posttoday

ยิ่งลักษณ์ยึดอำนาจศปภ.กระชับพื้นที่สุขุมพันธุ์

22 ตุลาคม 2554

"ผมมองว่าการเลือกใช้พ.ร.บ.นี้ของนายกฯมาจากความต้องการบูรณาการในการบริหารสถานการณ์เป็นสำคัญ"

"ผมมองว่าการเลือกใช้พ.ร.บ.นี้ของนายกฯมาจากความต้องการบูรณาการในการบริหารสถานการณ์เป็นสำคัญ"

โดย.......ไพบูลย์ กระจ่างวุฒิชัย

ในที่สุด ‘ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร’ นายกรัฐมนตรี ตัดสินใจใช้มาตรา 31 พ.ร.บ.ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยพ.ศ.2550 มองถึงเหตุผลในการเลือกเครื่องมือครั้งนี้ หนีไม่พ้นที่ต้องการ ‘รวมศูนย์อำนาจ’ มาไว้ที่นายกฯแต่เพียงผู้เดียว หลังจากก่อนหน้านี้รัฐบาลในนามศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย(ศปภ.)เกิดความขัดแย้งรุนแรงกับ ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้ว่าฯกทม.จากประเด็นที่กทม.ไม่ยอมเปิดประตูระบายน้ำเพื่อรับน้ำเข้ามาตามคลองชั้นในของกทม.เป็นผลพื้นที่ตอนเหนือของกทม.ต้องรับน้ำอย่างที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน

ประเด็นนี้นายกฯได้เคยพยายามจะใช้ไม้นวมแล้วด้วยการประสานทางผู้ว่าฯกทม.ในฐานะผู้บังคับบัญชาสำนักงานการระบายน้ำกทม.เพื่อเปิดประตูระบายน้ำ แต่ปรากฏว่ากลายเป็น “ไม่เสียงตอบรับจากหมายเลขที่ท่านเรียก” หลายต่อหลายครั้ง จึงเป็นเหตุผลให้นายกฯต้องงัดไม้แข็งออกมาใช้

ยิ่งลักษณ์ยึดอำนาจศปภ.กระชับพื้นที่สุขุมพันธุ์ สุขุมพันธุ์ -ยิ่งลักษณ์

ไม้แข็งในที่นี้ กล่าวคือ บทบัญญัติของมาตรา 31 กำหนดให้ “นายกรัฐมนตรีหรือรองนายกรัฐมนตรีซึ่งนายกรัฐมนตรีมอบหมายมีอำนาจสั่งการให้หน่วยงานรัฐและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้ดำเนินการอย่างหนึ่งอย่างใดเพื่อป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยรวมตลอดทั้งให้ความช่วยเหลือแก่ประชาชนในพื้นที่ที่กำหนดได้…เจ้าหน้าที่รัฐผู้ใดไม่ปฎิบัติตามคำสั่งนายกรัฐมนตรีหรือรองนายกรัฐมนตรีให้ถือว่าเป็นการปฎิบัติหน้าที่โดยไม่ชอบหรือเป็นความผิดวินัยร้ายแรงด้วย”

ส่งผลให้กทม.ในฐานะหน่วยงานของรัฐ และผู้ว่าฯกทม.ที่เป็นผู้อำนวยการรับผิดชอบการบรรเทาสาธารณภัยกทม.ตามกฎหมาย ไม่มีทางหลีกเลี่ยงหรืออารยะขัดขืนประกาศิตนายกฯได้อีกต่อไป เพราะจะมีโทษทางวินัยด้วย

‘นิคม ไวยรัชพานิช’ รองประธานวุฒิสภา ในฐานะอดีตรองปลัดกทม. มองว่า ตามโครงสร้างการบริหารราชการของกทม.ถูกแยกส่วนออกมาจากรัฐบาลกลางในลักษณะของเขตปกครองพิเศษก็จริงแต่ไม่เป็นการแยกขาดการเสียทีเดียว เนื่องจากกทม.ยังสังกัดกระทรวงมหาดไทย เพียงแต่ว่ามหาดไทยอาจจะไม่ไปก้าวก่ายงานของกทม.เพราะถือว่ามีผู้บริหารสูงสุดที่มาจากการเลือกตั้งแล้ว คือ ผู้ว่าฯกทม. ดังนั้น การทำงานที่ผ่านมาระหว่างรัฐบาลกับกทม.จึงเป็นลักษณะของการประสานงานขอความร่วมมือมากกว่า

“ผมมองว่าการเลือกใช้พ.ร.บ.นี้ของนายกฯมาจากความต้องการบูรณาการในการบริหารสถานการณ์เป็นสำคัญ เพราะอย่างที่ทราบๆ กันอยู่ว่ารัฐบาลกับกทม.มีปัญหาในการบริหารจัดการน้ำร่วมกัน” นิคม ระบุ

การใช้มาตรา 31 นอกเหนือไปจากการรวบอำนาจผู้ว่าฯกทม.แล้ว ด้านหนึ่งต้องการปรับโครงสร้างของศปภ.ใหม่ไปในคราวเดียวกันด้วย เหตุผลสำคัญมาจากการประเมินว่าหากสถานการณ์น้ำท่วมบานปลายเป็นวงกว้างลามไปถึงภาคอีสานและภาคใต้จะทำให้ยากต่อการบริหารสถานการณ์ จึงเลือกปรับโครงสร้างล่วงหน้าเพื่อรับมือกับสถานการณ์ 1ตรี ตัดสินใจใช้มาตรา ัตร งไม่จุ้นแต่ให้แนวทางเอาไว้ เน้นความรู้ความสามารถมาก่อน

จนกระทั่งมาสู่การมีศปภ.ส่วนหน้าโดยนายพระนาย สุวรรณรัฐ ปลัดกระทรวงมหาดไทยเป็นผู้รับประสานการปฏิบัติตามข้อสั่งการของนายกรัฐมนตรีร่วมกับผู้ว่าฯ กทม.

การปรับการใช้อำนาจของนายกรัฐมนตรีขึ้นใหม่นี้จากใช้อำนาจตามมาตรา 11 ของพ.ร.บ.ระเบียบการบริหารราชการแผ่นดิน ในฐานะผู้คุมอำนาจสูงสุดของฝ่ายบริหารซึ่งในส่วนของการบริหารสถานการณ์นายกฯได้ใช้อำนาจผ่านพล.อ.ประชา พรหมนอก รมว.ยุติธรรมในฐานะผอ.ศปภ.

โดยเมื่อมีการเปลี่ยนโครงสร้างใหม่ตามมาตรา 31 ของพ.ร.บ.ฉบับนี้ เท่ากับว่าอำนาจตัดสินใจและบริหารสถานการณ์จะอยู่ที่นายกฯเพียงคนเดียวโดยตรงโดยไม่จำเป็นต้องใช้อำนาจผ่านตามสายการบังคับบัญชา

เพราะฉะนั้น นับจากนี้ต้องรอดูว่าภายหลัง ‘ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร’ ตัดสินใจใช้ยาแรงรักษาโรคน้ำท่วมจะควบคุมสถานการณ์ได้หรือไม่ หรือสุดท้ายมาตรา 31 จะเป็นเพียงเศษกระดาษที่ออกมาจากกผู้นำประเทศเท่านั้น