posttoday

บทบาทของสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์ฯโดดเด่นในวงการบรรจุภัณฑ์

01 พฤษภาคม 2565

โดย...ศ.(วิจัย) ดร.ชุติมา เอี่ยมโชติชวลิต

*****************************

บทบาทของสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย(วว. )กับการเสริมแกร่งผู้ประกอบการไทยด้านบรรจุภัณฑ์ทั้งในปัจจุบันและอนาคต วว.โดยศูนย์การบรรจุหีบห่อไทย (ศบท.) ทำหน้าที่เป็นหน่วยงานกลางของชาติด้านการบรรจุภัณฑ์อย่างครบวงจร ครอบคลุมงานวิจัยและพัฒนาบรรจุภัณฑ์ที่ได้มาตรฐาน และบริการทดสอบและให้คำปรึกษา เพื่อช่วยรักษาคุณภาพสินค้า ลดความสูญเสียของสินค้าจากการใช้บรรจุภัณฑ์ที่ไม่ได้คุณภาพ และลดต้นทุนการผลิต ตลอดจนส่งเสริมให้ความรู้ด้านเทคโนโลยีการบรรจุภัณฑ์ให้แก่ผู้สนใจทั่วไป เพื่อยกระดับมาตรฐานการบรรจุภัณฑ์ของประเทศและเพิ่มศักยภาพในการส่งออก

ศ.(วิจัย) ดร.ชุติมา เอี่ยมโชติชวลิต ผู้ว่าการสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) ให้สัมภาษณ์ถึงภารกิจหน้าที่ของวว. ว่า มีความพร้อมให้ทั้งในด้านงานวิจัยและบริการด้านบรรจุภัณฑ์ เพื่อเสริมแกร่งผู้ประกอบการ ดังนี้

บทบาทของสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์ฯโดดเด่นในวงการบรรจุภัณฑ์

ด้านงานบริการ

- วว. ให้บริการทดสอบวัสดุบรรจุภัณฑ์ทางกายภาพ เช่น กระดาษ พลาสติก เป็นต้น นอกจากนี้ ยังทดสอบบรรจุภัณฑ์เพื่อการขายปลีกและบรรจุภัณฑ์เพื่อการขนส่ง เพื่อช่วยป้องกันความเสียหายให้กับสินค้า ตลอดจนส่งเสริมและสนับสนุนให้มีบรรจุภัณฑ์ที่ได้คุณภาพมาตรฐาน ด้วยห้องปฏิบัติการที่ได้รับรองมาตรฐานสากล นอกจากนี้ วว.ยังขึ้นทะเบียนเป็นหน่วยตรวจผลิตภัณฑ์ของสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) อีกด้วย

- วว. ให้บริการทดสอบวัสดุบรรจุภัณฑ์สัมผัสอาหาร (Food Contact Materials) เพื่อสร้างความมั่นใจในการเลือกใช้บรรจุภัณฑ์ที่ปลอดภัยในการสัมผัสอาหารที่สอดคล้องตามมาตรฐานสากล เช่น ประกาศกระทรวงสาธารณสุขฉบับที่ 295 EU directives และ US-FDA เป็นต้น- วว.ให้บริการทดสอบการสลายตัวทางชีวภาพของวัสดุ ได้แก่ พลาสติกสลายตัวได้ทางชีวภาพ ตามมาตรฐาน ISO 17088 ที่สอดคล้องกับ มอก. 17088, EN 13432 และ ASTM D64002) การสลายตัวทางชีวภาพเบื้องต้นของวัสดุทั่วไปในปุ๋ยหมักหรือน้ำทะเลสังเคราะห์ (In-house method) โดยเป็นห้องปฏิบัติการเดียวในประเทศไทยที่ให้บริการนี้ใช้หลักการตรวจวัดปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สะสมที่เกิดจากกิจกรรมการย่อยสลายของจุลินทรีย์ภายใต้สภาวะควบคุมในระดับห้องปฏิบัติการ เป็นวิธีการทดสอบที่รวดเร็ว แม่นยำและมีค่าใช้จ่ายน้อยกว่าการทดสอบตามมาตรฐานสากล เป็นประโยชน์ต่องานวิจัยและพัฒนาวัสดุรวมถึงบรรจุภัณฑ์ชีวภาพ

