posttoday

"ธนาธร"หนุนใช้มาตรการเลี่ยงการพบปะ แต่รัฐต้องดูแลผู้มีรายได้น้อย

18 มีนาคม 2563

"ธนาธร"หนุนใช้มาตรการหลีกเลี่ยงการพบปะ จี้รัฐดูแลผู้มีรายได้น้อย- เปิดข้อมูลให้ประชาชน เตรียมรับมือ

นายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ อดีตหัวหน้าพรรคอนาคตใหม่ ไลฟ์ผ่านเพจเฟซบุ๊กสื่อสารกับผู้ติดตามรับชม กรณีการแพร่ระบาดของไวรัส โควิด-19 โดยระบุว่า วันนี้เรากำลังเผชิญหน้ากับความท้าทาย ที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน การแพร่ระบาดของไวรัส โควิด-19 มีความจำเป็นอย่างยิ่ง ที่เราจะต้องสื่อสารและพูดจากันอย่างตรงไปตรงมา ถึงการแก้ไขปัญหาและการรับมือกับการแพร่ระบาดของไวรัส นี่เป็นความท้าทายที่ไม่ใช่แค่ของรัฐบาลไทย แต่เป็นความท้าทายของผู้คนในสังคมทุกคน

นายธนาธร กล่าวอีกว่า ข้อมูลในเชิงวิทยาศาสตร์จากกระทรวงสาธารณสุข ซึ่งทางกระทรวงสาธารณสุขได้จำลองแบบอนาคตขึ้นมา 3 แบบด้วยกัน แบบแรก คือแบบที่เลวร้ายที่สุด แบบที่ 2 คือแบบความเลวร้ายปานกลาง และแบบสุดท้าย คือ แบบการรับมือที่มีประสิทธิภาพ

ซึ่งในกรณีที่เลวร้ายที่สุด จากการประเมินของกระทรวงสาธารณสุข คนหนึ่งคนจะทำให้เกิดผู้ป่วยอีก 2.2 คน ดังนั้น ภายใน 1 ปี เราจะมีผู้ป่วย 16.7 ล้านคน ทั้งนี้ ยังเกิดขึ้นในช่วงเวลาที่ฉับพลันอีกด้วย การเกิดขึ้นในช่วงเวลาที่ฉับพลัน และตัวเลขที่สูงขนาดนี้ จะทำให้เกิดความตึงเครียดในระบบสาธารณสุขของประเทศไทย ซึ่งตนไม่คิดว่าระบบสาธารณสุข อย่างที่เป็นอยู่ปัจจุบันจะสามารถรับมือกับสถานการณ์แบบนี้ได้

ในสถานการณ์แบบที่ 2 คือสถานการณ์แบบปานกลาง อาจมีผู้ป่วยได้มากถึง 9.9 ล้านคน ภายใน 2 ปี และลำดับสุดท้าย ในสถานการณ์ที่มีการรับมือแบบมีประสิทธิภาพ เราอาจจะมีผู้ป่วยประมาณ 4 แสนคนคน ภายใน 2 ปี เราจะเห็นถึงความแตกต่างของจำนวนผู้ป่วย ขึ้นอยู่กับว่าคนในสังคมรับมือกันอย่างร่วมแรงร่วมใจมากน้อยเพียงใด

“ในกรณีที่รุนแรงที่สุด เดือนที่เกิดการแพร่ระบาดสูงสุด ก็คือเดือนสิงหาคมและเดือนกันยายน ของปี 2563 ซึ่งผู้ป่วยต่อสัปดาห์สูงสุดอยู่ที่ 1.5 ล้านคน ซึ่งเป็นจำนวนที่มหาศาลมาก และจากข้อมูลทางการแพทย์ ขององค์การอนามัยโลกระบุไว้ว่า 20% ของจำนวนนี้ อาจจะเป็นผู้ป่วยที่ต้องรักษาอยู่ในสถานพยาบาล ซึ่ง 20% ของ 1.5 ล้านคน คือ 3 แสนคน หมายความว่าหากเกิดสถานการณ์ความรุนแรงที่สุดขึ้น เราจำเป็นจะต้องมีทรัพยากรเพียงพอ ที่จะดูแลผู้ป่วยเฉพาะโควิด-19 ในระบบสาธารณสุขไทยถึง 3 แสนคน ไม่ใช่แค่เฉพาะเตียงW

Wเรากำลังพูดถึงเครื่องช่วยหายใจ เรากำลังพูดถึงหน้ากาก ถุงมือ สำหรับบุคลากรทางการแพทย์ เรากำลังพูดถึงพื้นที่ที่เพียงพอ เรากำลังพูดถึงยารักษาโรคที่เพียงพอ สิ่งต่างๆเหล่านี้ จะต้องเตรียมการในเวลาอันใกล้ ซึ่งอีกเพียง 6 เดือนเท่านั้นเอง จะถึงจุดสูงสุดในสถานการณ์ที่อาจจะเลวร้ายที่สุด ผมไม่คิดว่าเราจะมีประสิทธิภาพ และศักยภาพเพียงพอที่จะจัดการกับมัน" นายธนาธร กล่าว

นายธนาธร กล่าวต่อว่า สิ่งที่เราต้องทำและร่วมมือกัน คือการชะลอการแพร่ระบาด?ไวรัสโควิด-19 ซึ่งหากเราสามารถชะลอได้ เดือนที่จะมีการแพร่ระบาด?สูงที่สุดคือเดือนมกราคม?และ?กุมภาพันธ์? ปี 2564 หรืออาจมองได้ว่ามีเวลาเตรียม?การอีก 10 เดือน และจำนวนผู้ติดเชื้อสูงสุดต่อสัปดาห์? แทนที่จะเป็น 1.5 ล้านคน ในแบบจำลอง จะเหลือเพียงแค่ 480,000 คนต่อสัปดาห์? ซึ่งจะมีผู้ป่วยที่ต้องรักษาอยู่ในสถานพยาบาลเหลือเพียง 100,000 ราย จะเห็นได้ว่าเราจะมีศักยภาพรับมือกับสถานการณ์?เหล่านี้ได้ดีขึ้น หากคนในสังคมร่วมมือกันชะลอการแพร่ระบาด?ไวรัส โควิด-19 ได้

