posttoday

ยกศักยภาพอาเซียนผนึกลาตินขับเคลื่อนเศรษฐกิจโลก

18 พฤศจิกายน 2553

อภิสิทธิ์ ระบุความเข้มแข็งของภาคธุรกิจและภาคเอกชนจะเป็นส่วนสำคัญในการสร้าง เขตการค้าเสรีอาเซียน และเป็นหัวใจสำคัญในการขยายประชาคมเศรษฐกิจ  นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี เป็นประธานกล่าวเปิดงานประชุมสัมมนา Latin Business Forum 2010 โดยกล่าวในตอนหนึ่งว่า ท่ามกลางความเปลี่ยนแปลงของโลก เอเชีย รวมถึงเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และละตินอเมริกา เป็นภูมิภาคที่มีพลวัตรการเติบโตเศรษฐกิจโลก หลายประเทศในทั้ง 2 ภูมิภาคมีอำนาจทางเศรษฐกิจ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ได้กลายเป็นศูนย์กลางของกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่หลากหลาย ไม่เพียงแต่หลายประเทศในภูมิภาคนี้จะมีบทบาทในระดับโลก จากบัวโนสไอเรสสู่กรุงเทพ  หรือซานดิเอโกสู่สิงคโปร์ ศูนย์กลางเศรษฐกิจเหล่านี้ช่วยปูทางสู่เศรษฐกิจโลก ยิ่งไปกว่านั้น 2 ภูมิภาคนี้ต่างมีบทบาทในการเป็นผู้นำในการฟื้นฟูทางเศรษฐกิจ เนื่องจากมีพื้นฐานที่แข็งแรง และมีโอกาสเติบโตในอนาคต

อภิสิทธิ์ ระบุความเข้มแข็งของภาคธุรกิจและภาคเอกชนจะเป็นส่วนสำคัญในการสร้าง เขตการค้าเสรีอาเซียน และเป็นหัวใจสำคัญในการขยายประชาคมเศรษฐกิจ 
 
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี เป็นประธานกล่าวเปิดงานประชุมสัมมนา Latin Business Forum 2010 โดยกล่าวในตอนหนึ่งว่า ท่ามกลางความเปลี่ยนแปลงของโลก เอเชีย รวมถึงเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และละตินอเมริกา เป็นภูมิภาคที่มีพลวัตรการเติบโตเศรษฐกิจโลก หลายประเทศในทั้ง 2 ภูมิภาคมีอำนาจทางเศรษฐกิจ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ได้กลายเป็นศูนย์กลางของกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่หลากหลาย ไม่เพียงแต่หลายประเทศในภูมิภาคนี้จะมีบทบาทในระดับโลก จากบัวโนสไอเรสสู่กรุงเทพ  หรือซานดิเอโกสู่สิงคโปร์ ศูนย์กลางเศรษฐกิจเหล่านี้ช่วยปูทางสู่เศรษฐกิจโลก ยิ่งไปกว่านั้น 2 ภูมิภาคนี้ต่างมีบทบาทในการเป็นผู้นำในการฟื้นฟูทางเศรษฐกิจ เนื่องจากมีพื้นฐานที่แข็งแรง และมีโอกาสเติบโตในอนาคต

เราต้องไม่มองข้ามศักยภาพของอาเซียน ซึ่งเป็นตลาดที่มีประชากรมากกว่า 580 ล้านคน มี GDP รวมกันมากกว่า 1.8 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ ประชาคมนี้มีโอกาสทางธุรกิจมากมาย โดยปี 2015 ประชากรจะเพิ่มสูงถึง 625 ล้านคน แล GDP จะ มากถึง 2.69 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ อาเซียนจะมุ่งสู่จุดหมายในการเป็นตลาดเดียว และมีการผลิตที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของการสร้างประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน หรือ AEC ความเข้มแข็งของภาคธุรกิจและภาคเอกชนจะเป็นส่วนสำคัญในการสร้าง AEC เขตการค้าเสรีอาเซียนหรือ AFTA จะ เป็นหัวใจสำคัญในการขยายประชาคมเศรษฐกิจ นับตั้งแต่เริ่มต้นของปีนี้อาเซียนได้มีความก้าวหน้าในการลดการกีดกันทาง ภาษี ภูมิภาคอาเซียนมีศักยภาพที่เข้มแข็งมีการเชื่อมโยงกัน ดังจะเห็นได้จากลงนามในข้อตกลงร่วมกันในด้านการค้าและการลงทุน ระหว่างอาเซียน รวมทั้งพันธมิตรอื่นๆ ในระดับโลก และจะขยายไปยังกลุ่มอาเซียน + 3 และ กลุ่มอาเซียน + 6 โดยรวมเอาสหรัฐฯ และ รัสเซีย มาเป็นประเทศสมาชิกลำดับที่ 7 และ ลำดับที่ 8 ที่

