posttoday

บทเรียนจากวันปอดบวมโลก โรคที่ป้องกันได้

14 พฤศจิกายน 2560

 วันที่ 12 พ.ย.ของทุกปีคือวันปอดบวมโลก จากข้อมูลของกระทรวงสาธารณสุขในปี พ.ศ. 2560 พบผู้ป่วยปอดบวมประมาณ 2 แสนราย โดยกลุ่มอายุที่พบผู้ป่วยมากที่สุดคือผู้สูงอายุมากกว่า 65 ปี สูงถึง 31.41 เปอร์เซ็นต์ ใกล้เคียงกับตัวเลขของกลุ่มผู้ป่วยเมื่อปี พ.ศ.2557 ที่มีจำนวนอยู่ราว 30 เปอร์เซ็นต์ เห็นได้ว่าจำนวนผู้ป่วยด้วยโรคปอดบวมนั้นไม่ได้ลดลงเลยจากงานเสวนา กิจกรรมวันปอดบวมโลก 2017 ซึ่งจัดขึ้นโดย บริษัทไฟเซอร์ ณ เซ็นทรัลเวิลด์ โดยมี รศ.นพ.ชิษณุ พันธุ์เจริญ กุมารแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคติดเชื้อ และรศ.นพ.ฉันชาย สิทธิพันธุ์ อายุรแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคปอด โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ได้ร่วมเสวนาเรื่องโรคปอดบวมซึ่งเป็นปัญหาสาธารณสุขระดับโลกและองค์การอนามัยโลกเตือนให้ทุกประเทศเฝ้าระวังโรคปอดบวมอย่างใกล้ชิดระบุว่า แม้ว่าจะมีการรณรงค์ป้องกันโรคนี้มาอย่างต่อเนื่อง แต่อัตราการเสียชีวิตของผู้ป่วยยังไม่ลดลงจนถึงระดับที่น่าพอใจโดยเฉพาะในผู้สูงอายุและเด็กเล็ก จึงควรมีการรณรงค์อย่างต่อเนื่องต่อไปเพื่อให้ประชาชนมีความรู้เกี่ยวกับอาการของผู้ป่วย วิธีรักษา และวิธีป้องกันซึ่งรวมถึงการเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน“โรคปอดบวม” หรือปอดอักเสบส่

 วันที่ 12 พ.ย.ของทุกปีคือวันปอดบวมโลก จากข้อมูลของกระทรวงสาธารณสุขในปี พ.ศ. 2560 พบผู้ป่วยปอดบวมประมาณ 2 แสนราย โดยกลุ่มอายุที่พบผู้ป่วยมากที่สุดคือผู้สูงอายุมากกว่า 65 ปี สูงถึง 31.41 เปอร์เซ็นต์ ใกล้เคียงกับตัวเลขของกลุ่มผู้ป่วยเมื่อปี พ.ศ.2557 ที่มีจำนวนอยู่ราว 30 เปอร์เซ็นต์ เห็นได้ว่าจำนวนผู้ป่วยด้วยโรคปอดบวมนั้นไม่ได้ลดลงเลย

จากงานเสวนา กิจกรรมวันปอดบวมโลก 2017 ซึ่งจัดขึ้นโดย บริษัทไฟเซอร์ ณ เซ็นทรัลเวิลด์ โดยมี รศ.นพ.ชิษณุ พันธุ์เจริญ กุมารแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคติดเชื้อ และรศ.นพ.ฉันชาย สิทธิพันธุ์ อายุรแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคปอด โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ได้ร่วมเสวนาเรื่องโรคปอดบวมซึ่งเป็นปัญหาสาธารณสุขระดับโลกและองค์การอนามัยโลกเตือนให้ทุกประเทศเฝ้าระวังโรคปอดบวมอย่างใกล้ชิด

ระบุว่า แม้ว่าจะมีการรณรงค์ป้องกันโรคนี้มาอย่างต่อเนื่อง แต่อัตราการเสียชีวิตของผู้ป่วยยังไม่ลดลงจนถึงระดับที่น่าพอใจโดยเฉพาะในผู้สูงอายุและเด็กเล็ก จึงควรมีการรณรงค์อย่างต่อเนื่องต่อไปเพื่อให้ประชาชนมีความรู้เกี่ยวกับอาการของผู้ป่วย วิธีรักษา และวิธีป้องกันซึ่งรวมถึงการเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน

“โรคปอดบวม” หรือปอดอักเสบส่วนใหญ่เกิดจากเชื้อแบคทีเรียและเชื้อไวรัส ผู้ป่วยปอดบวมจะมีอาการไข้ ไอ และหอบเหนื่อย บ่อยครั้งที่ผู้ป่วยจะมีอาการรุนแรงจนเกิดภาวะแทรกซ้อน เช่น การติดเชื้อในกระแสเลือด ภาวะหายใจล้มเหลว และอาจถึงขั้นเสียชีวิตได้

โดยเฉพาะกลุ่มผู้สูงอายุและเด็กมีความเสี่ยงที่จะติดเชื้อเข้าสู่ปอดได้ง่ายกว่ากลุ่มอื่นๆเพราะภูมิคุ้มกันในร่างกายที่อ่อนแอกว่า โดยเฉพาะช่วงฤดูหนาวที่มีความเสี่ยงสูงกว่าฤดูกาลอื่นๆ แต่อย่างไรก็ดีโรคปอดบวมมีวิธีการป้องกันได้  โดยรับประทานอาหารที่มีวิตามินซีสูง ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้ร่างกายสร้างภูมิต้านทานโรคตามธรรมชาติ

ใส่เสื้อกันหนาวเพื่อให้ร่างกายอบอุ่น และหลีกเลี่ยงพาเด็กเล็กเข้าไปในบริเวณที่มีคนแออัด มีควันไฟในบ้าน ควันบุหรี่ ควันจากท่อไอเสียรถยนต์ ซึ่งทำให้มีโอกาสเป็นหวัดได้ง่ายก็จะช่วยลดโอกาสการเป็นโรคปอดบวมในผู้สูงอายุและเด็กได้

บทเรียนจากวันปอดบวมโลก โรคที่ป้องกันได้