- วว.ให้บริการออกแบบฉลากและบรรจุภัณฑ์ เพื่อช่วยเพิ่มมูลค่าให้สินค้า แสดงตัว และช่วยส่งเสริมการขายสินค้า ส่งเสริมเอกลักษณ์และภาพลักษณ์ของผลิตภัณฑ์

- วว. ให้บริการวิจัยและที่ปรึกษาเพื่อเลือกใช้บรรจุภัณฑ์ที่เหมาะสมกับผลิตภัณฑ์ ตลอดจนให้บริการประเมินอายุการเก็บผลิตภัณฑ์อาหาร ให้สอดคล้องกับการวางจำหน่าย

- วว. ให้บริการส่งเสริมความรู้ด้านเทคโนโลยีบรรจุภัณฑ์ด้วยการจัดหลักสูตรสัมมนาและฝึกอบรมด้านบรรจุภัณฑ์ทั้ง public และ In-house training รองรับความต้องการของผู้ประกอบการและผู้สนใจทั้งในและต่างประเทศ

บทบาทของสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์ฯโดดเด่นในวงการบรรจุภัณฑ์

ด้านงานวิจัย

-วว. วิจัยบรรจุภัณฑ์เพื่อตอนสนองต่อความต้องการที่หลากหลายของตลาดบรรจุภัณฑ์และผู้บริโภค เช่น บรรจุภัณฑ์ฉลาด บรรจุภัณฑ์ที่ช่วยยืดอายุผลิตภัณฑ์ บรรจุภัณฑ์ที่ตอบสนองต่อความต้องการใช้งานพิเศษเฉพาะอย่าง (Functional packaging) เช่น บรรจุภัณฑ์กันช้ำสำหรับผลไม้สด บรรจุภัณฑ์สำหรับผู้สูงอายุ และบรรจุภัณฑ์เก็บกลิ่นสำหรับทุเรียนและอาหารที่มีกลิ่นแรง เป็นต้น

-วว. ยังได้วิจัยนำวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตร เช่น ใยมะพร้าว เปลือกข้าวโพด ใยกล้วย ผักตบชวา เป็นต้น เพื่อใช้เป็นวัตถุดิบในการขึ้นรูปกระถางเพาะชำที่สามารถย่อยสลายได้ และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ทดแทนการใช้กระถางเพาะชำจากพลาสติก

- นอกจากนี้ วว. ศึกษาวิจัยการใช้ประโยชน์จากขยะพลาสติกและของเหลือทิ้งจากภาคการเกษตร เพื่อผลิตเป็นเชื้อเพลิงขยะคุณภาพสูง (Refused Derive Fuels: RDF) สำหรับใช้ในภาคอุตสาหกรรม เพื่อลดการเผาไหม้ในที่โล่งแจ้ง ลดปัญหาฝุ่นและ PM 2.5 สร้างมูลค่าเพิ่มให้กับเชื้อเพลิงขยะถึง 15 เท่า

2. Background and objective of IAPRI Bangkok 2022, 23rdWorld Packaging ConferenceI

APRI (ไอ-อา-พรี่ หรือ ไอ-อา-พริ) International Association of Packaging Research InstitutesIAPRI เป็นหน่วยงานกลางที่เกิดจากการพบปะหารือร่วมกันจากหน่วยงานวิจัยด้านบรรจุภัณฑ์จากหลายประเทศในยุโรปและประเทศสหรัฐอเมริกา โดยเป็นการแลกเปลี่ยนข้อมูลงานวิจัย ตลอดจนการทดสอบและมาตรฐานที่เกี่ยวข้องนับตั้งแต่ปี ค.ศ. 1960 จนกระทั่งจัดตั้งเป็นองค์กรระหว่างประเทศที่ไม่แสวงหากำไร เพื่อส่งเสริมการวิจัยและการศึกษาด้านบรรจุภัณฑ์ขึ้นในปี ค.ศ.1971 และเป็นองค์กรเก่าแก่ที่มีเอกลักษณ์ที่มีการทำงานเฉพาะสาขา มีเครือข่ายทั่วโลก เพื่อความร่วมมือในการสื่อสาร สร้างเครือข่าย แลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ ตลอดจนลดความซ้ำซ้อนในการดำเนินงานร่วมกัน มุ่งแก้ไขปัญหาด้านบรรจุภัณฑ์ ปัจจุบัน IAPRI มีสมาชิกกว่า 90 องค์กรใน 29 ประเทศ

ด้วยเล็งเห็นความสำคัญว่า การเป็นสมาชิกของ IAPRI ของหน่วยงานในประเทศไทยจะช่วยให้แวดวงวิชาการด้านบรรจุภัณฑ์ของไทยได้รับประโยชน์จากการแลกเปลี่ยนข้อมูลและประสบการณ์จากการทำงานของหน่วยงานชั้นนำด้านบรรจุภัณฑ์ทั่วโลกในการแลกเปลี่ยนข้อมูลซึ่งกันและกัน ดังนั้น วว. โดยศูนย์การบรรจุหีบ-ห่อไทยจึงเข้าร่วมเป็นสมาชิก IAPRI ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2536 โดยนับเป็นสมาชิกรายแรกจากประเทศไทย

ศ.(วิจัย) ดร.ชุติมา กล่าวว่า การประชุมวิชาการระดับนานาชาตินับเป็นกิจกรรมสำคัญของ IAPRI ซึ่งมีการหมุนเวียนจัดขึ้นในประเทศที่เป็นสมาชิกทุกปี เพราะเวทีของการประชุมแต่ละครั้งจะมีการนำหัวข้อที่อยู่ในความสนใจ ปัญหา แนวโน้มที่สำคัญมานำเสนอผลงานวิจัย การบรรยาย การแลกเปลี่ยนประสบการณ์ และการถกเถียงในการประชุมวิชาการ ช่วยให้ผู้เข้าร่วมประชุมได้รับข้อคิดเห็นที่มีความหลากหลายจากผู้เชี่ยวชาญ นักวิจัย และผู้เกี่ยวข้องจากทั่วโลก หรือเป็นการสร้างโอกาสในการจัดทำโครงการความร่วมมือระหว่างสมาชิกในการทำงานวิจัย ช่วยลดความซ้ำซ้อน หรือแบ่งปันการใช้ทรัพยากร อุปกรณ์และครุภัณฑ์ในการวิจัยและวิเคราะห์ทดสอบ

บทบาทของสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์ฯโดดเด่นในวงการบรรจุภัณฑ์

3. ความสำคัญและวัตถุประสงค์ในการนำงานนี้เข้ามาที่ประเทศไทย

ความสำคัญ/ประโยชน์ของงานวิจัยและเทคโนโลยีระดับโลกที่จัดขึ้นในประเทศไทย

เนื่องจากสมาชิก IAPRI ส่วนใหญ่อยู่ในยุโรปและอเมริกา ดังนั้นการประชุมวิชาการระดับนานาชาติทั้ง Symposium และ Conference ที่ผ่านมาจะจัดในแถบยุโรปและอเมริกาเป็นหลัก ทำให้มีค่าใช้จ่ายสูงในการเข้าร่วมประชุมทั้งค่าเดินทาง ที่พัก และค่าลงทะเบียน ส่งผลให้เป็นอุปสรรคและขาดโอกาสให้กับนักวิจัยและผู้เกี่ยวข้องในวงการบรรจุภัณฑ์ของไทยเป็นอย่างมาก ในขณะที่ผู้จัดการประชุมจะต้องเป็นสมาชิก IAPRI เท่านั้น

วว. ในฐานะหน่วยงานกลางด้านการบรรจุภัณฑ์ของประเทศ นอกจากการเสริมแกร่ง SMEs และภาคอุตสาหกรรมแล้ว ยังต้องการส่งเสริมความเข้มแข็งทางด้านวิชาการและงานวิจัยด้านเทคโนโลยีบรรจุภัณฑ์ของประเทศ ดังนั้นการนำงานนี้เข้ามาในเมืองไทย ก็มุ่งหวังเพื่อให้เป็นเวทีให้นักวิชาการ นักวิจัย / คณาจารย์ ผู้ประกอบการ และผู้เกี่ยวข้อง ได้อัพเดตแนวโน้ม เทคโนโลยีบรรจุภัณฑ์ แลกเปลี่ยนความรู้ สร้างเครือข่ายด้านบรรจุภัณฑ์ เพื่อพัฒนาวงการบรรจุภัณฑ์และต้นน้ำที่เกี่ยวข้องร่วมกัน

ในขณะเดียวกันในการประชุมยังได้รับเกียรติจากวิทยากร ผู้เชี่ยวชาญด้านบรรจุภัณฑ์ที่มีชื่อเสียง ตลอดจนผู้แทนจากหน่วยงานบรรจุภัณฑ์ทั่วโลก จึงเป็นการเปิดโอกาสให้กับนักวิจัยไทย ผู้ประกอบการ ผู้บริโภค และผู้สนใจ ได้พบปะและแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ แนวคิด เทคโนโลยีที่ก้าวหน้าไปอย่างรวดเร็ว แนวโน้มของท้องตลาด อีกทั้งยังเป็นโอกาสอันดีจะเกิดการแลกเปลี่ยนแนวคิดและมุมมองของคนที่มาจากต่างที่ต่างถิ่น มีทรัพยากรและข้อจำกัดต่างกัน อันจะช่วยให้เกิดการแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นและโอกาสในการพัฒนาทั้งผลิตภัณฑ์ งานวิจัย องค์ความรู้ ตลอดถึงความร่วมมือกันต่อไป

บทบาทความสำคัญของงาน IAPRI ที่มีผลกระทบต่อประเทศไทย/ผู้ประกอบการ

การจัดงาน IAPRI ในประเทศไทยครั้งนี้ ถือเป็นโอกาสอันดีของประเทศไทยแสดงศักยภาพของหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน สถาบันการศึกษา และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ในเวทีระดับนานาชาติ ทุกฝ่ายต่างร่วมมือกันอย่างเต็มความสามารถ เพื่อแสดงความพร้อมของประเทศไทยในด้านองค์ความรู้และเทคโนโลยีด้านบรรจุภัณฑ์ของประเทศไทย ให้เห็นเป็นที่ประจักษ์บนเวทีระดับโลก

ประโยชน์ที่ประเทศไทยและผู้ประกอบการจะได้รับ คือ ข้อมูลที่ได้รับจากการจัดประชุมทางวิชาการครั้งนี้ส่วนหนึ่งอาจนำไปปรับปรุงพัฒนาผลิตภัณฑ์ กระบวนการ หรือวิธีทดสอบที่มีความสอดคล้องกับสภาพความเป็นจริง ช่วยให้ผู้ประกอบการที่จะนำบรรจุภัณฑ์ไปใช้สามารถรับประโยชน์ทั้งในแง่การลดต้นทุน ลดความสูญเสียต่าง ๆ ปรับปรุงประสิทธิภาพของการทำงาน ตลอดจนการสร้างผลตอบแทนจากงานวิจัยใหม่ที่จะต่อยอดไปในเชิงพาณิชย์

บทบาทของสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์ฯโดดเด่นในวงการบรรจุภัณฑ์

การที่ได้รับความไว้วางใจในคราวนี้ในการจัดประชุมนานาชาติ

ประเทศไทยมีโอกาสจัดประชุม IAPRI ครั้งล่าสุดเมื่อปี ค.ศ. 2008 (พ.ศ. 2551) เป็นเวลากว่า 14 ปี ที่สมาชิกหรือผู้แทนจากองค์กรที่เกี่ยวข้องกับงานวิชาการด้านบรรจุภัณฑ์จากทั่วโลก จะได้กลับมาเยือนประเทศไทยอีกครั้ง เปิดโอกาสให้ผู้เข้าร่วมจากประเทศไทย ตลอดจนเพื่อนบ้านในอาเซียน และเอเชียได้มีโอกาสพบปะแลกเปลี่ยน เรียนรู้ประสบการณ์ ความเคลื่อนไหวด้านแวดวงบรรจุภัณฑ์กับผู้เชี่ยวชาญทั่วโลก

