posttoday

เพราะหัวใจคนไทยอ่อนแอ...รณรงค์ขอพื้นที่ 0.1 ตรม. เพื่อรัศมี 650 เมตร ให้หัวใจคนไทยทุกดวงปลอดภัยจากโรคหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลัน

26 กันยายน 2560

ณ วันหัวใจโลก 29 กันยายน

 

เพราะแนวโน้มมีคนทั่วโลก รวมถึงคนไทย "หัวใจอ่อนแอ" เพิ่มขึ้นทุกปี... ไม่ใช่เพราะอกหัก รักคุด ชีวิตสุดดราม่าแต่อย่างใด แต่ หัวใจอ่อนแอนี้ เป็นเพราะ… เดินไปฟิตเนสยากกว่าเดินไปยืนรอคิวร้านชาบู หรือ นั่งทำงานติดโต๊ะ ไม่ค่อยลุกเดินไปไหน พอเครียดก็สูบบุหรี่ให้รีแลกซ์สักมวนสองมวน หรือไม่พวกเครียดก็ไปลงกับการกินไม่ยั้ง หรือแบบพวกมือไม้สั่นน้ำลายสอเมื่อเห็นชีสยืดๆ หมูสามชั้นที่ปิ้งย่างกรอบๆ ไข่ปูดองสุดฟิน มันกุ้งเผาเยิ้มๆ หมึกนึ่งมะนาวเนื้อเด้งๆแซ่บๆ หรือไก่ทอดกรอบฟินที่ตรงหนังด้วย…

พฤติกรรมที่ว่ามาคือใช่เกือบทั้งหมดแล้วว่าในอนาคต เป็นพวกหัวใจอ่อนแอแน่ๆ ยิ่งถ้ามีอาการเคยเจ็บแปล๊บคล้ายของแหลม ทิ่มแทง หรือรู้สึกอึดอัดเหมือนหายใจไม่ออก แน่นกลางอกเหมือนมีของหนักทับอยู่ แต่ไม่ใช่กรดไหลย้อน...คือยิ่งใช่เลย

ขอยินดีต้อนรับสู่สมาชิก 1 ใน 2.6 แสนคนทั่วไทย ชมรมคนหัวใจอ่อนแอ… สถิติล่าสุดจากกระทรวงสาธารณสุขไทยพบว่า คนไทยจากโลกนี้ไปเฉลี่ยชั่วโมงละ 6 คน หรือปีละกว่า 54,000 คน กลายเป็นสาเหตุการตายของคนไทยเป็นอันดับ 3 รองจากโรคมะเร็ง และอุบัติเหตุด้วยซ้ำ แต่ถ้าเป็นเฉพาะโรค

นอกจากดูแลสุขภาพตัวเองให้ดีห่างไกลโรคเป็นเรื่องดีที่สุด ทั้งการออกกำลังกายหรือกินอาหารที่ดีมีประโยชน์ แต่สำหรับคนที่ป่วยแล้วและมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ทุกวัน อาการที่เกิดขึ้นแบบเฉียบพลัน กลายเป็นเรื่องคอขาดบาดตายวินาทีต่อวินาที แต่วินาทีชีวิตนั้นสามารถช่วยพวกเข้าได้....

ในบรรดาสาเหตุการสูญเสียของคนไทยทั้งมะเร็ง และอุบัติเหตุ และ โรคหัวใจขาดเลือด โรคนี้นับเป็นสาเหตุที่เมื่อเกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝันฉุกเฉินขึ้นมาแล้ว มีโอกาสรอดมากกว่า 50% ถ้าให้การช่วยเหลืออย่างถูกวิธีและมีเครื่องมือใกล้ตัวผู้ป่วย เพราะถ้ามะเร็งค่าใช้จ่าย ก็สูง ส่วนอุบัติเหตุก็ไม่มีเครื่องมือชนิดเดียวที่ป้องกันการเกิดอุบัติเหตุในหลานด้านได้อย่างแท้จริง

4 นาทีกับการช่วยเหลือให้ฟื้นคืนชีพ ด้วยการปั้มหัวใจด้วยมือ (CPR) เป็นการกดหน้าอก 30 ครั้ง กดลึกประมาณ 5 เซนติเมตร ความถี่ 100-120 ครั้งต่อนาที ร่วมกับช่วยหายใจ 2 ครั้งสลับไปมา ช่วยให้มีโอกาสรอดชีวิตเพียง 27% แต่ถ้าสลับกับการใช้ เครื่องช็อกไฟฟ้าหัวใจอัตโนมัติ (AED) จะช่วยเพิ่มโอกาส ในรอดชีวิตได้มากถึงเกือบ 50%

ในต่างประเทศพบเห็น ตามสถานที่ที่มีคนจำนวนมาก แต่ในประเทศไทยอาจยังพบเห็นไม่ มากนักเท่ากับในต่างประเทศ อย่าง ญี่ปุ่น ประเทศที่นับว่ามีเครื่อง AED มากที่สุดแห่งหนึ่งของโลก มีกว่า 600,000 เครื่องต่อ ประชากร128 ล้านคนในประเทศ รองมาคือ สิงคโปร์ เกาหลี ไต้หวัน และฮ่องกง

ส่วนประเทศไทยนั้น...ไม่เกิน 10,000 เครื่องต่อประชากรไทย 66 ล้านคน คิดเป็น 1 : 4,500 คน เทียบกับญี่ปุ่นมีประมาณ 1 : 210 คน ถือว่ามี มากกว่าบ้านเราถึง 22 เท่า !!!

