posttoday

เปิดท่อน้ำเลี้ยงพรรคใหญ่-แฉสัมพันธ์สามียิ่งลักษณ์

30 พฤษภาคม 2554

ศูนย์ข้อมูล & ข่าวสืบสวนเพื่อสิทธิพลเมืองให้การสนับสนุน 4 พรรคการเมืองใหญ่ พรรคประชาธิปัตย์ พรรคเพื่อไทย พรรคภูมิใจไทย และพรรคชาติไทยพัฒนา....

ศูนย์ข้อมูล & ข่าวสืบสวนเพื่อสิทธิพลเมืองให้การสนับสนุน 4 พรรคการเมืองใหญ่ พรรคประชาธิปัตย์ พรรคเพื่อไทย พรรคภูมิใจไทย และพรรคชาติไทยพัฒนา....

ศูนย์ข้อมูล & ข่าวสืบสวนเพื่อสิทธิพลเมือง (Thailand Information Center For Civil  Rights And Investigative Journalism - TCIJ) เปิดเผยข้อมูลกลุ่มทุนให้การสนับสนุน 4 พรรคการเมืองใหญ่ ได้แก่ พรรคประชาธิปัตย์ พรรคเพื่อไทย พรรคภูมิใจไทย และพรรคชาติไทยพัฒนา

พรรคประชาธิปัตย์ (ปี 2543–เม.ย. 2554) ได้รับจาก 9 กลุ่มทุนใหญ่ รวม 307.2 ล้านบาท โดย 3 ลำดับแรก ได้แก่ เครือซีพีและตระกูลเจียรวนนท์ 65.9 ล้านบาท นายประกอบ จิรกิติ และกลุ่มยูคอม 58.9 ล้านบาท เครือนายเจริญ สิริวัฒนภักดี (เบียร์ช้าง) 53.7 ล้านบาท ขณะที่ตระกูลเทือกสุบรรณ บริจาค 35.6 ล้านบาท

พรรคเพื่อไทย (ปี 2552-2553) ได้รับจากคนใกล้ชิด คุณหญิงพจมาน ณ ป้อมเพชร อดีตภรรยา พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อาทิ นายพิชัย นริพทะพันธุ์ อดีต รมช.คลัง 12 ล้านบาท น.ส.จุฑารัตน์ เมนะเสวต 7 ล้านบาท น.ส.พนิดา ปัญจาบุตร 6 ล้านบาท

พรรคภูมิใจไทย (ปี 2552-2553) ได้รับจากเครือข่ายนายอนุทิน ชาญวีรกูล และนายเนวิน ชิดชอบ ทั้งสิ้น 54.7 ล้านบาท อาทิ นายพรชัย สุนิศทรามาศ 4 ล้านบาท บริษัท เชียงใหม่ คอนสตรัคชั่น ของนายคะแนน สุภา พ่อตานายเนวิน 3 ล้านบาท และมีผู้บริจาครายละ 2 ล้านบาท อีก 17 ราย ซึ่งล้วนแต่ไม่เป็นที่รู้จักและไม่มีชื่ออยู่ในบัญชีรายชื่อพรรค

พรรคชาติไทยพัฒนา (ปี 2552-2553) ได้จากเครือข่ายและคนใกล้ชิดผู้บริหารหลักของพรรค ที่น่าสนใจคือ นายสณชัย เล็กสมบูรณ์ และห้างหุ้นส่วนจำกัด ศรีสมบูรณ์สุวัฒนะ ที่บริจาค 1 ล้านบาท จากการตรวจสอบพบว่าตั้งแต่ปี 2550 ผู้รับเหมารายนี้ได้รับงานจากหน่วยงานรัฐมูลค่า 163.7 ล้านบาท จากหน่วยงานที่พรรคกำกับ ขณะที่ปี 2554 เครือซีพีบริจาคให้พรรคถึง 11 ล้านบาท

เปิดท่อน้ำเลี้ยงพรรคใหญ่-แฉสัมพันธ์สามียิ่งลักษณ์

ศูนย์ข้อมูลแห่งนี้ ยังเปิดเผยข้อมูลธุรกิจของ นายอนุสรณ์ อมรฉัตร สามีนอกสมรส น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ผู้สมัคร สส.ระบบบัญชีรายชื่อลำดับ 1 พรรคเพื่อไทย ปัจจุบันดำรงตำแหน่งเป็นกรรมการ 8 บริษัท และถือหุ้นเชื่อมโยงตระกูลเจียรวนนท์ (ซีพี)

