posttoday

ดุสิตโพลเผยคน61.21%ชี้ครม.สัญจรมีนัยยะทางการเมือง

22 กรกฎาคม 2561

ดุสิตโพลระบุ คน61.21% มองครม.สัญจรมีนัยยะทางการเมือง ขณะที่ 52.01%ไม่ควรมีนักการเมืองในพื้นที่มาร่วมต้อนรับ

ดุสิตโพลระบุ คน61.21% มองครม.สัญจรมีนัยยะทางการเมือง ขณะที่ 52.01%ไม่ควรมีนักการเมืองในพื้นที่มาร่วมต้อนรับ

เมื่อวันที่ 22 ก.ค. สวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยสวนดุสิต เผยแพร่ผลสำรวจเรื่อง "ครม.สัญจรในสายตาประชาชน" โดย สำรวจความคิดเห็นของประชาชนทั่วประเทศ จำนวนทั้งสิ้น 1,132 คน ระหว่างวันที่ 17-21 ก.ค. 2561 ต่อกรณีการประชุมครม.สัญจร ระหว่างวันที่ 23-24 ก.ค. ณ จ.อำนาจเจริญและอุบลราชธานี โดยมี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นผู้นำทีม ครม. ลงพื้นที่เพื่อติดตามความก้าวหน้าโครงการ และดูความต้องการของประชาชนในพื้นที่ว่า มีปัญหา อุปสรรคอะไรบ้าง แต่ก็มีกระแสวิพากษ์วิจารณ์ว่า อาจมีนัยยะทางการเมือง สรุปผลได้ ดังนี้

1. ประชาชนคิดอย่างไร? กับ ครม.สัญจร ที่ จังหวัดอำนาจเจริญ และอุบลราชธานี

อันดับ 1 อยากให้การลงพื้นที่เป็นการแก้ปัญหาความเดือดร้อนให้ประชาชนอย่างแท้จริง 50.22%

อันดับ 2 อาจมีนัยยะทางการเมือง เกี่ยวกับการหาเสียง ดูด ส.ส.ตามที่เป็นข่าว 33.38%

อันดับ 3 ไม่อยากเห็นความขัดแย้ง หรือหาประโยชน์จากเรื่องนี้ 26.74%

อันดับ 4 อยากให้มีการลงพื้นที่ทุกจังหวัด มีความเท่าเทียมกัน 21.12%

อันดับ 5 รัฐบาลที่ผ่านมาก็มีการจัด ครม.สัญจร เป็นเรื่องปกติทางการเมือง 14.62%

2. “ผลดี” ที่จะได้จากการจัด ครม.สัญจร คือ

อันดับ 1 ได้ลงพื้นที่ ได้พบปะ รับฟังปัญหาจากคนในพื้นที่จริง 68.14%

อันดับ 2 ประชาชนได้ใกล้ชิด พูดคุยกับนายกฯ โดยตรง 39.26%

อันดับ 3 มีการอนุมัติงบประมาณเพื่อดำเนินโครงการที่สำคัญในพื้นที่ 25.54%

อันดับ 4 กระตุ้นการทำงานของข้าราชการในพื้นที่ 23.87%

อันดับ 5 เป็นการสร้างขวัญกำลังใจให้ประชาชน 19.69%

3. “ความคาดหวัง” ของประชาชนต่อการจัด ครม.สัญจรในครั้งนี้ คือ

อันดับ 1 เปิดโอกาสให้ผู้ที่เดือดร้อนประสบปัญหา ได้เข้าพบและชี้แจงด้วยตนเอง 46.74%

อันดับ 2 มีการนำผลจากการประชุมไปสานต่อ แก้ไขปัญหาอย่างตรงจุด 30.37%

อันดับ 3 จังหวัดได้รับการพัฒนาที่ดีขึ้น บรรยากาศเป็นไปด้วยดี 24.17%

อันดับ 4 ลงพื้นที่ด้วยความจริงใจ ไม่มีนัยยะแอบแฝง 19.55%

อันดับ 5 ใช้งบประมาณอย่างคุ้มค่า เกิดประโยชน์สูงสุด 16.85%

4. ประชาชนคิดว่า การจัด ครม.สัญจร ครั้งนี้มีนัยยะทางการเมืองหรือไม่?

อันดับ 1 มีนัยยะทางการเมือง 61.21% เพราะ เป็นการลงพื้นที่เพื่อหยั่งเสียงประชาชน มีความข้องเกี่ยวกับการเลือกตั้ง ต้องการดูกระแสตอบรับ ของประชาชน เป็นการหาแนวทางในการทำงาน สร้างผลงาน สถานการณ์ทางการเมืองเข้มข้น แข่งขันกัน มากขึ้น ฯลฯ

อันดับ 2 ไม่มี 38.79% เพราะ เป็นการประชุม ครม. สัญจรปกติ ไม่น่ามีนัยยะแฝง รัฐบาลต้องการเข้าถึงประชาชนให้มากขึ้น เชื่อมั่นในตัวนายกฯ รัฐบาลมีอำนาจมากพออยู่แล้ว ฯลฯ

5. ประชาชนเห็นด้วยหรือไม่ กับ กระแสข่าวการประชุมครั้งนี้ว่าเป็นการ “ดูด ส.ส.”

อันดับ 1 ไม่แน่ใจ 47.70%เพราะ ไม่รู้ข้อมูลข้อเท็จจริง ยังไม่เห็นความเคลื่อนไหว ยังไม่ชัดเจน อาจเป็นเพียงการโจมตีกันเพื่อทำลายความเชื่อมั่นให้ลดลง ฯลฯ

อันดับ 2 เห็นด้วย 31.01% เพราะ รัฐบาลต้องการสร้างฐานเสียง ขยายกลุ่มนักการเมืองที่มีอยู่ หาสมาชิกเพิ่มเพื่อให้ตรงใจประชาชน มีการย้ายพรรคกันหลายคน รัฐบาลมีอำนาจมาก ฯลฯ

อันดับ 3 ไม่เห็นด้วย 21.29%เพราะ ขึ้นอยู่กับความสมัครใจของ ส.ส. เป็นการสร้างกระแสมากกว่า การประชุมใช้ระยะเวลาสั้น ไม่น่าจะทำอะไรได้ รัฐบาลมีความตั้งใจในการทำงาน ต้องการลงพื้นที่เพื่อรับฟังประชาชน ฯลฯ

6. ประชาชนคิดว่าควรจะมีนักการเมืองในพื้นที่มาร่วมต้อนรับ ครม.สัญจร หรือไม่?

อันดับ 1 ไม่ควร 52.01% เพราะ อาจถูกมองว่าเป็นเกมการเมือง ต้องการเอาใจรัฐบาล ไม่เป็นกลาง จะได้ตัดปัญหา ไม่เป็นประเด็น ให้ถูกโจมตี ควรเป็นหน้าที่ของหน่วยงานในพื้นที่ที่มาต้อนรับมากกว่า ฯลฯ

อันดับ 2 ควรจะมี 47.99% เพราะ เป็นตัวแทนของประชาชนในพื้นที่ เป็นปากเสียงแทนประชาชน จะได้พูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ในสิ่งที่เป็นประโยชน์ ไม่ใช่เรื่องเสียหายอะไรที่จะพบนายกฯ คอยสังเกตการณ์ ดูการทำงานของรัฐบาล ช่วยตรวจสอบการทำงานของรัฐบาล ฯลฯ