posttoday

แล้งวิกฤต-เขื่อนแห้ง-ชาวนาระทมทุกข์

09 มิถุนายน 2553

แม้ว่าขณะเริ่มเข้าสู่หน้าฝนแล้วแต่ปัญหาความเดือดร้อนของพี่น้องเกษตรกรวันนี้คงหนี้ไม่พ้นปัญหาภัยแล้งยังคงทวีความรุนแรงขึ้นทุกขณะ

แม้ว่าขณะเริ่มเข้าสู่หน้าฝนแล้วแต่ปัญหาความเดือดร้อนของพี่น้องเกษตรกรวันนี้คงหนี้ไม่พ้นปัญหาภัยแล้งยังคงทวีความรุนแรงขึ้นทุกขณะ

โดย...ทีมข่าวภูมิภาค
 
แม้ว่าขณะเริ่มเข้าสู่หน้าฝนแล้วแต่ปัญหาความเดือดร้อนของพี่น้องเกษตรกรวันนี้คงหนี้ไม่พ้นปัญหาภัยแล้งยังคงทวีความรุนแรงขึ้นทุกขณะ เนื่องปริมาณน้ำฝนที่ตกลงมายังน้อยมาก จนทำให้น้ำในเขื่อนใหญ่หลายแห่งอยู่ในช่วงวิกฤติมาก เช่น เชื่อนอุบลรัตน์ เขื่อนภูมิพล เขื่อนสิริกิติ์ และเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์  ที่เหลือความสามารถในการปล่อยน้ำได้เพียง 20 ล้านลูกบาศก์เมตรต่อวัน วิกฤตสุดสุดในรอบ 18 ปี 

กรมชลประทาน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ รายงานถึงสถานการณ์น้ำในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่และขนาดกลางทั่วประเทศว่า มีปริมาณน้ำรวมกันทั้งสิ้น 34,921 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็น 47% ของความจุอ่างทั้งหมด โดยเฉพาะในเขตลุ่มน้ำเจ้าพระยา ไม่ว่าจะเป็นเขื่อนภูมิพล จ.ตาก มีปริมาตรน้ำในอ่าง 4,294 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็น 32% ของความจุอ่าง

เขื่อนสิริกิติ์ จ.อุตรดิตถ์ มีปริมาตรน้ำในอ่าง 3,412 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็น 36% ของความจุอ่าง เขื่อนแควน้อยบำรุงแดน จ.พิษณุโลก มีปริมาตรน้ำในอ่าง 131 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็น 17% ของความจุอ่าง และเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ จ.ลพบุรี มีปริมาตรน้ำในอ่าง 87 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็น 9% ของความจุอ่าง ซึ่งสถานการณ์น้ำในอ่างเก็บน้ำส่วนใหญ่ยังมีแนวโน้มลดลงอย่างต่อเนื่อง

ทั้งนี้ความกังวลว่าในช่วงเดือน มิ.ย.-ก.ค.53 จะมีภาวะฝนทิ้งช่วง ซึ่งอาจส่งผลให้เกิดปัญหาการขาดแคลนน้ำได้ในช่วงนี้ ซึ่งชาวนาจะลงมือเพาะปลูกได้จะต้องเป็นกลางเดือน ก.ค.แล้ว รวมทั้งการคาดการณ์ว่าจะมีร่องมรสุมเข้ามาประเทศไทยในช่วงเดือน พ.ย. แต่ก็จะเกิดฝนตกในภาคตะวันออกเฉียงเหนือมากกว่าภาคอื่น ทำให้ปริมาณน้ำไหลเข้าเขื่อนภูมิพลและเขื่อนสิริกิติ์มีปริมาณต่ำกว่าทุกปี เพราะที่ผ่านมาได้ปล่อยน้ำต้นทุนไปสนับสนุนข้าวนาปรังที่ปลูกเพิ่มขึ้นทุกปีติดต่อกันเป็นเวลา 3 ปี โดยได้นำน้ำสำรองไปใช้จนหมด เพราะข้าวราคาดี