ประสบการณ์ที่ได้ไปร่วมงาน IAPRI ความเชื่อมโยงที่ประเทศไทยจะได้รับจากงานนี้

จากประสบการณ์ที่ได้ร่วมงาน IAPRI หลายๆ ครั้งที่ผ่านมา ในฐานะผู้บริหารและนักวิจัย คิดว่า สิ่งที่นำเสนอในการจัดงานในแต่ละปี เจ้าภาพแต่ละประเทศที่จัดงานล้วนเชิญและคัดสรรหัวข้อที่เป็นประโยชน์ในด้านบรรจุภัณฑ์ ณ ขณะนั้น และต่างนำเสนอเทรนด์ที่จะเกิดขึ้นในปีถัดไป ทำให้ผู้เข้าร่วมได้รับแนวคิดและจุดประกายด้านงานวิจัยใหม่ๆ ได้เป็นอย่างดี และเป็นที่น่ายินดีเป็นอย่างยิ่งที่ในปี 2022 นี้ประเทศไทยได้รับมอบหมายให้เป็นเจ้าภาพ และเป็นการสร้างโอกาสในการเรียนรู้และแลกเปลี่ยนประสบการณ์ จากผู้เชี่ยวชาญจากทั้งต่างประเทศและในประเทศ ที่พร้อมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ในด้านการวิจัย แนวโน้มและทิศทางความต้องการบรรจุภัณฑ์ในตลาดโลก อีกทั้งยังจะได้ทราบถึงทิศทางและเทรนด์ ในด้านรูปแบบและการออกแบบบรรจุภัณฑ์ กระแสและความนิยมในตลาดสากล เป็นต้น

ในขณะที่ภายหลังสถานการณ์โควิด-19 มีข้อจำกัดมากมายในแวดวงวิชาการ เช่น ข้อจำกัดในการเรียนการสอนออนไลน์ ข้อจำกัดด้านงานวิจัย เป็นต้น การจัดประชุมวิชาการในครั้งนี้จะช่วยสร้างความมั่นใจในการเดินทางเข้าประเทศไทย ภายหลังเปิดประเทศ และเป็นการแสดงให้เห็นว่า ประเทศไทยนั้นมีศักยภาพและความพร้อมของนักวิจัยในการพัฒนาบรรจุภัณฑ์ และยังเป็นศูนย์กลางในการผลิตวัตถุดิบและส่งออกบรรจุภัณฑ์อีกด้วย

ข้อดี จุดเด่น จากการนำงานนี้จัดแสดงที่ไทย ในมุมมองของนักวิจัย องค์กรภาครัฐและเอกชน

เป็นกิจกรรมประเทศไทยจะได้แสดงศักยภาพในด้านเทคโนโลยีบรรจุภัณฑ์ของประเทศไทย สู่ระดับเวทีนานาชาติ โดยถือเป็นการเปิดมุมมองและโอกาสให้กับผู้ประกอบการและนักวิจัย รวมทั้งผู้ที่สนใจของไทย ในการพบปะเรียนรู้ทางด้านบรรจุภัณฑ์จากองค์กรและนักวิจัยนานาชาติ ซึ่งเป็นโอกาสที่หาได้ไม่ง่ายนักที่จะมีการจัดงานที่รวมเอาข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับบรรจุภัณฑ์ในแทบทุกด้าน และงานวิจัยรวมทั้งเทคโนโลยีและนวัตกรรมด้านบรรจุภัณฑ์ใหม่ๆมารวมไว้ในงานเดียวเช่นนี้นอกจากนี้ยังเป็นการพบปะ สร้างความสัมพันธ์ และสร้างเครือข่ายความร่วมมือกับหน่วยงานด้านบรรจุภัณฑ์จากประเทศต่างๆ อีกด้วย

ความเชื่อมั่นในการจัดงาน และการกลับมาของ IAPRI ที่ประเทศไทย จากครั้งล่าสุดเมื่อปี 2008

ประเทศไทยมีโอกาสเป็นเจ้าภาพภายใต้สภาวะวิกฤตของสถานการณ์โควิด-19 ปีนี้จึงมีการจัดงานแบบไฮบริดเปิดโอกาสให้ผู้ร่วมประชุมมีทางเลือกในการร่วมงานภายใต้ข้อจำกัดของการเดินทางและความเสี่ยงของการประชุมของคนกลุ่มใหญ่ เพื่อรักษาโอกาสในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ สื่อสารข้อมูลซึ่งกันและกัน

บทบาทของสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์ฯโดดเด่นในวงการบรรจุภัณฑ์

ทำไมถึงไม่ควรพลาด....?