สถานที่ที่ควรมีติดตั้งเครื่อง AED คือ สถานที่ที่มีคนรวมกันมากๆ อาทิ สถานีขนส่ง สนามบิน ห้างสรรพสินค้า สนามกีฬา ตลาดประจำจังหวัด ศูนย์ราชการ งานวิ่ง สถานที่จัด นิทรรศการระดับใหญ่ๆ ฯลฯ ที่สำคัญควรมีการกระจายเครื่องเหล่านี้ ไปทุกพื้นที่ทั่วไทย ขณะที่การให้ ความรู้ด้านการช่วยเหลือผู้ป่วยด้วยวิธี CPR และการใช้เครื่องมือ

AED ว่าต้องใช้อย่างไร เมื่อเกิดเหตุฉุกเฉินไม่ใช่มีเครื่องแต่ส่วนใหญ่ใช้ไม่เป็น ซึ่งหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ก็กำลังดำเนินการให้ความองค์ความรู้ควบคู่กันไป

เพราะหัวใจคนไทยอ่อนแอ...รณรงค์ขอพื้นที่ 0.1 ตรม. เพื่อรัศมี 650 เมตร ให้หัวใจคนไทยทุกดวงปลอดภัยจากโรคหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลัน  

ถ้า 2.7 เมตรต่อวินาที คืออัตราการวิ่งเฉลี่ยของคนแต่ละคน

4 นาที คือเวลาในการช่วยเหลือผู้ป่วยโรคหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน ให้รอดชีวิตมากกว่า 50%

648 เมตร คือ อัตราการวิ่งของคนต่อวินาที วิ่งต่อเนื่องในระยะเวลา 4 นาที โดยไม่มีสิ่งกีดขวาง จะสามารถนำเครื่อง AED เข้าถึงตัวผู้ป่วยโรคหัวใจขาดเลือด เพื่อปฐมพยาบาล เบื้องต้นด้วยการทำ CPR พร้อมกับนำเครื่อง AED มาช่วยเหลือชีวิตของ ผู้ป่วยได้

ดังนั้นการติดตั้งเครื่องช็อกไฟฟ้าหัวใจอัตโนมัติ (AED) ด้วยพื้นที่เพียง 0.1 ตารางเมตร สามารถช่วยเพิ่มความปลอดภัยให้กับผู้ป่วยโรคหัวใจขาดเลือดในรัศมีเกือบ 650 เมตรได้!!!!

สนนราคาเครื่อง AED ประมาณ 1 – 2 แสนบาท คำถามคือ หากไปติดตั้งใน สถานที่ต่างๆ ปีที่ 1 ไม่ได้ใช้งาน ปีที่2,3,4 ไม่ได้ใช้งานเช่นกัน แต่ปีที่ 5 ช่วยเหลือชีวิตคนได้ 1 คนถือว่าคุ้มค่าไหม...คำตอบคือคุ้มค่ามาก

อีกหนึ่งการรณรงค์ในมุมเล็กๆ พื้นที่เล็กๆ ที่อยากให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่ยิ่งใหญ่ ใน CHANGE.ORG กับแคมเปญ "ถึงเวลาที่คนไทยควรเรียนรู้วิธีกู้ชีพที่ถูกต้องและสนับสนุน ให้ทุกหน่วยงานมีพื้นที่ช่วยชีวิต"http://bit.ly/2w52vWP

ด้วยการเพิ่มพื้นที่ความปลอดภัย ด้วยเครื่อง AED ไปพร้อมกับให้ความรู้การช่วยชีวิตผู้ป่วยหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลันอย่าง ถูกต้อง

 

เพราะไม่รู้ว่า คนที่อยู่ข้างๆคุณตอนนี้ จะเกิดหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลันขึ้นหรือไม่ ถ้ามีเครื่อง AED พร้อมกับความรู้ในการช่วยเหลือพวกเขา นั่นคือความปลอดภัยที่คุณสามารถหยิบยื่น ให้กันได้

ถ้าวันที่ 14 กุมภาพันธ์ของทุกปีเป็นวันแห่งความรักที่แสดงความรักให้แก่กัน มีสัญลักษณ์ในรูปหัวใจกระจายไปทั่วทุกพื้นที่

วันที่ 29 กันยายนของทุกปี ที่เป็นวันหัวใจโลก หรือ World Heart Dayคงเป็นอีกวันหนึ่งที่พวกเราทุกคนสามารถหยิบยื่นความปลอดภัยด้วย การรณรงค์ให้มีเครื่อง AED บนพื้นที่แค่ 0.1 ตรม. ให้กระจายทุกพื้นที่ทั่วไทย เพื่อเพิ่มพื้นที่ปลอดภัยให้หัวใจคนไทย แผ่รัศมีกว่า 650 เมตร ขยายวงพื้นที่คุ้มครองชีวิตคนไทยให้ปลอดภัยยิ่งขึ้น...

เพราะหัวใจคนไทยอ่อนแอ...รณรงค์ขอพื้นที่ 0.1 ตรม. เพื่อรัศมี 650 เมตร ให้หัวใจคนไทยทุกดวงปลอดภัยจากโรคหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลัน