posttoday

'วสันต์'ชี้ ขังทหารป่วยจิตเวชหนีราชการ ละเมิดสิทธิฯ

22 ธันวาคม 2565

กสม.ชี้สั่งขังทหารป่วยจิตเวชหนีราชการใช้วิธีปฎิบัติหมือนบุคคลทั่วไป เป็นการละเมิดสิทธิฯ แนะหน่วยงานเกี่ยวข้องเร่งแก้ปัญหากะเหรี่ยงบ้านบางกลอยเข้าถึงที่ทำกินและสั่งไม่ฟ้องข้อหาบุกรุกก่อนประกาศเขตอุทยาน

 

เมื่อวันที่ 22 ธันวาคม 2565 นายวสันต์ ภัยหลีกลี้ กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ และนายจุมพล ขุนอ่อน ผู้อำนวยการสานักคุ้มครองสิทธิมนุษยชน 1 แถลงข่าวเด่นประจำสัปดาห์ครั้งที่ 45/2565 มีวาระสำคัญดังนี้

1. กสม. ชี้กรณีกองพันทหารอากาศโยธิน กองบิน 56 จังหวัดสงขลา ลงโทษทหารซึ่งป่วยทางจิตเวชข้อหาหนีราชการด้วยวิธีการเช่นเดียวกับบุคคลทั่วไป เป็นการละเมิดสิทธิฯ

นายวสันต์ แถลงว่า ได้รับเรื่องร้องเรียนเมื่อเดือนสิงหาคม 2564 บุตรชายของผู้ร้องได้สมัครเป็นพลทหารกองประจำการ ประจาปี 2560 ผลัด 2 สังกัดกองพันทหารอากาศโยธิน กองบิน 56 จังหวัดสงขลา แต่หนีราชการ ม.ค.-พ.ย.2561 หลังกลับไปถูกจำขัง เจ้าหน้าที่ทหารกองพันทหารอากาศโยธิน กองบิน 56และนักโทษในเรือนจำทำร้ายร่างกายจนกลายเป็นคนพิการและสติฟั่นเฟือน ไม่ได้รับเยียวยาหรือชดเชยความเสียหาย ได้ตรวจสอบข้อเท็จจริงแล้วเห็นว่า 

ผู้เสียหายมีอาการทางจิตเวชก่อนจำขังถูกลงโทษแบบเดียวกับการลงโทษบุคคลทั่วไปที่กระทาผิดวินัยทหารไม่มีมาตรการรองรับสำหรับบุคคลผู้มีอาการทางจิตเวชแม้ว่าการดำเนินการจะเป็นการปฏิบัติหน้าที่ตามที่กฎหมายให้อำนาจไว้ แต่เป็นบทบัญญัติของกฎหมายที่ใช้กับบุคลทั่วไป หากเป็นบุคคลที่มีอาการทางจิตจะต้องปฏิบัติตามพระราชบัญญัติสุขภาพจิต พ.ศ. 2551 จึงเข้าข่ายเป็นการกระทำในลักษณะย่ำยีศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์มีลักษณะเป็นการทรมาน จึงเป็นการกระทำอันเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชน

แต่เมื่อพิจารณาประวัติการรักษาพยาบาลของผู้เสียหายประกอบกับข้อเท็จจริงไม่ปรากฏรายงานการบันทึกของแพทย์ชี้ได้ว่าผู้เสียหายถูกทำร้ายร่างกายจริงจึงไม่ปรากฏพยานหลักฐานเพียงพอที่แสดงได้ว่าเจ้าหน้าที่หน่วยงานต้นสังกัดได้ทำร้ายร่างกายผู้เสียหายตามที่กล่าวอ้าง แต่เห็นควรให้กองบิน 56 จังหวัดสงขลา เยียวยา ความเสียหายที่เกิดขึ้นและให้กระทรวงกลาโหมพิจารณาปรับปรุงแก้ไขกฎหมายหรือระเบียบที่เกี่ยวข้องกับการลงทัณฑ์ทหารในลักษณะที่เป็นการจำขังต่อทหารที่มีอาการทางจิตเวช ภายใน 90 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งรายงานผลการตรวจสอบ

2.กสม. แนะหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งแก้ปัญหากลุ่มชาติพันธุ์กะเหรี่ยงบ้านบางกลอยให้เข้าถึง ที่ทากินและร่วมใช้ประโยชน์ในทรัพยากรธรรมชาติ เสนอพิจารณาสั่งไม่ฟ้องชาวบ้านที่อาศัยอยู่ก่อนประกาศเขตอุทยาน

นายจุมพล ขุนอ่อน ผู้อำนวยการสำนักคุ้มครองสิทธิมนุษยชน 1 เปิดเผยว่า ตามที่กสม.เห็นชอบให้มีการศึกษาเพื่อจัดทำรายงานข้อเสนอแนะกรณีกลุ่มชาติพันธุ์กะเหรี่ยงบ้านบางกลอย อำเภอแก่งกระจาน จังหวัดเพชรบุรี ประกอบกับมีผู้ร้องเรียนว่ากลุ่มชาติพันธุ์กะเหรี่ยงบ้านบางกลอยได้รับความเดือดร้อนจากการดำเนินนโยบายของหน่วยงานภาครัฐและการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ของรัฐหลายกรณี เห็นควรให้มีมาตรการและข้อเสนอแนะต่อคณะรัฐมนตรีและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ดังนี้

1.ให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช เร่งรัดการสารวจการถือครองที่ดินและทรัพยากรธรรมชาติในพื้นที่อยู่อาศัยและทำกินของกลุ่มชาติพันธ์กะเหรี่ยงบ้านบางกลอย นอกจากนี้ ให้ร่วมกับสำนักงานตารวจแห่งชาติ ตรวจสอบข้อเท็จจริงกรณีการจับกุมและดาเนินคดี ในเหตุการณ์เมื่อวันที่ 5 มีนาคม 2564 มีการดำเนินการเป็นไปตามกฎหมายหรือหลักสิทธิมนุษยชนที่เกี่ยวข้องหรือไม่

2.ให้คณะรัฐมนตรีเร่งรัดพิจารณา ร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองและส่งเสริมวิถีชีวิตกลุ่มชาติพันธุ์ พ.ศ. .... มีผลบังคับใช้โดยเร็ว และควรจัดตั้งกลไกที่เป็นรูปธรรมเพื่อผลักดันพื้นที่คุ้มครองทางวัฒนธรรม- นอกจากนี้ ให้อัยการสูงสุดและอัยการจังหวัดเพชบุรี พิจารณาใช้ดุลพินิจในการสั่งไม่ฟ้องหรือถอนฟ้องในคดีอาญาที่กลุ่มชาติพันธุ์กะเหรี่ยงบ้านบางกลอยถูกดาเนินคดีอันสืบเนื่องจากเหตุการณ์จับกุมและควบคุมตัวเมื่อวันที่ 5 มีนาคม 2564 หากเห็นว่าเป็นการฟ้องคดีที่ไม่เป็นประโยชน์ต่อสาธารณะด้วย