posttoday

ยืนมองท้องฟ้าไม่เป็นเช่นเคย เมื่อมลภาวะทางแสง ทำให้เราเห็นดาวน้อยลง

28 มกราคม 2566

เราเคยสังเกตุไหมว่าตลอดหลายปีที่ผ่านมา เมื่อแหงนหน้ามองฟ้ายามค่ำคืน เรามองเห็นดาวได้น้อยลง และนั่นไม่ได้หมายความว่าดาวบนฟ้าลดลงแต่อย่างใด แต่เกิดจาก ‘มลภาวะทางแสง’ ที่เกิดขึ้นจากแสงประดิษฐ์หรือแสงที่มนุษย์สร้างขึ้น ซึ่งถือเป็นแนวโน้มที่น่ากังวลสำหรับอนาคต

วิถีชีวิตของผู้คนในป่าคอนกรีต ตัวเมืองที่ไม่เคยหลับไหลและถูกโอมล้อมไปด้วยแสงประดิษฐ์ (artificial light) ที่สร้างความสว่างไสวเปล่งประกายตลอดคืน เราเคยสังเกตกันไหมว่าตลอดช่วงหลายปีที่ผ่านมา เมื่อแหงนหน้ามองฟ้ายามค่ำคืน เรามองเห็นดาวบนฟ้าได้น้อยลง และนั่นไม่ได้หมายความว่าดาวบนฟ้าลดลงแต่อย่างใด แต่เกิดจาก ‘มลภาวะทางแสง (light pollution)’ ที่เกิดขึ้นจากแสงประดิษฐ์หรือแสงที่มนุษย์สร้างขึ้น ซึ่งถือเป็นแนวโน้มที่น่ากังวลสำหรับอนาคต

ยืนมองท้องฟ้าไม่เป็นเช่นเคย เมื่อมลภาวะทางแสง ทำให้เราเห็นดาวน้อยลง

มลภาวะทางแสงเมื่อเมืองขยายตัว

การศึกษาใหม่พบว่าการที่เมืองเริ่มขยายตัวขึ้นเรื่อย ๆ ‘มลภาวะทางแสง (light pollution)’ จากแสงประดิษฐ์หรือแสงสว่างที่มนุษย์สร้างขึ้นมีมากขึ้นเท่าไหร่ ความสามารถในการมองเห็นดาวบนฟ้าของเรายิ่งลดลงเท่านั้น และตั้งแต่ปี 2011 เป็นต้นมาความสามารถในการมองเห็นดาวด้วยตาเปล่าของเรากำลังจะหายไป

จากการเฝ้าสังเกตท้องฟ้าของนักวิทยาศาสตร์กว่า 50,000 คนทั่วโลกตลอดระยะเวลา 12 ปี พวกเขาพบว่าเรามองเห็นดวงดาวด้วยตาเปล่าลดลง และมีแนวโน้มลดลงอย่างต่อเนื่อง ซึ่งสัมพันธ์กับแสงประดิษฐ์จากฝีมือมนุษย์ที่เพิ่มขึ้นราว 10% ในทุกๆปี

นักฟิสิกส์ของศูนย์วิจัยธรณีศาสตร์แห่งเยอรมัน (German Research Center for Geosciences) Christopher Kyba ชี้แจงรายละเอียดจากงานวิจัยว่า หากแต่ก่อนเราอยู่ในบริเวณที่สามารถมองเห็นดาวได้ 250 ดวง เมื่อเวลาผ่านไป 18 ปีหรือเทียบเท่ากับเด็กคนหนึ่งเกิดมาจนเรียนจบมัธยมปลาย ในบริเวณเดียวกันจะมองเห็นดาวลดลงกว่า 100 ดวง

ยืนมองท้องฟ้าไม่เป็นเช่นเคย เมื่อมลภาวะทางแสง ทำให้เราเห็นดาวน้อยลง

ทีมวิจัยยังตั้งขอสังเกตว่ามลภาวะทางแสงที่เพิ่มขึ้น อาจเกิดจากการติดตั้งหลอดไฟ LED ในหลายเมือง ซึ่งให้ความสว่างที่มากกว่า และประหยัดพลังงานมากกว่าการใช้หลอดไส้แบบดั้งเดิม พร้อมเผยถึงความกังวลว่าหากมลพิษทางแสงเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ในอนาคตเราอาจไม่สามารถมองเห็นกลุ่มดาวนายพรานด้วยตาเปล่าอีกต่อไป

