posttoday

"มัลลิกา"ลุยอบรมชาวบ้านรู้ทันข่าวสาร

10 เมษายน 2561

มัลลิกาห่วงสังคมติดโซเชี่ยลเสพข่าวเท็จ ดันมูลนิธิจิตอาสาเปิดอบรมให้ชาวบ้านรู้ทันข่าวสาร

มัลลิกาห่วงสังคมติดโซเชียลเสพข่าวเท็จ ดันมูลนิธิจิตอาสาเปิดอบรมให้ชาวบ้านรู้ทันข่าวสาร

นางมัลลิกา บุญมีตระกูล มหาสุข ประธานมูลนิธิมัลลิกาเพื่อประชาชน ให้สัมภาษณ์หนังสือพิมพ์โพสต์ทูเดย์  ถึงจุดเริ่มต้นที่สนใจในเรื่องของโซเชียลมีเดียว่า  ความจริงแล้วเรามาจากสื่อ (อดีตผู้สื่อข่าวสถานีโทรทัศน์ทีไอทีวี )  เพราะฉะนั้นอะไรที่เป็นสื่อสารมวลชนอะไรที่เข้าถึงข้อมูลข่าวสาร ก็จะอยู่ในอินเนอร์ (INNER) หรือความเป็นเรา ขอย้อนไปเมื่อประมาณ 10 ปีที่แล้วมอลลี่เป็นที่ปรึกษา รัฐมนตรีกระทรวงเทคโนโลยี่สารสนเทศและการสื่อสาร (จุติ ไกรฤกษ์)  เพราะฉะนั้นหลังจากที่เรามีความสนใจและใช้อยู่สม่ำเสมอ อะไรที่เกี่ยวกับเรื่องของโซเชียลมีเดียและการสื่อสาร เข้ามาในประเทศไทยเราใช้หมด รวมทั้งแอพพลิเคชั่นที่คนไทยไม่นิยมใช้

ไม่ว่าจะเป็นแอพที่คนอเมริกันใช้กัน เพราะเรามีเพื่อนอยู่ต่างประเทศด้วย  ก็จะใช้พูดคุยกับเพื่อนเพื่อน ซึ่งปัจจุบันใช้อยู่ 4 Platform เท่านั้นคือ Facebook เช่น เพื่อนเพื่อนสมัยที่เคยเรียนอยู่ด้วยกัน  สมมุติว่าเพื่อนกำลังโชว์หักข้าวโพดทำไร่อยู่ต่างจังหวัด แต่เราอยู่ในกทม.นั่งจิบกาแฟ และข้อมูลมาหากันได้ทันที  ซึ่งกลายเป็นการลดทั้งความเหลื่อมล้ำและเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพของการเป็นเพื่อน

ขณะเดียวกันก็ส่งผลต่อการสื่อสารหรือ LINE , Twitter และ Instagram 4 แอพพลิเคชั่นนี้เป็น 4 สี่ที่มาลิกาใช้ทั้งหมดซึ่งเป็นไปตามโดยพื้นฐานของนิสัยและเราได้ใช้แอพทั้ง 4 แอพนี้ ที่ใช้อย่างจริงจังรวมทั้งเมื่อมีเทคโนโลยีอะไรที่ปรับเปลี่ยนเราก็จะปรับไปใช้อยู่ตลอดเวลา หรือการซื้อของเมื่อก่อนก็จะเดินเลือกซื้อแต่ตอนนี้จะช๊อปออนไลน์ จะซื้ออะไรก็ง่ายขึ้นแต่การตัดสินใจก็ต้องเพิ่มประสิทธิภาพมากขึ้น

