posttoday

Climate Crisis: หากโลกร้อนไม่หยุด มนุษย์จะหลุดไปอยู่นอกนิช!

26 พฤษภาคม 2566

ความร้อนสุดทานทนของโลกจะผลักให้ผู้คนหลายพันล้านต้องอยู่นอก “โซนภูมิอากาศจำเพาะของมนุษย์” หรือ human climate niche หากยังลดอุณหภูมิโลกลงไม่ได้ มนุษย์นับพันล้านอาจต้องโยกย้ายถิ่นหาที่เย็นกว่าในอีก 7 ปีข้างหน้า

Climate Crisis: หากโลกร้อนไม่หยุด มนุษย์จะหลุดไปอยู่นอกนิช!

 

เหล่านักวิทยาศาสตร์ออกโรงมาเตือนมนุษยกันอีกระลอก ว่าหากโลกยังร้อนขึ้นจนอุณหภูมิเฉลี่ยเพิ่มสูงขึ้น 2.7 องศาจริง มนุษยชาติจะต้องเผชิญหน้ากับความทุกข์ทรมานครั้งใหญ่ระดับ “ปรากฎการณ์” 

 

หากจำกันได้เมื่อสองปีก่อน โครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ (United Nations Environment Programme: UNEP) ได้เผยแพร่รายงานการแพร่กระจายก๊าซเรือนกระจก (Emissions Gap Report) ประจำปี ระบุว่า พันธสัญญาการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในปัจจุบัน ทำให้โลกมีอุณหภูมิเฉลี่ยเพิ่มขึ้น 2.7 องศาเซลเซียสในศตวรรษนี้

 

แต่มันไม่จบแค่นั้นเพราะนักวิทยาศาสตร์บอกว่า สภาวะอากาศที่เปลี่ยนแปลงจนโลกร้อนขึ้นระดับนั้นจะทำให้ผู้คนหลายพันล้านคนบนโลกหลุดออกจาก “Climate Niche” หรือระดับอุณหภูมิจำเพาะ (ราว 11-15 องศาเซลเซียส) ที่ทำให้อารยธรรมมนุษยชาติรุ่งเรืองมานานนับพันปี 

 

จากการนำข้อมูลประวัติศาสตร์และข้อมูลสภาพอากาศย้อนหลังไป 6,000 ปีมาวิเคราะห์ จนพบว่ามนุษยชาติสามารถดำรงชีวิตและประสบความสำเร็จในการสร้างอารยธรรมได้ดีในสิ่งแวดล้อมหลากหลายรูปแบบ แต่ในปัจจัยเรื่องอุณหภูมิแล้ว ดูเหมือนว่าสภาพอากาศที่มนุษย์จะดำรงชีวิตได้ดีที่สุดนั้น จะต้องมีอุณหภูมิเฉลี่ยของทั้งปีอยู่ในช่วง 11-15 องศาเซลเซียส หรือที่เรียกว่า "ภูมิอากาศจำเพาะของมนุษย์" (human climate niche)

 

การศึกษาได้ประมาณการไว้ว่า อุณหภูมิเฉลี่ยที่จะสูงขึ้นอีก 2.7 องศานั้นทำให้มนุษย์ต้องเผชิญกับอุณหภูมิและสภาพอากาศที่รุนแรงอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน และยังหมายความว่า ผู้คน 2 พันล้านคนจะประสบกับอุณหภูมิเฉลี่ยต่อปีที่สูงกว่า 29 องศาเซลเซียสภายในปี 2573 ซึ่งเป็นระดับที่มีมนุษย์เพียงน้อยนิดจะสามารถอาศัยอยู่ได้ในอดีต

 

นักวิทยาศาสตร์บอกอีกว่า ประชากรมากถึง 1 พันล้านคนสามารถเลือกที่จะอพยพไปยังสถานที่ที่มีอากาศเย็นกว่า แม้ว่าพื้นที่ที่เหลืออยู่เหล่านั้นจะอยู่ในช่องภูมิอากาศ หรือ มีอุณหภูมิจำเพาะที่ยังต้องประสบกับคลื่นความร้อนและความแห้งแล้งบ่อยขึ้นก็ตาม

 

อย่างไรก็ตาม ปฏิบัติการเร่งด่วนของมนุษย์ทุกภาคส่วนเพื่อลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนและรักษาอุณหภูมิโลกให้สูงขึ้นอีก 1.5 องศาเซลเซียส จะลดจำนวนผู้คนที่ถูกผลักให้ออกไปอยู่นอกกลุ่มภูมิอากาศจำเพาะลงได้ถึง 80% เหลือ 400 ล้านคน

 

การวิเคราะห์ครั้งนี้เป็นการวิเคราะห์ครั้งแรกและมีผลในทางปฏิบัติต่อพลเมืองทุกคนอย่างเท่าเทียมกัน ซึ่งแตกต่างจากการประเมินทางเศรษฐกิจก่อนหน้านี้เกี่ยวกับความเสียหายของวิกฤตสภาพภูมิอากาศ ซึ่งได้เบี่ยงเบนความสนใจไปยังกลุ่มคนร่ำรวยโดยเฉพาะว่าเป็นตัวการทำร้ายโลก


 

Climate Crisis: หากโลกร้อนไม่หยุด มนุษย์จะหลุดไปอยู่นอกนิช!