1.บริษัท แอ็ด อินเด็กซ์ ให้เช่าอพาร์ตเมนต์ นายอนุสรณ์ถือ 4.01 ล้านหุ้น มูลค่าหุ้นละ 10 บาท (เดิมนายอนุสรณ์ถือเพียง 1 หมื่นหุ้น และเพิ่มขึ้นอีก 4 ล้านหุ้นในวันที่ 20 เม.ย. 2554)

2.บริษัท เอ็ม–บิท จำหน่ายเครื่องมือสื่อสาร มีนายธนินท์ เจียรวนนท์ (เจ้าสัวซีพี) ถือหุ้นใหญ่ สำหรับนายอนุสรณ์ถือ 499,800 หุ้น เท่ากับนายเชวง โคตะนันท์ (ผู้ถือหุ้นบริษัท เกาะรังนก) และนายบุญธรรม อรุณรังสีเวช มูลค่าหุ้นละ 10 บาท

3.บริษัท แอ็ด อินเด็กซ์ จำหน่ายเครื่องมือสื่อสาร มี น.ส.นัทธฤทัย คล่องคำนวณการ (ญาติ พ.ต.ท.ทักษิณ) ถือ 163,333 หุ้น 4.บริษัท เอ็ม ลิงค์ เอเชีย คอร์ปอเรชั่น 5.บริษัท พอร์ทัลเน็ท 6.บริษัท เทเลแม็กซ์ เอเชีย คอร์ปอเรชั่น 7.บริษัท เอ็ม โซลูชั่น และ 8.บริษัท เอ็ม ช็อป โมบาย

สำหรับบริษัทที่เลิกกิจการไปแล้ว นายอนุสรณ์เคยเป็นกรรมการ 6 บริษัท ได้แก่ 1.บริษัท นีโอ ยู ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ 2.บริษัท นีโอ ฟลาย 3.บริษัท ฟอสเตอร์ แอนด์ เฟน 4.บริษัท อาร์เด้นท์ เฟิร์ม 5.บริษัท แอล แอล เอส คอร์ปอเรชั่น (นายอนุสรณ์ถือ 5 แสนหุ้น มูลค่าหุ้นละ 10 บาท) และที่น่าสนใจคือ บริษัท เอ็มไพร์ที่ดิน อสังหาริมทรัพย์ (นายอนุสรณ์ถือ 2,500 หุ้น) โดยมีนายสุภกิต เจียรวนนท์ นายณรงค์ เจียรวนนท์ นายชัชวาลย์ เจียรวนนท์ ร่วมเป็นกรรมการ

ทั้งนี้ ผู้สมัคร สส.ระบบบัญชีรายชื่อลำดับ 22 พรรคเพื่อไทย คือ นายวัฒนา เมืองสุข เขยซีพี จึงเห็นได้ว่าท่าทีเครือซีพีและตระกูลเจียรวนนท์จะเลือกสนับสนุนทุกขั้วอำนาจ โดยตั้งแต่ปี 2543-|เม.ย. 2554 บริจาคให้ประชาธิปัตย์ 65.9 ล้านบาท ปี 2554 บริจาคให้ชาติไทยพัฒนาถึง 11 ล้านบาท

อย่างไรก็ดี สำนักกิจการพรรคการเมือง สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ได้สรุปบัญชีรายชื่อผู้บริจาคและจำนวนเงินพรรคการเมืองเดือน มี.ค. และ เม.ย. 2554 ปรากฏว่า ประชาธิปัตย์ได้รับเงินบริจาคสูงสุด โดยเดือน มี.ค. ได้ 391,247,900 บาท ผู้บริจาค อาทิ นางโสภา วงศ์ประเสริฐผล 10 ล้านบาท นายปรีชา ชัยอนันต์ 8 ล้านบาท นายสมเกียรติ บุญยินดี 6 ล้านบาท นายชวลิต มโนวิลาส

