posttoday

กมธ.ปฏิรูปกฎหมายเสียงแตกถกปมปฏิรูปตำรวจ

28 เมษายน 2558

ปฏิรูปตำรวจติดหล่ม กมธ.ปฏิรูปกฎหมายฯ เสียงแตก ถกปมแยกสอบสวนออกจาก สตช. ไม่ลงตัว สมาชิก สปช.เห็นชอบเลื่อนพิจารณาจนกว่าจะได้ข้อยุติ

ปฏิรูปตำรวจติดหล่ม กมธ.ปฏิรูปกฎหมายฯ เสียงแตก ถกปมแยกสอบสวนออกจาก สตช. ไม่ลงตัว สมาชิก สปช.เห็นชอบเลื่อนพิจารณาจนกว่าจะได้ข้อยุติ

เมื่อวันที่ 28 เม.ย. การประชุมสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) ได้พิจารณารายงานการพิจารณาของคณะกรรมาธิการ(กมธ.) ปฏิรูปกฎหมายและกระบวนการยุติธรรม วาระที่ 6 กิจการตำรวจ ทั้งนี้นายเสรี สุวรรณภานนท์ ประธาน กมธ.ปฏิรูปกฎหมายฯ ได้นำเสนอหลักการสำคัญในการปฏิรูปโครงสร้างกิจการตำรวจ โดยให้ความสำคัญกับประเด็นปฏิรูปการสอบสวน ซึ่งเสนอให้คณะกมธ.ยกร่างรัฐธรรมนูญบัญญัติให้แยกการสอบสวนออกจากสำนักงานตำรวจแห่งชาติ (สตช.) ไว้ในรัฐธรรมนูญ และเสนอให้จัดทำร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) จัดตั้งสำนักงานสอบสวนคดีอาญาแห่งชาติ เพื่อให้สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) อย่างไรก็ตามนายเสรียืนยันว่าการนำเสนอหลักการของตนในครั้งนี้ยึดตามรายงานของคณะอนุกมธ.ปฏิรูปโครงสร้าง อำนาจหน้าที่และกระบวนการทำงานตำรวจเพื่อประโยชน์ของประชาชน

ทั้งนี้ พล.ร.อ. พะจุณณ์ ตามประทีป ประธานอนุกมธ.ฯ ได้กล่าวกับที่ประชุมช่วงหนึ่ง โดยพาดพิงไปยังการอภิปรายร่างรัฐธรรมนูญของ สปช. ที่ผ่านมา ซึ่งนายเสรีได้กล่าวว่า " ใครจะได้ ใครจะเสีย ตำรวจคนใดจะได้ประโยชน์ ตำรวจคนใดจะเจ็บแค้น ผมไม่เกี่ยว ผมเป็นกลาง " ถ้อยคำดังกล่าวสร้างความเสียใจต่อตนเป็นอย่างมาก แต่จะไม่ขอให้นายเสรีเป็นผู้ขอโทษ เพราะตนจะขอโทษกับคณะทำงานในคณะอนุกมธ. ปฏิรูปโครงสร้างฯ ด้วยตนเอง ที่ไม่สามารถชี้แจงต่อที่ประชุม สปช. ในการอภิปรายร่างรัฐธรรมนูญที่ผ่านมาได้

นอกจากนั้นแล้วในช่วงท้ายของการนำเสนอหลักการต่อที่ประชุม สปช. คณะกมธ.ปฏิรูปกฎหมายฯ ได้เปิดโอกาสให้ พล.ต.ท. อาจิณ โชติวงศ์  กมธ. ปฏิรูปกฎหมายฯ ซึ่งเป็นเสียงข้างน้อย ที่เสนอให้การสอบสวนเป็นอิสระ แต่ยังอยู่ภายใต้กำกับของ สตช. โดย พล.ต.ท. อาจิณ ได้ให้เหตุผลที่สำคัญ อาทิ ปัญหาที่เกิดขึ้นในกระบวนการสอบสวนเป็นปัญหาในระดับปัจเจก ซึ่งเกิดจากบุคคลที่ทุจริตต่อหน้าที่ราชการ ไม่ใช่โครงสร้างหรือระบบ ฉะนั้นควรปฏิรูปที่กระบวนการรับเรื่องร้องเรียนและกระบวนการสอบสวนที่รวดเร็ว เข้าถึงง่าย จึงจะสามารถปฏิรูประบบให้ดีขึ้น รวมถึงเหตุผลอื่นๆ ที่ไม่จำเป็นต้องแยกการสอบสวนออกจาก สตช.

อย่างไรก็ตามหลังจาก กมธ.ปฏิรูปกฎหมาย ฯ และอนุกมธ.ปฏิรูปโครงสร้าง ฯ นำเสนอหลักการต่อที่ประชุม สปช. โดยใช้เวลานายกว่า 2 ชั่วโมง พล.อ. เอกชัย ศรีวิลาศ ได้ทักท้องประธานในที่ประชุม ให้ กมธ.ปฏิรูปกฎหมายฯ และอนุกมธ.ปฏิรูปโครงสร้างฯ ได้กลับไปหารือให้เกิดความชัดเจน หรือตั้งคณะกรรมการร่วมเพื่อพิจารณาประเด็นดังกล่าวก่อนนำกลับมาพิจารณาอีกครั้ง

จากนั้นนายวันชัน สอนศิริ กล่าวว่า เรื่องนี้ไม่ควรส่งกลับไปยัง กมธ. ปฏิรูปกฎหมายฯ เพราะที่ผ่านมามีความเห็นไม่ตรงกันจาก 2 ฝ่าย จนนำเรื่องนี้เข้าสู่ที่ประชุม สปช. เพื่อฟังข้อเสนอจากสมาชิก สปช. แต่เมื่อพิจารณาจากบรรยากาศในการประชุม จึงเสนอให้จัดตั้งคณะกรรมเพื่อพิจารณาเรื่องนี้ โดยยึดหลักการตามวิสัยทัศประเทศไทยที่ สปช. ได้จัดทำขึ้น ซึ่งเห็นตรงกันว่ามี สปช. 5 คณะ ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนี้ ได้แก่ กมธ. ปฏิรูปกฎหมายฯ กมธ.ปฏิรูปการบริหารราชการแผ่นดิน กมธ.ปฏิรูปการปกครองท้องถิ่น กมธ.ปฏิรูปการเมือง และกมธ.ปราบปรามการทุจริตคอร์รัปชั่น ก่อนที่จะนำเรื่องนี้มาพิจาณราในที่ประชุม สปช.

"กราบเรียนประธาน อยากให้ตั้งคณะกรรมการพิจารณาเรื่องนี้เสีย โดยใช้ 5 คณะ ศึกษาต่อจาก กมธ.ปฏิรูปกฎหมาย แล้วนำสู่ที่ประชุมอีกครั้ง ถ้ากลับสู่คณะของผมเดิม ผมยังเอาตัวไม่ค่อยจะรอดเลยครับ เพื่อให้งานปฏิรูปสำเร็จ และเดินไปได้ "นายวันชัย กล่าว

กระทั่งในที่สุดนายทรงชัย วงศ์สวัสดิ์ สปช. จ. ลำพูน ได้อาศัยระเบียบการประชุม สปช. ข้อ 43 เสนอให้ประธานที่ประชุม เลื่อนการพิจารณาวาระนี้ออกไป ซึ่ง สปช. มีมติ 125 เสียง เห็นชอบให้เลื่อนการพิจารณาวาระนี้ออกไป และประธานที่ประชุมได้สั่งปิกการประชุม