 

ในประเทศที่มีประชากรจำนวนมากและมีภูมิอากาศอบอุ่นอยู่แล้ว กลายเป็นว่า คนส่วนใหญ่จะอยู่นอกกลุ่ม climate niche โดยมีอินเดียและไนจีเรียนำร่องต้องเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงที่เลวร้ายที่สุด รู้กันว่าอินเดียนั้นประสบปัญหาคลื่นความร้อนรุนแรงอยู่แล้ว และผลการศึกษาล่าสุดพบว่า มากกว่า 1 ใน 3 ของการเสียชีวิตจากความร้อนในช่วงฤดูร้อนระหว่างปี 2534-2561 เป็นผลโดยตรงจากภาวะโลกร้อนที่เกิดจากฝีมือมนุษย์

 

ศาสตราจารย์ Tim Lenton จาก University of Exeter สหราชอาณาจักร ซึ่งเป็นผู้นำการวิจัยครั้งใหม่กล่าวว่า “ต้นทุนของภาวะโลกร้อนมักแสดงออกมาในรูปของการเงิน แต่การศึกษาของเราเน้นให้เห็นถึงต้นทุนของมนุษย์ที่ไม่อาจรับมือกับภาวะฉุกเฉินด้านสภาพอากาศ

 

“การประมาณการทางเศรษฐศาสตร์มักให้ความสำคัญกับคนรวยมากกว่าคนจน เพราะพวกเขามีทรัพย์สินที่ต้องเสียไปมากกว่า และพวกเขามักจะเห็นคุณค่าของคนที่มีชีวิตอยู่ในปัจจุบันมากกว่าคนที่มีชีวิตอยู่ในอนาคต เราได้เห็นว่า ทุกคนเท่าเทียมกันในการศึกษานี้”

 

ศาสตราจารย์ Chi Xu แห่งมหาวิทยาลัยหนานจิง ประเทศจีน และเป็นส่วนหนึ่งของทีมวิจัยกล่าวว่า “อุณหภูมิที่สูงเช่นนี้ (เกินกว่าอุณหภูมิจำเพาะ) เชื่อมโยงกับปัญหาต่างๆ เช่น การตายที่เพิ่มขึ้น ผลิตภาพแรงงานลดลง ประสิทธิภาพการรับรู้ลดลง การเรียนรู้บกพร่อง ผลลัพธ์ของการตั้งครรภ์ ผลผลิตพืชลดลง ความขัดแย้งที่เพิ่มขึ้น และการแพร่กระจายของโรคติดเชื้อ” 

 

ศาสตราจารย์ Marten Scheffer จาก Wageningen University ประเทศเนเธอร์แลนด์ และผู้เขียนอาวุโสของการศึกษานี้ กล่าวว่า ในอนาคตผู้คนที่ต้องอยู่นอกกลุ่มอากาศจำเพาะที่ต้องเจอกับสภาพอากาศเลวร้ายอาจคิดอพยพไปยังที่ที่เย็นกว่า และมัน “ไม่ใช่แค่การอพยพของผู้คนหลักสิบล้านคน แต่อาจถึงพันล้านหรือมากกว่านั้น ” 

 

ทั้งนี้ แนวคิดเกี่ยวกับสภาพอากาศเฉพาะสำหรับสัตว์ป่าและพืชป่านั้นเป็นที่ยอมรับกันดี แต่การศึกษาใหม่ซึ่งตีพิมพ์ในวารสาร Nature Sustainability ได้ระบุถึง สภาวะอากาศที่สังคมมนุษย์เจริญรุ่งเรือง

 

การศึกษาพบว่า คนส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในสถานที่ที่มีอุณหภูมิเฉลี่ยทั้งปีกระจายอยู่ประมาณ 13C หรือ 25C นอกจากวงอากาศนี้ที่ร้อนเกินไป หนาวเกินไป หรือแห้งเกินไป จะสัมพันธ์กับอัตราการเสียชีวิตที่สูงขึ้น การผลิตอาหารที่ลดลง และการเติบโตทางเศรษฐกิจที่ลดลง 

 

ศาสตราจารย์ Lenton กล่าวว่า "ภูมิอากาศจำเพาะอธิบายถึงพื้นที่ที่ผู้คนเจริญรุ่งเรืองและเจริญรุ่งเรืองมานานหลายศตวรรษ หากไม่ใช่ในอดีตนับพันปี"

 

เมื่อผู้คนอยู่นอกนิช (niche) พวกเขาจะไม่เจริญ” ศาสตารจารย์ Scheffer กล่าวว่า "เรารู้สึกประหลาดใจที่มนุษย์ยังคงมีอยู่อย่างจำกัดเมื่อพูดถึงการกระจายตัวเมื่อเทียบกับสภาพอากาศ นี่เป็นสิ่งพื้นฐานที่เราให้ความสำคัญ" จากนั้นนักวิทยาศาสตร์ใช้แบบจำลองสภาพอากาศและประชากรเพื่อตรวจสอบการเปลี่ยนแปลงในอนาคตของจำนวนผู้คนที่อยู่นอกกลุ่มภูมิอากาศ ที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ที่มีอุณหภูมิเฉลี่ยต่อปีสูงกว่า 29 องศาเซลเซียส

 

Climate Crisis: หากโลกร้อนไม่หยุด มนุษย์จะหลุดไปอยู่นอกนิช!