มัลลิกา บอกว่า ในช่วงที่มาเป็นที่ปรึกษารัฐมนตรีกระทรวงไอซีที ได้เข้าไปอยู่ในโครงสร้างที่จะต้องศึกษาและวางแผนในระดับบริหาร และโปรเจ็คต่างๆที่คุณจุติ ไกรฤกษ์ และรัฐบาลอภิสิทธิ์คิดในตอนนั้น เป็นโปรเจคที่ใหญ่มาก เช่นโครงข่ายบรอดแบนด์แห่งชาติ  เป็นลักษณะของการลากโครงข่ายโทรศัพท์ให้เต็มพื้นที่ทั่วทั้งประเทศ 76 จังหวัดเพื่อที่จะเป็นรากฐานเชื่อมไปสู่ โครงการที่จะต้องมีฟรีไวฟายเป็นโครงการต่อมา และเพื่อที่จะให้ทุกที่แม้ไม่มีเงินที่จะเชื่อม 4G หรือ 5 จีหรือไม่มีเงินที่จะต้องไปซื้ออินเตอร์เน็ตใช้ แต่ประชาชนก็สามารถที่จะเข้าถึงไวฟายได้ ไม่ว่าจะเป็นตรงจุดไหนของหมู่บ้านของประเทศ เรื่องนี้เป็นโครงการเชื่อมต่อที่ต่อยอดระหว่างโครงข่ายบรอดแบนด์แห่งชาติกับฟรีไวฟาย ซึ่งปัจจุบันรัฐบาลประยุทธ์ก็ได้มาเชื่อมต่อแล้ว  ในช่วงนั้นมอลลี่ได้อยู่ในวอร์รูม และช่วยวางรากฐานประเทศ ในเรื่องของบรอดแบนด์แห่งชาติ เพราะฉะนั้นจึงได้เห็นในเรื่องของเชิงบริหารมากขึ้น และได้วางโครงสร้างในการบริหารองค์กรขนาดใหญ่ เราจึงมองเห็นว่าเรื่องเกี่ยวกับเทคโนโลยีมีความสำคัญต่อการพัฒนามากที่สุดและเรื่องเกี่ยวกับการใช้เทคโนโลยีต่อการสื่อสาร มีประสิทธิภาพที่สุด ต่อการที่จะปฏิรูปปฏิวัติและปฏิสังขรณ์สังคม มากกว่าทุกครั้งที่เคยเห็น และเรื่องที่เกี่ยวกับเทคโนโลยี และเกี่ยวกับดิจิตอลนั้นเป็นเรื่องที่สามารถจะเรียนรู้และฝึกฝนกันได้ ไม่ว่าคุณจะอายุเท่าไหร่ และสามารถที่จะเป็นคนรุ่นใหม่ได้หมด มันขึ้นอยู่กับทุกคน และทุกคนไปพร้อมกันไปพร้อม เพราะเทคโนโลยีมาในช่วงที่เราเติบโต

“มันมาตอนที่บางคนแก่ หรือมาขณะที่บางคนกำลังโต มาขณะที่บางคนเรียน บางคนใช้เล่นเกมส์ แต่ปรากฏว่าคนทุกกเจนเนอเรชั่นได้ใช้พร้อมกัน ไม่ว่าจะเป็นเจนZเจนYเจนXเจนเบบี้บูม จึงไม่มีช่องว่างระหว่างวัย ทั้งหมดนี้ขึ้นอยู่กับการเอาใจใส่ของแต่ละคน ว่าจะใส่ใจมากน้อยแค่ไหนในเรื่องของการฝึกฝนในชีวิตประจำวัน เพราะโซเชียลมีเดียเกี่ยวข้องกับคนในชีวิตประจำวัน ตั้งแต่ตื่นนอนจนกระทั่งในเรื่องของการเรียนการศึกษาและหน้าที่การงานจะทำอาชีพใดก็ตาม ทั้งเรื่องของการทำงานในภาคธุรกิจราชการและทำงานในระดับชาติ ทำงานการเมืองเรื่องนี้ทุกคนต้องศึกษาหมด เพราะฉะนั้นจึงมองว่า เป็นความน่าสนใจ”

มัลลิกา  บอกว่า  ในปัจจุบันนี้ดิจิทัลเปลี่ยนแปลงทุก 3 เดือน ดังนั้นถ้าคุณล่าช้าเพียงแค่ 3 เดือนคุณก็จะไม่ทันคนอื่นแล้ว คุณก็ out ไปแล้ว เพราะฉะนั้นส่วนตัวจึงมองว่า เป็นความท้าทายมากดังนั้นไม่ว่าจะเป็นองค์กรไหนก็ตามหรือบริษัทที่เราให้คำปรึกษาอยู่ หรือไม่ว่าจะเป็นพรรคการเมืองที่ทำงาน ให้คำปรึกษาอยู่ ทั้งหมดนี้เราจึงนำพาเขาไปสู่การให้ความสำคัญ กับการเปลี่ยนแปลง ด้วยการใช้ดิจิตอลและเทคโนโลยีดังนั้นโครงการอบรมซึ่งเกี่ยวกับเรื่องของโซเชียลมีเดีย มูฟเมนท์ เวิร์คช็อปเพื่อให้สามารถปฏิบัติได้ 

