posttoday

ไทยติดอันดับ78คอร์รัปชั่นโลก

26 ตุลาคม 2553

ไทยติดอันดับ 78 คอร์รัปชั่นโลก ลดลงกว่าปีที่แล้วที่อยู่อันดับที่ 84  ด้าน เดนมาร์ก สิงคโปร์ นิวซีแลนด์ คว้าที่ 1 ร่วม

ไทยติดอันดับ 78 คอร์รัปชั่นโลก ลดลงกว่าปีที่แล้วที่อยู่อันดับที่ 84  ด้าน เดนมาร์ก สิงคโปร์ นิวซีแลนด์ คว้าที่ 1 ร่วม

รศ.ดร.จุรี วิจิตรวาทการ เลขาธิการองค์กรเพื่อความโปร่งใสในประเทศไทย (Transparency Thailand) เปิดเผยผลการจัดอันดับดรรชนีชี้วัดภาพลักษณ์คอร์รัปชั่นประจำปี พ.ศ. 2553 ขององค์กรเพื่อความโปร่งใสนานาชาติ (Transparency International) พบว่า ประเทศไทยได้ 3.5 คะแนน จากคะแนนเต็ม 10 คะแนน อยู่อันดับที่ 78 จากการจัดอันดับทั้งหมด 178 ประเทศทั่วโลก และอยู่อันดับที่ 9 จาก 23 ประเทศในภูมิภาคเอเชีย 1 ซึ่งเป็นคะแนนและอันดับที่ดีขึ้นกว่าเมื่อปีที่แล้วที่ได้อันดับที่ 84 ได้ 3.40 คะแนน โดยใช้ดรรชนี CPI (Corruption Perceptions Index) คือ ดรรชนีชี้วัดภาพลักษณ์ปัญหาคอร์รัปชันของ ประเทศต่างๆ ทั่วโลก ที่มีค่าคะแนนตั้งแต่ 0 (คอร์รัปชันมากที่สุด) - 10 (คอร์รัปชันน้อยที่สุด)

ทั้งนี้องค์กรเพื่อความโปร่งใสนานาชาติ ซึ่งเป็นองค์กรอิสระ นานาชาติที่ก่อตั้งขึ้นเพื่อรณรงค์แก้ไขปัญหาคอร์รัปชันและมีเครือข่ายใน 120 ประเทศทั่วโลกและได้จัดทำดรรชนีชี้วัดภาพลักษณ์คอร์รัปชันของประเทศต่างๆเป็นประจำทุกปีมาตั้งแต่ พ.ศ.2538 ซึ่งในปี พ.ศ. 2553 นี้ ได้จัดอันดับจากประเทศต่างๆ จำนวน 178 ประเทศ โดยจัดอันดับ จากผลสำรวจของสำนักโพลล์ต่างๆ จำนวน 13 แห่ง ในช่วงปี พ.ศ 2552 ถึง 2553 โดยผลการจัดอันดับประจำปี พ.ศ. 2553 ประเทศไทยได้คะแนนเท่ากับประเทศจีน โคลัมเบีย กรีซ เลโซโท เปรู เซอร์เบีย ขณะที่ 10 อันดับแรก เดนมาร์ก นิวซีแลนด์ สิงคโปร์ เป็นกลุ่มประเทศที่ครองตำแหน่งที่หนึ่งร่วมกัน รวม 9.3 คะแนน ตามมาด้วย ฟินแลนด์ และสวีเดน 9.2 คะแนน อันดับที่ 6 แคนาดา 8.9 อันดับที่ 7 เนเธอร์แลนด์ 8.8 คะแนน อันดับที่ 8 ร่วมได้แก่ ออสเตรเลีย และสวิสเซอร์แลนด์ 8.7 คะแนน และอันดับที่ 10 นอร์เวย์ 8.6 คะแนน นอกจากนี้ยังเป็นที่น่าสังเกตว่า ประเทศที่มีคะแนนต่ำลงอย่างเห็นได้ชัด ได้แก่ สาธารณรัฐเชค กรีซ ฮังการี อิตาลี มาดากัสการ์ ไนเจอร์ และสหรัฐอเมริกา

ซึ่งบรรดาประเทศ 1 เฉพาะประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออก เอเชียใต้ และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (ไม่รวมเอเชียกลางและตะวันออกกลาง) 2 เหล่านี้ส่วนหนึ่งเป็นกลุ่มประเทศที่กำลังเผชิญปัญหาวิกฤตเศรษฐกิจการเงิน คะแนนที่ต่ำลงอาจ และสามารถบ่งชี้ได้ว่าภาพลักษณ์ของปัญหาทุจริตคอร์รัปชันมีความเกี่ยวพันอย่างใกล้ชิดกับปัญหาเศรษฐกิจ และปัญหาของภาคธุรกิจเอกชน ส่วนประเทศที่มีคะแนนต่ำสุดในการจัดอันดับครั้งนี้ ได้แก่ โซมาเลีย (1.1 คะแนน) พม่า (1.4 คะแนน) อัฟกานิสถาน (1.4 คะแนน) และอิรัก (1.5 คะแนน) ซึ่งประเทศที่มีคะแนนน้อยเหล่านี้ส่วนใหญ่เป็นประเทศที่กำลังอยู่ในภาวะสงครามหรือมีความขัดแย้งภายในประเทศ จึงถูกมองว่าขาดความโปร่งใสในการบริหารบ้านเมือง

และเมื่อพิจารณาเฉพาะการจัดอันดับของกลุ่มประเทศในภูมิภาคเอเชีย พบว่า ประเทศที่มีคะแนนเป็นอันดับที่ 1 คือ สิงคโปร์ (9.3 คะแนน) ส่วนประเทศที่มีคะแนนต่ำที่สุดคือ พม่า (1.4 คะแนน) ปัญหาทุจริตคอร์รัปชันจึงเป็นปัญหาร่วมกันของทุกฝ่ายและทุกประเทศที่ต้องร่วมมือกันแก้ไขอย่างจริงจัง โดยในปีนี้ประเทศไทยได้เป็นเจ้าภาพการจัดประชุมนานาชาติว่าด้วยการต่อต้านการทุจริต ครั้งที่ 14 ในหัวข้อ “Restoring Trust: Global Action for Transparency” ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ ระหว่างวันที่ 10 - 13 พฤศจิกายน 2553 ซึ่งในการประชุมครั้งนี้จะมีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นจากผู้เข้าร่วมประชุมที่มาจากประเทศต่างๆ ทั่วโลก