 

นักวิจัยกล่าวว่า มีประชากร 60 ล้านคนอาศัยอยู่นอกนิชและสัมผัสกับความร้อนที่เป็นอันตราย แต่ด้วยอุณหภูมิโลกที่เพิ่มขึ้น 0.1 องศาเซลเซียส สูงกว่า 1.2 องศาเซลเซียส ของภาวะโลกร้อนที่เกิดจากฝีมือมนุษย์ที่เห็นผลอยู่แล้วในปัจจุบัน จะทำให้ผู้คนอีกกว่า 140 ล้านคนถูกขับออกจากนิชนี้ หากอุณหภูมิโลกยังคงเพิ่มสูงขึ้นถึง 2.7 องศาเซลเซียส และจากอุณหภูมิที่ร้อนขึ้นเมื่อรวมกับจำนวนประชากรโลกที่เพิ่มขึ้นจะหมายถึงประชากรราว 2 พันล้านคนที่อาศัยอยู่นอกนิชภายในปี 2030 (หรืออีก 7 ปีข้างหน้า) และมีจำนวน 3.7 พันล้านภายในปี 2090 ในกรณีที่เลวร้ายที่สุด หากสภาพภูมิอากาศไวต่อก๊าซเรือนกระจกมากกว่าที่คาดไว้ อุณหภูมิโลกจะสูงขึ้น 3.6 องศาเซลเซียส และนั่นหมายความว่า เกือบครึ่งหนึ่งของประชากรโลกอยู่นอกกลุ่มภูมิอากาศจำเพาะ

 

นักวิจัยพบว่า การลดการปล่อยมลพิษอย่างรวดเร็วและลึกเพื่อรักษาอุณหภูมิให้ไม่เกิน 1.5 องศาเซลเซียสจะลดจำนวนผู้คนที่อยู่นอกนิชได้อย่างมาก ตัวอย่างเช่น ประชากร 90 ล้านคนในอินเดียจะมีชีวิตอยู่ที่อุณหภูมิเฉลี่ยสูงกว่า 29 องศาเซลเซียส เทียบกับ 600 ล้านคนหากอุณหภูมิโลกเพิ่มขึ้นถึง 2.7 องศาเซลเซียส 

 

ส่วนประเทศอื่นๆ ที่อาจได้รับผลกระทบรุนแรงจากอุณหภูมิสูง ได้แก่ อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ และปากีสถาน Lenton กล่าวว่าการศึกษาเน้นย้ำถึง "ความไม่เท่าเทียมกันอย่างมาก" ของภาวะฉุกเฉินด้านสภาพอากาศโดยที่ผู้คนที่มีการปล่อยมลพิษต่ำต้องทนทุกข์กับการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ที่สุดจากการต้องเจอกับความร้อนสูง เขากล่าวว่า ตัวเลือกที่ใช้งานได้จริงและทันท่วงทีที่สุดในการปรับตัวให้เข้ากับอุณหภูมิสูง คือการเพิ่มพื้นที่สีเขียวในเมือง

เพราะสามารถลดความร้อนได้ถึง 5 องศาเซลเซียสจากอุณหภูมิที่สูงเกินไปและให้ยังร่มเงา – นั่นเป็นเรื่องใหญ่”

 

ดร. ริชาร์ด ไคลน์ จากสถาบันสิ่งแวดล้อมสตอกโฮล์มในสวีเดน แต่ไม่ได้เป็นส่วนหนึ่งของทีมนี้แสดงความเห็นว่า "สิ่งที่การศึกษาครั้งนี้แสดงให้เห็นได้เป็นอย่างดี ก็คือความทุกข์ทรมานโดยตรงของมนุษย์ที่อาจเกิดจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การอาศัยอยู่นอกนิชหมายถึงความทุกข์ทรมานจากอากาศร้อนจนทนไม่ได้

 

ดร.ลอเรนซ์ เวนไรท์ จากมหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ด สหราชอาณาจักร กล่าวว่า “มนุษย์เคยชินกับการอาศัยอยู่ในพื้นที่เฉพาะ ณ อุณหภูมิหนึ่งๆ เมื่อสิ่งต่าง ๆ เปลี่ยนไป ปัญหาร้ายแรงต่าง ๆ ก็จะเกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็นสุขภาพกาย สุขภาพจิต อาชญากรรม และความไม่สงบในสังคม”