posttoday

"พีระพันธุ์" นั่งปธ.แก้รธน. "ซีกฝ่ายค้าน" จ่อ เสนอพิมพ์เขียวโละ ม. 256 ตั้ง "ส.ส.ร.” ทำรธน.ใหม่

24 ธันวาคม 2562

ประชุมกมธ.แก้รธน. นัดแรก ชื่นมื่น "พีระพันธุ์" นั่งประธาน ตามคาด ด้าน “กมธ.ซีกฝ่ายค้าน” จ่อ เสนอพิมพ์เขียวโละ ม. 256 ตั้ง "ส.ส.ร.” ทำรธน.ใหม่

ประชุมกมธ.แก้รธน. นัดแรก ชื่นมื่น "พีระพันธุ์" นั่งประธาน ตามคาด  ด้าน “กมธ.ซีกฝ่ายค้าน” จ่อ เสนอพิมพ์เขียวโละ ม. 256 ตั้ง "ส.ส.ร.” ทำรธน.ใหม่

เมื่อเวลา 14.00 น. วันที่ 24 ธ.ค. ผู้สื่อข่าวรายงานถึงการประชุมคณะกรรมาธิการ (กมธ.) วิสามัญ พิจารณาศึกษาแนวทางแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2560  นัดแรก  ว่า บรรยากาศก่อนการเข้าประชุมเป็นไปอย่างชื่นมื่น โดยส.ส.ที่เข้ามาดำรงตำแหน่งกมธ.ฯ หลายคนระบุว่าเหมือนเป็นการกลับมาพบปะเพื่อนฝูง และอดีตนักศึกษารุ่นเดียวกันอีกครั้ง ทั้ง นายวัฒนา เมืองสุข กมธ.ฯโควต้าของพรรคเพื่อไทย ซึ่งนั่งข้างกับนายวุฒิสาร ตันไชย เลขาธิการสถาพระปกเกล้า หรือนายพงษ์เทพ เทพกาญจนา กมธ.ฯ โควต้าพรรคเพื่อไทย ที่นั่งสนทนา กับนายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค ที่ปรึกษานายกฯ?ฐานะกมธ.โควต้าของพรรคพลังประชารัฐ ฐานะแคนนิเดตประธานกมธ.ฯ เนื่องจากเจ้าหน้าที่จัดที่นั่งให้นั่งติดกัน

 ทั้งนี้การจัดเก้าอี้กมธ. ทั้ง 49 คนนั้น เจ้าหน้าที่ประจำกมธ.?ฯ ได้เรียงลำดับตามตัวอักษร ทำให้ กมธ.ซีกฝ่ายค้านและซีกฝ่ายรัฐบาลนั่งคละกันโดยไม่มีการแบ่งฝ่าย หรือพื้นที่ สำหรับการประชุมนัดแรก ช่วงต้น นายบัญญัติ บรรทัดฐาน ส.ส.บัญชีรายช่ือ พรรคประชาธิปัตย์ ฐานะกมธ.ฯที่อาวุโสสูงสุด ได้ทำหน้าที่ประธานในที่ประชุมชั่วคราว สำหรับการประชุมนัดแรก เพื่อเลือกบุคคลให้ดำรงตำแหน่งต่างๆ ในกมธ.  ได้กระทำเป็นการลับ

สำหรับการประชุมคณะกรรมาธิการวิสามัญฯ นัดแรกนี้ ที่ประชุมมีมติเลือก นายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค ที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี เป็นประธานกรรมาธิการ ตามที่กรรมาธิการในสัดส่วนคณะรัฐมนตรีเสนอ ด้วยคะแนน 25 คะแนน ขณะกรรมาธิการในสัดส่วนของ7พรรคฝ่ายค้านเสนอ นายโภคิน พลกุล กรรมาธิการของพรรคเพื่อไทยลงเก้าอี้แต่เสียงสนับสนุนเพียง 19 คะแนน

ผู้สื่อข่าวรายงานก่อนการเข้าประชุม กมธ.ฯ ซีกฝ่ายค้าน จำนวน19 คน ซึ่งนำโดยนายโภคิน  และมีนายสมพงษ์? อมรวิวัฒน์ ส.ส.เชียงใหม่ พรรคเพื่อไทย ฐานะหัวหน้าพรรค ร่วมประชุมในครั้งดังกล่าว เพื่อลงมติว่าจะเสนอชื่อนายโภคิน ชิงตำแหน่งประธานกมธ.ฯ และบุคคลในโควต้าพรรคฝ่ายค้าน ที่ดำรงตำแหน่งรองประธาน, เลขานุการ, โฆษกกมธ.ฯ ด้วย ทั้งนี้นายโภคิน กล่าวว่าแม้การเสนอชื่อกมธ.ซีกฝ่ายค้านจะทราบว่าไม่ชนะโหวตในกมธ.ฯ ได้ แต่เพื่อแสดงถึงความพยายามอย่างเต็มที่จึงจะเสนอบุคคลเข้าแข่งขัน

