posttoday

โรงพยาบาลรวมใจรักษ์ ชี้แนวโน้ม Medtech Trends 2023

08 มีนาคม 2566

โรงพยาบาลรวมใจรักษ์ เปิด 7 เทรนด์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมทางการแพทย์ พร้อมสร้างระบบ Teleconsultation and Telemedicine ที่เสถียรและครอบคลุมทุกโรงพยาบาลบนระบบเดียวกัน ยกระดับการแพทย์ในจังหวัดห่างไกล ลดปัญหาการขาดแคลนแพทย์ผู้เชี่ยวชาญโรคซับซ้อน

วันที่ 7 มีนาคม 2566 เครือเนชั่น นำโดย สปริงนิวส์ กรุงเทพธุรกิจ ฐานเศรษฐกิจและโพสต์ทูเดย์ ได้จัดงานสัมมนา อนาคตประเทศไทย หัวข้อ นวัตกรรมขับเคลื่อนประเทศ ณ ห้องแกรนด์ บอลรูม โรงแรม แกรนด์ ไฮแอท เอราวัณ กรุงเทพฯ

ดร.สุนทร ศรีทา ผู้อำนวยการโรงพยาบาลรวมใจรักษ์  ได้กล่าวว่า สำหรับโรงพยาบาลรวมใจรักษ์เป็นโรงพยาบาลน้องใหม่ที่เปิดบริการได้เพียง 6 เดือน โดยนำเทคโนโลยีอนาคตเข้ามาช่วยทั้งส่วนของการรักษาที่รวดเร็วและแม่นยำขึ้นโดยใช้ AI ประมวลผล,การรวมทีมแพทย์เฉพาะทางในการออกแบบการรักษาเฉพาะบุคคล และการทำให้การชำระค่าบริการเป็นเรื่องที่เข้าถึงได้ง่าย  สำหรับปัจจุบัน 'Medtech Trends 2023' หรือเทรนด์ด้านการแพทย์และสุขภาพที่ที่น่าสนใจคือ

 

1. AI เทคโนโลยีที่แทรกซึมเข้ามามีบทบาทในระยะหลายปีที่ผ่านมา ทั้งช่วยตรวจวินิจฉัยในหลายๆส่วนเช่นการเอ็กซเรย์ เพื่อให้แพทย์มองเห็นจุดบกพร่องต่างๆ  รวมไปถึงการวินิจฉัยโรค  การแปลผลแลป ผลเอ็กซเรย์ เพื่อวิเคราะห์สาเหตุของโรคหรือโรคที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคต ไปจนถึงการเลือกใช้ยาแต่ละประเภทให้เหมาะกับอาการของโรค

โรงพยาบาลรวมใจรักษ์ ชี้แนวโน้ม Medtech Trends 2023

2. Data Breach ซึ่งเป็นเทรนด์เทคโนโลยีทางการแพทย์ที่จะต้องระมัดระวัง เนื่องจากปัจจุบันมีการแฮกข้อมูลในโรงพยาบาลหรือถูกโจมตีด้วยไวรัสเกิดขึ้นจำนวนมาก เพราะฉะนั้นการใช้เทคโนโลยีในโรงพยาบาลในเรื่องของ  Data Breach เป็นเรื่องที่โรงพยาบาลต้องให้ความสำคัญมากโดยเทคโนโลยีล่าสุดที่กำลังถูกพูดถึงคือ การใช้ facial recognition เข้ามาเสริมการป้องกัน

3.Nano Medicine Precision Medicine การผลิตยา และใช้โรบอทเข้าไปตรวจสอบหรือช่วยเหลือการแพทย์ต่างๆ  ปัจจุบันมีการใช้ Precision Medicine เช่น ในกลุ่มคนที่เป็นโรคเบาหวาน ซึ่งบางกลุ่มให้ยาแล้วได้ผลและบางกลุ่มไม่ได้ผล การใช้ยากับคนไข้แต่ละราย ซึ่งเทคโนโลยีจะสามารถวิเคราะห์และตรวจยาที่เหมาะสมกับร่างกาย และยิ่งในกลุ่มมะเร็ง จำเป็นต้องให้ใช้ Genomic Targeted Therapies หรือการใช้ยาเฉพาะกลุ่มกับคนไข้แต่ละคน

 

