posttoday

ตั้งรัฐบาล66: 'อ.ปริญญา' เสนอวันนอร์นั่งประธานสภาฯยุติปมขัดแย้ง

25 พฤษภาคม 2566

"อ.ปริญญา" แนะก้าวไกล - เพื่อไทย ไม่ควรแตกกันเองต้องเจรจากันให้ได้ เสนอทางเลือก วันนอร์ จากพรรคอันดับ3 นั่งเก้าอี้ประธานสภาฯแทนเพื่อยุติปัญหาไม่ลงตัว

ผศ.ดร.ปริญญา เทวานฤมิตรกุล ผู้อำนวยการศูนย์นิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวถึงกรณีข้อถกเถีงตำแหน่งประธานสภาฯ ระหว่างพรรคก้าวไกลและพรรคเพื่อไทย ว่า เรื่องนี้ไม่เป็นประเด็นปัญหาอยู่ที่การเจรจาตกลงกันมากกว่า ซึ่งอยากให้เข้าใจกันว่าพรรคก้าวไกล คือพรรคอันดับหนึ่งที่ ชนะการเลือกตั้งและไปเชิญพรรคอื่นเข้าร่วม ซึ่งเป็นรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งของประชาชน  อย่าแตกแยกกันเพราะเรื่องการแบ่งงาน เพราะประชาชนผิดหวัง 
 

อย่างไรก็ตามต้องเข้าใจทั้งสองพรรคซึ่งในมุมของพรรคเพื่อไทยเมื่อพรรคก้าวไกลได้อำนาจ ฝ่ายบริหารแล้วพรรคเพื่อไทยก็อยากได้ฝ่ายนิติบัญญัติ แต่ในแง่ของพรรคก้าวไกลอาจจะไม่สบายใจ เพราะประธานผู้แทนราษฎรเป็นประธานรัฐสภาที่ทำหน้าที่คุมการประชุมเลือกนายกรัฐมนตรี ซึ่งอาจเป็นเพราะกระแสข่าวอย่างล่าสุดที่มีข่าวว่าพรรคพลังประชารัฐจะยุบพรรคตัวเองแล้วมาอยู่กับพรรคเพื่อไทย จนกลายเป็นพรรคอันดับหนึ่ง 
 

ส่วนตัวมองว่าหากพรรคเพื่อไทยกับพรรคก้าวไกลมี MOU เฉพาะที่จะจับมือกันเป็นพรรครัฐบาลและพรรคฝ่ายค้าน พรรคก้าวไกลอาจจะยอมให้ จึงควรหันหน้าเข้าหากันเพราะต่างฝ่ายต่างมีเหตุผล  และการเสนอมี MOU เฉพาะ อาจจะทำให้ความครางแคลงใจระหว่างกันลดลง ซึ่ง การเลือกตั้งครั้งนี้ถือเป็นชัยชนะของฝ่ายประชาธิปไตยคนจริงคาดหวังเห็นการเปลี่ยนแปลง ขอแยกแตกกันเพราะเรื่องนี้ 


ผศ.ดร.ปริญญา ย้ำว่า เรื่องนี้เป็นเรื่องที่ 2 พรรคต้องคุยกันให้ได้ ซึ่งทางเลือกมีหลายทาง คือ พรรคเพื่อไทยยอมให้ก้าวไกล หรือ ก้าวไกลยอมให้เพื่อไทย หรือ ให้พรรคอันดับอื่น เช่น พรรคอันดับสาม นายวัน มูฮัมหมัดนอร์ มะทา ขึ้นเป็นประธานสภา หากรัฐบาลที่ชนะอย่างขาดลอยตะไม่เกิดขึ้น เพราะตกลงกันไม่ได้เรื่องตำแหน่งประธานสภา ตนมองว่าเป็นเรื่องที่ไม่ควรเกิดขึ้น 


ส่วนข้อขัดแย้งต่างๆ ที่ออกมาขณะนี้จากพรรคแกนนำ อย่างก้าวไกล และ เพื่อไทย รวมถึง พรรคร่วมอย่างไทยสร้างไทยนั้น จะส่งผลต่อเสถียรภาพการตั้งรัฐบาลหรือไม่ส่วนตัวมองว่า 313 เสียงนั้นถือว่าเป็นรัฐบาลที่เข้มแข็งอย่างมาก แต่เนื่องจากเป็นรัฐบาลผสมถึง 8 พรรค อาจจะมีเรื่องระหองระแหงกันบ้างและเรื่องที่ผ่านมาส่วนใหญ่เป็นเรื่องของตัวบุคคลด้วย และเชื่อว่าหลักการที่ได้ลงนามร่วมกันเป็นเรื่องที่ใหญ่กว่า