มัลลิกา บอกว่า ด้วยความสนับสนุนจากคุณจุติ ไกรฤกษ์ (เลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์) และคุณอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ (หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์) ให้ความสำคัญมาก กับการเปลี่ยนแปลงทางสังคมด้วยดิจิตอล ตั้งแต่เป็นรัฐบาล เพราะดิจิตอลเข้ามาเปลี่ยนแปลงสังคม  เราจึงคิดว่าการที่เราจะติดอาวุธทางความรู้ และการใช้ให้เป็น ติดอาวุธการเท่าทันเทคโนโลยี ติดอาวุธการใช้โซเชียลมีเดียเพื่อการสื่อสารมากยิ่งขึ้นเป็นเรื่องจำเป็นของชีวิตมนุษย์ปกติ จึงจำเป็นอย่างยิ่งสำหรับทุกองค์กร

“ด้วยความที่เรามีประสบการณ์ มีทีมงานและมีการเข้าถึงความรู้ทางด้านโซเชียลมีเดีย เราจึงมีแคมเปญอาสาช่วยเหลือทุกๆองค์กร ไม่ใช่แค่องค์กรพรรคการเมือง ที่เขานำเสนอมาผ่านมูลนิธิมัลลิกาเพื่อประชาชน หรือโดยผ่านบริษัท Natch Coperation เพื่อที่จะไปให้คำปรึกษา  เป็นวิทยากรในการอบรมศึกษา หรือเวิร์คช็อปให้กับคนในพื้นที่ต่างจังหวัด ให้คนที่มีสมาร์ทโฟน ให้คนที่อยู่ในสังคมโซเชียลมีเดียเพื่อการศึกษา ได้ใช้สมาร์ทโฟนให้เป็นอย่างครบถ้วน ใช้แพลตฟอร์มบนสมาร์ทโฟน  และใช้ App Store ในการที่จะโหลดแพลตฟอร์มอะไร ที่สมควรใช้ในการสื่อสาร หรือสมควรที่จะใช้ในการเข้าถึงประชาชน กลุ่มไหนเท่าไหร่อย่างไร ต่อชั่วโมงกี่วันข้อมูลพวกนี้ได้ผ่านการสำรวจทั่วโลก ทั่วเอเชียรวมทั้งประเทศไทย เพื่อที่จะให้คนซึ่งได้รับการอบรมเห็นความสำคัญและพร้อมติดอาวุธ ในการใช้แอพพลิเคชั่นเพื่อการสื่อสารต่างๆบนโทรศัพท์มือถือ ซึ่งมอลลี่มองว่าการอบรมการใช้โทรศัพท์มือถือ โดยใช้แอพพลิเคชั่นเพื่อการสื่อสารบนมือถือเป็นเรื่องที่จำเป็นที่สุดในชีวิต เพราะชีวิตมนุษย์โดยเฉพาะคนไทยในปัจจุบันอยู่บนสมาร์ทโฟนเสียเป็นส่วนใหญ่

แต่สำหรับชีวิตคนปกติปัจจุบันนี้ แค่ใช้โทรศัพท์มือถือ ก็จะเข้าถึงทุกสิ่งอย่าง ข้อมูลข่าวสาร เพื่อน ญาติพี่น้อง เพราะฉะนั้นเราจึงเน้นการใช้มือถือและแอพพลิเคชั่นบนสมาร์ทโฟนให้เกิดประสิทธิภาพที่สุด ทั้งนี้ถ้าเขารู้สมรรถนะในการใช้ เค้าก็จะสามารถใช้ให้เกิดประโยชน์ 100% เพราะปัจจุบันนี้คนมีมือถือสมาร์ทโฟนใช้โทรเข้าโทรออก ซึ่งเรามองว่ามันน้อยไปแต่เราต้องใช้ให้มีประสิทธิภาพเพิ่มมากขึ้น เพราะฉะนั้นในการอบรมต่างๆก็จะเน้นหนักในเรื่องของการใช้ให้เป็น 

