posttoday

INNOVATION OF SUSTAINABILITY เทคโนโลยีกับการพัฒนาสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน

24 ธันวาคม 2565

เวทีสัมมนา NEXT STEP THAILAND 2023 ทิศทางแห่งอนาคต ซึ่งมีการเปิดพื้นที่ให้กับบริษัทต่างๆได้ร่วมแสดงวิสัยทัศน์ โดยในช่วง INNOVATION OF SUSTAINABILITY บริษัทต่างๆแสดงถึงแนวคิดและการดำเนินงานจากการนำเทคโนโลยีมาใช้เพื่อกอบกู้สิ่งแวดล้อมไว้อย่างน่าสนใจ

          เวทีสัมมนา NEXT STEP THAILAND 2023 ทิศทางแห่งอนาคต ซึ่งมีการเปิดพื้นที่ให้กับบริษัทต่างๆได้ร่วมแสดงวิสัยทัศน์ โดยในช่วง INNOVATION OF SUSTAINABILITY เพื่อประเทศไทยยั่งยืน ด้านบริษัท โซจิรูชิ เอสอี เอเชีย คอร์ปอเรชั่น จำกัด, โรงพยาบาลเมดพาร์ค, ดีแทค และเอไอเอส ต่างแสดงถึงแนวคิดและการดำเนินงานที่ทางบริษัทได้ทำอยู่จากการนำเทคโนโลยีมาใช้เพื่อกอบกู้สิ่งแวดล้อมไว้อย่างน่าสนใจ ดังนี้

INNOVATION OF SUSTAINABILITY เทคโนโลยีกับการพัฒนาสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน

          คุณสมถวิล ปธานวนิช ที่ปรึกษาคณะจัดการ โรงพยาบาลเมดพาร์ค กล่าวว่า “เวลาเราพูดถึงสิ่งแวดล้อม เรามักจะพูดถึงทรัพยากรธรรมชาติ การประหยัดน้ำ ประหยัดไฟ การแยกจัดขยะ การรีไซเคิล แต่เราลืมคิดไปว่า มนุษย์ก็คือสิ่งแวดล้อม การที่เราเป็นโรงพยาบาลแล้วอยู่ใน Health Care เรามีหน้าที่ต้องดูแลคนอยู่แล้ว ทันทีที่เปิดโรงพยาบาลมาเราจึงสร้างโปรเจค Save Doctors, Save People, Save Thailand เพื่อดูแลทรัพยากรมนุษย์ นอกจากนี้เรายังมีเทคโนโลยีที่แม่นยำ ทำให้การวินิจฉัยรวดเร็ว เมื่อทุกอย่างเป็นไปอย่างรวดเร็ว คนไข้ลดวันนอนรักษาตัวในโรงพยาบาลไป 1 วัน จะลดขยะไปได้ 1.86 กิโลกรัม ลดน้ำประปาไปได้ 950 ลิตร ลดการเกิดน้ำเสียประมาณ 800 ลิตร ที่นี้ลองจินตนาการว่าในปีหนึ่งคนไข้ในโรงพยาบาลเรามีเป็นแสนๆคนที่เข้ามานอน เทคโนโลยีที่รวดเร็วจะช่วยเสริมในมิตินี้ ลดโลกร้อน แบบที่เราไม่เคยมองมาก่อน หลายคนถามว่าติดโซล่าร์เซลล์ไหม แยกขยะไหม ส่วนนั้นมันเบสิคมาก”

INNOVATION OF SUSTAINABILITY เทคโนโลยีกับการพัฒนาสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน

เมื่อถามถึงโครงการด้านความยั่งยืนของ AIS ว่ามีอะไรบ้าง คุณอราคิน รักษ์จิตตาโภค หัวหน้าฝ่ายขับเคลื่อนนวัตกรรม บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือ เอไอเอส กล่าวว่า “การซื้อโทรศัพท์มือถือบ่อยๆแล้วต้องทิ้ง  จริงๆแล้วภายในตัวเครื่องมีโลหะหนัก ขณะเดียวกันก็มีโลหะที่มีคุณค่าด้วย เมืองไทยเราปีหนึ่งผลิตขยะ e-waste ประมาณ 4 แสนตันต่อปี เราแก้ไขอย่างถูกต้องโดยการนำเข้าสู่ zero landfill ได้เพียง 7% เท่านั้นเอง แล้วใน 4 แสนตันไม่ได้มาจากภาคอุตสาหกรรมทั้งหมด