แล้งวิกฤต-เขื่อนแห้ง-ชาวนาระทมทุกข์

ขณะเดียวกันการบริหารจัดการปริมาณน้ำให้เพียงพอต่อความต้องการของทุกภาคส่วน ก็คงจะเป็นเรื่องยากลำบาก เพราะปริมาณอ่าเก็บน้ำมีเท่าเดิม แต่ปริมาณน้ำฝนที่ตกไหลเข้าอ่างลดน้อยลง ขณะเดียวกันปริมาณความต้องการใช้น้ำก็เพิ่มสูงขึ้นทุกวัน หากเมื่อ 15 ปีที่แล้วประเทศไทยตัดสินใจที่จะเดินหน้าโครงการเขื่อนแก่งเสือเต้น ก็คงช่วยผ่อนคลายการเกิดวิกฤติน้ำได้บ้าง เพราะอย่างน้อยก็เท่ากับว่ายังมีปริมาณน้ำที่เหลืออยู่อ่างเก็บน้ำเพิ่มอีกหนึ่งแห่ง

อย่างไรก็ตาม น้ำเป็นปัจจัยสำคัญของประเทศไทยและเป็นต้นทุน ที่ราคาถูกของการผลิตพืชอาหารและพืชพลังงาน ถ้าประเทศไทยขาดแคลนน้ำต่อไปจะทำให้ภาคการผลิตมีต้นทุนที่สูงขึ้นและกระทบต่อการส่งออกได้ เบื้องต้นกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้ศึกษาแนวทางแก้ปัญหาสถานการณ์น้ำใน 2 เขื่อนหลัก คือ เขื่อนภูมิพลและเขื่อนสิริกิติ์ เพราะปริมาณน้ำที่ไหลเข้าเขื่อนทั้ง 2 มีแนวโน้มที่ลดลงอย่างมาก ซึ่งเขื่อน 2 แห่งเป็นเขื่อนหลักที่ใช้ในการเกษตรและผลิตกระแสไฟฟ้า ดังนั้นจะวางโครงการผันน้ำมาลงในเขื่อนทั้ง 2 โดยมีโครงการผันน้ำจากลำน้ำแม่กลองเขื่อนภูมิพล ผันลำน้ำชีบนลงเขื่อนสิริกิติ์ ซึ่งต้องใช้งบประมาณแห่งละ 4 หมื่นล้านบาท

โดยในช่วง 1-2 เดือนนี้ก็ได้แต่หวังว่าฝนจะเริ่มตกลงมาในพื้นที่เหนืออ่างเก็บน้ำ เพื่อช่วยเพิ่มปริมาณน้ำต้นทุนที่จะเหลือไว้ใช้ในปีหน้า เพราะไม่เช่นนั้นหน้าแล้งปีหน้าประเทศไทยคงเจอกับวิกฤติภัยแล้งหนักกว่ารอบนี้อีกมาก และหากถึงขั้นเลวร้ายที่สุดที่ปริมาณน้ำต้นทุนมีปริมาณต่ำ ไม่ใช่เฉพาะจะพูดว่าจะมีเพียงพอต่อภาคการเกษตรกรรมหรือไม่เท่านั้น
 
