posttoday

แนะเทคโนแครตปรับตัวเสนองานให้เหมาะกับสังคม

09 มีนาคม 2558

มูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์เปิดนิทรรศการ 99 ปี “ป๋วย อึ้งภากรณ์” แนะเทคโนแครตปรับตัวนำเสนองานรูปใหม่ที่เหมาะกับสังคมไทย

มูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์เปิดนิทรรศการ 99 ปี “ป๋วย อึ้งภากรณ์” แนะเทคโนแครตปรับตัวนำเสนองานรูปใหม่ที่เหมาะกับสังคมไทย

เมื่อวันที่ 9 มี.ค. มูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ ได้จัดงาน 99 ปี“ศ.ดร. ป๋วย อึ๊งภากรณ์ “ โดยงานนี้ได้จัดนิทรรศการ”คนชื่อป๋วย” ซึ่งได้จัดแสดงประวัติ ผลงาน และเกียรติยศ พร้อมกับจัดแสดงเครื่องราชอิสริยาภรณ์ MBE ของอาจารย์ ป๋วย ที่ได้รับพระราชทานจากพระเจ้าจอร์จที่ 6 แห่งสหราชอาณาจักรด้วย พร้อมกันนี้ก็ได้เปิดตัวเว็บไซด์ของมูลนิธิมูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ เพื่อดำเนินงานตามรอยของ อาจารย์ป๋วย ที่เริ่มโครงการนี้มาตั้งแต่ พ.ศ. 2509 เพื่อดำเนินงานตามพุทธภาษิตที่ว่า "นตถิ ปญญาสมา อาภา" หรือ "แสงสว่าง เสมอด้วย ปัญญาไม่มี" ด้วยการจัดทำหนังสือวิชาการดีให้สังคม ซึ่งในงานได้เปิดตัวหนังสือชุด "สมุดเพื่อนบ้านของเรา" เป็นหนึ่งในงานที่มูลนิธิจะทำเพื่อการสืบทอดเจตนารมณ์ของอาจารย์ป๋วย และในงานยังมีการปาฐกถาเพื่อให้ความรู้ต่อประชาชนผู้สนใจประวัติศาสตร์

นายอภิชาต สถิตนิรมัย อาจารย์คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวปาฐกถาในหัวข้อ “เทคโนแครต กับ เศรษฐกิจไทย” ว่า หากจะแบ่งกลุ่มเทคโนแครตในประเทศไทยน่าจะแยกได้ประมาณ 3 กลุ่ม คือ รุ่นที่ 1 คือคนยุคสมัยท่านอาจารย์ป๋วย ซึ่งกลุ่มคนที่มีความรู้ความสามารถรุ่นนี้จะเน้นการนำความรู้มารักษาเสถียรภาพด้านเศรษฐกิจ เห็นได้จากช่วงที่คนกลุ่มนี้จะนำความรู้ความสามารถที่เรียนมาสร้างระเบียบกฎเกณฑ์การปฏิบัติงานให้รัดกุมขึ้น ส่วนรุ่นที่ 2 ยกตัวอย่างเช่นรุ่นนายเสนาะ อุนากุล ซึ่งคนรุ่นนี้จะให้ความสำคัญกับการเติบโตทางเศรษฐกิจมาก แต่ก็ไม่ถึงขั้นละทิ้งการดูแลเศถียรภาพไปเสียหมด แต่เริ่มต่อสายเข้าทำงานกับการเมืองเพื่อเข้าบริหารประเทศมากขึ้น

และรุ่นที่ 3 ก็มี ม.ร.ว.จัตุมงคล โสณกุล ,นายฉลองภพ สุสังกร์กาญจน์ เป็นต้น ซึ่งกล่าวได้ว่าเทคโนเครตรุ่นนี้มีอคติกับการทำนโยบายไม่เน้นการกระจายอำนาจ และคนรุ่นนี้ยังมีการเข้านั่งทำงานกับรัฐบาลกับการเมืองในตำแหน่งสำคัญมากขึ้น เห็นได้จากการรัฐประหารปี 2549 นายฉลองภพเข้าร่วมเป็นรัฐมนตรีด้วย เช่นเดียวกันสมัยนี้ก็มีหลายคนที่เข้าร่วมกับรัฐบาลรัฐประหารเข้ามาทำงานบริหารร่วมกับการเมืองด้วย

“จะเห็นได้ว่ารูปแบบการทำงานทำงานของเทคโนแครตแต่รุ่งแต่ละยุคแตกต่างกัน แม้ว่าอ.ป๋วยจะเป็นต้นแบบ แต่รูปแบบการทำงานของคนแต่ละยุคเปลี่ยนแปลงแตกต่างกันไป จึงไม่ควรมายึดว่าทำตามแบบอาจารย์ป๋วย แต่ควรเลือกทำในแบบที่เหมาะสมของยุคสมัยดีกว่า เพราะมีแนวทางที่แตกต่างกันไปแล้ว เช่นปัจจุบันเทคโนแครตอย่างสถาบันเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) ก็มีการปรับตัว เพราะตั้งแต่แตกคอกับรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง และร่วมทำงานกับรัฐบาลรัฐประหาร ก็เริ่มหันมาเสนอความเห็นต่อสังคมให้รับฟังโดยตรง ไม่เข้าร่วมทำงานกับรัฐบาล และลดแนวคิดของตัวเองลงเป็นเพียงหนึ่งในความเห็นที่เสนอในและเรื่องต่อสาธารณะเท่านั้นไม่ได้นำความรู้นั้น ซึ่งถือเป็นรูปแบบใหม่ที่พัฒนาไปของเทคโนแครต ที่ไม่ต้องอ้างรูปแบบของอาจารย์ป๋วย เป็นต้น”นายอภิชาตกล่าว

แนะเทคโนแครตปรับตัวเสนองานให้เหมาะกับสังคม

 

แนะเทคโนแครตปรับตัวเสนองานให้เหมาะกับสังคม