4.Internet of Medical Things (IoMT) ทางการแพทย์ได้มีการใช้เทคโนโลยี IoT ใช้กับเครื่องมือแพทย์ชิ้นใหญ่ๆ ซึ่งจะต้องเชื่อมต่อกับระบบส่วนกลาง หรือ Centrailized Control ไม่ว่าจะเป็น มอนิเตอร์ต่างๆ และอนาคตจะมี Personal Device เพิ่มมากขึ้น เช่น การเจาะเลือดที่บ้าน และเครื่องมือเจาะเลือดจะส่งข้อมูลมาในระบบกลางได้ ซึ่งจะช่วยให้การรักษาและติดตามอาการง่ายขึ้น

ปัจจุบันเครื่องมือเริ่มจะเชื่อมโยงกันทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นการวัดออกซิเจน การมอนิเตอร์ชีพจรการหายใจต่างๆ จะเข้ามาแชร์ข้อมูล ผ่าน Wearable Gadget ต่างๆ อย่างสมาร์ทวอชท์ ซึ่งในอดีตนาฬิกาสมาร์ทวอชท์ดูค่าได้เพียงไม่กี่อย่าง แต่ปัจจุบันสามารถวัดได้หลากหลายค่าและอนาคตจะวัดได้หลากหลายค่ามากขึ้น และค่าต่างๆจะถูกลิงค์ไปที่ระบบส่วนกลางหรือโรงพยาบาล ที่จะทำให้การดูแลคนไข้ดีขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งยังคงต้องใช้เทคโนโลยี 5G, 6G เพื่อความเสถียรที่มากยิ่งขึ้น

โรงพยาบาลรวมใจรักษ์ ชี้แนวโน้ม Medtech Trends 2023

5.Teleconsultation & Telemedicine ปัจจุบันมีการใช้การวินัจฉัย การรีโมท ชีพจร อาการต่างๆ การดูแลตัวเอง การให้ปรึกษาโดยแพทย์ Teleconsultation ที่สามารถทำที่ไหนก็ได้ เพื่อลดการเดินทาง และความสะดวกสบายในการรักษาแพทย์

 

6.Big Data ในประเทศไทยมีทั้งภาครัฐและเอกชนมีคนไข้มาโรงพยาบาลราว 200 ล้านคนต่อปี ซึ่งเรามีข้อมูลมากมายแต่ไม่สามารถเชื่อมข้อมูลเป็น Single Data ซึ่งปัจจุบันทำให้เสียโอกาสในการวางแผน ป้องกันโรค เช่น โควิดถ้าเราลิงค์ข้อมูลได้ เราจะมองเห็นได้แบบเรียลไทม์ว่าโควิดเกิดขึ้นที่ไหนบ้าง

 

7.VR & AR Mixed Reality in Healthcare การอบรมบุคลากรต่างๆ การฝึกสอนต่างๆในวงการแพทย์ จะสามารถทำได้ผ่านระบบหุ่นยนต์ ซึ่งเทคโนโลยี AR หรือ VR จะทำให้มีการพัฒนาการในการเรียนรู้และการรักษาคนไข้ได้รวดเร็วและพัฒนาบุคลากรได้รวดเร็วมากยิ่งขึ้น

ซึ่งโรงพยาบาลรวมใจรักษ์เองพยายามที่จะปรับหลายๆเรื่องเข้ามา แต่เป็นไปไม่ได้ที่เราจะadoptทุกเรื่องเข้ามาในครั้งเดียว แต่ต้องค่อยๆพัฒนาต่อไป เช่นเดียวกับในภาพรวมสาธารณะสุขของประเทศ ซึ่งถ้าหากว่าสามารถพัฒนาเทคโนโลยีต่อได้ ประเทศก็จะได้ประโยชน์ เช่นรื่องของ Teleconsultation ไทยเรามีหมอผู้เชี่ยวชาญจำนวนมากในกรุงเทพมหานครและจังหวัดใหญ่ๆ

แต่จังหวัดเล็กๆยังขาดแคลนหมอผู้เชี่ยวชาญอีกมาก เวลาที่จะปรึกษาเคสโรคยากหรือเคสซับซ้อนกว่าจะทำได้บางเคสคนไข้เสียชีวิตไปแล้ว แต่ถ้าหน้างานเรามีระบบ Teleconsultation ได้ทั่วถึงด้วย network ที่เข้มแข็งและอยู่บนระบบเดียวกันได้ทั้งประเทศ โรงพยาบาลในต่างจังหวัดก็สามารถคอนเซาท์มาได้ทุกเมื่อเมื่อเกิดเหตุ ซึ่งจะช่วยคนไข้ได้ทุกชีวิตในประเทศไทย