posttoday

แถลงปิดคดีถอดถอนสมศักดิ์ปปช.ยก5ความผิดมัด

21 มกราคม 2558

แถลงปิดคดีถอดถอนสมศักดิ์ "วิชา" ย้ำ อำนาจ ปปช.​ ยก 5 ความผิดมัด ขณะที่ เจ้าตัว​ไม่ขอใช้สิทธิชี้แจง นัดลงมติ 23 ม.ค.

แถลงปิดคดีถอดถอนสมศักดิ์ "วิชา" ย้ำ อำนาจ ปปช.​ ยก 5 ความผิดมัด ขณะที่ เจ้าตัว​ไม่ขอใช้สิทธิชี้แจง นัดลงมติ 23 ม.ค.

เมื่อวันที่ 21 ม.ค. ที่ประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติเพื่อดำเนินกระบวนการถอดถอนนายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ อดีตประธานรัฐสภา ออกจากตำแหน่ง ตามมาตรา 6 วรรคสอง ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2557 ประกอบมาตรา 64 พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ.2542 โดยเป็นการรับฟังคำแถลงการณ์ปิดสำนวนด้วยวาจาของคณะกรรมการ ป.ป.ช. ผู้กล่าวหา และนายสมศักดิ์

นายวิชา กล่าว​ยืนยันถึงอำนาจหน้าที่ของป.ป.ช.ในการดำเนินคดีร้องขอถอดถอนนายสมศักดิ์ ซึ่งมีมีพฤิตกรรมส่อขัดต่อรัฐธรรมนูญ ขัดกฎหมาย พ.ร.บ. ป.ป.ช.  ซึ่งนายสมศักดิ์มีพฤติกรรมส่อใช้อำนาจหน้าที่ขัดรัฐธรมนูญ และ กฎหมายอื่นใน 5 ประเด็นคือ ประเด็นแรกเปลี่ยนร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ 10 มี.ค. 56  ไม่ใช่ร่างของ นายอุดมเดช รัตนเสถียร อดีตสส.เพื่อไทย และคณะเสนอแก้รัฐธรรมนูญประเด็นที่มาของวุฒิสภา

ทั้งนี้ ร่างนี้ไม่ใช่ญัตติแก้ไขกฎหมายปกติธรรมดา แต่เป็นการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ซึ่งสมาชิกทุกคนเป็นเจ้าของร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ ไม่ใช่เฉพาะผู้เสนอญัตติหลักเป็นเจ้าของดังนั้น ​จำเป็นต้องรับทราบล่วงกันแต่นายอุดมเดชกลับให้มีผู้นำร่างแก้ไขปรับปรุงใหม่มายื่นเสนอใหม่โดยไม่ได้ให้ผู้เสนอญัตติร่วมได้เซ็นชื่อใหม่ อีกท้ังหลายคนที่ร่วมเสนอไม่รับรู้การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น ซึ่ง​นายสมศักดิ์ มีหน้าที่ต้องตรวจสอบความถูกต้องการแก้ไขหากมีข้อบกพร่องให้แจ้งผู้เสนอให้แก้ไขแต่ไม่ทำแสดงถึงความบกพร่องร้ายแรงของประธานรัฐสภา ​

อีกทั้ง ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยเมื่อ วันที่ 20 พ.ย. 56  ว่า การพิจารณาของรัฐภา ไม่ได้นำเอาร่างแก้ไขเพ่ิมเติม ฉบับนายอุดมเดช และ คณะเสนอต่อสำนักงานเลขาธิการสภาผู้ที่ราษฎรเม่ือวันที่ 20 มี.ค. 56 มาใช้พิจารณาวาระหนึ่ง ทั้งที่ร่างที่จัดทำขึ้นใหม่มีหลักการแตกต่างจากฉบับที่นายอุดมเดชและเสนอครั้งแรกหลายประการมีผลเท่ากับการเสนอร่างรัฐธรรมนูญ ที่รัฐสภา รับหลักการ เป็นไปโดยมิชอบตามรัฐธรรมนูญมาตรา 291   ประเด็นที่สอง ​ ในการกำหนดเวลาอภิปรายยังมีเวลาเหลือและมีผู้ประสงค์อภิปรายเหลืออยู่ แต่นายสมศักดิ์ กลับเรียกลงมติรับหลักการเวลาหนึ่ง ถือเป็นการฝ่าฝืนข้อบังคับการประชุม

ประเด็นที่สาม การเสนอวันแปรญัตติ ที่ไม่เป็นไปตามข้อบังคับข้อ 96 ประเด็นที่สี่  จงใจปิดการอภิปราย​และประการสุดท้าย นายสมศักดิ์ ขอให้ที่ประชุม ลงมติ ทั้งที่ยังมีสมาชิกที่ สวงนคำแปรญัตติ กรรมาธิการสงวนความเห็นยังไม่ได้ใช้สิทธิอภิปราย การใช้ดุลพินิจของนายนิคมจึงถือเป็นการลิดลอนสิทธิ  ดังนั้น ในฐานะประธานรัฐสภา ถือได้ว่าเป็นการส่อจงใจใช้อำนาจหน้าที่ขัดรัฐธรรมนูญและพ.ร.บ. ป.ป.ช.

"การวางหลักจริยธรรมคุณธรรม ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองนั้น สิ่งไม่อาจลุล่วงแนวทางการปฏิรูปประเทศได้เพราะระบบไต่สวนการพิสูจน์คุณธรรมจริยธรรมยังไม่อาจดำเนินไปได้อย่างราบรื่น หรือทำให้กระบวนการไต่สวน​ ถอดถอน เป็นที่ยอมรับของชาติ เป็นหลักเบื้องต้นที่จะดำเนินการปฏิรูปประเทศหรือไม่ ผมได้มาอยูู่เบื้องหน้าสนช.​ผู้ทรงเกียรติ ​ในฐานะผู้แทนปวงชน ชาวไทยเป็นกลางไม่มีผลประโยชน์ได้เสีย  กระผมจึงถือเป็นโอกาสดีที่จะได้สร้างสิ่งดีงามในประเทศโดยพื้นฐานปลูกฝังจริยธรรมคุณธรรม ซึ่งกระผมเชื่อมั่นว่าจะใช้ดุลพินิจเหมาะสมที่สุด"นายวิชากล่าว

นายสุรชัย เลี้ยงบุญเลิศชัย รองประธาน สนช.​ทำหน้าที่ประธานในที่ประชุมได้ชี้แจงว่า ในส่วนของนายสมศักดิ์ ไม่ประสงค์ที่จะขอใช้สิทธิชี้แจงแถลงปิดคดี  ดังนั้น จึงเป็นการสิ้นสุดกระบวนการพิจารณาและนัดลงมติ ในวันที่ 23 ม.ค.