นายโภคิน กล่าวยอมรับว่ากมธ.ฯ ซีกฝ่ายค้านจะเสนอพิมพ์เขียวต่อแนวทางแก้ไขรัฐธรรมนูญ ต่อกมธ.ฯ คือ การยกเลิกหมวดว่าด้วยการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ซึ่งไม่เฉพาะมาตรา 256 เท่านั้น และยกร่างหมวดใหม่ขึ้นมา โดยตั้งสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ (ส.ส.ร.) ส่วนรายละเอียดที่เกี่ยวข้องนั้นยอมรับว่าฝ่ายค้านได้ยกร่างเนื้อหาแล้ว และเตรียมเสนอให้ที่ประชุมร่วมพิจารณา ซึ่งตนเชื่อว่ากมธ.ซีกฝ่ายรัฐบาล และรัฐบาลของพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกฯ และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม รวมถึง ส.ว. เห็นร่วมกันต่อประโยชน์ชาติของบ้านเมือง จะต้องให้การสนับสนุนต่อข้อเสนอดังกล่าว เพื่อให้มีองค์กรขึ้นมาทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่

 “การยกร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ พวกผมไม่รู้ว่าจะยกร่างอะไรประเด็นไหน ซึ่งเชื่อว่าจะเกิดประโยชน์กับทุกฝ่าย และผมเชื่อว่าแนวทางดังกล่าวจะนำไปสู่การแก้ไขรัฐธรรมนูญ หากทุกฝ่ายเห็นพ้องร่วมกัน  ส่วนระยะเวลาของการยกร่างใหม่นั้น เบื้องต้นจะใช้เวลาประมาณ 8 เดือน โดยแก้ไขรัฐธรรมนูญยกเว้นหมวด 1 บททั่วไป และหมวด 2 ว่ดา้วยพระมหากษัตริย์ อย่างไรก็ตามผมเชื่อว่าการลงมือทำงานเพื่อศึกษาแนวทางแก้รัฐธรรมนูญจะไม่ใช่การทำงานฟรี” นายโภคิน กล่าว

นายโภคิน กล่าวด้วยว่าสำหรับโมเดลให้มีส.ส.ร.?ทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ตนไม่ทราบว่าา ส.ว.?จะสนับสนุนหรือไม่  แต่เชื่อว่าหากทุกฝ่ายเห็นประโยชน์ร่วมกัน และผลดีต่อบ้านเมืองจะสนับสนุน ส่วนการรณรงค์การแก้ไขรัฐธรรมนูญนอกสภาฯ นั้น ตนเชือว่าายังสามารถทำได้ และการรับฟังแนวทางแก้ไขรัฐธรรมนูญ ต้องเปิดให้สาธารณะเข้ามามีส่วนร่วมกับกมธ.ฯ?ทั้ง 49 คนด้วย  อย่างไรก็ตามตนสนับสนุนและยินดีให้การประชุมกมธ.ฯ คณะดังกล่าวเป็นไปโดยเปิดเผยและให้สื่อมวลชนร่วมเกาะติดการประชุม


ด้านนายอุดม รัฐอมฤต อดีตกรรมการร่างรัฐธรรมนูญที่เข้าร่วมเป็นกรรมาธิการด้วย กล่าวถึงเหตุผลเข้าร่วมครั้งนี้ว่า ได้มีหารือกับนายมีชัย ฤชุพันธ์ อดีตประธานกรรมการร่างรัฐธรรมนูญแล้ว เห็นว่าควรเข้าร่วมเพื่อแสดงความเห็นในฐานะอดีตกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ ซึ่งเป็นผู้ร่างรัฐธรรมนูญฉบับปี 2560 มา โดยมีความตั้งใจจะอธิบายเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญฉบับนี้ให้ฝ่ายที่ต้องการแก้ไขได้รับทราบ พร้อมยืนยันว่ากรรมาธิการชุดนี้หน้าที่เพียงศึกษาเพื่อหาวิธีการในการแก้ไขเท่านั้น ยังไม่ถึงขั้นต้องลงรายละเอียดว่าจะแก้ไขมาตราใด และการแก้ไขเกี่ยวกับเงื่อนไขในการแก้ไขรัฐธรรมนูญนั้นยืนยันว่าตามรัฐธรรมนูญนอกจากต้องผ่านความเห็นชอบจากสมาชิกวุฒิสภาแล้ว ยังต้องผ่านการทำประชามติจากประชาชนด้วยจึงจะสามารถแก้รายมาตรา หรือ ตั้ง สสร. ได้