นอกจากนี้ นายธนาธร ยังได้ยกตัวอย่างแบบจำลองด้วยคอมพิวเตอร์?โดยวอชิงตัน?โพสต์ ที่มี 3 แบบด้วยกัน ซึ่งมีความคล้ายกับโมเดลของกระทรวงสาธารณสุข?ที่ได้นำเสนอไป โดยมาตรการที่ดีที่สุดนั้น คือมาตรการ? social distancing หรือมาตรการ?ที่ส่งเสริมให้ประชาชนหลีกเลี่ยงการพบปะกัน เป็นมาตรการแก้ไขปัญหา?ได้ดีที่สุด ซึ่งจากการคำนวนของคอมพิวเตอร์? ผลลัพธ์?ที่ออกมานั้นลดการติดเชื้อ?ได้เป็นจำนวนมาก และอัตรา?ที่ประชาชนจะไม่ติดเชื้อเลยจะสูงมากยิ่งขึ้น

สำหรับมาตรการหลีกเลี่ยงการพบปะคนในสังคม อย่างแรกที่สุดเริ่มต้นที่ตัวเราเอง ไม่เดินทางออกจากบ้านโดยไม่จำเป็น? หลีกเลี่ยงเข้าร่วมประชุม ไม่เข้าร่วมกิจกรรมทางสังคมที่มีผู้คนรวมกันมากกว่า 10 คน ไม่ว่าจะเป็นงานแต่งงาน? งานศพ หรืองานรื่นเริง?สังสรรค์?ทางสังคม แม้แต่เวลารับประทาน?อาหาร อาจจะต้องพิถีพิถัน?มากขึ้นกว่าเดิม อาจต้องมีสำรับตัวเอง หากต้องพูดคุยกับคนในครอบครัวหรือเพื่อนร่วมงาน? ให้เว้นระยะ?ห่างในการพูดคุย ไม่ยืนพูดคุยกันอย่างใกล้ชิดจนเกินไป ล้างมือให้บ่อย ทำความสะอาด?ภาชนะ?ที่ใช้ดื่มใช้กินเป็นประจำ ไม่เดินทางออกนอกถิ่นฐาน ถ้าเราช่วยกันทำสิ่งต่างๆเหล่านี้ ก็จะทำให้อัตรา?การแพร่ระบาด?ไวรัส โควิด-19 ลดน้อยลง และเราสามารถที่จะทำให้เกิดสถานการณ์?เช่นนี้ได้ พวกเราร่วมมือกัน

นายธนาธร กล่าวว่า มาตรการ?การหลีกเลี่ยงการพบปะกับผู้คน ควรจะต้องดำเนิน?ไปพร้อมกับมาตรการการเยียวยา เรามีต้นทุนการหลีกเลี่ยงพบปะกับผู้คน มันมีต้นทุนของการไม่ออกไปทำงาน และในสังคมเราคนที่แบกรับต้นทุนส่วนใหญ่และหนักหนาสาหัส? ก็คือกลุ่มคนที่มีรายได้น้อย รัฐบาล?จำเป็นจะต้องออกมาตรการเยียวยากับกลุ่มคนที่มีรายได้น้อย เพื่อให้เขากระทำมาตรการหลีกเลี่ยงการพบปะกับผู้คนได้อย่างมีประสิทธิภาพ? กลุ่มคนรายได้น้อยมักหลายคนอาจไมอยากไปตรวจ หรือจะไม่แสดงตัวเพื่อให้จะได้ไม่ต้องถูกหยุดงาน

ดังนั้น รัฐบาล?ต้องมีมาตรการให้กลุ่มคนรายได้น้อยแสดงตัวได้อย่างไม่มีต้นทุน ต้องทำให้คนส่วนใหญ่เข้าสู่ระบบสาธารณสุข?ได้อย่างต้นทุนน้อยที่สุด

นายธนาธร กล่าวว่า แม้ประชาชนร่วมมือกันอย่างเต็มที่ ก็ยังมีโอกาสที่ทำให้การแพร่เชื้อ?ไวรัสเข้าสู่ระยะที่ 3 หากเกิดเหตุ?การณ์?เช่นนั้นจริง ซึ่งเราเห็นตัวอย่างแล้วในประเทศแถบตะวันตก? ที่จะใช้มาตรการหลักเลี่ยงการพบปะอย่างเข้มงวด ไม่ว่าจะเป็นการประกาศภาวะฉุกเฉิน? ไม่ว่าจะเป็นการปิดสถานที่ หยุดการขนส่งสาธารณะ? ซึ่งมาตรการ?เหล่านี้?ยังไม่เคยถูกบังคับใช้อย่างเข้มงวดในประเทศไทย และเราหวังว่าจะไม่เดินไปสู่จุดนั้น แต่ถ้าจุดนั้นมาถึงจริงๆ คิดว่า คงเป็นเวลาที่จะต้องบอกประชาชนอย่างตรงไปตรงมา? ให้เข้าใจ รับรู้ ไม่ตื่นตระหนก และเพื่อเตรียมพร้อมรบมาตรการ?ต่างๆเหล่านี้ ซึ่งจะกระทบกับพวกเราทุกคน