ปัดฝุ่นโครงการเขื่อนแก่งเสือเต้นแก้วิกฤตภัยแล้ง

จากการประชุมเรื่องบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ โดยมี พล.ต.สนั่น ขจรประศาสน์ รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานหารือร่วมกับ นายธีระ วงศ์สมุทร รมว.เกษตรและสหกรณ์ และนายชลิต ดำรงศักดิ์ อธิบดีกรมชลประทาน ได้ข้อสรุปตรงกันว่าในอนาคตประเทศไทยทั้งพืชอาหารและพืชพลังงานส่อเค้าขาดแคลนน้ำมากถึง 30 เปอร์เซ็นต์ ในระยะ 5-10 ปีข้างหน้า อาจขาดแคลนน้ำเข้าขั้นวิกฤติ จึงมีความจำเป็นในการหาแหล่งกักเก็บน้ำเพิ่มขึ้นด้วยการสร้างเขื่อนขยายใหญ่มารองรับ เช่น เขื่อนแก่งเสือเต้น จ.แพร่ เขื่อนแม่วงศ์ จ.นครสวรรค์ เขื่อนลำชีบน จ.ชัยภูมิ เขื่อนโปร่งขุนเพชรจ.ชัยภูมิ ทั้งหมดสามารถกักเก็บน้ำได้เกือบ 3,000 ล้านลูกบาศก์เมตร
         

แน่นอนว่าการสร้างเขื่อนหลาย ๆ แห่งล้วนเป็นโครงการในระยะยาว โดยเฉพาะกรณี "เขื่อนแก่งเสือเต้น"นั้นเป็นเผือกร้อนให้หลาย ๆ รัฐบาลมาแล้วหากคิดจะเดินหน้าโครงการนี้จริง รัฐบาลก็คงต้องเหนื่อยหนัก เพราะต้องฝ่าด่าน "คัดค้าน"จากชาวบ้านในพื้นที่และกลุ่มอนุรักษ์ที่จะออกมาเคลื่อนไหวในทันที หากมีการพิจารณาสร้างเขื่อนแห่งนี้ทุกครั้ง

มองลึก ๆ แล้วระหว่างข้อดี-ข้อเสียของโครงการนี้ ถ้าการดำเนินงานโปร่งใสตรวจสอบได้ชัดเจนทุกขั้นตอน มองในแง่ดีว่าโครงการนี้มีประโยชน์มากในแง่ของการกักเก็บน้ำและแก้ปัญหาน้ำท่วมพื้นที่ภาคเหนือตอนล่างอย่างเป็นรูปธรรม ย่อมดีกว่าปล่อยให้น้ำฝน น้ำป่าที่ไหลหลากตามฤดูกาลสร้างความเดือดร้อนให้ชาวบ้าน และสุดท้ายก็ลงสู่แม่น้ำเจ้าพระยาไหลออกทะเล ปริมาณน้ำมหาศาลเหล่านี้หากเก็บเพื่อไว้ใช้หน้าแล้งจะมีประโยชน์ต่อการเกษตร การเพาะปลูกพืชผลผลิตและอื่น ๆ อีกมากมาย

แต่หากมองในข้อเสียก็มีเช่นกัน กรณีผลกระทบระบบนิเวศและสิ่งแวดล้อม ที่สำคัญคือ ป่าไม้ อันเป็นทรัพยากรธรรมชาติที่ต้องอนุรักษ์จะต้องถูกตัดโค่นทำลายลงไปจำนวนมาก รวมทั้งวิถีชีวิตชาวบ้านในพื้นที่ก็ต้องเปลี่ยนไปและย้ายแหล่งที่อยู่ใหม่ แม้รัฐบาลมีแผนรองรับในการจัดสรรที่ดินทำกินใหม่ให้แล้วก็ตาม แต่ส่วนใหญ่ไม่อยากจากแผ่นดินเกิดไปง่าย ๆ

หากการก่อสร้างเขื่อนแก่งเสือเต้นเป็นผลสำเร็จ พื้นที่ได้ประโยชน์ด้านการป้องกันอุทกภัย ได้แก่ บริเวณริมแม่น้ำยมในเขต อ.สอง อ.เมือง อ.เด่นชัย จ.แพร่จ.สุโขทัย อ.บางระกำ จ.พิษณุโลก อ.สามง่าม อ.โพธิ์ทะเล อ.โพธิ์ประทับช้าง จ.พิจิตรอ.ชุมแสง จ.นครสวรรค์ อีกทั้งยังเป็นทางเลือกใหม่แก้ปัญหาภัยแล้งและน้ำท่วมในอนาคต