posttoday

จับตา แจกเงินดิจิทัล 1 หมื่น กับ จังหวะไทม์ไลน์ อันตราย รัฐบาลเศรษฐา

19 พฤศจิกายน 2566

โครงการแจกเงินดิจิทัลวอลเล็ต 1 หมื่นบาท รัฐบาลเศรษฐา ทวีสิน เวอร์ชั่น ไม่ตรงปก ที่มาพร้อมการตรวจสอบในสภาฯ-นอกสภาฯ ยังไม่รู้จะออกมาหน้าไหน แต่ละช่วงเวลา จังหวะเดินบนไทม์ไลน์ ล้วนเป็นจุดสุ่มเสี่ยง อันตราย กลายเป็นจุดหักเหของโครงการดังกล่าว ได้ตลอดเวลา

โครงการแจกเงิน ดิจิทัลวอลเล็ต 10,000 บาท รัฐบาลเศรษฐา ทวีสิน และ พรรคเพื่อไทย หมายมั่นปั้นมือ จะต้องทำให้สำเร็จให้ได้ เดือนพฤษภาคม2567 ผู้มีสิทธิ จะต้องมี เงินหมื่น เข้าแอพเป๋าตัง จะต้องเกิด พายุหมุนทางเศรษฐกิจ เกิดการกระตุ้นเศรษฐกิจขนาดใหญ่ อย่างที่ รัฐบาลตั้งความหวังป


รัฐบาลเศรษฐา และ ทีมรัฐมนตรีพรรคเพื่อไทย ใส่เกียร์เดินหน้า แม้ขั้นตอน วิธีการดำเนินงาน จะถูกวิพากษ์วิจารณ์ทั้งในมุมมองความห่วงใยทาง เศรษฐกิจ ข้อกฎหมาย วินัยการเงินการคลัง รัฐบาลท่องคาถา ศึกษามาดีแล้ว มุ่งมั่นทำต่อ กลืนน้ำลาย หันมาเลือกใช้วิธีการ กู้เงิน โดยการออก ร่างพระราชบัญญัติ(พ.ร.บ.)กู้เงินกว่า 5 แสนล้าน สำหรับโครงการ และอีก 1 แสนล้านสำหรับ กองทุนเพิ่มขีดความสามารถ 


พลันที่เลือกวิธีการกู้เงิน เศรษฐาและพรรคเพื่อไทย ตกเป็นเป้าแห่งการ โจมตีจาก นักวิชาการ นักเศรษฐศาสตร์ นักตรวจสอบ นักการเมืองฝ่ายตรงข้าม นักร้องนักตรวจสอบ องค์กรอิสระหลายแห่ง ที่เตรียมรับลูก สอบสวน ไต่สวน หากมีการ ยื่นเรื่องให้เข้าให้ตรวจสอบ

จังหวะก้าวเดิน นับตั้งแต่ เศรษฐา ประกาศออกมาเดินหน้าต่อ พร้อมฉายภาพให้เห็นของโครงการ ตั้งแต่วันที่ 10พ.ย. มรสุม ต่างๆ ถาโถมเข้ามา มีด่านสำคัญ บททดสอบ แต่ละช่วงเวลา ของการดำเนินโครงการ 


รัฐบาล ส่งร่างพ.ร.บ.กู้เงิน ไปให้คณะกรรมการกฤษฎีกา ตีความ  

พฤศจิกายน- ธันวาคม66
คณะกรรมการกฤษฎีกา ทำความเห็น ส่งกลับมายังรัฐบาล ซึ่งน่าจะออกมาได้ทั้ง
เห็นด้วย กับ รัฐบาล
หรือท้วงติงทางข้อกฎหมาย ส่งผลให้ รัฐบาล ต้องนำมาปรับแก้

ธันวาคม 
ที่ประชุมครม. เห็นชอบ ส่งร่างพ.ร.บ.กู้เงิน ไปให้ สภาผู้แทนราษฎร พิจารณา

 

