posttoday

กมธ.วุฒิ ร่อนจม.กทช.ปรับราคาประมูล 3จีเป็น 3 หมื่นล้าน

09 กรกฎาคม 2553

กมธ.วุฒิ ร่อนจม.กระทุ้งกทช.ปรับราคาประมูล 3จี จาก 1.28 หมื่นล้าน เป็น 3 หมื่นล้าน ยกงานทีดีอาร์ไอชี้ชัดบ.ฮัลโหลฟันกำไรมหาศาล ตีกันตั้งบ.รับจ้างฮั้วประมูล ขู่เพิกเฉยยื่นปปช.จัดการ

กมธ.วุฒิ ร่อนจม.กระทุ้งกทช.ปรับราคาประมูล 3จี จาก 1.28 หมื่นล้าน เป็น 3 หมื่นล้าน ยกงานทีดีอาร์ไอชี้ชัดบ.ฮัลโหลฟันกำไรมหาศาล ตีกันตั้งบ.รับจ้างฮั้วประมูล ขู่เพิกเฉยยื่นปปช.จัดการ

ที่รัฐสภา นายประสิทธิ์ โพธสุธน  ส.ว.สุพรรณบุรี ในฐานะประธานคณะ กรรมาธิการการวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีการสื่อสารและโทรคมนาคม วุฒิสภา ได้ทำหนังสือด่วนที่สุดถึงคณะกรรมการกิจการโทรคมนามแห่งชาติ (กทช.) ทั้ง 7 คน ให้พิจารณาทบทวนร่างประกาศคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ เรื่องหลักเกณฑ์และวิธีอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่เพื่อประกอบกิจการโทรศัพท์ เคลื่อนที่ IMT  ย่าน 2.1 ่ GHz  โดยที่คณะ กรรมาธิการมีมติแป็นเอกฉันท์ขอให้กทช.ทบทวนการกำหนดราคา ประมูลเริ่มต้นใบอนุญาตประกอบกิจการโทรศัพท์เคลื่อนที่ 3 จี ใหม่เป็น 3หมื่นล้านบาท จากเดิมที่กำหนดไว้แค่ 1.28 หมื่นล้านบาทในระยะเวลา อนุญาต 15 ปี เนื่องจากคณะกรรมาธิการได้จัดสัมมนารับฟังความเห็นในกรณีดังกล่าวปรากฏว่า หน่วยงานและทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องเห็นพ้องต้องกันให้กำหนดในราคาดังกล่าว เพราะการให้บริการในระบบ 2 จีในปัจจุบันมีส่วนแบ่ง รายได้เมื่อครบอายุสัญญาประมาณ 2.5 แสนล้านบาท โดยที่บริษัทที่ได้สัมปทานต้องโอนทรัพย์สินที่ได้ลงทุนไปแล้วประมาณ 1.5 แสนล้านบาทให้กับรัฐ ในขณะที่ผู้ที่ได้รับใบอนุญาต 3 จี ใช้เงินลงทุนต่อปีประมาณ 1.5 หมื่น ล้านบาท ในระยะเวลา 3-4 ปีซึ่งรวมแล้วเงินลงทุนไม่ เกิน 6 หมื่นล้านบาท  ก็ครอบคลุมการ ให้บริการทั้งประเทศและทรัพย์สินที่ลงทุนไปก็ยังเป็นของผู้ได้รับใบอนุญาต ไม่ต้องโอนให้กับรัฐ

นายประสิทธิ์ กล่าวว่า ในระยะเวลา 15 ปี จำนวนประชากรย่อมเพิ่มขึ้นการใช้โทรศัพท์ย่อมเพิ่มขึ้นตามไปด้วย ทำให้ผู้ได้รับอนุญาตได้รับรายได้เพิ่มขึ้น ประกอบกับคนต่างด้าวที่เข้ามาอยู่ในประเทศไทยทั้งที่ถูกกฎหมายและไม่ถูก กฎหมายมีการใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่ปัจจุบันไม่ต่ำกว่า 5 ล้านคน ใช้โทรศัพท์ไม่ต่ำกว่า 2 ล้านเลข หมาย จึงเป็นโอกาสและดึงดูดให้นักลงทุนเข้าร่วมลงทุน นอกจากนี้ระบบ 3 จี นอกจากจะให้บริการด้านเสียงแล้วยังขายพ่วงผลิตภัณฑ์อื่นได้ด้วย ซึ่งจะมีผู้ใช้บริการเพิ่มขึ้น แต่ถึงจะมีผู้ใช้เท่าเดิมก็จะมีการใช้งานมากขึ้น บริษัทย่อมมีรายได้เพิ่มขึ้นแน่นอน ที่สำคัญพฤติกรรมการใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่ของคนไทยแตกต่างจากทั่วโลก ที่จะใช้อยู่ตลอดเวลาโดยไม่คำนึงถึงความประหยัด