นายพูนศักดิ์ ศิริพงศ์ปรีดา น.ส.ศิรินทิพย์ อาภานุทัต น.ส.ทิพวิมล ฉัตรานุภาพ นายประเสริฐ จิรกิติ นายวิรัช ปิยพรไพบูลย์ ม.ล.ปิยาภัสร์ ภิรมย์ภักดี รายละ 5 ล้านบาท คุณหญิงกัลยา โสภณพนิช นายเฉลิมพันธ์ ศรีวิกรม์ รายละ 2.5 ล้านบาท นายสมคบ เทียนทอง 2.4 ล้านบาท นายอนุตร จาติกวณิช 2 ล้านบาท นายโพธิพงษ์ ล่ำซำ และนายไพโรจน์ ศรศิลป์ รายละ 2 ล้านบาท บริษัท เบญจจินดา โฮลดิ้ง 5 ล้านบาท บริษัท ซี เอส แคปปิตอล 4.9 ล้านบาท บริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ 4.15 ล้านบาท บริษัท ยิบอินซอย 4 ล้านบาท บริษัท เอบีซี เท็คโนโลยี 3.6 ล้านบาท

ชาติไทยพัฒนา 26,518,000 บาท มียอดบริจาคเป็นอันดับ 2 โดยผู้บริจาคตั้งแต่ 1 ล้านบาทขึ้นไป อาทิ บริษัท เทราเนท เอเชีย บริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ บริษัท บิลเลียนเอ็นจิเนียริ่ง บริษัท วิจิตรภัณฑ์ก่อสร้าง บริษัท ซีวิลเอ็นจิเนียริ่ง ห้างหุ้นส่วนจำกัด ทวีผลพัฒนาก่อสร้าง บริษัท ซีเอ โพสท์ (ไทยแลนด์) บริษัท สยามพาร์ท โพรดักส์ บริษัท สามารถ ไอ-โมบาย บริษัท พีซีเอส เอ็นเตอร์เทนเม้นท์

บริษัท ทีเอทีวี บริษัท กรุงไทยแทรคเตอร์ บริษัท จี-เบรน บริษัท ดีดูดี บริษัท ยูเนี่ยนอินฟาร์เทค บริษัท ธารา คอนซัลแตนท์ บริษัท ช.การช่าง บริษัท รายารีสอร์ท ชะอำ และบริษัท ซิโน-ไทย เอ็นจีเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น เพื่อไทย มียอดบริจาคเพียง 2 ล้านบาท รวมชาติพัฒนา 2 แสนบาท ไทยรวมพลัง 6.5 หมื่นบาท เพื่อแผ่นดิน 6 หมื่นบาท ประชาธรรม 5.5 หมื่นบาท กิจสังคม 1 หมื่นบาท

เดือน เม.ย. ประชาธิปัตย์ ได้รับเงินบริจาค 292,767,240 บาท จากบริษัท แปซิฟิก ซูการ์ คอร์ปอเรชั่น บริษัท เอ็มพี เอ็นเนอร์ยี บริษัท น้ำตาลมิตรผล บริษัทละ 8 ล้านบาท บริษัท ไร่ด่าน 6 ล้านบาท บริษัท รัตนคีรี บริษัท ทรงวาดริเวอร์ไซด์ บริษัท ดลภาค บริษัท ถาวรลาภ (2010) บริษัท ออล อิน มายด์ 1 บริษัท สนง.ศักดิ์สิทธิ์ บริษัท ยูดับบลิว ดี มาร์เก็ตติ้ง แอลเอสพีวี

บริษัท พอยท์ ออฟ วิว (พีโอวี) มีเดีย กรุ๊ป บริษัทละ 4 ล้านบาท บริษัท สระหลวง 3.6 ล้านบาท บริษัท ศิลามณี บริษัท ศิลามณีหินอ่อน บริษัทละ 3 ล้านบาท บริษัท ปีติฟูดส์ แอนด์ มารีน มหาชัย บริษัท เลมอนกราส คอนโดมิเนียม บริษัท คอนสเทค ไทย คอร์เปอร์เรชั่น บริษัท เนาวรัตน์พัฒนากร บริษัทละ 2.5 ล้านบาท

ชาติไทยพัฒนา มียอดบริจาค 13.5 ล้านบาท มาตุภูมิ 2.9 แสนบาท รักษ์สันติ 1.6 แสนบาท รวม 2 เดือน ประชาธิปัตย์ 684,015,140 บาท