Fabio Falchi และ Salvador Bará สองนักวิจัยด้านมลภาวะทางแสงจากมหาวิทยาลัย Santiago de Compostela ในสเปน ให้ความเห็นในการศึกษาใหม่ที่ค้นพบนี้ว่า “เมื่อมองดูรูปภาพและวิดีโอของโลกตอนกลางคืนจากสถานีอวกาศนานาชาติ คนมักหลงไหลในความงามและระยิบระยับของแสงไฟในเมืองราวกับว่าพวกมันเป็นต้นคริสต์มาส โดยไม่ได้มองว่าสิ่งที่เห็นอยู่นี้เป็นมลภาวะ มันไม่ต่างอะไรจากการชื่นชมสายรุ้งที่เกิดจากน้ำมันเบนซินผสมกับน้ำ และไม่ได้ตระหนักเลยว่าสิ่งนั้นคือมลภาวะทางเคมี”

ยืนมองท้องฟ้าไม่เป็นเช่นเคย เมื่อมลภาวะทางแสง ทำให้เราเห็นดาวน้อยลง

ผลกระทบที่ไม่อาจเลี่ยงจากมลภาวะทางแสง

มลภาวะทางแสงไม่ได้ส่งผลแค่ทำให้การมองเห็นดาวของเราลดลงเท่านั้น แต่ยังส่งผลต่อวงจรชีวภาพของมนุษย์โดยรวมโดยเฉพาะอย่างยิ่งกับวิถีการนอน และวิถีของสัตว์หากินกลางคืน

เมื่อวงจรการนอนของมนุษย์ได้รับการรบกวน การหลั่งของเมลาโทนิน ซึ่งเป็นฮอร์โมนสำคัญที่สมองของเราสร้างขึ้นมาโดยธรรมชาติ เพื่อควบคุมการนอนก็จะลดลงตาม เมลาโทนินจะหลั่งได้ในสภาวะที่มีแสงน้อยเท่านั้น และแน่นอนว่าเมื่อมลภาวะทางแสงมีมากขึ้นก็เป็นตัวยับยั้งเมลาโทนินชั้นดี

วงจรการนอนของมนุษย์ที่ถูกรบกวนจากมลภาวะทางแสงจะส่งผลโดยตรงต่อทั้งทางด้านอารมณ์และร่างกาย ก่อให้เกิดภาวะภูมิคุ้มกันตก ความดันสูง วิตกกังวล หรือเครียดเรื้อรังที่อาจส่งผลในระยะยาว นอกจากนี้การศึกษายังพบว่าแสงสีฟ้าจากหน้าจอมือถือ คอมพิวเตอร์ และโทรทัศน์ยังส่งผลต่อการหลั่งของเมลาโทนินที่น้อยลง ซึ่งอาจก่อให้เกิดปัญหาสุขภาพอย่างโรคมะเร็งตามมา

ยืนมองท้องฟ้าไม่เป็นเช่นเคย เมื่อมลภาวะทางแสง ทำให้เราเห็นดาวน้อยลง

แสงไฟประดิษฐ์จากฝีมือมนุษย์ยังรบกวนวิถีชีวิตของสัตว์บางประเภท ทำให้พวกมันสับสนและกระทบต่อเวลาในการผสมพันธุ์ หรือผลัดหลงจากเส้นทางการอพยพ

ในปัจจุบันมีบางประเทศที่ได้ออกกฎหมายควบคุมปริมาณแสงที่มนุษย์สร้างขึ้น เพื่อทวงคืนท้องฟ้ายามค่ำคืนให้กลับมาสว่างไสวดังเดิม หลายบริษัทก็เริ่มคิดค้นและผลิตหลอดไฟที่สามารถลดมลภาวะทางแสง ควบคู่ไปกับการประหยัดพลังงาน ขณะที่ในภาคครัวเรือนอย่างเราๆ สามารถช่วยลดมลภาวะทางแสงได้โดยการเปิดหรือใช้ไฟเท่าที่จำเป็น