85% มาจากภาคครัวเรือน ทุกวันนี้พอมีขยะอิเล็กทรอนิกส์ขึ้นมาก็ส่งซาเล้ง ซาเล้งก็นำไปเผาเอาโลหะที่ต้องการ ที่เหลือก็ทิ้งลงน้ำหรือไม่ก็ฝัง สิ่งที่ทาง AIS ทำตั้งแต่ปี 2018 เราเก็บขยะพวกนี้ได้เกือบ 350,000 ชิ้น หลายๆคนอาจจะเคยเห็นถังขยะ e-waste ที่อยู่ตามห้างต่างๆ เราอยากสร้าง incentivise model ขึ้นมาให้มีอะไรที่มันตามรอยได้ (Traceable) มีคนที่จะมาควบคุมดูแลและก็มี incentivisation ให้เขา ดังนั้นระบบ blockchain ที่เราทำขึ้นมาจะมีการแบ่งสรรปันส่วนเรื่องของคาร์บอนฟุตพริ้นท์ที่ลดลงมาได้ ให้ทั้งผู้ทิ้งขยะและเก็บขยะ รวมถึงโลจิสติกแล้วก็โรงงานผู้ทำลายขยะด้วย นี่เป็นสิ่งที่เราค่อนข้างภูมิใจ”

INNOVATION OF SUSTAINABILITY เทคโนโลยีกับการพัฒนาสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน

 

ส่วนทาง DTAC คุณอรอุมา ฤกษ์พัฒนาพิพัฒน์ ผู้อำนวยการอาวุโสสายงานสื่อสารองค์กรและการพัฒนาที่ยั่งยืน บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด(มหาชน) หรือ ดีแทค ระบุว่า 

“หน้าที่เราโดยสรุป เราพยายามจะสร้าง resilience digital society เราพยายามตั้งคำถามว่าขณะที่เราถูก disrupt จากเทคโนโลยี ประเทศไทยเราเปราะบางตรงไหนแล้วเราก็นำสิ่งนั้นมาทำ เรามีการสำรวจผู้คนว่า 3-5 ปีจากนี้ คาดหวังว่าบริษัทโทรคมนาคมแล้วก็บริษัทด้านเทคโนโลยีเราจะช่วยเสริมแกร่งอย่างไรได้บ้าง ประเด็นที่คนค่อนข้างกังวลและคาดหวังอันดับแรกคือ Data Privacy ส่วนอีกประเด็นที่น่าสนใจคือคนคาดหวังให้เราต้อง contribute ในเรื่องของ climate แล้วก็ environment management หรือสภาพอากาศและการจัดการสิ่งแวดล้อม เราก็มีโปรแกรม ‘ทิ้งให้ดีมีแต่ได้’ ทิ้งขยะอิเล็กทรอนิกส์กับเรายังได้ร่วมชิงโชคเป็นโทรศัพท์เครื่องใหม่ก็ได้ หรือ voucher ต่างๆ ”

INNOVATION OF SUSTAINABILITY เทคโนโลยีกับการพัฒนาสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน

นอกจากความร่วมมือระดับมหภาคแล้ว ภาคครัวเรือนก็มีบทบบาทสำคัญในการช่วยดูแลสิ่งแวดล้อม คุณฮิโรยูกิ ยาซูดะ กรรมการผู้จัดการ บริษัท โซจิรูชิ เอสอี เอเชีย คอร์ปอเรชั่น จำกัด ซึ่งบริษัทผลิตภัณฑ์ขวดเก็บความร้อน/เย็น หรือ  tumbler แบบพกพาเพื่อลดการใช้พลาสติก กล่าวว่า “บริษัทมีจุดประสงค์ส่งเสริมการใช้แก้วเก็บความร้อน/เย็นไม่เฉพาะแค่นอกบ้านหรือที่ทำงานเท่านั้น ที่ญี่ปุ่นการใช้แก้วเก็บความร้อนยังถูกใช้ภายในบ้าน ยิ่งคนหันมาใช้แก้วชนิดนี้ที่สามารถใช้ซ้ำได้มากเท่าไหร่ ก็ยิ่งเป็นการช่วยลดการใช้พลาสติกและนำไปสู่ความยั่งยืน ส่วนทิศทางในอนาคตของบริษัท เราต้องสร้างความตระหนักถึงปัญหาสิ่งแวดล้อมให้กับผู้คน นอกจากนี้ทางบริษัทยังจะพัฒนาผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ต่างๆภายในบ้านให้มีส่วนในการรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมมากขึ้น”