posttoday

เพิ่มศักดิ์จี้รัฐเร่งปฏิรูปที่ดิน

10 มีนาคม 2554

เพิ่มศักดิ์ แนะรัฐบาลปฏิรูปที่ดิน อย่าซื้อเวลา อธิบายเพิ่มนิติบุคคลถือครองเกิน 50 ไร่ได้ แต่ต้องเสียภาษี 5% กันซื้อที่เก็งกำไร ส่วน แม่สมปอง ท้ารัฐศึกษาเปิด-ปิดเขื่อนปากมูลเพิ่มเติม           นายเพิ่มศักดิ์ มกราภิรมย์ กรรมการปฏิรูป ในฐานะอนุกรรมการปฏิรูปที่ดิน ฐานทรัพยากร สิ่งแวดล้อมและน้ำ กล่าวถึงกรณีที่ครม.มีมติให้คณะกรรมการที่มีนายสาทิตย์ วงศ์หนองเตย รัฐมนตรีประจำสำนักนายกฯ กลับไปศึกษาใหม่ถึงการจำกัดการถือครองที่ดิน 50 ไร่ว่า ความจริงข้อมูลการกำจัดการถือครองที่ดินไม่ใช่เรื่องใหม่ แต่ถูกเขียนเป็นกฎหมายมากว่า 50 ปี แล้วและแต่ละกระทรวงที่มีส่วนเกี่ยวข้อง ทั้งกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงมหาดไทย และกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมมีข้อมูลเหล่านี้อยู่แล้ว

เพิ่มศักดิ์ แนะรัฐบาลปฏิรูปที่ดิน อย่าซื้อเวลา อธิบายเพิ่มนิติบุคคลถือครองเกิน 50 ไร่ได้ แต่ต้องเสียภาษี 5% กันซื้อที่เก็งกำไร ส่วน แม่สมปอง ท้ารัฐศึกษาเปิด-ปิดเขื่อนปากมูลเพิ่มเติม
         
นายเพิ่มศักดิ์ มกราภิรมย์ กรรมการปฏิรูป ในฐานะอนุกรรมการปฏิรูปที่ดิน ฐานทรัพยากร สิ่งแวดล้อมและน้ำ กล่าวถึงกรณีที่ครม.มีมติให้คณะกรรมการที่มีนายสาทิตย์ วงศ์หนองเตย รัฐมนตรีประจำสำนักนายกฯ กลับไปศึกษาใหม่ถึงการจำกัดการถือครองที่ดิน 50 ไร่ว่า ความจริงข้อมูลการกำจัดการถือครองที่ดินไม่ใช่เรื่องใหม่ แต่ถูกเขียนเป็นกฎหมายมากว่า 50 ปี แล้วและแต่ละกระทรวงที่มีส่วนเกี่ยวข้อง ทั้งกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงมหาดไทย และกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมมีข้อมูลเหล่านี้อยู่แล้ว

“รัฐบาล ไม่ควรใช้วิธีไล่ถามไปทีละกระทรวงว่าคิดเห็นอย่างไร หากรัฐบาลทำหนังสือไปถามกระทรวงต่างๆ แล้วเขาไม่เอาด้วย อยากถามว่ารัฐบาลจะทำอย่างไร ดังนั้นรัฐบาลใช้วิธีถามกันไปถามกันมาและจะทำให้การแก้ไขปัญหาเกิดความล่าช้า เพราะจะเกิดการโต้ตอบกันไม่เป็นที่สิ้นสุด สุดท้ายก็จะไม่การปฏิรูปที่ดินเกิดขึ้น ความจริงครม.และนายกฯ (อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ)น่าจะตัดสินใจเพื่อให้เกิดความเด็ดขาดและจริงจังในการปฏิรูป ที่ดินมากกว่านี้ โดยเฉพาะการไม่หยุดดำเนินคดีกับชาวบ้านที่ถูกฟ้องร้องอย่างไม่ชอบธรรมในเรื่องที่ดินทำกิน เห็นได้ชัดเจนว่ารัฐบาลเลือกปฏิบัติ เพราะเพิกเฉยไม่ดำเนินคดีกับนายทุนรายใหญ่และหน่วยงานของรัฐที่สังสัยจะออก เอกสารสิทธิโดยมิชอบในเขตป่ากว่าแสนแปลงกลับจับกุมชาวบ้านที่ทำกินในที่ดิน ของตัวเอง แต่กระบวนการของรัฐทำให้พวกเขาสูญเสียที่ดินให้นายทุน”นายเพิ่มศักดิ์ กล่าว

ส่วนกรณีที่ ครม. มีข้อข้องใจกรณีที่นิติบุคคลจะสามารถถือครองที่ดินเกินกว่า 50 ไร่ได้หรือไม่นั้น นายเพิ่มศักดิ์ กล่าวว่า คปร.ได้ทำหนังสืออธิบายไปชัดเจนแล้วว่า นิติบุคคลสามารถถือครองที่ดินเกิน 50 ไร่ได้ แต่ต้องจ่ายภาษีที่ดินอัตราร้อยละ 5 โดย ต้องทำให้เป็นมาตรฐานเดียวกันและไม่เลือกปฏิบัติทั่วประเทศ อีกทั้งผู้ครองที่ดินดังกล่าวจะต้องทำเกษตรด้วยตนเอง ไม่ใช่การนำที่ดินไปให้คนอื่นเช่าทำการเกษตร เพราะหากไม่เสียภาษีในอัตราดังกล่าวก็ทำให้เกิดการซื้อที่ดินไว้เก็งกำไรและเกษตรกรที่ต้องการที่ดินเพื่อทำการเกษตรก็จะไม่มี่ที่ดินทำกินเหมือนเดิม 

