posttoday

"เฉลิม"ชำแหละการบินไทยขาดทุนหลายหมื่นล้านเทียบไม่ได้กับยุค"ทักษิณ"

27 กันยายน 2564

"เฉลิม อยู่บำรุง"เปิดผลประกอบการการบินไทยยุค"ประยุทธ์"ปี 57-62 ขาดทุนสะสม 5 ปีรวดหลายหมื่นล้านเปรียบเทียบกับยุค"ทักษิณ"ปี 45-49 ฟันกำไรหลายหมื่นล้าน

เมื่อวันที่ 27 กันยายน ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง แกนนำพรรคเพื่อไทย เปิดเผยถึงการบริหารงานของการบินไทยว่า ก่อนที่จะบอกว่าขาดทุนเป็นเพราะเหตุใด ๆ ขอให้วิเคราะห์ในประเด็นนี้เสียก่อน คือ 1.แบบเครื่องบินทุกแบบ ก่อนบริษัทผู้ผลิตจะนำเสนอสู่ตลาด ต้องมีการทำการศึกษาความเป็นไปได้แล้วว่า ในเชิงการค้าต้องสามารถทำกำไรได้ 2.การบินไทยเป็นผู้เสนอในจัดซื้อเพื่อให้ครม.พิจารณาอนุมัติ ขั้นตอนการเสนอขอซื้อย่อมมีการศึกษาความเป็นไปได้อย่างดีแล้ว ครม.เห็นชอบตามการเสนอ มิได้เป็นผู้สั่งการให้ซื้อ

3.ต้องหันกลับมามองว่าการหารายได้ การบินไทยมีขบวนการหารายได้อย่างไร จึงไม่มีกำไร 4.การบินไทยบริหารต้นทุนอย่างไร นอกเหนือจากต้นทุนเครื่องบิน จึงทำให้มีต้นทุนที่ไม่คุ้มค่าในเชิงพาณิชย์ 5.การที่บอกว่ามีต้นทุนการด้อยค่านั้นมี 2 องค์ประกอบ คือ Generate รายได้ไม่คุ้ม หรือใช้เครื่องบินไม่เต็มที่กับความสามารถที่ใช้บิน 6.เนื่องจากต้นทุนที่ควบคุมไม่ได้ตัวหนึ่งคือน้ำมัน และแบบเครื่องบินรุ่นนี้เป็นแบบ 4 หัว อัตราการใช้น้ำมันจึงสูง หากมีวิกฤตการณ์ด้านราคาน้ำมันย่อมเป็นภาระมาก 7.เครื่องบินรุ่นนี้ออกแบบให้บินได้นานมาก หากใช้ไม่ตรงการออกแบบ การใช้น้ำมันจะสิ้นเปลืองมาก

"เฉลิม"ชำแหละการบินไทยขาดทุนหลายหมื่นล้านเทียบไม่ได้กับยุค"ทักษิณ"

8.การบินไทยมิได้เป็นสายการบินแรกที่ซื้อเครื่องบินรุ่นนี้ สิงคโปร์แอร์ไลน์ ซื้อก่อนการบินไทย บินไปนิวยอร์คก่อน 9.ได้ยินมาว่าการเลือกสนามบินที่นิวยอร์กมีปัญหา ไปเลือกสนามที่ต่อเครื่องบินไปยังรัฐต่างๆในอเมริกาได้ยาก อาจเป็นสาเหตุของการขายและกำหนดราคาไม่ได้ yield ที่สูง หรือเป็นที่นิยมน้อยกว่า

ทั้งนี้ ข้อมูลที่ถูกหยิบมาโจมตี ไม่ได้มีรายละเอียด ค่าใช้จ่าย กำไร ขาดทุน และสถานการณ์เปลี่ยนแปลงในแต่ละปีอยากทราบว่า ขอมูลเหล่านี้ มันกล้าเปิดออกมาหรือไม่ ว่า ที่มันขาดทุน เป็นค่าใช้จ่ายอะไรบ้าง ต้องแจงออกมาให้หมด เพราะรายละเอียดของต้นทุนทางการบินคือ

1.ต้นทุนเกี่ยวกับตัวเครื่องบินค่าซ่อมและดูรักษาให้พร้อมทำการบิน ค่าใช้สนามบิน (landing parking), ค่าบริการภาคพื้น ground handling, ค่าดูแลเส้นผ่านน่านฟ้าและจัดจราจรทางอากาศ (navigation service) ที่ผ่านประเทศต่างๆ และตัวแพงสุดคือค่าน้ำมัน

2.ต้นทุนบุคคลกร เงินเดือนและเบี้ยเลี้ยง ค่าที่พักของนักบินและลูกเรือ ค่าฝึกและอบรม ต่างๆ เป็นต้น

3.ค่าใช้จ่ายดูแลผู้โดยสาร ค่าใช้จ่ายเริ่มตั้งแต่ check in ผู้โดยสารและสัมภาร, ค่าใช้จ่ายดูแลผู้โดยสารบนเครื่อง อาหาร เครื่องดื่ม สิ่งอำนวยความสะดวก และ entertainment ต่างๆ

4.ค่าใช่จ่ายด้านการบริหาร การจัดเที่ยวบิน ค่าใช้จ่ายในการขาย งานระบบการขาย ค่าใช้จ่ายในการสำรองที่นั่ง เป็นต้น อย่างไรก็ตาม ทั้งหมดนี้ยังไม่ได้กล่าวถึงประเด็นการ คอรัปชั่นในแต่ละรายการ