวนคนไทยร่วมเปลี่ยน "ภาระ" ให้กลายเป็น "พลัง"

 

“จากข้อมูลของกรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ ในเดือนมิถุนายน 2560 พบว่ามีผู้พิการทั่วประเทศที่จดทะเบียน 1,802,375 คน หรือร้อยละ 2.72 ของประชากรทั้งหมด มีคนพิการที่อยู่ในวัยแรงงาน อายุ 15-60 ปี จำนวน 802,058 คน หรือร้อยละ 44.5 มีผู้พิการที่มีงานทำแล้วจำนวน 227,924 คน หรือร้อยละ 28.42 มีผู้พิการที่สามารถทำงานได้แต่ยังไม่มีงานทำ 455,990 คน หรือร้อยละ 56.58 และมีผู้พิการ 118,144 คน หรือร้อยละ 14.73 ที่อยู่ในวัยทำงานแต่ทำงานไม่ได้เนื่องจากพิการรุนแรงซึ่งต้องพึ่งพาผู้ดูแล ซึ่งจะเห็นได้ว่าจำนวนผู้พิการที่ทำงานได้แต่ยังไม่มีงานทำ และผู้ดูแลคนพิการรุนแรงเมื่อรวมกันแล้วจะมีจำนวนมากถึง 574,134 คน ข้อมูลข้างต้นเป็นโจทย์ที่ท้าทายว่าเราจะช่วยคนกลุ่มนี้ให้มีอาชีพและรายได้ๆ อย่างไร จึงเป็นที่มาของการจัดตั้ง ศูนย์ฝึกอาชีพคนพิการอาเซียน ซึ่งปัจจุบันเปิดให้บริการที่อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ โดยมุ่งเน้นไปที่การสร้างงาน สร้างอาชีพ เพื่อช่วยเหลือให้คนพิการให้ก้าวพ้นความยากจน มีอาชีพอิสระ มีรายได้ที่เพียงพอและยั่งยืน”

 

"มูลนิธิสากลเพื่อคนพิการ" ชวนคนไทยร่วมเปลี่ยน "ภาระ" ให้กลายเป็น "พลัง"

แต่ในปัจจุบันศูนย์ฝึกอาชีพคนพิการอาเซียน อำเภอแม่ริม มีพื้นที่คับแคบ และไม่เพียงพอต่อการฝึกอบรมอาชีพต่างๆ ให้กับผู้พิการ ดังนั้นในปี 2561 มูลนิธิสากลเพื่อคนพิการ จึงมีเป้าหมายที่ยิ่งใหญ่ในการร่วมกันสานต่องานที่พ่อทำ ด้วยการเปลี่ยนภาระให้เป็นพลัง ในการพัฒนาและสร้างสรรค์สังคม ผ่านการสร้างงานสร้างอาชีพให้กับผู้พิการทั่วประเทศ ภายใต้การดำเนินงานของ ศูนย์ฝึกอาชีพคนพิการอาเซียน อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งจะมีพื้นที่มากถึง 33 ไร่ สามารถรองรับผู้พิการหรือผู้ดูแลคนพิการได้เป็นจำนวนมาก

“ในช่วงต้นปี 2561 ทางมูลนิธิฯ จะมีการจัดกิจกรรม ปั่นไปไม่ทิ้งกัน No One Left Behind ซึ่งจะเป็นครั้งแรกของประเทศที่คนตาบอดจะปั่นจักรยานจากกรุงเทพฯ ถึงเชียงใหม่ ระยะทางรวมกว่า 867 กิโลเมตร เพื่อหาทุนเพื่อสนับสนุนการก่อสร้างศูนย์ฝึกอาชีพคนพิการอาเซียนที่อำเภอเชียงดาว จึงขอเชิญชวนคนไทยทุกคนร่วมกันสร้างประวัติศาสตร์ร่วมกับผู้พิการในการร่วมกันสร้างโอกาสให้คนพิการ สานต่องานที่พ่อทำช่วยเหลือให้ผู้พิการสามารถก้าวข้ามความยากจน มีอาชีพที่ยั่งยืน เพื่อที่จะเปลี่ยนผู้พิการที่ถูกสังคมมองว่าเป็นภาระ ให้กลายเป็นอีกหนึ่งพลังในการพัฒนาสังคมต่อไป” ศาสตราจารย์ วิริยะ นามศิริพงศ์พันธุ์ กล่าวสรุป

"มูลนิธิสากลเพื่อคนพิการ" ชวนคนไทยร่วมเปลี่ยน "ภาระ" ให้กลายเป็น "พลัง"

"มูลนิธิสากลเพื่อคนพิการ" ชวนคนไทยร่วมเปลี่ยน "ภาระ" ให้กลายเป็น "พลัง"