-โอกาสในการอัพเดตและเกาะติด trends งานวิจัยเทคโนโลยีและนวัตกรรมบรรจุภัณฑ์ ครอบคลุม 9 สาขา ประกอบด้วย ได้แก่ Packaging materials , Active & intelligent packaging, Distribution and transport packaging, Logistics & supply chain, Medical, cosmetic & pharmaceutical packaging, Packaging Design, ergonomics & human factors, Packaging for food & agriculture, Packaging for hazardous & dangerous goods, Packaging sustainability อันเป็นโอกาสที่นักวิจัยไทยที่อยู่ทั้งในสถาบันการศึกษา บริษัทผู้ผลิตบรรจุภัณฑ์ ผู้ประกอบการที่เกี่ยวข้องจะได้ความรู้รอบด้านที่เกี่ยวกับบรรจุภัณฑ์จากนักวิจัยจากประเทศต่างๆ กว่า 18 ประเทศ ทั้งในโซนยุโรป อเมริกา และเอเชีย เพื่อนำไปปรับใช้ในงานหรือธุรกิจของตัวเอง หรือเกิดแนวคิดต่อยอดให้เกิดธุรกิจใหม่ต่อไป

-โอกาสสำหรับนักวิจัยจากองค์กรภาครัฐ เอกชนและกลุ่มบริษัทที่ต้องการใช้และพัฒนา บรรจุภัณฑ์ ได้มีโอกาสเข้าฟังในเรื่องที่สนใจเพื่อเพิ่มพูนความรู้ใหม่ๆ หรือต่อยอดความคิด เพื่อเป็นแนวทางทางการศึกษาวิจัยและการพัฒนานวัตกรรมใหม่ๆ

-โอกาสในการอัพเดตมาตรฐานและวิธีการทดสอบใหม่ๆ จากผู้เชี่ยวชาญ คณะทำงานและหน่วยงานด้านมาตรฐานบรรจุภัณฑ์

-โอกาสในการสื่อสาร พบปะแลกเปลี่ยนและสร้างเครือข่ายกับวิทยากร ผู้เชี่ยวชาญ นักวิจัย ผู้แทนและผู้เกี่ยวข้องจากหน่วยงานด้านการบรรจุภัณฑ์ชั้นนำทั่วโลกมากกว่า 100 หน่วยงาน

ความน่าสนใจของ IAPRI Conference 2022

พบกับการบรรยายพิเศษโดยวิทยากรผู้เชี่ยวชาญ ที่เป็นที่รู้จักและยอมรับในระดับโลก ในสาขาที่อยู่ในกระแสเป็นที่สนใจอย่างสูงในปัจจุบัน สอดคล้องตามธีมงาน ในการสร้างความอยู่รอดและสังคมที่ยั่งยืน (Survival & Sustainability)

1. Trends and Innovation on Sustainable Packaging บรรยายโดย Prof. Pierre Pienaar, President ของ World Packaging Organization ซึ่งมีความเชี่ยวชาญและผลักดันด้าน Sustainable Packaging ทั่วโลกมาอย่างต่อเนื่อง มีโครงการร่วมกับสหประชาชาติ และอื่น ๆ เพื่อเพื่อลดปัญหาขยะบรรจุภัณฑ์ อันจะนำไปสู่การแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อมจากบรรจุภัณฑ์และสร้างสังคมอย่างยั่งยืน ผ่านการนำเสนอเทคโนโลยีและนวัตกรรมใหม่ๆ ที่แต่ละประเทศนำมา implement

2. Impact of Chain of Custody on Packaging Verification and Traceability โดย Mr. Kaneko จาก Japan Packaging Institute ประเทศญี่ปุ่น Mr. Takehiro Kaneko เป็นผู้เชี่ยวชาญในคณะทำงานวิชาการในการร่างมาตรฐานของ International Standard Organization (ISO) ในสาขาบรรจุภัณฑ์ จึงนับเป็นเป็นโอกาสอันดี ที่ท่านจะมาแชร์มุมมองและอัพเดตมาตรฐานตลอดจนปัญหาที่เกี่ยวข้องในการยกระดับบรรจุภัณฑ์ให้ได้มาตรฐาน

3. Impact of Consumer Trends on the Global Packaging Industry จาก Prof. Dr. Jay Singh. Packaging Programme Director และ President IAPRI มีประสบการณ์และมีลูกศิษย์และเครือข่ายในวงการบรรจุภัณฑ์ในประเทศสหรัฐอเมริกามาเกือบ 20 ปี ทั้งบรรจุภัณฑ์เพื่อการขายปลีก และบรรจุภัณฑ์เพื่อการขนส่ง ตลอดจนมาตรฐานและวิธีการทดสอบบรรจุภัณฑ์ เนื้อหาที่จะนำมาแลกเปลี่ยนจึงน่าจะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อผู้ประกอบการไทยที่ต้องการส่งออกผลิตภัณฑ์ไปจำหน่ายในต่างประเทศ