ในเรื่องของการให้คำแนะนำปรึกษาอบรมนั้น  ไม่ใช่เฉพาะองค์กรที่เราอยู่ด้วย แต่รวมถึงองค์กรอื่นๆซึ่งเป็นองค์กรจิตอาสา มูลนิธิหรือสถานศึกษาหากเขาติดต่อมาเรา เราก็จะไปให้ความรู้  ซึ่งมีทั้งที่เขาให้ค่าตอบแทนเรา และเป็นวิทยากรให้ฟรี  ทั้งนี้เมื่อเราไปอบรมแล้ว สิ่งที่ได้ก็คือจะเห็นผลชัดมากว่าการสื่อสารจะมีประสิทธิภาพมากขึ้น และทุกคนจะมีครีเอทีฟในชีวิตประจำวันมีการคิดก่อนที่จะสื่อมากขึ้น ทุกคนจะมีของที่จะส่ง ของที่จะสื่อมากขึ้น ของนั้นคืออะไรเวลาที่เราไปอบรมแต่ละที่ หรือพบปะจะเจอคนในชีวิตประจำวัน

เราจะเห็นบ่อยมากว่า ทุกคนมีโทรศัพท์ทุกคนมีไอเดีย แต่ทุกคนไม่สามารถที่จะผลิตได้ เพื่อที่จะส่งและสื่ออะไรออกไป เต็มที่ก็ส่งข้อความหนึ่งถึงสองคำหรือส่งรูปทุกรูปที่ถ่ายมาเป็นร้อยๆรูป 10 รูป 5 รูปส่งไปใน LINE ซึ่งไม่เกิดประสิทธิผลกับการรับข่าวสารหรือข้อมูล มันไม่สามารถที่จะโน้มน้าวคนได้หรือไม่สามารถที่จะทำให้คนเห็นด้วยกับเราได้

เพราะฉะนั้นวิธีการที่ทีมมัลลิกาไปเวิร์คช็อปแต่ละพื้นที่ จะมีการสอนการใช้แอพพลิเคชั่นอย่างง่าย ในการตัดทั้งคลิปวิดีโอเพื่อการสื่อสาร ให้ได้ประสิทธิภาพ และแอพพลิเคชั่นที่เกี่ยวข้องกับแพลตฟอร์ม  ที่จะตัดต่อโฟโต้ชอปแบนเนอร์ เพื่อที่จะใช้ภาพร่วมกับข้อความที่เรา create ขึ้นเพื่อมีประสิทธิผล สำหรับการสื่อสาร ให้ตรง ชัดเร็วและสั้นที่สุดเรื่องนี้ถือว่าเป็นทักษะสื่ออย่างไรง่าย เพราะสื่อทุกยุคทุกสมัยจะต้องมีการส่งสาร สื่อสารในลักษณะที่ทำให้ประชาชนเข้าถึงมากที่สุด เข้าใจง่ายที่สุดและเข้าใจในเวลาที่สั้นที่สุด เพราะสมาธิของคนก็จะมีน้อยมากในการที่จะรับสารรับข่าวรับสื่อในแต่ละเรื่อง ทั้งหมดที่กล่าวมานั้น ไม่ได้เกี่ยวข้องกับการเมืองนะคะ แต่เพราะมอลลี่อยากให้ความรู้กับทุกคน

“ก่อนลงพื้นที่เราต้อง 1.ศึกษาธรรมชาติ และข้อมูลพื้นฐานของคนในแต่ละพื้นที่ก่อน เช่น ภาคอีสาน ภาคเหนือ การส่งภาษาในการสื่อสารต้องทำอย่างไร เพื่อการเข้าถึงที่ง่ายและรวดเร็ว ให้เขาได้รับง่ายที่สุด 2.ดูอายุผู้เข้าอบรมเราจะได้แบ่งเจเนอเรชั่นว่า เขาจะรับสารเราได้มกน้อยแค่ไหน และทำข้อมูลเกี่ยวกับโทรศัพย์สมาทโฟนที่ใช้ในการอบรม ว่าใช้ Android หรือ IOS เราก็จะได้รู้ประสิทธิภาพ เพื่อที่จะได้จัดทีมงานได้ถูกต้อง

