posttoday

คนจนมีคดีความไม่ต้องนอนคุกรัฐบาลมีกองทุนยุติธรรมช่วยเหลือ

09 กุมภาพันธ์ 2561

นายกฯเผยคนจนไม่ต้องนอนคุกรัฐบาลมีกองทุนยุติธรรมช่วยวอนสนช.ผ่านร่างพ.ร.บ.สถาบันการเงินประชาชนเปิดโอกาสประชาชนพื้นที่ห่างไกลเข้าถึงแหล่งทุน

นายกฯเผยคนจนไม่ต้องนอนคุกรัฐบาลมีกองทุนยุติธรรมช่วยวอนสนช.ผ่านร่างพ.ร.บ.สถาบันการเงินประชาชนเปิดโอกาสประชาชนพื้นที่ห่างไกลเข้าถึงแหล่งทุน

พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ กล่าวในรายการศาสตร์พระราชาสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืนว่า เราทุกคนคงเคยได้ยิน เรื่องราวมากมายเกี่ยวกับปัญหาของผู้มีรายได้น้อยที่ไม่สามารถเข้าถึงการอำนวยความยุติธรรมได้ด้วยตนเองโดยเฉพาะเรื่องการไม่มีค่าใช้จ่ายในการขึ้นโรงขึ้นศาลการ ต่อสู้คดี บางรายต้องไปกู้หนี้ยืมสินหลายครอบครัวต้องล้มละลาย จากข้อมูลทางสถิติ ปัจจุบันมีผู้ต้องขังถูกควบคุมตัวระหว่างการสอบสวนและพิจารณาคดีมากกว่า 6 หมื่นคนแม้ผู้ต้องหาทุกคนจะมีสิทธิได้รับการประกันตัวชั่วคราวแต่เมื่อไม่มีทุนทรัพย์ จึงไม่ได้ใช้โอกาสเป็นโจทย์ของ “กองทุนยุติธรรม”หยิบยื่นความยุติธรรมให้ถึงมือ“ ผู้ต้องคดีที่ยากจน”นี่เป็นที่มาของนโยบายของรัฐบาลนี้ ที่เห็นความสำคัญของการอำนวยความยุติธรรมเพื่อลดความเหลื่อมล้ำโดยการตรากฎหมายจัดตั้ง “กองทุนยุติธรรม ให้เป็นนิติบุคคล”สำหรับช่วยเหลือผู้มีรายได้น้อยให้ได้รับโอกาส สามารถเข้าถึงความเป็นธรรมได้ ในรูปแบบการช่วยเหลือด้านการเงิน เช่น ค่าใช้จ่ายในการปล่อยตัวชั่ว คราว ค่าจ้างทนายความ ค่าพาหนะ ค่าที่พักค่าฤชาธรรมเนียมในทุกประเภทคดี และค่าใช่จ่ายอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง “โดยไม่จำกัดวงเงิน”โดยการรับคำร้องผ่าน “ศูนย์ยุติธรรม ชุมชน” ซึ่งตั้ง ณ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นใกล้บ้าน กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ศูนย์ดำรงธรรมอำเภอ จังหวัด และยุติธรรมจังหวัด หรือที่ สำนักงานกองทุนยุติธรรม กระทรวง ยุติธรรม พูดโดยรวมว่าเป็น “เครือข่ายยุติธรรมชุมชน”ด้วยการยกระดับกลไกในการช่วยเหลือผู้มีรายได้น้อยของกองทุนยุติธรรมดังกล่าว ของรัฐบาลนี้ นับตั้งแต่กฎหมาย มีผล บังคับใช้ เมื่อเดือนเมษายน 2559สามารถลดความ เหลื่อมล้ำ ช่วยให้พี่น้องประชาชนผู้มีรายได้น้อยซึ่งตกเป็นผู้ต้องหาได้รับการประกันตัว เพื่อออกไปปกป้องความ บริสุทธิ์ของตนตามกระบวนการยุติธรรม ไม่ต้องนอนคุก เหมือนที่ใครๆ มักกล่าวว่า “คนจนนอนคุก คนรวยนอนบ้าน”

ระยะเวลา 1 ปี 8 เดือนที่ผ่านมา กองทุนยุติธรรมได้ใช้เงิน ราว 271 ล้านบาท ส่วนใหญ่ เป็นเรื่องการช่วยให้มีการปล่อยตัวชั่วคราว คิดเป็นร้อยละ 90เทียบกับก่อนที่ จะมีกฎหมายนี้ 12 ปีที่ผ่านมารวมกัน ใช้จ่ายเงินทำได้เพียง 742 ล้านบาท ยังไม่ทั่วถึง นอกจากนี้ ในอนาคตประชาชนผู้มีรายได้น้อย จะต้องสามารถเข้าถึงการช่วยเหลือ จากกองทุนยุติธรรมได้ง่าย และสะดวกขึ้น ณ ที่บ้านของตนเองผ่านช่องทางอิเล็กทรอนิกส์ เพราะไม่อยากเห็น “คนจนร้องไห้ในคุก” ถ้าเขาไม่ได้ทำความผิด

มีอีกเรื่องหนึ่ง ที่น่ายินดีเกี่ยวข้องกับ“ปากท้อง”การทำมาหากิน การเข้าถึงแหล่งเงิน และโอกาสการประกอบอาชีพที่ประชุมคณะรัฐมนตรี ได้มีมติเห็นชอบในหลัก การร่างพระราชบัญญัติ สถาบันการเงินประชาชน ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการปฏิรูปประเทศที่สำคัญ ที่รัฐบาลต้องการส่งเสริมให้ประชาชน สามารถจัดตั้งสถาบันการเงิน เล็กๆ ในชุมชนของตนเองได้ในทุกๆ ตำบลทั่วประเทศ กฎหมายฉบับนี้ จะส่งผลดีกับพี่น้องประชาชนมากกว่า 20-30 ล้านคนสามารถเข้าถึงแหล่งทุนโดยมีพี่เลี้ยง คือ ธนาคารออมสิน และ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) คอยสนับสนุนในทุกๆ ด้าน ซึ่งจะทำให้พี่น้องประชาชนสามารถออม - ถอน - โอน - กู้เงิน ได้สะดวก เข้าถึงบริการทางการเงินได้ง่ายในพื้นที่ชุมชนของตนเองไม่เสี่ยงที่จะถูกเอารัดเอาเปรียบ เหมือนในอดีต / สามารถลืมตาอ้าปาก และเข้มแข็งได้ในที่สุด

สถาบันการเงินเล็กๆ เหล่านี้ เป็นสิ่งที่พี่น้องประชาชนในหลายพื้นที่ทำอยู่แล้ว ปัจจุบัน ทั้งประเทศ มีรวมกันเกือบ 30,000 แห่ง ในรูปแบบกลุ่มสัจจะออมทรัพย์ กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต หรือ สถาบันการเงินชุมชน เป็นต้น บางแห่งตั้งมา 10 ปี เก็บออมกันได้ 1 ล้าน 10 ล้าน 50 ล้าน บางแห่งประสบความสำเร็จ ขยายไปถึง 100 ล้าน ก็มี ขึ้นอยู่กับธรรมาภิบาลในการบริหารจัดการ และ การมีส่วนร่วมของคนในชุมชนนั้นๆ หวังว่ากฎหมายฉบับนี้จะผ่านการพิจารณาของ สนช. ภายในปีนี้ และเมื่อ ผ่านแล้วเราจะเปิดให้กลุ่มการออมของพี่น้องประชาชน สมัครยกระดับเป็นสถาบันการเงินประชาชนต่อไป ด้วยความสมัครใจ