posttoday

จุรินทร์ กดปุ่ม จ่ายเงินชาวนาผู้ปลูกข้าว รับเงินส่วนต่างล็อตแรก 15 ต.ค.

14 กันยายน 2562

รมว.พาณิชย์ กดปุ่ม จ่ายเงินชาวนาผู้ปลูกข้าว รับเงินส่วนต่างล็อตแรก 15 ต.ค. 2562 ลุยอีสานเดินหน้าประกันรายได้ชาวนา ภัยแล้ง น้ำท่วม ภัยธรรมชาติ ปลูกกินได้หมด


รมว.พาณิชย์ กดปุ่ม จ่ายเงินชาวนาผู้ปลูกข้าว รับเงินส่วนต่างล็อตแรก 15 ต.ค. 2562 ลุยอีสานเดินหน้าประกันรายได้ชาวนา ภัยแล้ง น้ำท่วม ภัยธรรมชาติ ปลูกกินได้หมด

เมื่อเวลา 09.30 น.วันที่ 14 ก.ย. นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ร่วมประชุมชี้แจงนโยบายและรับฟังความคิดเห็นของประชาชน เกี่ยวกับโครงการประกันรายได้เกษตรกรของรัฐบาล ที่โรงเรียนจันทรุเบกษาอนุสรณ์ อําเภอเกษตรวิสัย จังหวัดร้อยเอ็ด ร่วมกับนายวันชัย คงเกษม ผู้ว่าราชการจังหวัดร้อยเอ็ด ร.ต.ท. เจริญ เหล่าธรรมทัศน์ นายกสมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย นาย บุณยฤทธิ์ กัลยาณมิตร ปลัดกระทรวงพาณิชย์ และคณะผู้บริหาร กระทรวงพาณิชย์

โดยนายจุรินทร์ เดินทางมาในนามของรัฐบาลและกระทรวงพาณิชย์ โดยมาพบกับพี่น้องประชาชนชาวร้อยเอ็ด มหาสารคาม กาฬสินธุ์ ยโสธร สุรินทร์ และศรีสะเกษ โดยโครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปี 2562/63 (รอบที่1)เพื่อช่วยเหลือเกษตรกรผู้ปลูกข้าวตามที่กระทรวงพาณิชย์เสนอเป็นวงเงินงบประมาณ 21,495.74 ล้านบาท และคณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบโครงการประกัน รายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าวฯ ภายในวงเงินงบประมาณดังกล่าวเมื่อวันที่ 27 ส.ค. 2562 ซึ่งคณะอนุกรรมการกํากับดูแลและกําหนดหลักเกณฑ์กลางอ้างอิง โครงการ ประกันรายได้ฯ มีมติเห็นชอบขั้นตอนและวิธีดําเนินโครงการฯแล้ว ในฤดูการผลิตนี้ เกษตรกรผู้ปลูกข้าวจะสามารถติดต่อขอขึ้นทะเบียนเพื่อใช้สิทธิ์ในรอบที่ 1 นี้ได้แล้วตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป โดยชนิดข้าว ราคา และปริมาณประกันรายได้

นายจุรินทร์ กล่าวว่า การกําหนดชนิดและราคา ประกันรายได้ข้าวเปลือกหอมมะลิ ข้าวเปลือกหอมมะลินอกพื้นที่ ข้าวเปลือกเจ้า ข้าวเปลือกหอมปทุมธานี และข้าวเปลือกเหนียว ครอบคลุมพื้นที่เพาะปลูกข้าว ทั่วประเทศ โดยกําหนดราคาและปริมาณประกันรายได้ ณ ราคาความชื้นไม่เกิน 15% โดยชดเชยเป็นจํานวนตัน ในแต่ละชนิดข้าว ดังนี้ ชนิดข้าว คือ ข้าวเปลือกหอมมะลิ 15,000 บาท/ตัน (ครัวเรือนละ14ตัน) ,ข้าวเปลือกหอมมะลินอกพื้นที่ 14,000 บาท/ตัน (ครัวเรือนละ16ตัน) ,ข้าวเปลือกเจ้า 10,000 บาท/ตัน (ครัวเรือนละ 30 ตัน),ข้าวเปลือกหอมปทมุธานี 11,000 บาท/ตัน (ครัวเรือนละ25ตัน) ข้าวเปลือกเหนียว 12,000 บาท/ตัน (ครัวเรือนละ16ตัน

