posttoday

รัฐบาลเตรียมเปิดให้ลงทะเบียนจัดอาชีพเสริมหลังน้ำท่วมลดเร่งซ่อมถนนใช้งานได้ใน7วัน

06 กันยายน 2562

"ไตรศุลี"รองโฆษกฯย้ำรัฐบาลระดมมาตรการเยียวยาช่วยเหลือหลังน้ำท่วมคลี่คลายเตรียมเปิดขึ้นทะเบียนจัดอาชีพเสริมระว่างฟื้นฟูซ่อมแซมถนนหนทางให้ใช้งานภายใน 7 วัน

"ไตรศุลี"รองโฆษกฯย้ำรัฐบาลระดมมาตรการเยียวยาช่วยเหลือหลังน้ำท่วมคลี่คลายเตรียมเปิดขึ้นทะเบียนจัดอาชีพเสริมระว่างฟื้นฟูซ่อมแซมถนนหนทางให้ใช้งานภายใน 7 วัน

น.ส.ไตรศุลี ไตรสรณกุล รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยในรายการ Government Weekly ช่วง Live Talk จัดโดยสำนักโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ทุกวันศุกร์ในเวลา 15.00 น. ผ่านเฟสบุ๊ก "ไทยคู่ฟ้า" โดย น.ส.ไตรศุลี กล่าวถึง มาตรการช่วยเหลือพี่น้องประชาชนที่ประสบอุทกภัยภายหลังสถานการณ์คลี่คลายและเข้าสู่ภาวะปกติ เนื่องจากขณะนี้พายุได้ผ่านพ้นไปแล้ว อาจมีฝนบางในบางพื้นที่ จากข้อมูลล่าสุดจากพื้นที่น้ำท่วม 32 จัหวัด เหลือ 10 จังหวัด โดยทางภาครัฐจะเร่งระดมมาตรการให้ความช่วยเหลือโดยเร็วที่สุด

ทั้งนี้เมื่อสถานการณ์ท่วมคลี่คลายทางภาครัฐจะให้พี่น้องประชาชนลงทะเบียบเพื่อรับความช่วยเหลือ ทั้งครอบครัวที่มีผู้เสียชีวิต บ้านพัง เรือกสวนไร่นา หรือ สัตว์เลี้ยง ประสบน้ำท่วมเสียหายจะได้รับการเยียวยาเชื่อเหลือตามหลักเกณฑ์ โดยทุกหน่วยงานจะทำงานร่วมกันจากหลายภาคส่วน ที่จะเข้าไปช่วยเหลือพี่น้องประชาชนหลังน้ำลด อาทิ กระทรวงคมนาคม จะเร่งซ่อมแซมถนนให้กลับมาใช้ได้ปกติภายใน 7 วัน อาทิ ถนน สะพาน หรือ บางเส้นทางที่ถูกตัดขาดโดยน้ำท่วมสูง จนไม่อาจสัญจรไปมาได้ กระทรวงคมนาคมจะแจ้งเตือนพี่น้องประชาชนในพื้นที่ให้รับทราบข้อมูลผ่านทางโซเซียลมิเดียของกระทรวง อาทิ เว็ปไซด์ หรือ เฟสบุ๊ก เพื่อให้ประชาชนได้หลีกเลี่ยงเส้นทางดังกล่าว ถือเป็นแนวทางการแก้ปัญหาเฉพาะหน้า พร้อมกับทำงานบูรณาการกับกองทัพในการสร้างสะพานแบริ่ง หรือ สะพานข้ามชั่วคราวในบางจุดที่น้ำท่วมสูง เป็นต้น

นอกจากนี้นายกรัฐมนตรี และ รัฐบาล เตรียมหามาตรการช่วยเหลือเสริมผ่านการฝึกอาชีพ หรือ อาชีพเสริม อาทิ เลี้ยงสัตว์น้ำ หรือ โคกระบือ เป็นต้น รวมถึงมาตรการระยะยาวในการแก้ปัญหาน้ำท่วม หรือ น้ำแล้งด้วย โดยเฉพาะในพื้นที่น้ำท่วม หรือ แล้ง ซ้ำซาก ดังนั้นขอให้พี่น้องประชาชนมั่นใจว่ารัฐบาลวางมาตรการแก้ปัญหาทั้งระยะสั้น กลาง และ ยาว เพราะสถานการณ์ภัยพิบัติปัจจุบันเปลี่ยนแปลงรุนแรงและรวดเร็ว การเตรียมความพร้อมรับมือเป็นสิ่งสำคัญ เพราะเมื่อสองสัปดาห์ก่อนหน้านี้ ประสบปัญหาภัยแล้ง แต่ต่อมาอีก 2-3 สัปดาห์ถัดมาประสบปัญหาน้ำท่วม