นายประสิทธิ์กล่าวว่า สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย หรือทีดีอาร์ไอ ได้ประเมินราคาที่เหมาะสมสำหรับคลื่น 3 จีไว้สูงถึง 3.3 แสนล้าน บาท หรือ 1.1 แสนล้านบาท ต่อใบอนุญาต ดังนั้นการกำหนดราคาประมูลเริ่มต้นของกทช.เพียง 1.28 หมื่นล้านบาทจึงแตกต่างจาก ทีดีอาร์ไอมาก ซึ่งน่าวิตกกังวลของผลประโยชน์ของชาติ และประชาชนที่สูญเสียไปจากการกำหนดราคาเริ่มต้นที่ต่ำอย่างไม่สมเหตุสมผลขอ งกทช. การกำหนดราคา ที่สูงหากไม่มีผู้ใดสู้ราคาก็สามารถลดราคาลงมาได้ โดยพิจารณาจากการวางหลักประกันการประมูลของบริษัท ซึ่งจะแสดงถึงความพร้อมที่จะสู้ราคา เพราะทุกบริษัทย่อมแสวงผลกำไร โดยไม่ยอมสู้ราคาที่สูงอยู่แล้ว จึงควรกำหนดราคาที่สูงกว่าต่ำเพื่อป้องกันการสมยอมหรือฮั้วประมูลราคากัน

 นายประสิทธิ์ กล่าวด้วยว่า จากผลการศึกษาการกำหนดราคาใหม่ไม่กระทบต่อราคาบริการของประชาชน เพราะเทียบกับทั่วโลกแล้วเรายังมีราคาบริการที่ต่ำกว่า ขณะเดียวกันมีผู้ให้บริการระบบ 2จี บางรายประกาศแล้วว่าจะสู้ราคาระบบ 3 จีไม่ว่าจะ เป็นราคาสูงเท่าไหร่ แสดงว่าเขาย่อมรู้ว่ามีกำไร แล้วทำไมกทช.จึงกังวลว่าเขาจะแบกภาระต้นทุน ขณะเดียวกันเขายังไม่ต้องรับภาระความเสี่ยงของทรัพย์สินที่ได้ลงทุนไป หากไม่ชนะการประมูล 3 จี ซึ่งคณะกรรมาธิการเชื่อว่าไม่มีผู้ใดยอมเสียโอกาศในการประมูลครั้งแรก เพราะไม่มีความแน่นอนว่าการประมูลครั้งต่อไปจะเกิดขึ้นเมื่อใด ดังนั้นการประมูลครั้งนี้ควรสร้างประโยชน์แก่ประชาชนและประเทศชาติสูงสุด

ประธานคณะกรรมาธิการฯ กล่าวว่า ตามที่กทช.เปลี่ยนแปลงราคาประมูลเริ่มต้นหลายครั้งตั้งแต่ 5.6 พันล้านบาท มาเป็น 1 หมื่นล ้านและ 1.28 หมื่นล้านบาท  จึงเป็น โอกาสดีที่จะเปลี่ยนแปลงราคามาเป็นราคาที่สูงสุดและขอให้ กทช.ชี้แจงเหตุผล ในการเปลี่ยนแปลงราคาประมูลแต่ละครั้ง และขอให้ทบทวนเกี่ยวกับการกำหนดให้ผู้รับสัมปทานระบบ 3 จี ซึ่งเป็นผู้ให้บริการระบบ 2 จี ดำเนินการจัดส่งคืนคลื่น 2 จี ให้บริษัททีโอทีจำกัด มหาชน หรือบริษัท กสท.โทรคมนาคม จำกัดมหาชน จะเป็นการขัดต่อสัญญาร่วมการงานหรือไม่ เพราะเขาได้รับตามสัญญาสัมปทานอยู่แล้ว โดยคณะกรรมิการเป็นห่วงว่าผู้บริโภคระบบ 2 จีจะได้ รับผลกระทบ

นายประสิทธิ์ กล่าวว่า คณะกรรมาธิการมีความเห็นว่าไม่มีข้อกำหนดจำนวนใบอนุญาตน้อยกว่าจำนวนผู้ที่ ผ่านเกณฑ์คุณสมบัติขั้นแรก 1 ราย (N-1) เพราะจะเกิดความไม่เป็นธรรมต่อผู้ประกอบการแต่ละรายที่เข้ามาประมูลก่อนหลัง และยังไม่เป็นการส่งเสริมการประกอบการอย่างจริงจัง อาจเกิดบริษัทรับจ้างประมูลได้ อย่างไรก็ตาม กทช.มีอำนาจหน้าที่กำหนดทิศทางกิจการโทรคมนาคมของประเทศ การแสดงความคิดเห็นและกำหนดมาตรการใดควรพิจารณาอย่างรอบคอบ และคำนึงถึงผลกระทบที่จะเกิดกับอุตสาหกรรมและการรับบริการของประชาชน  ดังนั้นจึงขอให้พิจารณาทบทวนและแจ้งให้คณะกรรมาธิการภายใน 10 วัน แต่หาก กทช.ยังเพิกเฉย คณะกรรมิการจส่งเรื่องให้คณะกรรมการป้องกันและปราบปราบการทุจริตแห่งชาติ( ปปช.)ดำเนินการต่อไป