รายงานข่าว กรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ ระบุว่า กรณีที่เกษตรกรเพาะปลูกข้าวมากกว่า1ชนิดจะได้สิทธิ์ไม่เกินจํานวนขั้นสูงของ ข้าวแต่ละชนิด และเมื่อรวมกันต้องไม่เกินขั้นสูงของชนิดข้าวที่กําหนดไว้สูงสุด ทั้งนี้ยกเว้นพันธุ์ข้าวที่ไม่สามารถเข้าร่วมโครงการฯจํานวน18พันธุ์เนื่องจาก เป็นข้าวอายุสั้น ระยะเวลาดําเนินการ การขึ้นทะเบียนเกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต 2562/63 รอบที่ 1 ต้องปลูกข้าวระหว่างวันที่ 1 เม.ย. – 31 ต.ค. 2562 ยกเว้นภาคใต้ ระหว่างวันที่ 16 มิ.ย. 2562 – 28 ก.พ. 2563 ระยะเวลาได้รับสิทธิชดเชยให้เป็นไปตามวันเก็บเกี่ยวที่เกษตรกรระบุในทะเบียน เกษตรกร

โดยคณะอนุกรรมการกํากับดูแล ฯ จะกําหนดและประกาศราคา เกณฑ์กลางอ้างอิงครั้งแรกในวันที่ 16 ต.ค. 2562 (สําหรับเกษตรกรได้รับสิทธิ ตั้งแต่เก็บเกี่ยวถึงวันที่ 15 ต.ค. 2562) และครั้งต่อไปทุก ๆ 15 วัน จนถึงวัน สิ้นสุดการใช้สิทธิตามโครงการ คือ 31 ต.ค. ปี 2563 ขั้นตอนและวิธีการ เป็นระบบ ชัดเจน ตรวจสอบได้ แปลว่ารอบแรกนี้เงินส่วนต่างเกษตรกรผู้ปลูกข้าวจะได้รับครั้งแรกวันที่ 15 ต.ค. 2562

โดยกลุ่มเกษตรกรต้องมีการขึ้นทะเบียนกับกรมส่งเสริมการเกษตรโดยต้องแจ้งวันที่คาดว่าจะเก็บเกี่ยวในการขึ้นทะเบียนเกษตรกร เพื่อใช้เป็นข้อมูลช่วงระยะเวลาที่เกษตรกรจะได้รับสิทธิชดเชย ใช้ข้อมูลผลผลิตเฉลี่ยต่อไร่รายประเทศของข้าวแต่ละชนิดของสํานักงานเศรษฐกิจการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในการคํานวณปริมาณผลผลิตของเกษตรกรที่จะได้รับสิทธิในการชดเชย คํานวณปริมาณผลผลิตที่เกษตรกรจะได้รับสิทธิเพื่อเป็นข้อมูลในการจ่ายเงินชดเชย โดยใช้ข้อมูลและหลักการทางสถิติอันเป็นที่ยอมรับโดยใช้พื้นที่ทั้งหมดที่ ขึ้นทะเบียนปลูกข้าวแต่ละชนิดมาคูณผลผลิตเฉลี่ยต่อไร่เป็นปริมาณผลผลิตที่ต้อง ชดเชย แต่ต้องไม่เกินปริมาณผลผลิตที่มติคณะรัฐมนตรีกําหนด โครงการนี้ได้บูรณาการหน่วยงานกํากับดูแลใกล้ชิดโปร่งใส เป็นธรรม ได้จัดตั้งคณะอนุกรรมการติดตามกํากับดูแลการบริหารจัดการข้าวระดับจังหวัดเพื่อคอยติดตาม กํากับดูแลการดําเนินโครงการประกันรายได้ฯ ให้เป็นไปด้วย ความเรียบร้อยและป้องปรามเพื่อให้การค้าขายปกติ เกิดความเป็นธรรม ไม่มีการ เอารัดเอาเปรียบเกษตรกร

บูรณาการร่วมกันระหว่างหน่วยงานหลักที่เกี่ยวข้องอันได้แก่ 1) กรมการค้าภายใน ในฐานะประธานคณะอนุกรรมการกํากับดูแลและกําหนด เกณฑ์กลางอ้างอิงโครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ทําหน้าที่พิจารณา กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ การกําหนดเกณฑ์กลางอ้างอิงของการประกันรายได้ 2) ธ.ก.ส. เป็นหน่วยงานหลักในการจ่ายเงินชดเชย และช่วยประชาสัมพันธ์ โครงการให้เกษตรกรได้รับทราบ

3) กรมส่งเสริมการเกษตร ดําเนินการขึ้นทะเบียนเกษตรกรผู้ปลูกข้าว โดย คํานึงถึงความสะดวกและประโยชน์ที่เกษตรกรพึงได้รับการช่วยเหลือโดยเร็ว รวมทั้งร่วมกับกรมการค้าภายใน ธ.ก.ส. และจังหวัดแหล่งผลิต ในการชี้แจง เกี่ยวกับโครงการประกันรายได้ฯ ในระดับพื้นที่

การจ่ายเงินแก่เกษตรกร ธ.ก.ส. จะโอนเข้าบัญชีเกษตรกรโดยตรงตามช่วงระยะเวลาที่กําหนดภายใน 3 วัน นับตั้งแต่วันที่ประกาศราคาเกณฑ์กลางอ้างอิงในแต่ละรอบ โดยเกษตรกรไม่ต้องทํา สัญญากับ ธ.ก.ส.