4. The Future of Fruit & Vegetable Packaging โดย Prof. Dr. Randy M. Beandry มีความเชี่ยวชาญและเป็นที่รู้จักในระดับแนวหน้า ด้านการยืดอายุผักและผลไม้สดทั้งการใช้เทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยวและเทคโนโลยีบรรจุภัณฑ์ ที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้กับทั้งผักและผลไม้เมืองหนาวและเมืองร้อน ตลอดจธัญพืชต่างๆ ที่มีการนำไปส่งเสริมให้เกิดการใช้จริง ทั้งยังเป็นบรรณาธิการวารสารที่ได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวาง ผู้เข้าร่วมสัมมนาจะได้ประโยชน์เป็นอย่างยิ่งจากทั้งความรอบรู้ด้านวิชาการ และเครือข่ายในพัฒนาบรรจุภัณฑ์ผักและผลไม้สด

นอกจากนี้ ยังมีการเชิญผู้เชี่ยวชาญจากทั้งหน่วยงานวิจัยและผู้ประกอบการมาร่วมแลกเปลี่ยนและเสวนาในประเด็นที่น่าสนใจอีก 3 เรื่อง เพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลทั้งในด้านเทคโนโลยี, นวัตกรรม, มาตรฐาน และวิธีทดสอบใหม่ๆ ประกอบด้วย

1. “Biodegradable & Compostable: Research, Development, Standard and Testing” เพื่อแลกเปลี่ยนในด้านเทคโนโลยี, นวัตกรรม, มาตรฐาน และวิธีทดสอบใหม่ๆ เพื่อสร้างความเข้าใจและส่งเสริมการใช้พลาสติกย่อยสลายได้

2. “Global Packaging Trends in Post – Covid Era” อัพเดทแนวโน้มบรรจุภัณฑ์โลกหลังโควิด โดยผู้แทนจาก World Packaging Organization จากทุกภาคส่วนของโลก เช่น Ms. Neriada Kelton จาก Australia Institute of Packaging, Ms.Hiroko Akeda จาก Japan Packaging Institute, Mr. Chavarntiจาก India และ Prof. Ingo Buren จาก Germany นอกจากนี้ Ms. Neriada Kelton จะนำเสนอผลการสำรวจของ WPO ที่เพิ่งแล้วเสร็จเป็นครั้งแรกอีกด้วย

3. “Active & Intelligent Packaging from Research to Market” พบกับ Advance Technology ด้านบรรจุภัณฑ์แอคทีฟและบรรจุภัณฑ์อัจฉริยะที่ได้รับการพัฒนาสู่ตลาด เพื่อยืดอายุผลิตผลสดหรือผลิตภัณฑ์อาหาร และบรรจุภัณฑ์ฉลาดที่สื่อสารข้อมูลกับผู้บริโภค โดยนักวิจัย ผู้ผลิตบรรจุภัณฑ์/จำหน่ายบรรจุภัณฑ์ชั้นนำของโลก เช่น ถุง Hermetic bag ที่ช่วยยืดอายุผักและผลไม้สด เป็นต้น

ในขณะเดียวกันภายในงานยังมีการจัดบูธนิทรรศการ เผยแพร่ข้อมูลวิชาการ ผลงานวิจัยและพัฒนาบรรจุภัณฑ์จากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งจากภาครัฐและเอกชนอีกด้วย

บทบาทของสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์ฯโดดเด่นในวงการบรรจุภัณฑ์

กำหนดวันเวลาและสถานที่การจัดงาน

ระหว่างวันที่ 12-15 มิถุนายน 2565 ที่ห้องภิรัชฮอล์ 3 ไบเทค บางนา (Bhiraj Hall 3, Bangkok International Trade & Exhibition Centre (BITEC)

อัตราค่าลงทะเบียน มีอัตราพิเศษสำหรับคนไทย

The 23rd IAPRI World Conference on Packaging 2022 ภายใต้ Theme “Survival & Sustainability” พบกับการประชุมวิชาการนานาชาติที่ถูกนำกลับมาจัดที่ประเทศไทยอีกเป็นครั้งที่ 2 นาน 14 ปี หลังจากปี 2008 ไม่ต้องเสียเวลาและค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปร่วมงานในยุโรปหรืออเมริกา

