posttoday

บาทแข็งทำเศรษฐกิจหดหอการค้ายันลดถึง0.7%

22 ตุลาคม 2553

หอการค้าระบุเงินบาทแข็งค่ากระทบจีดีพี 0.50.7% แต่คาดว่าจีดีพีปีนี้ยังโตอยู่ในกรอบ77.5% จากการส่งออกที่ยังขยายตัวอยู่ในระดับ 20%

หอการค้าระบุเงินบาทแข็งค่ากระทบจีดีพี 0.50.7% แต่คาดว่าจีดีพีปีนี้ยังโตอยู่ในกรอบ77.5% จากการส่งออกที่ยังขยายตัวอยู่ในระดับ 20%

นายธนวรรธน์ พลวิชัย ผู้อำนวยการศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เปิดเผยว่า ค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้นมาตั้งแต่ต้นปี มีผลกระทบต่ออัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจไทยแล้ว 0.5-0.7% ของการเติบโตทางเศรษฐกิจของไทย (จีดีพี) แต่ภาคการส่งออกที่ขยายตัวในอัตราสูง จึงคาดว่า ปีนี้เศรษฐกิจไทยจะขยายตัวได้ที่ 7-7.5% ตามที่คาดการณ์ไว้ แต่ใกล้เคียงกับ 7% มากกว่า 

ทั้งนี้ ในไตรมาส 4 หากปัญหาค่าเงินบาทแข็งค่ายังไม่ได้รับการแก้ไขอย่างรวดเร็ว จะเห็นภาพผู้ประกอบการแต่ละรายหยุดรับคนงานเพิ่ม ลดค่าทำงานล่วงเวลา (โอที) ปลดพนักงานออก และปิดโรงงานในที่สุด ดังนั้น ในปี 2554 พนักงานที่ยังมีงานทำจะไม่มีโบนัส และไม่ได้ขึ้นเงินเดือน จากปัจจัยดังกล่าว จึงทำให้คาดว่าในปีหน้าเศรษฐกิจไทยจะเติบโตได้ประมาณ 34% เท่านั้น แม้ธนาคารโลกจะคาดว่าเศรษฐกิจไทยปีหน้าจะโตได้ถึง 7.2%

“ค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้น แม้จะมีผลกระทบต่อภาคการส่งออกบ้างแล้วแต่ปีนี้ ยังเชื่อว่า จะเติบโตได้ 2025% เพราะผู้ส่งออกมียอดคำสั่งซื้อแล้วจนถึงสิ้นปี แต่รายได้จากการส่งออกเมื่อทอนเป็นเงินบาทลดลงมาก ทำให้ผู้ประกอบการส่งออกขาดสภาพคล่อง ซึ่งภาคธุรกิจเองน่าจะอยู่ได้อีกประมาณ 23 เดือน เท่านั้น หากปัญหายืดเยื้อธุรกิจจะเริ่มขาดทุน ยอดขายลด หยุดรับพนักงาน และปิดกิจการ” นายธนวรรธน์ กล่าวอย่างไรก็ตาม ยังต้องการให้รัฐบาล และธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ออกมาตรการเพิ่มเติมในการดูแลค่าเงินบาท เพราะมาตรการที่ออกไปก่อนหน้านี้ยังไม่เพียงพอที่จะชะลอการแข็งค่าของค่าเงินได้ แต่ต้องขอชมธปท.ที่สามารถทำให้ค่าเงินหยุดการแข็งค่าอยู่ที่ไม่เกิน 29.8 บาทต่อเหรียญสหรัฐฯ ส่วนการที่คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายนั้น ยังไม่ชัดเจนว่า จะมีผลชะลอการแข็งค่าของค่าเงินบาทหรือไม่ เพียงแต่เป็นแนวโน้มของเศรษฐกิจโลกที่ต้องคงอัตราดอกเบี้ย

นางยาใจ ชูวิชา ประธานโครงการสำรวจความคิดเห็นประเด็นธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย กล่าวถึงผลสำรวจทัศนะต่อปัจจัยเสี่ยงทางเศรษฐกิจที่มีผลกระทบต่อธุรกิจ ว่า ผลกระทบที่ได้รับจากปัญหาค่าเงินบาท ทำให้ยอดการส่งออกสินค้า ลดลง 14.4% ยอดการนำเข้าเพิ่มขึ้น 6.1% ต้นทุนการขนส่งสินค้า เพิ่มขึ้น 13.5% ต้นทุนการผลิต เพิ่มขึ้น 13.1% ยอดรับคำสั่งซื้อ ลดลง 9.5% สินค้าคงคลัง เพิ่มขึ้น 10.8% และกำไร ลดลง 18.9%

อย่างไรก็ตาม ผู้ประกอบการระบุว่า ระดับอัตราแลกเปลี่ยนที่ไม่กระทบต่อการส่งออกอยู่ที่ 32.4 บาทต่อเหรียญสหรัฐ ส่วนระดับอัตราแลกเปลี่ยนที่เหมาะสมในปีหน้าอยู่ที่ 31.9 บาทต่อเหรียญสหรัฐ ระดับอัตราแลกเปลี่ยนที่แข็งค่าที่สุดที่ยอมรับได้ในปีนี้อยู่ที่ 30.4 บาทต่อเหรียญฯ ระดับอัตราแลกเปลี่ยนที่แข็งค่าที่สุดที่ยอมรับได้ในปีหน้า 29.5 บาท/เหรียญฯ

อัตราดอกเบี้ยในปัจจุบัน ผู้ประกอบการส่วนใหญ่ 65.5% ระบุให้คงไว้เท่าเดิม ส่วน 20.7% ระบุให้ลดดอกเบี้ย และ 13.8% ให้เพิ่มขึ้น สำหรับอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ของธนาคารพาณิชย์ในปีนี้ควรอยู่ที่ 6% ต่อปี ส่วนปีหน้าอยู่ที่ 6.2% ขณะที่ดอกเบี้ยเงินกู้สูงสุดที่รับภาระได้ในปีนี้อยู่ที่ 6.2% ส่วนปีหน้าอยู่ที่ 6.7%    

ขณะที่ราคาน้ำมันดีเซล ที่ไม่กระทบต่อธุรกิจจะอยู่ที่ 26.81 บาท/ลิตร ส่วนระดับราคาสูงสุดที่สามารถแบกรับภาระต้นทุนได้อยู่ที่ 27.57 บาท/ลิตร ขณะที่ในปีหน้าระดับราคาที่ไม่กระทบต่อธุรกิจ 27.49 บาท/ลิตร และระดับราคาสูงสุดที่สามารถแบกรังภาระได้ในปีหน้า 27.62 บาท/ลิตร