มกราคม 67 เป็นต้นไป 
เริ่มเข้าสู่วาระการพิจารณาของ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ทั้ง3วาระ 
มีเรื่องต้องจับตา เสียงสส.ส่วนใหญ่ จะโหวตออกมา ทิศทางใด พรรคร่วมรัฐบาลทุกพรรค ทุกเสียง จะโหวตไปในทิศทางเดียวกันหรือไม่
จากนั้นเข้าสู่ขั้นตอน ที่ประชุมวุฒิสภา(สว.) พิจารณาให้ความเห็นชอบ อีกครั้ง

หากที่ประชุมสภาฯ เสียงส่วนใหญ่ โหวตเห็นชอบ ร่างพ.ร.บ.กู้เงิน รัฐบาล ดำเนินการต่อ เดินหน้าแจกเงิน ตามที่ วางไทม์ไลน์

ในชั้นของที่ประชุมสภาฯ หากที่ประชุมสภาฯ เสียงส่วนใหญ่ ไม่เห็นชอบ และเนื่องจากเป็นร่างพ.ร.บ.เกี่ยวกับการเงิน นายกรัฐมนตรี ต้องรับผิดชอบ


พ.ค.67
เริ่มโครงการ 
 

ขณะที่ด่านการตรวจสอบ นอกสภาฯ จากองค์กรอิสระทั้งหลาย ที่จะเดินหน้าตรวจสอบอย่างแข็งขัน ควบคู่กันไป


ศรีสุวรรณ จรรยา ผู้นำองค์กรรักชาติ รักแผ่นดิน ยื่นคำร้องต่อ คณะกรรมการการเลือกตั้ง(กกต.) ให้ไต่สวนสอบสวนเอาผิด นายกฯ เศรษฐา และพรรคเพื่อไทย กรณีเคยหาเสียงก่อนการเลือกตั้งว่าจะไม่กู้เงินมาใช้ในนโยบายแ แต่กลับจะเสนอออก พ.ร.บ.กู้เงิน 5 แสนล้านบาทมาแจก อันถือได้ว่าเป็นการหลอกลวง หรือจูงใจให้เข้าใจผิดในคะแนนนิยมของผู้สมัคร หรือพรรคการเมืองตามกฎหมายเลือกตั้ง สส.หรือไม่

สำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) ตั้งคณะทำงานศึกษาความเสี่ยงและผลกระทบจากการดำเนินนโยบายการเติมเงิน 10,000 บาท 

คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ตั้งคณะกรรมการเพื่อศึกษาและดำเนินการรับฟังความเห็นเกี่ยวกับนโยบายรัฐบาล กรณีการเติมเงิน 10,000 บาท ผ่าน Digital Wallet มีหน้าที่และอำนาจในการรวบรวมและดำเนินการศึกษา วิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับนโยบายดิจิทัลวอลเล็อต เพื่อหาแนวทางป้องกันและแก้ไขปัญหาการทุจริต

ด่านการตรวจสอบอันเข้มข้น ไม่ว่าจะเป็น กกต. ป.ป.ช. โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ศาลรัฐธรรมนูญ ที่น่าจะมีการส่งเรื่องต่อไปให้ พิจารณาในขั้นสุดท้าย น่าจับตายิ่ง เพราะมีผลผูกพันธ์ไปทุกองค์กร และยังเห็นปลายทางผลกระทบที่จะเกิดกับ คณะบุคคล พรรคการเมือง รัฐบาล ที่ได้รับผลตามมาเป็นลูกโซ่ และมักจะออกมาให้เห็น ทิศทาง ในช่วง หัวเลี้ยวหัวต่อ รัฐสภาฯ กำลังพิจารณา ร่างพ.ร.บ.กู้เงิน 5 แสนล้าน  

เป็นเพียงการคาดการณ์ ไทมน์ไลน์ เบื้องต้น การดำเนินโครงการแจกเงินดิจิทัล 10,000 บาท ของรัฐบาลเศรษฐาและพรรคเพื่อไทย ที่ต้องเผชิญ ไม่เพียงแค่มีเรื่องให้ต้องลุ้น ไปตลอดทาง แต่ละจังหวะ แต่ละช่วงเวลา มีสิทธิที่โครงการจะ พลิกคว่ำ พลิกหงาย ได้ตลอดเวลาเช่นกัน