นายอภิสิทธิ์ กล่าวอีกว่า สิ่งที่สำคัญที่สุด คือ เรากำลังทำงานที่จะสนับสนุนการเพิ่มความเชื่อมโยงในอาเซียน เพื่อแผ่ขยายโครงข่ายสถาบัน โครงข่ายระดับกายภาพ และ การเชื่อมโยงระหว่างประชาชน ซึ่งรวมถึงวิถีทางของอาเซียนที่จะปรับกฎระเบียบเพื่ออำนวยความสะดวกในด้าน กระบวนศุลกากร (CIQ) ระหว่างรัฐสมาชิก การขยายและพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานดังกล่าวจะสามารถสนับสนุนการดำเนินงานทาง ธุรกิจภายในเขตอาเซียนและภูมิภาคเอเชียโดยรวม ในส่วนภูมิภาคละตินอเมริกา เราเล็งเห็นศักยภาพที่คล้ายคลึงกัน โดยภูมิภาคนี้เป็นตลาดขนาดใหญ่ของไทยและธุรกิจอาเซียน ด้วยประชากรราว 580 ล้านคน มี GDP โดยรวมมากกว่า 5.6 ล้านล้าน และมีการคาดาการณ์การเติบโตทางเศรษฐกิจในภูมิภาคในปี 2011 อยู่ที่ 4 เปอร์เซนต์ ยิ่งกว่านั้น ภูมิภาคละตินอเมริกามีความเชี่ยวชาญในการพัฒนาสังคมอุดมการณ์และเทคโนโลยี ทางสังคมการเมืองที่ต่างประเทศในโลกสามารถนำเป็นแบบอย่างในการเรียนรู้

นายกฯ กล่าวต่อว่า ถึงทั้งสองภูมิภาคจะอยู่ห่างไกลกัน แต่ก็ได้เล็งเห็นถึงโอกาสทางธุรกิจที่มีอยู่ระหว่างสองภูมิภาคดังกล่าว เราในภูมิภาคเอเชียมีหลายสิ่งที่อยากจะร่วมแบ่งปันกับภูมิภาคละตินอเมริกา เพราะทั้งสองภูมิภาคต่างมีประวัติศาสตร์อันยาวนาน และ มีความหลากหลายทางวัฒนธรรม โลกที่กำลังเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วได้เปิดโอกาสและความท้าทายให้เรา อันที่จริง ด้วยการดำเนินงานกับความท้าทายนี้ในเชิงรุก อาเซียนและละตินอเมริกาจะสามารถได้รับประโยชน์จากโอกาสอันยิ่งใหญ่ที่มา พร้อมกับความท้าทายเหล่านั้น

นายกฯกล่าวอีกว่า ในส่วนของประเทศไทย เราได้ตระหนักรู้ถึงความสำคัญของภูมิภาคละตินอเมริกาที่กำลังเพิ่มมากขึ้น เราจะยังคงเพิ่มความร่วมมือกับละตินอเมริกาในระดับทวิภาคีและระดับภูมิภาคในระดับทวิภาคี ประเทศไทยมุ่งเน้นความสนใจใน 3 ด้าน ได้แก่ การสนับสนุนให้เกิดการแลกเปลี่ยนการเยือนระดับสูงระหว่างประเทศไทยและประเทศ ในภูมิภาคละตินอเมริกา การเพิ่มความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ ความร่วมมือด้นการค้าการลงทุน โดยเราต้องการที่จะสนับสนุนให้ประเทศในกลุ่มละตินอเมริกาให้ใช้ประเทศไทย เป็นศูนย์กลางสำหรับกิจกรรมทางธุรกิจและเป็นฐานการผลิตในภูมิภาคเอเชียตะวัน ออกเฉียงใต้ ซึ่งขณะนี้ ได้มีภาคเอกชนบางส่วนของละตินอเมริกาที่ให้ความสนใจ

นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ตนหวังว่ากลุ่มเอกชนเหล่านั้น จะได้รับประโยชน์จากแรงจูงใจที่ ประเทศไทยเสนอ ในฐานะ 'ศูนย์กลางการปฏิบัติงานในระดับภูมิภาค' (ROH) ยิ่งกว่านั้นเนื่องจากเราได้ตั้งมั่นที่จะให้การอำนวยความสะดวกด้านการลงทุนเป็นงานหลักอันดับต้นๆ เราจึงได้จัดตั้ง 'ศูนย์ประสานการบริการด้านการลงทุน' (One Start One Stop Service) เมื่อเกือบ 1 ปี ที่ผ่านมา ศูนย์ดังกล่าวได้ให้คำแนะนำและข้อมูลต่างๆ ในทุกขั้นตอนของวงจรการลงทุน ดังนั้น ด้วยการค้าทวิภาคีที่กำลังขยายขึ้นและค่าใช้จ่ายด้านการขนส่งที่กำลังลดลง เราจึงมีมุมมองในเชิงบวกว่าความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจกับละตินอเมริกาจะขยาย และเติบโตอย่างก้าวกระโดดในปีต่อไปจากนี้  เนื่องจากประเทศไทย ต้องการที่จะขยายความร่วมมือในสาขาที่อยู่ในความสนใจของทั้งสองฝ่าย อาทิ ความสัมพันธ์ระหว่างประชาชน วัฒนธรรม การศึกษา การพัฒนามนุษย์ โลจิกติกส์ พลังงานและพลังงานทางเลือก รวมทั้งนวัตกรรมทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีใน

นายอภิสิทธิ์ กล่าวต่อว่า ในระดับภูมิภาคประเทศไทยมีบทบาทที่สำคัญอย่างต่อเนื่องสนับสนุนกรอบความร่วมมือในระดับ ภูมิภาค ไม่ว่าจะเป็นความร่วมมือระหว่างอาเซียนกับตลาดร่วมอเมริกาใต้ตอนล่าง (ASEAN-MERCOSUR)  และในเวทีความร่วมมือระหว่างเอเชียตะวันออกกลางและลาตินอเมริกา (FEALAC)  โดย ไทยและละตินอเมริกาได้ทำงานร่วมกันอย่างใกล้ชิดตลอดมาในฐานะสมาชิกเอเปค  นอกจากนี้ ประเทศไทยยังเป็นประเทศผู้สังเกตการณ์ในองค์การรัฐอเมริกัน (OAS)  ซึ่ง ไทยจะสานความร่วมมืออย่างเข้มแข็งกับประเทศสมาชิกภายใต้ผลประโยชน์ทั้งสอง ฝ่าย โดยเฉพาะอย่างยิ่งการให้ทุนฝึกอบรมผ่าน สำนักงานความร่วมมือเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศ ซึ่งเราได้ให้การสนับสนุนมาตลอดหลายปีที่ผ่านมาแม้ว่า กิจกรรมทางเศรษฐกิจและการค้าระหว่างสองภูมิภาคที่ผ่านมา ยังไม่ถึงระดับที่เราต้องการที่จะเห็น แต่ประเทศไทยมีความตั้งใจที่จะเปิดหน้าใหม่ของความสัมพันธ์กับลาตินอเมริกา

นายกฯ กล่าวต่อว่า ตนมั่นใจว่าประเทศสมาชิกอาเซียน ย่อมจะกล่าวเป็นเสียงเดียวกันในเรื่องนี้ เศรษฐกิจภายในประเทศของไทยก็ก้าวหน้าไปด้วยดี เช่นเดียวกันกับเศรษฐกิจอาเซียนและเรามีความพยายามที่จะขยายความร่วมมือใน ภูมิภาคอย่างบูรณาการทั้งทางด้านการพัฒนาและการเชื่อมโยงระหว่างกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับภูมิภาคละตินอเมริกา ซึ่งเรามองเห็นถึงศักยภาพแม้ว่าระยะทางห่างกันกว่าครึ่งโลก  แต่เรามีความคล้ายคลึงกันในหลายอย่างและเราจะร่วมกันเพิ่มพูนความสัมพันธ์ ทางเศรษฐกิจและความเจริญรุ่งเรืองของทั้งสองภูมิภาค

นายกรัฐมนตรีกล่าวว่า การริเริ่มความร่วมมือระหว่างกันในเวทีนี้มีประโยชน์และควรจัดอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากนายกรัฐมนตรีมั่นใจว่า จะเป็นกลไกสำคัญที่ช่วยขยายโอกาสให้แก่ประชาคมธุรกิจระหว่างทั้งสองภูมิภาค และด้วยผู้เข้าร่วมจากภาคธุรกิจจำนวนมาก ทำให้ย่อมเกิดผลลัพท์ที่จับต้องได้ อาทิ เครือข่ายทางธุรกิจ การแลกเปลี่ยนข้อมูลเกี่ยวกับสินค้าบริการและการลงทุน การท่องเที่ยวระหว่างสองภูมิภาค รวมทั้งโอกาสในการหารือเกี่ยวกับเครื่องมือเพื่อขยายการค้าระหว่างกัน อาทิ ความตกลงการค้าเสรีระหว่างภูมิภาคดังที่มีคำกล่าวว่า ละตินอเมริกาคือความหวัง เป็นภูมิภาคแห่งความหวัง แม้แต่ตัวแทนทางการเมืองยังถูกเรียกว่า ผู้แทนแห่งความหวัง ซึ่งมีสาระสำคัญอย่างเดียวกันกับที่ไทยหวังที่จะขยายความเชื่อมโยงและความ ผูกพันกับละตินอเมริกา เช่นเดียวกับอาเซียน ละตินอเมริกาเองก็เป็นภูมิภาคที่มีชีวิตชีวา สีสัน และ พลวัตร เรามีความคล้ายคลึงกันในหลายสิ่ง และเนื่องจากโอกาสอันมากมายที่เกิดจากการร่วมมือกัน นี่จึงเป็นช่วงเวลาที่น่าตื่นเต้นอย่างแท้จริงสำหรับสองภูมิภาค อย่างไรก็ตามตนเชื่อมั่นว่าการที่ประชาชนของทั้งสองภูมิภาคนี้ต่างมีความเห็นอก เห็นใจและมีน้ำใจให้แก่กัน ด้วยความเชื่อมั่นและน้ำใจระหว่างกันนี้จะช่วยผลักดันความสัมพันธ์ให้ก้าว หน้าขึ้น