น.ส.ไตรศุลี กล่าวว่า สิ่งที่ประชาชนต้องระมัดระวังในช่วงน้ำท่วมขัง คือ โรคที่มากับน้ำท่วม อาทิ "โรคฉี่หนู" หากมีบาดแผลควรหลีกเลี่ยงแช่น้ำเป็นเวลานานๆ เพราะเกษตรกรในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เสียชีวิตจากโรคฉี่หนูจำนวนมาก ดังนั้นหากเกิดอาการปวด หัว ตัวร้อน อาเจียน อย่าเพิ่งไปซื้อยารับประทานเอง ควรไปพบแพทย์โดยด่วน อีกโรคที่่มากับน้ำท่วม คือ โรคน้ำกัดเท้า โรคตาแดง โรคทางเดินหายใจ ดังนั้นหากพี่น้องประชาชนเป็นโรคดังกล่าวควรรีบไปพบแพทย์ใกล้บ้านโดยด่วน

รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่ามาตรการให้ความช่วยเหลือที่รัฐบาลให้ความสำคัญที่สุด คือ การให้ "กำลังใจ" แก่พี่น้องประชาชน ในยามประสบความทุกข์ยากลำบาก จึงเป็นเหตุผลที่ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และ รัฐมนตรีว่ากากระทรวงกลาโหม เดินทางลงพื้นที่ไปตรวจเยี่ยมและให้กำลังพี่น้องประชาชน ในช่วงวันที่ 4 ก.ย.ที่ผ่านมา และ ล่าสุดในวันจันทร์ที่ 9 ก.ย.นี้ นายกรัฐมนตรี พร้อมคณะเตรียมเดินทางลงพื้นที่จังหวัดอุบลราชธานี เพื่อไปให้กำลังใจพี่น้องประชาชน และเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานที่ทำงานด้วยความเสียสละ

น.ส.ไตรศุลี กล่าวอีกว่า จากประสบการณ์การลงพื้นที่ตรวจน้ำท่วม ไปกับ นายอนุทิน ชา รองนายกรัฐมนตรี และ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ที่จังหวัดร้อยเอ็ด ถือเป็นพื้นที่ที่น้ำท่วมตลอดทุกปี เพราะเป็นพื้นที่รับน้ำ ดังนั้นมาตรการเตือนภัยและการช่วยเหลืออพยพพี่น้องประชาชนถือเป็นมาตรการสำคัญมากๆ โดยเฉพาะการระดมกำลังเจ้าหน้าที่เคลื่อนย้าย ผู้ป่วยติดเตียง เด็กสตรีหรือหญิงตั้งครรภ์ ต้องได้รับการช่วยเหลือเร่งด่วนก่อน รวมถึงการเยียวยาดูแลจิตใจถือเป็นเรื่องสำคัญด้วย เพราะพี่น้องประชาชนบางคนไม่เคยประสบอุทกภัยมาก่อน บ้านพัง น้ำท่วมไร่นา จนสิ้นเนื้อประดาตัว และ ต้องสูญเสียญาติพี่้น้องไปกับน้ำท่วม ดังนั้นการให้กำลังเป็นสิ่งสำคัญ จึงมีข้อแนะนำ 3 ส. ดังนี้ 1. "สอดส่อง" คอยดูแลคนใกล้ชิดว่ากินไม่ได้นอนไม่หลับหรือไม่ เพราะเป็นสัญญาของโรคเครียด 2. "ใส่ใจ" เข้าไปพูดคุยปลอบโยนหรือแม้แต่การจับมือแล้วนั่งพูดคุยรับฟังปัญหาสามารถช่วยเยียวยาทางจิตใจได้อย่างมาก และ 3. "ส่งต่อ" หากมีอาการเครียดหนักมากๆ อาจต้องส่งตัวไปกรมสุขภาพจิต หรือ ปรึกษาทางสายด่วน 1323

นอกจากนี้ สิ่งที่อยากแนะนำพี่น้องประชาชน เมื่อประสบภัยน้ำท่วม คือ อย่าหวงแต่ทรัพย์สินส่วนตัวหรือของมีค่า แต่ควรเก็บเอกสารหลักฐานส่วนตัวทางราชการด้วย เพื่อยืนยันตัวตนในการขึ้นทะเบียบรับความช่วยเหลือ และ การับข้อมูลข่าวสารต้องระวังข่าวปลอม หรือ เฟคนิวส์ โดยไม่อ้างอิงแหล่งที่มาของข่าวสาร เช่น เมื่อไม่กี่วันที่ผ่านมาประชาชนในพื้นที่ โทรศัพท์มาสอบถามว่าพายุจะกลับเข้ามาอีก จนสร้างความตื่นตระหนกในพื้นที่ แต่เมื่อตรวจสอบจากรมอุตุนิยมวิทยา ปรากฎว่าข้อความที่เผยแพร่ในเฟสบุ๊ก ไม่เป็นความจริง ดังนั้นผู้ที่เผยแพร่ไม่ว่าจะเป็นบุคคลใด ไม่ควรมีพฤติกรรมแบบนั้นในสถานกาณ์เช่นนี้