อนุกรรมการปฏิรูปที่ดินฯ รายนี้ กล่าวอีกว่า สำหรับกรณีที่ครม.มีมติเห็นชอบให้ผ่านร่างพระราชกฤษฎีกาตั้งสถาบันบริหารการจัดการธนาคารที่ดิน (องค์การมหาชน) นั้นถือเป็นสัญญาณที่ดีของการปฏิรูปที่ดิน แต่รัฐบาลต้องเข้าใจถึงหัวใจของธนาคารที่ดินที่ต้องมีความอิสระ ปลอดจากการแทรกแซงของนักการเมือง รวมทั้งต้องป้องกันการผูกขาดอำนาจจากส่วนกลาง โดยให้องค์กรท้องถิ่นและชุมชนมีบทบาทสำคัญในการตัดสินใจ เพราะที่ดินที่จะถูกจัดสรรอยู่ในท้องถิ่น โดยทำหน้าที่ของธนาคารที่ดินนี้จะต้องไปซื้อที่ดินที่เป็นส่วนเกินจากการทำ กินเพื่อนำมาไว้ในธนาคารและจัดสรรให้กับเกษตรกรเพื่อนำไปใช้ประโยชน์

“นอกจากนี้รัฐบาลควรพิจารณาด้วยว่า ควรยุบหรือควบรวมหน่วยงานที่มีความทับซ้อนในเรื่องการจัดสรรที่ดินในกระทรวงเกษตรฯ อาทิ สำนักงานปฏิรูปที่ดิน(สปก.)หน่วยงานในกระทรวงมหาดไทยและกระทรวงทรัพย์ฯ ให้เป็นหน่วยงานเดียวกันหรือไม่ เพราะหากไม่ควบรวมก็จะทำให้เกิดการทำงานซ้ำซ้อนและไม่มีความอิสระอย่างแท้ จริง”กรรมการปฏิรูป กล่าวและว่า ทั้งนี้ในการประชุมคณะกรรมการปฏิรูปในสัปดาห์หน้าคงจะมีการนำมติครม.เรื่อง ต่างๆ เกี่ยวกับข้อเสนอของคปร.เข้าสู่การพิจารณาในที่ประชุม แต่ขณะนี้ยังไม่เห็นหนังสือจากครม.ทั้งหมด เป็นเพียงการได้รับทราบข้อมูลจากสื่อเท่านั้น

ขณะที่นางสมปอง เวียงจันทร์ แกนนำชาวบ้านเขื่อนปากมูล ในฐานะกรรมการปฏิรูปให้ความเห็นถึงเรื่องเดียวกันว่า จากที่เห็นมติครม.ทำให้เห็นได้ชัดเจนว่า รัฐบาลไม่จริงใจกับการแก้ไขปัญหาของประชาชน เพราะหลายเรื่องมีความกำกวม โดยเฉพาะเรื่องโฉนดชุมชนและการขอให้ยุติดำเนินคดีกับคนจนที่รัฐบาลไม่กล้า ดำเนินการพิสูจน์สิทธิให้กับชาวบ้าน ทั้งที่เป็นเรื่องที่ทำได้ง่าย เรื่องนี้คงต้องมีการหารือในคณะกรรมการปฏิรูปต่อไป

นางสมปอง ยังกล่าวถึงกรณีที่ครม.มีมติให้คณะอนุกรรมการที่ศึกษาเรื่องผลกระทบการเปิด -ปิดเขื่อนปากมูล จ.อุบลราชธานีไปพิจารณาข้อมูลอีกครั้ง เนื่องจากเห็นว่ายังขาดข้อมูลเรื่องระดับน้ำในเขื่อนว่า ไม่ได้เป็นเรื่องเกินความคาดหมายของชาวบ้าน เรื่องนี้ชาวบ้านขอท้าทายให้รัฐบาลศึกษาเพิ่มเติมเพราะเรามั่นใจว่า จะเปิดเขื่อนนานแค่ไหนระดับในแม่น้ำมูลก็ไม่ลดลง เพราะก่อนที่จะมีการสร้างเขื่อนน้ำในแม่น้ำมูลก็ไม่เคยลด มองในทางเดียวกันหลังจากสร้างเขื่อนแม่น้ำมูลก็ไม่ได้เพิ่มขึ้นมากนัก แต่เหตุที่เพิ่มขึ้นก็เพียงการมีเขื่อนไปปิดไว้เท่านั้น

“เรามั่นใจว่าหลังจากเปิดเขื่อนเพื่อศึกษาระดับน้ำแล้วข้อมูลก็จะไม่เปลี่ยนแปลง เพราะปี 2544 เคย พิสูจน์มาแล้วว่า หลังจากเปิดเขื่อนแล้วระดับน้ำในเขื่อนไม่ได้ลดลงจนเกิดผลกระทบและทำให้พันธุ์ปลาเพิ่มมากขึ้น สร้างรายได้ให้กับชาวบ้านอย่างเป็นกอบเป็นกำจากการเปิดเขื่อนอีกด้วย”แกนนำชาวบ้านเขื่อนปากมูล กล่าว