posttoday

ดุสิตโพลมองนักการเมืองยังแบ่งฝ่าย อยากให้ปรองดอง

11 มีนาคม 2560

สวนดุสิตโพลเผยประชาชนส่วนใหญ่มองนักการเมืองยังแบ่งฝ่าย แนะฟังความคิดเห็นสร้างปรองดอง

สวนดุสิตโพลเผยประชาชนส่วนใหญ่มองนักการเมืองยังแบ่งฝ่าย แนะฟังความคิดเห็นสร้างปรองดอง

วันที่ 11 มี.ค.  สวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยสวนดุสิต เปิดเผยผลสำรวจความคิดเห็นของประชาชนทั่วประเทศ จำนวนทั้งสิ้น 1,194 คน ระหว่างวันที่ 6-10 มีนาคม 2560 ถึงกรณีที่รัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา มีนโยบายการสร้างความปรองดองอย่างเป็นรูปธรรม พร้อมเปิดกว้างรับฟังความคิดเห็นจากผู้ที่เกี่ยวข้องทุกฝ่าย โดยเฉพาะนักการเมืองซึ่งนับได้ว่าเป็นกลุ่มที่มีความสำคัญ สรุปผลได้ดังนี้

1. ประชาชนคิดว่านักการเมือง ณ วันนี้เป็นอย่างไร อันดับ 1 ยังคงแบ่งฝักแบ่งฝ่าย มีความคิดเห็นที่แตกต่างกัน 73.70% อันดับ 2. มีบทบาทลดลง ไม่ค่อยมีความเคลื่อนไหวทางการเมือง 69.51% อันดับ 3 อยู่ระหว่างการเตรียมความพร้อม รองรับการเลือกตั้ง. 64.82%  อันดับ 4. ถูกตรวจสอบมากขึ้น มีหลายรายที่ถูกดำเนินคดี ยึดทรัพย์ จำคุก 54.61% อันดับ 5 ไม่มีการใส่ร้ายป้ายสีกัน ค่อนข้างสงบเรียบร้อย 49.66%

2. บทบาทของนักการเมืองต่อการสร้างความปรองดองตามนโยบายของรัฐบาลพล.อ.ประยุทธ์ เป็นอย่างไร อันดับ 1 ทุกฝ่ายได้มีโอกาสแสดงความคิดเห็น เสนอแนวทางสร้างความปรองดอง 75.04% อันดับ 2 บางฝ่ายก็ออกมาคัดค้าน บางฝ่ายก็เห็นด้วย 74.00% อันดับ 3 แนวทางของแต่ละฝ่าย ขึ้นอยู่กับผู้นำของพรรค 67.42% อันดับ 4 การมีส่วนร่วมของนักการเมืองทำให้บรรยากาศทางการเมืองดีขึ้น 61.25% อันดับ 5 ทำหน้าที่เป็นปากเสียงแทนประชาชน 56.45%

3. ภาพรวมของนักการเมืองในการร่วมมือกับรัฐบาลพล.อ.ประยุทธ์ เป็นอย่างไร อันดับ 1 น่าพอใจในระดับหนึ่ง หลายฝ่ายให้ข้อเสนอแนะที่เป็นประโยชน์ 75.88 อันดับ 2 มีทั้งให้ความร่วมมือและไม่ให้ความร่วมมือ 71.54% อันดับ 3 ยังคงมีความขัดแย้ง มีคลื่นใต้น้ำ 68.01% อันดับ 4 มุ่งแต่ผลประโยชน์ของตนเองและพวกพ้อง 66.83% อันดับ 5 ยังไม่เห็นแนวทางที่ชัดเจนเป็นรูปธรรม ต้องรอดูต่อไป 62.26%

4. สิ่งที่ท่านอยากฝากบอกนักการเมือง คือ อันดับ 1 ควรมีความสามัคคี ปรองดอง หยุดทะเลาะเบาะแว้ง 85.93% อันดับ 2 เห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวม ช่วยกันพัฒนาบ้านเมือง 80.32% อันดับ 3 เป็นนักการเมืองที่ดี เป็นแบบอย่างที่ดีให้กับประชาชน 78.48% อันดับ 4 ทำหน้าที่ของตนเองให้ดี ซื่อสัตย์ สุจริต 77.14% อันดับ 5ไม่ใช้ประชาชนเป็นเครื่องมือ หรือใช้เป็นข้ออ้างในเรื่องต่างๆ 69.18%