“สิ่งที่สำคัญที่สุดของการอบรมและบรรยาย คือทำอย่างไรให้เขาปฏิบัติได้จริง เมื่ออบรมเสร็จแล้วเขาสามารถที่จะเป็นนักข่าว 1 คนในพื้นที่ เมื่ออบรมเสร็จก็จะมีคนพยายามอยู่ครึ่งนึง ส่วนอีกครึ่งนึงก็พยามยามตามมา เขาจะส่งสารที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น  ไม่ให้เขาเบื่อ เพราะเขาต้องอยู่กับเราทั้งวัน แต่ปรากฏว่าในการอบรมแต่ละครั้งที่ผ่านมา เราทดสอบแล้วได้ประสิทธิภาพมากตรงที่ว่า เขาใส่ใจ เพราะฉะนั้นทักษะที่เราจะต้องใช้ในการอบรม คือ ต้องปฏิบัติให้ได้มากและเร็ว ทำให้น่าสนใจ เพื่อที่ผู้อบรมจะต้องตื่นตัวไปพร้อมกับเรา นอกจากนี้ทีมงานก็สำคัญเพราะเราต้องจับมือเขาสอน

นางมัลลิกา กล่าวทิ้งท้ายถึงสิ่งที่อยากจะฝากไปยังผู้ที่ที่ใช้โซเชียลมีเดียว่า 1. ต้องรู้หลักในการใช้ 2. รู้กฎหมายซึ่งเป็นเรื่องสำคัญมากเพราะบางคนใช้โดยที่ไม่รู้กฎหมาย เสร็จแล้วก็พลาดในคดีหมิ่นประมาทพลาดในคดีลามกอนาจาร ส่งแชร์และผิด พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์  ซึ่งข้อหาแรงมากที่ทำให้เกิดความแตกแยก ซึ่งผิด พ.ร.บ.ความมั่นคง  เพราฉะนั้นสิ่งที่คิดว่าทุกคนควรจะมี คือ ใช้อย่างมีหลัก ควรรู้และอ่านกฎหมาย เพราะคนไม่ค่อยชอบอ่านกฎหมาย และก็มักจะเผลอด้วยอารมณ์ชั่ววูบในการโพสต์ แชร์และในการใช้ที่ไม่เกี่ยวกับวิชาชีพจึงทำให้โซเชียลมีเดียมีคนใช้จำนวนมากแต่ข้อมูลขยะก็เยอะมากเช่นกัน

นางมัลลิกา กล่าวว่า 3. ควรแยกแยะข้อมูลจริงข้อมูลเท็จข้อมูลขยะด้วยการสังเกตหากเป็นข้อมูลข่าวสารก็ต้องสังเกตจากลิ้งค์ข่าวหรือสำนักข่าวหรือชื่อต่างๆที่มีการการันตีออกมา ว่าใครเป็นผู้พูดมีข้อมูลคอนเฟิร์มจากไหน ชื่อนามสกุลอะไรสำนักข่าวไหนซึ่งสิ่งเหล่านี้จะมีที่มาที่ไปก็เป็นข้อมูล ที่คุณสามารถที่จะคลิกลิงค์เข้าไปดูได้ว่าจริงหรือไม่  ขณะเดียวกันก็จะมีสื่อโซเชียลมีเดียประเภทที่เกิดขึ้นสื่อเฟคนิวส์ก็เกิดขึ้นจำนวนมาก ถ้าเราใช้จนเราสามารถที่จะแยกแยะได้เราก็จะอยู่กับมันได้อย่างมีประสิทธิภาพเพราะเราเลี่ยงจะอยู่กับโลกโซเชียลมีเดียไม่ได้  หรือข้อมูลเฟค นิวส์ (Fake News )จะเข้ามาหาเราทุกวันซึ่งเราเลี่ยงไม่ได้ แต่ความรู้เท่าทันกฎหมายกับความรู้เท่าทันเทคโนโลยีเท่านั้นที่จะทำให้เราสามารถ จำแนกความมีประสิทธิภาพและความไม่มีประสิทธิภาพของโซเชียลมีเดียได้ นั่นคือในเรื่องของวิจารณญาณในการเสพสื่อ ถือเป็นเรื่องสำคัญซึ่งประกอบไปด้วยความรู้ที่กล่าวมาทั้งหมดถ้าคุณไม่มีสิ่งเรานั้นคุณก็ใช้วิจารณญาณไม่ได้