4. ทิ้งท้าย สิ่งที่อยากจะบอก…Dr. Chutima– TISTR - host perspectiveเชิญชวนให้ผู้ที่สนใจ นักวิจัย นักพัฒนาผู้ประกอบการ มาร่วมงาน (งานนี้เป็นงานระดับโลก)

ในโอกาสที่ประเทศไทย โดย วว. ได้รับมอบหมายให้เป็นเจ้าภาพในการจัดงาน IAPRI Bangkok 2022, World Packaging Conference ซึ่งเป็นงานวิชาการระดับโลกด้านบรรจุภัณฑ์ ...ขอเชิญชวนนักวิจัย นักพัฒนา ผู้ประกอบการ และผู้สนใจ ซึ่งจะจัดงานระดับโลกนี้ จะจัดขึ้นระหว่างวันที่ 12-15 มิถุนายน 2565 ณ ไบเทค บางนา มาร่วมพูดคุยและแลกเปลี่ยนความรู้ รวมถึงเทรนด์ด้านบรรจุภัณฑ์ทั้งในปัจจุบันและอนาคต อันจะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อการพัฒนาเทคโนโลยีด้านบรรจุภัณฑ์ของไทยและของโลกต่อไป

Dr. Pattra – TPC - packaging expert perspective

เชิญชวนให้องค์กรที่ต้องการเผยแพร่ผลงาน เปิดตลาด ร่วมสนับสนุนการจัดงาน (ไม่ให้เสียโอกาสที่งานนี้มาไทย)ในนามของคณะผู้จัดงานขอเชิญชวนองค์กรต่างๆ หรือผู้ประกอบการด้านบรรจุภัณฑ์และที่เกี่ยวข้อง มาร่วมเผยแพร่ผลงานและร่วมสนับสนุนการจัดงานฯ ระดับโลกในครั้งนี้ มาเป็นเจ้าภาพร่วมกับเราเพื่อต่อยอดงานด้านวิชาการและเปิดตลาดใหม่ๆ ไปยังประเทศสมาชิก และเชิญชวนคนไทยมาร่วมต้อนรับและเป็นเจ้าภาพที่ดีต้อนรับผู้เข้าร่วมสัมมนาจากประเทศต่างๆ ทั่วโลก ถือเป็นการอีกงานหนึ่งที่จะช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศไทยแต่อย่างไรก็ตาม การประชุมและแลกเปลี่ยงองค์ความรู้แบบได้พบปะกัน ย่อมเกิดประสิทธิผลมากที่สุด โดยเฉพาะคนที่อยู่ประเทศไทยทั้งนี้ทาง วว. มีมาตรการการจัดงานเพื่อความปลอดภัยของผู้เข้าร่วมประชุมตามหลักการ กรมอนามัย และสถานที่ เช่น DMHTTและ SHA/SHA+ และสอดคล้องกับนโยบายการเปิดประเทศของรัฐบาล

Note:

DMHTT-

D: Distancing คือการเว้นระยะห่างกับคนอื่นอย่างน้อย 1-2 เมตร เพราะละอองฝอยจากการพูด ไอ จาม จะฟุ้งมากในระยะ 1-2 เมตร

M: Mask Wearing คือการสวมหน้ากากผ้า หรือหน้ากากอนามัยเพื่อลดการฟุ้งกระจายของละอองฝอยโดยประชาชนทั่วไปสามารถสวมหน้ากากผ้าได้ตลอด เพราะยิ่งซักบ่อยก็จะยิ่งมีประสิทธิภาพในการกรองเชื้อที่ดี

H: Hand Washing คือการหมั่นล้างมือบ่อยๆ ทั้งน้ำสบู่ และเจลแอลกอฮอล์ฆ่าเชื้อ เพราะมีโอกาสที่เราจะนำมามาสัมผัสใบหน้าโดยไม่รู้ตัวได้

T: Testing คือตรวจวัดอุณหภูมิร่างกายสม่ำเสมอ ทั้งก่อนเข้าทำงาน ร้านสะดวกซื้อ และหากทราบว่ามีประวัติ ไปพื้นที่เสี่ยง ควรเข้ารับการตรวจโควิด-19- T : Thai Cha Na สแกนไทยชนะก่อนเข้า-ออกสถานที่สาธารณะทุกครั้ง เพื่อให้มีข้อมูลในการประสานงานได้ง่ายขึ้น

บทบาทของสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์ฯโดดเด่นในวงการบรรจุภัณฑ์